จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ในภาคกลาง อยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 3.5 – 5 เมตร มีเนื้อที่ประมาณ 2,556.64 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,597,900 ไร่ ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือตามถนนสายเอเซียเป็นระยะทาง 75 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดอ่างทอง และจังหวัดลพบุรี
- ทิศใต้ ติดกับจังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี
- ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดสระบุรี
- ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดสุพรรณบุรี
จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง ที่เรียกว่า “ที่ราบลุ่มเดลต้า” ซึ่งเกิดจากการที่แม่น้ำไหลพัดพาเอาเศษหิน ดิน ทราย และตะกอนมาทับถมกันเป็นเวลานานจนกลายเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนา แต่ไม่มีภูเขา ไม่มีป่าไม้ บริเวณศูนย์กลางของจังหวัดเรียกกันมาแต่เดิมตามลักษณะที่มีสายน้ำล้อมรอบว่า “เกาะเมือง” คู่กับเกาะที่อยู่ตรงข้ามทางด้านเหนือ ซึ่งเรียกว่า “เกาะลอย” ด้วยเหตุที่มีแม่น้ำสายต่างๆ ไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำน้อย
ตารางผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ณ ราคาประจำปี
หน่วย : ล้านบาท
สาขา | 2552 | 2553 | 2554 | 2555 | 2556 |
ภาคเกษตร | 10,246 | 9,467 | 10,350 | 14,945 | 16,137 |
เกษตรกรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้ | 10,121 | 9,344 | 10,227 | 14,815 | 15,981 |
การประมง | 124 | 124 | 123 | 130 | 156 |
ภาคนอกเกษตร | 315,669 | 363,694 | 313,053 | 323,794 | 351,434 |
การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน | 978 | 1,040 | 1,222 | 1,294 | 1,214 |
อุตสาหกรรม | 227,467 | 266,555 | 218,050 | 218,755 | 248,933 |
การไฟฟ้า แก๊ส และการประปา | 5,574 | 6,284 | 5,677 | 6,404 | 7,156 |
การก่อสร้าง | 2,734 | 3,464 | 3,100 | 6,106 | 3,122 |
การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน | 32,461 | 37,460 | 35,369 | 36,163 | 36,621 |
โรงแรมและภัตตาคาร | 2,244 | 2,398 | 2,119 | 2,472 | 2,777 |
การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม | 12,025 | 13,665 | 12,862 | 13,594 | 11,259 |
ตัวกลางทางการเงิน | 4,194 | 4,273 | 4,689 | 5,580 | 6,278 |
บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและบริการทางธุรกิจ | 14,532 | 14,692 | 14,838 | 18,429 | 18,510 |
การบริหารราชการและการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกันสังคมภาคบังคับ | 5,433 | 5,561 | 6,272 | 5,430 | 5,732 |
การศึกษา | 4,864 | 5,124 | 5,069 | 5,089 | 5,188 |
การบริการด้านสุขภาพและสังคม | 2,111 | 2,185 | 2,488 | 2,892 | 2,856 |
การให้บริการด้านชุมชน สังคม และบริการส่วนบุคคลอื่นๆ | 945 | 878 | 1,171 | 1,477 | 1,662 |
ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล | 105 | 115 | 127 | 109 | 126 |
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด(GPP) | 325,914 | 373,161 | 323,403 | 338,739 | 367,571 |
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว (บาท) | 379,745 | 428,894 | 371,705 | 389,287 | 422,421 |
จำนวนประชากร (1,000 คน) | 858 | 870 | 870 | 870 | 870
|
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ http://www.nesdb.go.th (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2558)
ทรัพยากรป่าไม้
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนา ไม่มีพื้นที่ป่าไม้
ทรัพยากรน้ำ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำน้อย เป็นแหล่งน้ำหลัก และมีระบบคลองส่งน้ำชลประทานและคลองน้ำธรรมชาติ เช่น คลองบางบาล คลองบางปลาหมด คลองบางหลวง คลองมหาราช คลองบางแก้ว คลองลาดชะโด คลองบางพระครู คลองกุฎี คลองลาดชิด คลองนาคู คลองพระยาบันลือ คลองขุนศรี คลองไผ่พระ คลองกกแก้ว คลองร่มไทร และคลองปากกราน เป็นต้น ซึ่งจะรับน้ำจากเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนป่าสัก และรับน้ำจากแม่น้ำสายต่างๆ นอกจากแหล่งน้ำสายต่างๆ แล้ว จังหวัดยังเป็นจุดสูบน้ำดิบจากแม่น้ำทั้งสี่สายเพื่อนำน้ำดิบมาผลิตน้ำประปาให้บริการในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียง
ทรัพยากรน้ำบาดาล
จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีลักษณะทางธรณีวิทยาตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางตอนใต้ ทำให้ลึกลงไปใต้พื้นดินเป็นแหล่งกรวดทรายขนาดใหญ่ เม็ดกรวด และทรายมีขนาดใหญ่และมีลักษณะกลมมน น้ำบาดาลสะสมตัวอยู่ระหว่างช่องว่างและเม็ดกรวดและทราย แทรกสลับอยู่กับชั้นดินเหนียว ทำให้มีชั้นน้ำบาดาลหลายชั้น และเป็นชั้นน้ำที่แผ่ขยายออกไปในแนวราบอย่างกว้างขวาง มีคุณสมบัติทางอุทกธรณีวิทยาเฉพาะตัว ซึ่งเป็นลักษณะที่พบอยู่ในชั้นน้ำบาดาลส่วนใหญ่ของที่ราบลุ่มภาคกลางตอนใต้ กล่าวคือ ชั้นน้ำบาดาลแต่ละชั้นจะมีชั้นดินเหนียวรองรับอยู่ด้านล่าง และปิดทับอยู่ด้านบน จัดเป็นชั้นน้ำบาดาลใต้แรงดัน (Confined aquifer)
ทรัพยากรสัตว์ป่า
จังหวัดพระนครศรีอยุธยาไม่มีอุทยานแห่งชาติ เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า และแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าอื่นๆ มีเพียงเขตอนุรักษ์พันธุ์นกที่มีความสำคัญระดับชาติ ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดตาลเอน อำเภอบางปะหัน พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาวแม่ไก่ และนกน้ำอีกหลายชนิด เช่น นกยางและนกเป็ดน้ำ สภาพแวดล้อมยังสงบเงียบ มีคลองชลประทาน และปลาเป็นจำนวนมาก
การสาธารณสุข
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีสถานพยาบาล ประกอบด้วย โรงพยาบาลศูนย์ 1 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 14 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 5 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 205 แห่ง ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง 11 แห่ง สถานีอนามัยในสังกัดเทศบาล 1 แห่ง สถานพยาบาลสาธารณสุข 228 แห่ง จำนวนเตียง 1,122 เตียง มีบุคลากรด้านสาธารณสุข ประกอบด้วย แพทย์ 176 คน ทันตแพทย์ 57 คน เภสัชกร 86 คน อัตราส่วนแพทย์ต่อจำนวนประชากรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เท่ากับ 1:4,475 คน
การศึกษา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แบ่งพื้นที่การศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็น 2 เขต ประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ครอบคลุมพื้นที่ 9 อำเภอ คือ อำเภอพระนครศรีอยุธยา ท่าเรือ นครหลวง บางปะหัน บ้านแพรก ภาชี มหาราช วังน้อย และอุทัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ครอบคลุมพื้นที่ 7 อำเภอ คือ อำเภอบางซ้าย บางไทร บางบาล บางปะอิน ผักไห่ ลาดบัวหลวง และเสนา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 47 โรงเรียน มีครู จำนวน 1,359 คน มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 41,479 คน ซึ่งครู 1 คนจะต้องดูแลนักเรียนถึง 30.52 คน
ประชากร
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีประชากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ทั้งสิ้น 795,406 คน จำแนกเป็นชาย 382,632 คน หญิง 412,774 คน
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวิสัยทัศน์การพัฒนา 4 ปี พ.ศ. 2557-2560 (ฉบับทบทวน) คือ อยุธยานครประวัติศาสตร์ น่าเที่ยว น่าอยู่ ก้าวสู่สากล โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ (10 กลยุทธ์ 14 โครงการ งบประมาณทั้งสิ้น 1,397.2 ล้านบาท)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวและการบริการ สู่มาตรฐานสากล
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาภาคการผลิต ภาคการค้าและบริการ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อ
ข้อมูลพื้นที่
คณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้มีการคัดเลือกพื้นที่ 1 พื้นที่ เพื่อเป็นเป้าหมายพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ พื้นที่กลุ่มโรงงานนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร และพื้นที่ประกอบการท่าเรือ อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครอบคลุมพื้นที่เขตปกครอง 6 ตำบลใน 1 อำเภอ ได้แก่ ตำบลแม่ลา ตำบลนครหลวง ตำบลปากจั่น ตำบลคลองสะแก ตำบลบ่อโพง ตำบลบางพระครู อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อาณาเขตครอบคลุมนิคมอุตสาหกรรม 1 นิคม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร มีโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เป้าหมายรวม 175 โรงงาน โดยมีโรงงานที่ได้รับการรับการรับรองระบบบริหารงานระดับสากลและระดับประเทศดังตาราง
จำนวนโรงงานในพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
อำเภอ | ตำบล | นิคมฯ/เขตประกอบการ/สวนอุตสาหกรรม | จำนวนโรงงาน ในพื้นที่ นิคมอุตสาหกรรม | จำนวนโรงงาน นอกพื้นที่ นิคมอุตสาหกรรม |
นครหลวง | แม่ลา | - | - | 10 |
นครหลวง | - | - | 15 | |
ปากจั่น | - | - | 39 | |
คลองสะแก | - | - | 31 | |
บ่อโพง | - | - | 26 | |
บางพระครู | นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร | 48 | 6 | |
รวม | 175 |
การพัฒนาและรักษาระบบบริหารระดับสากล
จากการรวบรวมข้อมูลโดยโครงการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พื้นที่ 7 จังหวัด พบว่าโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานระดับสากลและระดับประเทศ โดยได้รับ GI ระดับ 3 ขึ้นไป หรือ ISO14001 หรือ TIS/OHSAS 18001 หรือ Eco Factory รวมเป็น 15 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 8.5 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมาย ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
จำนวนโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานระดับสากลและระดับประเทศ
มาตรฐาน | จำนวนโรงงานที่ได้รับการรับรอง (ราย) |
ระบบจัดการคุณภาพ (ISO14001) | 1 |
ระบบการบริหารงานคุณภาพ (ISO50001) | 0 |
ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHSAS18001) | 0 |
อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry : GI) | |
ระดับที่ 3 | 13 |
ระดับที่ 4 | 1 |
ระดับที่ 5 | 0 |
โรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) | 15 |
การวางผังที่ตั้งและการจัดพื้นที่
พื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย 1 นิคมอุตสาหกรรม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลบางพระครู อ.นครหลวง เนื้อที่ทั้งหมด 2,050 ไร่ โดยแบ่งออกเป็น เขตอุตสาหกรรมทั่วไป 867 ไร่ เขตที่พักอาศัย/พาณิชย์ 38 ไร่ พื้นที่สาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก 536 ไร่ ภายในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร มีระบบสาธารณูปโภคเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น ระบบน้ำประปา ระบบไฟฟ้า ระบบถนน และระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น
สิ่งอำนวยความสะดวกภายในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร
สิ่งอำนวยความสะดวก | รายละเอียด |
ระบบน้ำประปา | - น้ำบาดาล 5 บ่อ |
- ผลิตน้ำได้ 11,960 ลูกบาศก์เมตร / วัน | |
- สามารถจ่ายน้ำได้ 4,700 ลูกบาศก์เมตร / วัน | |
ระบบไฟฟ้า | - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค |
- ความสามารถจ่ายไฟฟ้าขนาด 80 เมกกะโวลต์-แอมแปร์ | |
- แรงดันไฟฟ้า 22 กิโลโวลต์ | |
ระบบถนน | - สายประธาน : 40 เมตร 4 ช่องจราจร |
- สายรองประธาน : 28 เมตร 2 ช่องจราจร | |
- สายซอย : 12 เมตร 2 ช่องจราจร | |
ระบบโทรศัพท์ | - 1,000 เลขหมาย ของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ TT&T |
ระบบบำบัดน้ำเสีย | - สามารถกำจัดน้ำเสียได้ 8,000 ลูกบาศก์เมตร / วัน |
- น้ำเข้าระบบ 6,000 ลูกบาศก์เมตร / วัน | |
ระบบเตาเผาขยะ | - เตาเผาขยะ สามารถเผาขยะได้ 500 กิโลกรัม / ชั่วโมง |
ระบบป้องกันอัคคีภัย | - ติดตั้งหัวจ่ายดับเพลิงตามแนวถนนทุกระยะ 200 เมตร รวม 36 จุด |
สภาพพื้นดิน | - ชั้นดินแข็งที่ระยะ 11-14 เมตร |
- รับน้ำหนัก 30-50 ตัน / ตารางเมตร |
แผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีโครงการที่จะพัฒนาระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่ คือ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพพัฒนาถนนและการจราจร บริเวณถนนฝั่งตะวันออก ต.บ่อโพง ถึง ต.ท่าเรือ และถนนฝั่งตะวันตก ต.บ่อโพง ถึง อ.ท่าเรือ ระยะทางรวม 50 เมตร
การออกแบบอาคารและบริเวณโดยรอบ
ข้อมูลจากรายชื่อโรงงานควบคุม กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พบว่ามีโรงงานที่เข้าข่ายโครงการอนุรักษ์พลังงานอาคารควบคุมพลังงาน จำนวน 17 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 9.7 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ข้อมูลจำนวนโรงงานที่เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พลังงาน พื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ตำบล | จำนวนโรงงาน |
แม่ลา | 2 |
นครหลวง | 2 |
ปากจั่น | 1 |
คลองสะแก | 4 |
บ่อโพง | 1 |
บางพระครู | 7 |
รวม | 17 |
ที่มา :กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2560)
เศรษฐกิจของภาคอุตสาหกรรม
จากข้อมูลกรมโรงงานอุตสาหกรรม พบว่าโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจดทะเบียนในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่ามีจำนวนเงินลงทุนของผู้ประกอบการ (ปี 2559) รวมทั้งสิ้น 26,029,812,347 บาท
ข้อมูลจำนวนเงินลงทุนของผู้ประกอบการในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม (ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2560)
กราฟข้อมูลจำนวนเงินลงทุนของผู้ประกอบการในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
การส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของวิสาหกิจชุมชน
มีการจัดตั้ง บริษัท ประชารัฐสามัคคีพระนครศรีอยุธยา (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นการสนองนโยบายรัฐบาลของหน่วยงานในสังกัดกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อร่วมกันค้นหาชุมชนที่มีความพร้อมเข้าร่วมกับบริษัทฯ พร้อมทั้งสานพลังความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาและคิดหาทางสร้างอนาคตให้แก่ชุมชน ในการหาช่องทางการตลาด การจัดจำหน่ายในระดับจังหวัด สร้างรายได้ในชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีความสุขอย่างยั่งยืน โดยเน้นขับเคลื่อนใน 3 ด้านหลัก ให้บรรลุเป้าหมายของรัฐบาล คือ กิจกรรมด้านการเกษตร การแปรรูปสินค้า และการท่องเที่ยวโดยชุมชน
เปิดตัว บริษัทประชารัฐรักสามัคคีพระนครศรีอยุธยา (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัดแรงงาน
จำนวนแรงงานในสถานประกอบการทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งในพื้นที่มีจำนวนแรงงาน 10,740 คน
จำนวนแรงงานทั้งหมดในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ณ มิถุนายน พ.ศ.2560
ข้อมูลรายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่าประชากรในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ.2560 (มกราคม - มีนาคม) มีอัตราการว่างงานร้อยละ 1.9
สภาพการทำงานของประชากรในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ที่มา : รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไตรมาสที่ 1 ปี 2560 สำนักงานแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การส่งเสริมอาชีพของคนในท้องถิ่น
ฐานข้อมูลจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมพบว่า มีโรงงานที่มีการดำเนินการตามมาตรฐาน CSR-DIW ซึ่งตามข้อกำหนดให้มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมให้มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการจากชุมชน หรือ ส่งเสริมกิจกรรมหรือกลุ่มอาชีพให้กับชุมชน จำนวน 5 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 2.86 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ทั้งนี้ยังไม่มีหน่วยงานในพื้นที่ที่รวบรวมข้อมูลการดำเนินกิจกรรม CSR ที่ไม่ได้เข้าร่วมผ่านกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ข้อมูลจำนวนโรงงานที่มีการดำเนินการตามมาตรฐาน CSR-DIW
ที่มา :กรมโรงงานอุตสาหกรรม (ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2560)
การขนส่งและโลจิสติกส์
ในปัจจุบันมีโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค (OPOAI) ซึ่งเป็นโครงการที่คัดเลือกผู้ประกอบการจากทั้งจังหวัดเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสถานประกอบการ ทั้งด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน ลดต้นทุนพลังงาน การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์/ระบบมาตรฐานสากล กลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด การบริหารจัดการด้านการเงิน การจัดการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
พิธีมอบรางวัลโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร
ในภูมิภาค OPOAI ประจำปี พ.ศ.2560
สำหรับในปีงบประมาณ 2559 นี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดสรรงบประมาณ 31.6 ล้านบาท เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร (ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 200 ล้านบาท) ในพื้นที่ 76 จังหวัด ทั่วประเทศ จำนวน 137 ราย จำนวนแผนงาน 200 แผนงาน
แผนงานที่ได้เข้าไปให้คำปรึกษาแนะนำแก่สถานประกอบการ ประจำปี 2559
ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
การควบคุมมลภาวะทางน้ำ
กรมโรงงานอุตสาหกรรมไม่มีฐานข้อมูลการระบายน้ำของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ ที่โรงงานที่เข้าข่ายจะต้องมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน (ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม) ซึ่งไม่เปิดเผยข้อมูลคุณภาพน้ำทิ้งต่อสาธารณะ ทั้งนี้จากการรวบรวมข้อมูล BOD Load และ COD Load ในพื้นที่อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ปริมาณ BOD และ COD ของน้ำทิ้งโรงงานในพื้นที่อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศโรงงานอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม (ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2560)
คุณภาพแหล่งน้ำสาธารณะ
พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำในพื้นที่บริเวณ สะพาน ต.บ่อโพง อ.นครหลวง และมีสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำอีกจำนวน 9 สถานี ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีดัชนีวัดที่สำคัญ คือ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ ค่าความสกปรกในรูปแบบสารอินทรีย์หรือบีโอดี การปนเปื้อนแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด การปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มฟีคัลโคลิฟอร์ม และค่าแอมโมเนีย-ไนโตรเจน พบว่าคุณภาพน้ำจัดอยู่ในแหล่งน้ำ ซึ่งมีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม
สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำ ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ผลการตรวจวัดคุณภาพแหล่งน้ำในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จ.พระนครศรีอยุธยา
หมายเหตุ : 1 WQI เป็นคะแนนค่าดัชนีคุณภาพน้ำเพียงค่าเดียว จากการนำผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำหลายตัวมาประเมินร่วมกัน ได้แก่
ค่าออกซิเจนละลายน้ำ (DO) ค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (BOD) ค่าแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์ม (TCB) และค่าแบคทีเรียกลุ่มคอลโคลิฟอร์ม (FCB)
2 การประเมินดัชนีคุณภาพน้ำทั่วไป (WQI) มีหน่วยเป็นคะแนน เริ่มจาก 0 - 30 คะแนน คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก 31 - 60 คะแนน คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม 61 - 70 คะแนน คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้ 71 - 90 คะแนน คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี 91 - 100 คะแนน คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
3 ประเภทแหล่งน้ำ ประเมินโดยพารามิเตอร์ 5 ตัว ได้แก่ DO, BOD, TCB FCB และ NH3
ที่มา : สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 จังหวัดสระบุรี
การควบคุมมลภาวะทางอากาศ
ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไม่มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ แต่มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอยู่ในพื้นที่บริเวณ ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โดยพบว่าคุณภาพอากาศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง
ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศ สถานีตรวจวัดบริเวณ ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2558-2560
ที่มา : สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ
การจัดการของเสียและวัสดุเหลือใช้
ในพื้นที่อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปี 2559 มีกากของเสียรวม 49,959.13 ตัน จำแนกเป็นกากของเสียไม่อันตรายร้อยละ 87 และกากของเสียอันตรายร้อยละ 13 ทั้งนี้จากแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีโครงการส่งเสริมให้สถานประกอบการนำของเสียมาใช้ประโยชน์และการพัฒนาธุรกิจรีไซเคิล/อัพไซเคิลเพื่อเพิ่มมูลค่าและใช้ประโยชน์กากอุตสาหกรรม
ปริมาณกากของเสียอุตสาหกรรมในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.2557-2559
การจัดการขยะชุมชน
พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พื้นที่ตำบลแม่ลา ตำบลนครหลวง ตำบลปากจั่น ตำบลคลองสะแก ตำบลบ่อโพง ตำบลบางพระครู อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษได้จัดทำรายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ.2559 โดยมีข้อมูลอัตราการกำจัดขยะมูลฝอยในพื้นที่เป้าหมายทั้งหมด 37.56 ตัน/วัน อัตราการกำจัดประมาณ 37.56 ตัน/วัน ทั้งนี้แผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่จัดทำเมื่อปี 2559 มีโครงการคัดแยกขยะชุมชน ในพื้นที่ หมู่ที่ 2,3,4,5,7 ต.นครหลวง อ.นครหลวง
การจัดการพลังงาน
มีข้อมูลการใช้พลังงานของภาคอุตสาหกรรม พ.ศ.2559 ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีปริมาณการใช้ 1,239.36 (ktoe/ปี)
โครงการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศพื้นที่ 7 จังหวัด มีการจัดทำฐานข้อมูลการใช้พลังงาน (mass balance) ในโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เป้าหมาย และมีโรงงานที่เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พลังงานอาคารควบคุมพลังงาน จำนวน 17 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 9.66 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ข้อมูลจำนวนโรงงานที่มีการออกแบบอาคารและ/หรือระบบภายในอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ/หรือประหยัดพลังงานในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การจัดการเหตุเดือดร้อนรำคาญ
จากสถิติเรื่องร้องเรียนด้านมลพิษที่กรมควบคุมมลพิษรับแจ้ง ประจำปี 2559 ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเรื่องร้องเรียนจำนวน 8 เรื่อง อย่างไรก็ตาม ไม่มีการรายงานข้อมูลแยกรายตำบลในพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
สำหรับภาพรวมการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ตั้งแต่เปิดศูนย์ฯ 21 กรกฎาคม 2557 – 24 พฤษภาคม 2560) รวมเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น 5,618 เรื่อง ยุติ 5,278 เรื่อง (ร้อยละ 93.95) อยู่ระหว่างดำเนินการ 340 เรื่อง และให้คำปรึกษา 3,706 เรื่อง บริการข้อมูลข่าวสาร 12,805 เรื่อง บริการเบ็ดเสร็จ 9,207 เรื่อง
ประเภทของเรื่องร้องเรียน และผลการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2557-พ.ศ. 2560
สำหรับเดือนพฤษภาคม 2560 รวมเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น 42 เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 27 เรื่อง ยุติ จำนวน 15 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 64.29
ประเภทของเรื่องร้องเรียน และผลการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม จ.พระนครศรีอยุธยา เดือน พฤษภาคม 2560
กระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
จากฐานข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันยังไม่มีโรงงานที่ได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) และจากฐานข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม มีโรงงานได้รับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 14 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 8
จำนวนโรงงานที่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry : GI)
ประสิทธิภาพเชิงนิเวศ
ในส่วนของโรงงานที่จะต้องมีการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งต้องมีการประเมินความหลากหลายทางชีวภาพ และจัดทำแผนป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อความหลากหลายทางชีวภาพ โดยในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศมีโรงงานที่ของมีการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมจำนวน 1 โรงงาน ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลบางพระครู คิดเป็นร้อยละ 0.57 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมาย
การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ
จากฐานข้อมูลพบว่าในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศมีโรงงานที่ต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ความเสี่ยง จำนวน 16 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 9.14 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมาย
ข้อมูลจำนวนโรงงานที่ต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ความเสี่ยงแยกรายตำบลในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จากข้อมูลของสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม สถิติการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ.2559 ไม่มีการรั่วไหล และการเกิดอุบัติเหตุของสารเคมีและวัตถุอันตรายภายในโรงงานอุตสาหกรรม ที่ทำให้เกิดผล กระทบต่อพนักงาน ชุมชน หรือสิ่งแวดล้อมภายนอกในพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม
จากฐานข้อมูลของสำนักนโยบายแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โรงงานในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีโรงงานที่มีระบบการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วมตามโครงการ GI ระดับ 3 ขึ้นไป หรือ EIA Monitoring รวมเป็น 14 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 8 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมาย ทั้งนี้ภายใต้โครงการยกระดับศูนย์ติดตามตรวจสอบและประเมินผลเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 7 จังหวัด ยังมีการจัดตั้งเครือข่ายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่มีบทบาทเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วมอีกด้วย
จำนวนโรงงานที่มีระบบการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วมตามโครงการ GI หรือ EIA Monitoring หรือโครงการอื่นที่เทียบเท่า พื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
จากฐานข้อมูลกรมโรงงานอุตสาหกรรมพบว่า มีโรงงานที่ดำเนินการตามมาตรฐาน CSR-DIW ซึ่งตามข้อกำหนดให้มีการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนตามบริบทของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจำนวน 5 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 2.85 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ทั้งนี้ยังไม่มีหน่วยงานในพื้นที่ที่รวบรวมข้อมูลการดำเนินกิจกรรม CSR ที่ไม่ได้เข้าร่วมผ่านกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ข้อมูลจำนวนโรงงานทีมีการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อัตราการลดลงของการเกิดคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญต่อประชากรรวม
จากฐานข้อมูลสถานีตำรวจภูธรนครหลวง ไม่มีการรับแจ้งและจับกุมกลุ่มคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญในพื้นที่พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ปี 2559
ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินจากภัยพิบัติ
จากข้อมูลสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่าในในพื้นที่ อำเภอนครหลวง ปี พ.ศ. 2559 มีจำนวนผู้ได้รับผลกระทบรวม 2,020 ราย
จำนวนภัย จำนวนผู้ประสบภัย และจำนวนเงินทดรองราชการที่ใช้ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย อำเภอนครหลวง
การบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม
พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและจัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ขึ้นในปี พ.ศ.2559 โดยขณะนี้แผนปฏิบัติการอยู่ในช่วงการของบประมาณเพื่อดำเนินการและในปี พ.ศ.2560 ได้มีการประสานเพื่อจัดตั้งคณะทำงานเครือข่ายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Network) เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ข้อมูลข่าวสารและการรายงาน
ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการจัดตั้งศูนย์ติดตามตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับจังหวัดหรือเรียกว่า ศูนย์พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยตั้งอยู่ที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสาร ให้คำปรึกษาแนะนำและเปิดเผยข้อมูลของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ อีกทั้งยังมีการจัดทำเว็บไซต์ http://ecocenter.diw.go.th/ เพื่อใช้ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์อีกหนึ่งช่องทาง
คณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ดาวน์โหลดเอกสารคณะขับเคลื่อนเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ดาวน์โหลดเอกสาร