เขตควบคุมมลพิษ

จังหวัดระยอง ได้รับการกำหนดบทบาทให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก และถูกกำหนดแนวทางการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางความเจริญแห่งใหม่ เป็นศูนย์บริการมาตรฐานการศึกษา และวิจัยด้านเทคโนโลยีและกำหนดให้ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก เป็นประตูทางออกให้กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการส่งสินค้าออกไปจำหน่ายต่างประเทศ โดยไม่ต้องผ่านกรุงเทพฯ ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินการจัดเตรียมระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานไว้อย่างสมบูรณ์ และกำหนดพื้นที่บริเวณมาบตาพุดอำเภอเมือง จังหวัดระยอง เป็นที่ตั้งสำหรับอุตสาหกรรม 8,000 ไร่ มีท่าเรือน้ำลึกขนส่งสินค้าที่สามารถรับเรือขนาด 20,000 ตัน 1 ท่า และท่าขนส่งวัสดุเหลวที่สามารถรับเรือขนาด 8,000 ตัน 2 ท่า เป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมที่สำคัญ ๆ คือ โรงแยกก๊าซธรรมชาติ กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี จังหวัดระยองจึงเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพสูงในส่วนของการลงทุนด้านอุตสาหกรรม นอกจากนี้จังหวัดระยอง ยังได้รับการกำหนดเขตการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ให้อยู่ในเขต 3 ของการส่งเสริมการลงทุนซึ่งได้เปรียบกว่าจังหวัดปริมณฑลและอยู่ใกล้กรุงเทพมหานคร ในระยะทางไม่เกิน 200 กิโลเมตร จึงส่งผลให้จังหวัดระยองเป็นจังหวัดที่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว

จังหวัดระยอง ประกอบด้วย ที่ราบชายฝั่งที่เกิดจากการทับถมของตะกอนบริเวณแอ่ง ลุ่มน้ำระยอง และที่ราบสลับเนินเขาและภูเขา มีลักษณะเป็นลอนลูกคลื่นสูงต่ำสลับกันไปรวมกับพื้นที่ทิวเขา ๒ แนว คือทิวเขาชะเมาทางทิศตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๐๓๕ เมตร และทิวเขาที่อยู่ประมาณกึ่งกลางของตัวจังหวัดเป็นแนวยาวจากอำเภอเมืองขึ้นไปทางเหนือจนสุดเขตจังหวัดเป็นเนินเขาที่เตี้ยกว่าคือ เขาขุนอิน เขาจอมแห เขางวงช้าง ในเขตอำเภอบ้านค่ายและเขาท่าฉุด เขายายตา เขาตะเภาคว่ำ ในเขตอำเภอเมืองระยอง มีแม่น้ำสำคัญ ๒ สาย คือ แม่น้ำระยองยาวประมาณ ๕๐ กิโลเมตร ไหลผ่านท้องที่อำเภอปลวกแดง อำเภอบ้านค่าย อำเภอเมืองระยอง ไหลลงสู่ทะเลที่ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองระยอง และแม่น้ำประแสร์ยาวประมาณ ๒๕ กิโลเมตร มีต้นกำเนิดจากทิวเขาในจังหวัดจันทบุรี ไหลผ่านท้องที่ของอำเภอเขาชะเมา อำเภอ แกลง ลงสู่ทะเลที่ตำบลปากน้ำประแสร์ อำเภอแกลง แต่หากแบ่งลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดระยองทางกายภาพแล้ว สามารถแบ่งออกเป็น ๕ ลักษณะ ได้แก่

    1. หาดทรายและสันทราย จังหวัดระยองอยู่ติดทะเลมีหาดทรายและสันทรายเป็นแนวยาว ตามแนวชายฝั่งตะวันออก-ตะวันตก ประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร มีความสูงประมาณ ๓ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ความลาดชันต่ำและค่อย ๆ สูงขึ้นในแนวเหนือ-ใต้ แนวชายหาดเริ่มตั้งแต่อำเภอ บ้านฉางไปสิ้นสุดที่อำเภอแกลง
    2. ที่ลุ่มต่ำและที่ราบเรียบ พบบริเวณทิศใต้ถัดจากแนวสันทรายมาทางทิศเหนือเป็น หย่อม ๆ ตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก โดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำระยองมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มต่ำ น้ำทะเลท่วมถึง มีน้ำแช่ขังเกือบตลอดปี ส่วนบริเวณที่ราบเรียบพบตามแนวใกล้ลำน้ำหรือพื้นที่ที่ต่อเนื่องจากที่ลุ่มต่ำ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากทะเล
    3. ลูกคลื่นลอนลาดและลูกคลื่นลอน มีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาด ลูกคลื่นลอนชัน และเนินเขาเป็นส่วนใหญ่ พบในพื้นที่ซึ่งอยู่เหนือขึ้นไปจากที่ราบเรียบและที่ลุ่มต่ำ มีความลาดชันประมาณร้อยละ ๓-๑๖ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่เหลือตกค้างจากการกัดกร่อน
    4. บริเวณที่เป็นเนินเขาและที่ลาดเชิงเขา มีลักษณะเป็นเนินเขาลูกเล็ก ๆ ติดต่อกันไปหรือเป็นที่ลาดเชิงเขา มีความลาดชันตั้งแต่ร้อยละ ๑๖-๓๕ สภาพพื้นที่อยู่ในระดับค่อนข้างสูง มีทั้งที่เป็นพื้นผิวที่เหลือจากการกัดกร่อนและพื้นที่หินดินดานเชิงเขา
    5. ที่สูงชันและมีความลาดชันมากกว่าร้อยละ ๓๕ และมีระดับความสูงจากพื้นที่บริเวณรอบ ๆ ตั้งแต่ ๑๕๐ เมตรขึ้นไป ส่วนมากพบบริเวณตอนกลางของจังหวัดระยอง

 

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดระยองในปี 2557 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 3.43 เมื่อเทียบกับปี 2556 ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 1,008,615 บาท โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวม ณ ราคาประจำปี 874,547 ล้านบาท ซึ่งสาขาที่มีมูลค่าการผลิตสูงสุด คือ สาขาอุตสาหกรรม 314,381 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.95 ของสาขาการผลิตทั้งหมด

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดระยอง ณ ราคาประจำปี

หน่วย : ล้านบาท

สาขา 2553 2554 2555 2556 2557
ภาคเกษตร 27,363 33,705 27,025 22,660 20,962

เกษตรกรรมการล่าสัตว์และ

การป่าไม้

23,942 29,691 22,523 18,873 16,892
การประมง 3,421 4,014 4,502 3,787 4,070
ภาคนอกเกษตร 688,762 730,853 827,199 883,004 853,585
การทําเหมืองแร่และเหมืองหิน 241,906 274,982 344,687 353,116 349,770
อุตสาหกรรม 311,187 286,181 303,293 346,477 314,381
การไฟฟ้า แก๊ส และการประปา 40,634 57,254 51,518 48,809 52,570
การก่อสร้าง 6,294 5,440 4,641 6,707 5,800

การขายส่ง การขายปลีกการซ่อมแซมยาน-ยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน

50,067 52,231 52,582 56,467 53,316
โรงแรมและภัตตาคาร 1,747 1,974 2,148 2,430 2,644

การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้าและ

การคมนาคม

15,261 16,156 16,125 15,312 16,277
ตัวกลางทางการเงิน 4,682 5,417 6,568 7,475 9,622

บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและบริการทางธุรกิจ

5,550 19,093 32,611 33,256 34,385

การบริหารราชการและการ

ป้องกันประเทศรวมทั้งการ ประกันสังคมภาคบังคับ

5,736 6,068 6,370 6,400 7,226
การศึกษา 3,222 3,271 3,404 3,541 3,888
การบริการด้านสุขภาพและสังคม 1,692 1,758 2,050 1,827 2,286

การให้บริการด้านชุมชน สังคม

และบริการส่วนบุคคลอื่นๆ

640 827 967 1,004 1,133
ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล 146 202 235 183 288

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด

(GPP)

716,125 764,558 854,225 905,664 874,547

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อ

หัว (บาท)

873,241 918,744 1,011,901 1,058,293 1,008,615
จํานวนประชากร (1,000คน) 820 832 844 856 867

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ http://www.nesdb.go.th (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2559)

ทรัพยากรป่าไม้

จังหวัดระยอง มีเนื้อที่ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ และ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตอุทยานแห่งชาติโดยแยกเป็นป่าสงวนแห่งชาติ 8 แห่ง เนื้อที่ 821.99 ตารางกิโลเมตร หรือ 513,743 ไร่ อุทยานแห่งชาติ2 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด พื้นที่ 81,875 ไร่ และอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง พื้นที่ 42,400 ไร่ รวมทั้งสิ้นจำนวน 198.84 ตารางกิโลเมตรหรือ 124,275 ไร่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 1 แห่งคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน พื้นที่ 32,875 ไร่ และสวนรุกขชาติ 2 แห่ง คือ สวนรุกขชาติเพและสวนรุกขชาติหนองสนม จากข้อมูลล่าสุดพบว่าพื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดเหลือประมาณ 313.21 ตารางกิโลเมตร หรือ 195,760 ไร่ ร้อยละ 9 ของพื้นที่จังหวัด ป่าส่วนใหญ่เป็นป่าดิบแล้ง นอกจากนี้ยังมีป่าชายเลน ป่าเบญจ-พรรณและป่าละเมาะ การวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อที่ป่าไม้ของกรมป่าไม้ พบว่าเนื้อที่ป่าไม้ลดลงแต่พบว่าเนื้อที่ป่าไม้ที่ลดลงในอัตราที่ลดลง เนื่องจากเนื้อที่ป่าที่เหลืออยู่ในเขตอนุรักษ์และภูเขาสูงชันไม่เหมาะกับการทำเกษตรรวมทั้งการปฏิบัติงานป้องกันรักษาป่าอย่างเข้มแข็งของเจ้าหน้าที่ สภาพปัญหาป่าไม้บางส่วนไม่ได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติเนื่องจากอยู่ในเขตนิคมสร้างตนเองสหกรณ์นิคมและพื้นที่เขาเล็กๆ น้อยๆ ประกอบกับปัจจุบันกฎหมายป่าชุมชนที่มุ่งเน้นให้ประชาชนร่วมจัดการป่าไม้ยังไม่ได้บังคับใช้ เพราะอยู่ระหว่างการพิจารณาหากกฎหมายฉบับนี้บังคับใช้ได้คาดว่าจังหวัดระยองจะมีเนื้อที่ป่าเพิ่มขึ้นเนื่องจากความร่วมมือของประชาชนในการป้องกันรักษาป่าและการฟื้นฟูป่า

ทรัพยากรน้ำ

จังหวัดระยอง มีแม่น้ำที่สำคัญ 2 สาย ได้แก่

- แม่น้ำระยองหรือคลองใหญ่ ความยาวประมาณ 50 กิโลเมตร มีต้นน้ำเกิดจากเทือกเขากองซองและเขาพนมศาสตร์ ซึ่งไหลผ่านตามคลองต่างๆ แล้วมารวมกันเรียกว่าคลองใหญ่และไหลลงสู่ทะเลที่ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองระยอง

- แม่น้ำประแสร์ มีต้นกำเนิดจากเขาใหญ่ เขาอ่างฤาไน เขาหินโรง เขาอ่างกระเด็น ไหลมาตามห้วยและคลองต่างๆ หลายสาย เช่น คลองประแสร์ คลองปลิง คลองบ่อทอง ห้วยหินคม คลองเจว็ด คลองตากล้วย คลองชุมแสง คลองไผ่เหนือ-ใต้ คลองตวาด คลองพังหวาย คลองจำกา คลองใช้ คลองแหวน คลองโพล้ คลองทาสีแก้วและคลองหนองเพลง แล้วไหลมารวมกันเรียกว่าแม่น้ำประแสร์ มีความยาวประมาณ 120 กิโลเมตร และไหลลงสู่ทะเลที่บ้านปากน้ำ ตำบลปากน้ำประแสร์ อำเภอแกลง

คลอง มีคลองต่างๆ จำนวน 170 คลอง ซึ่งมีน้ำใช้ตลอดปีที่สำคัญ ได้แก่

- คลองดอกกราย มีความยาวประมาณ 45 กิโลเมตร มีต้นน้ำจากเขาซากกล้วยในเขตอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ไหลลงคลองหนองปลาไหลก่อนที่จะบรรจบกับคลองใหญ่

- คลองหนองปลาไหล มีความยาวประมาณ 42 กิโลเมตร มีต้นน้ำจากเทือกเขาน้ำโจน เขาชมพู่และเขาเรือตกในเขตจังหวัดชลบุรี ซึ่งไหลมาตามห้วยและคลองต่างๆ เช่น คลองระวิง คลองกร่ำ คลองปลวกแดง จังหวัดระยอง ไหลมารวมกันเรียกว่าคลองหนองปลาไหล แล้วไหลลงสู่คลองใหญ่ที่บ้านหัวทุ่ง ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านค่าย

- คลองโพล้ มีความยาวประมาณ 38 กิโลเมตร มีต้นน้ำจากเขาชมูน เขาชะเอมและเขาปลายคลองโพล้ ไหลลงสู่แม่น้ำประแสร์ที่บ้านท่ากระชาย อำเภอแกลง

- คลองทับมา มีความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร มีต้นน้ำจากเทือกเขาต่างๆ เช่น เขาจอมแหเขาเกตุ เขากระบอก ซึ่งไหลมาตามห้วยและคลองต่างๆ เช่น คลองเขาใหญ่ คลองหนองหล้าและคลองช้างตายไหลมารวมกันเรียกว่าคลองทับมา และไหลลงสู่แม่น้ำระยองที่บ้านเกาะลอย อำเภอเมือง

- คลองระโอก มีความยาวประมาณ 10 กิโลเมตร มีต้นน้ำจากเทือกเขาชะเมา ซึ่งไหลผ่านมาตามคลองต่างๆ เช่น คลองเขาจุด คลองสะท้องและคลองน้ำเป็น ไหลมารวมกันเรียกว่าคลองระโอก และไหลลงสู่คลองโพล้ที่บ้านเนินสุขสำราญ อำเภอแกลง

แหล่งน้ำใต้ดินของจังหวัดระยองมีคุณภาพปานกลางถึงคุณภาพดี ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองระยอง อำเภอแกลง และอำเภอวังจันทร์

ทรัพยากรแร่ธาตุ

จังหวัดระยองมีทรัพยากรแร่อยู่หลายชนิด แร่ที่มีปริมาณมากที่สุดคือแร่ทรายแก้ว แร่หินอุตสาหกรรม ชนิดหินแกรนิตเพื่อการก่อสร้าง แร่หินประดับชนิดหินแกรนิต แร่หินประดับชนิดหินไนส์ แร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินไนส์เพื่อการก่อสร้าง แร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่อการก่อสร้าง แร่อุตสาหกรรมและแร่เศรษฐกิจอื่นๆที่สำรวจพบได้แก่ แร่ดินขาว แร่เฟลด์สปาร์ แร่วอร์ทช์ แร่ทองคำ นอกจากนี้ยังพบว่ามีกลุ่มแร่ที่หายากสะสมตัวอยู่ตามชายฝั่งและในทะเล ได้แก่ แร่ดีบุก แร่โรมาไซด์ แร่เชอร์คอน แร่ซีโนไทม์ แร่ ลูโคซีน แร่ชิลเมไนท์ แร่รูไทล์ แร่โคชลัมไบท์และแร่แทนทาไลท์

นอกจากนี้ ยังมีก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย ส่งมายังโรงแยกก๊าซธรรมชาติของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยที่จังหวัดระยอง นับเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ยิ่งใหญ่ของประเทศ

  การสาธารณสุข

จังหวัดระยอง มีสถานพยาบาล ประกอบด้วย โรงพยาบาลของรัฐ 9 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 3 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 95 แห่ง คลินิก (ทุกประเภท) 194 แห่ง จำนวนเตียง 2,916 เตียง มีบุคลากรด้านสาธารณสุข ประกอบด้วย แพทย์ 189 คน ทันตแพทย์ 52 คน เภสัชกร 81 คน และพยาบาล 946 คน อัตราส่วนแพทย์ต่อจำนวนประชากรจังหวัดระยอง เท่ากับ 1:3,468 คน

การศึกษา

จังหวัดระยอง มีสถานศึกษา 259 แห่ง การศึกษาขั้นพื้นฐาน 218 แห่ง การศึกษาระดับอาชีวศึกษาและเอกชน 31 แห่ง และอยู่ในการดูแลของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 9 แห่ง

ประชากร แรงงานและการจ้างงาน และแรงงานต่างด้าว

จังหวัดระยอง มีประชากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ทั้งสิ้น 684,402 คน จำแนกเป็นชาย 336,690 คน หญิง 347,712 คน สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ดำเนินการสำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากรในจังหวัดระยองปี พ.ศ.2557 พบว่า ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวน 1,244,480 คน จำแนกเป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 903,428 คน และผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 341,052 คน จากจำนวนผู้อยู่ในกำลังแรงงาน พบว่ามีผู้ว่างงาน จำนวน 13,651 คน และมีแรงงานต่างด้าวจำนวนทั้งสิ้น 29,115 คน

จำนวนกำลังแรงงาน จำแนกตามเพศและสภาพแรงงาน

สถานภาพแรงงาน

จํานวนคน

รวม

ชาย หญิง
ผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป 365,216 358,299 723,515
1.ผู้อยู่ในกําลังแรงงาน 303,343 239,401 542,745
1.1 ผู้มีงานทํา 300,822 237,113 537,936
1.2 ผู้ว่างงาน 2,521 2,287 4,809
1.3 ผู้รอฤดูกาล - - -
2.ผู้ไม่อยู่ในกําลังแรงงาน 61,872 118,897 180,769

ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ, http://service.nso.go.th (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2559)

จังหวัดระยอง มีวิสัยทัศน์การพัฒนา 4 ปี พ.ศ. 2557-2560 (ฉบับทบทวน) คือ ประชามีสุข ท่องเที่ยวอนุรักษ์ เกษตรสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมเป็นมิตร สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ 30 กลยุทธ์ 798 โครงการ งบประมาณทั้งสิ้น 20,020.11 ล้านบาท

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจควบคู่ กับการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรให้คล้องกับความต้องการของตลาดและมีคุณภาพมาตรฐานปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ปรับปรุงและส่งเสริมการพัฒนาการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (environmental Friendly) และสนับสนุนการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)

ยุทธศาสตร์ที่ 4 อนุรักษ์ ฟื้นฟู และป้องกันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของจังหวัดระยอง โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

ยุทธศาสตร์ที่ 5 เสริมสร้างคุณภาพชีวิตและคุ้มครองสิทธิของประชาชนและสังคมจังหวัดระยองให้มีความเข้มแข็งและดำรงชีวิตตามหลักปรัชญา

ยุทธศาสตร์ที่ 6 ส่งเสริม พัฒนา เพิ่มขีดความสามารถภาคพณิชยกรรมและบริการของจังหวัดระยองสู่ความยั่งยืนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

คณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยองได้มีการคัดเลือกพื้นที่เขตควบคุมมลพิษ เพื่อเป็นพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง ครอบคลุมพื้นที่เขตปกครอง 7 ตำบลใน 3 อำเภอ ได้แก่ ตำบลมาบตาพุด ตำบลห้วยโป่ง ตำบลเนินพระ และ ตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ตำบลมาบข่า อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยองทั้งตำบล และตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง อาณาเขตครอบคลุมนิคมอุตสาหกรรม 5 นิคม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล นิคมอุตสาหกรรมผาแดง และนิคมอุตสาหกรรมเอเซีย มีโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เป้าหมายรวม 607 โรงงาน โดยมีโรงงานที่ได้รับการรับการรับรองระบบบริหารงานระดับสากลและระดับประเทศดังตาราง

การวางผังที่ตั้งและการจัดพื้นที่
พื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (พื้นที่เขตควบคุมมลพิษ) อยู่ในพื้นที่ 7 ตำบล ใน 3 อำเภอ ได้แก่

    1.  อำเภอเมือง ตำบลมาบตาพุด ตำบลห้วยโป่ง ตำบลเนินพระ
    2.  อำเภอนิคมพัฒนา ตำบลทับมา
    3.  อำเภอบ้านฉาง ตำบลบ้านฉาง

มีอาณาเขตครอบคลุมนิคมอุตสาหกรรม 5 นิคม ได้แก่

    1.  นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
    2.  นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก
    3.  นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล
    4.  นิคมอุตสาหกรรมผาแดง
    5.  นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย

ผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลักและชุมชนมาบตาพุด

ที่มา : กรมโยธาธิการและผังเมือง (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2560)

นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

         นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นนิคมที่พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.2532 ภายใต้การบริหารและกำกับดูแลของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เป็นที่ดินจัดสรรไว้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเข้าไปอยู่รวมกันอย่างเป็นสัดส่วน ประกอบด้วย พื้นที่อุตสาหกรรม และระบบสาธารณูปโภค โดยตั้งอยู่เลขที่ 1 ถนนไอ-หนึ่ง ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง สามารถเข้าสู่พื้นที่โครงการโดยใช้ ทางหลวงหมายเลข 3 จากกรุงเทพและใช้ทางหลวงหมายเลข 36, 3191 และ 3392 ตามลำดับ มีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 190 กิโลเมตร


ที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีการจัดสรรการใช้พื้นที่รวมทั้งหมด 10,215 ไร่ สามารถแบ่งประเภทการใช้ประโยชน์พื้นที่ดังตาราง



ผังแสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปโภคในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ประกอบด้วย

ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปโภคในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ประกอบด้วย

1) ระบบถนน 

      • ถนนสายหลักเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ช่องจราจร กว้าง 40 เมตร 
      • ถนนสายรองกว้าง 25 เมตร 
      • ทางเข้า-ออกนิคมอุตสาหกรรมมี 4 ทาง

2) ระบบไฟฟ้า 

      • รับไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 115 KVA และ 22 KVA
      • กำลังการผลิตรวม 1,545 MW ปัจจุบันจ่าย 245 MW

3) ระบบน้ำดิบ 

      • ใช้น้ำดิบจากอ่างเก็บน้ำดอกกรายและหนองปลาไหล ความจุรวมปีละประมาณ 240 ล้านลบ.ม. 
      • ระบบส่งจ่ายน้ำ 100 ล้านลบ.ม./ปี 
      • ผู้ประกอบการต้องการใช้น้ำประมาณ 72 ล้านลบ.ม./ปี แรงดันน้ำ 5-6 บาร์

4) ระบบประปา 

      • กำลังผลิต 15,300 ลบ.ม./ปี ใช้ระบบกรองเร็ว แรงดันน้ำ 3-4 บาร์ 
      • ผู้ประกอบการต้องการใช้ประมาณ 5,000 ลบ.ม./วัน

5) ระบบบำบัดน้ำเสีย

      • เขตอุตสาหกรรมทั่วไป 4,000 ลบ.ม./วัน มีความต้องการใช้บำบัด 1,000 ลบ.ม./วัน
      • เขตธุรกิจอุตสาหกรรม 7,200 ลบ.ม./วัน เพื่อรองรับการใช้พื้นที่อนาคต

6) ท่าเรือให้บริการสินค้าหลัก

      • ท่าเรือน้ำลึก ท่าเรือทั่วไปให้บริการสินค้าหลัก 
      • ท่าเรือเคมีภัณฑ์และของเหลว 
      • ท่าเรือขนถ่ายเหล็ก 
      • ท่าเรือน้ำมัน 
      • ท่าเรือปุ๋ยเคมี

7) ระบบโทรคมนาคม

      • Internet ADSL 
      • Fibered Optics
      • Teleconference etc.

 

นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก
         นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) ตั้งอยู่บริเวณทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3392 ภายในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ 155 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อโดยรอบดังนี้

    • ทิศเหนือ ติดต่อกับพื้นที่ว่างซึ่งต่อเนื่องกับพื้นที่ชุมชนเมืองใหม่มาบตาพุดและคลองชากหมาก
    • ทิศตะวันตก ติดต่อกับลำรางสาธารณะและพื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย
    • ทิศตะวันออก ติดต่อกับพื้นที่สีเขียวของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
    • ทิศใต้ ติดต่อกับทางรถไฟสายสัตหีบ-มาบตาพุดและพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมผาแดง
    • นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก มีการจัดสรรการใช้พื้นที่รวมทั้งหมด 3,374.42 ไร่ สามารถแบ่งประเภทการใช้ประโยชน์พื้นที่ ดังตาราง


ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปโภคในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก ประกอบด้วย
1) ระบบถนน

    •  สายประธาน กว้าง 25 - 35 เมตร 4 ช่องทางจราจร
    •  สายรองประธาน 18 - 25 เมตร 2 ช่องทางจราจร

2) ระบบไฟฟ้า

    •  สถานีไฟฟ้าย่อย (Sub Station) จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 สถานี ขนาด 50 เมกกะวัตต์
    •  ความสามารถในการจ่ายฟ้า 60 KVA/ไร่
    •  แรงดันไฟฟ้า 115/22 กิโลโวต์

3) ระบบน้ำดิบ

    •  ใช้น้ำดิบจากอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล และอ่างเก็บน้ำดอกกราย

4) ระบบบำบัดน้ำเสีย

    •  ระบบ Aerated Lagoon ขนาด 5,000 ลบ.ม./วัน
    •  ระบบบำบัดน้ำเสีย

5) ระบบป้องกันน้ำท่วม

    •  น้ำฝนที่ตกในพื้นที่นิคมฯ จะถูกรวบรวมลงสู่รางระบายน้ำฝน โดยนิคมได้จัดสร้างบ่อพักน้ำฝน (detention pond) จำนวน 2 บ่อ ขนาด 8,095 และ 23,800 ลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ

6) ระบบโทรคมนาคม

    •  Internet ADSL
    •  Fibered Optics
    •  Teleconference etc.

7) ระบบกำจัดขยะมูลฝอย

    • ไม่มีระบบเตาเผาขยะ ส่งต่อให้หน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากราชการ

นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล
        นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด อำเภอเมิง จังหวัดระยอง สามารถเข้าสู่พื้นที่โครงการโดยใช้ ทางหลวงหมายเลข 3 จากกรุงเทพและใช้ทางหลวงหมายเลข 3191 มีอาณาเขตโดยรอบพื้นที่โครงการ ดังนี้

    • ทิศเหนือ ติดต่อกับพื้นที่เกษตรกรรมในเขตชุมชนบ้านบนสามารถเข้าสู่พื้นที่โครงการโดยใช้ ทางหลวงหมายเลข 3 จากกรุงเทพและใช้ทางหลวงหมายเลข 36, 3191
    • ทิศใต้ ติดต่อกับชุมชนอิสลาม
    • ทิศตะวันออก ติดต่อกับถนนเนินพะยอม
    • ทิศตะวันตก ติดต่อกับพื้นที่เกษตรกรรมในเขตชุมชนมาบยา

นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอลมีการจัดสรรการใช้ที่ดินทั้งหมด รวม 1,732 ไร่ โดยสามารถแบ่งประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินได้ ทั้งนี้นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอลได้จัดให้มีการจัดทำพื้นที่แนวป้องกันเชิงนิเวศรอบนิคมอุตสาหกรรม เป็นระยะทาง 7.4 กิโลเมตร (มีต้นไม้ประมาณ 52,000 ต้น) นอกจากนี้ยังมีการจัดทำพื้นที่สีเขียวทั้งภายในและภายนอกนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรม โดยนิคมอาร์ไอแอลมีพื้นที่ป้องกันเชิงนิเวศ และพื้นที่สีเขียว รวม 329.73 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 19.04 ของพื้นที่ทั้งหมด

 

ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการของนิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล ประกอบด้วย

1. แหล่งน้ำ

      •  น้ำดิบ โรงงานโอเลฟินส์ จะรับน้ำดิบมาจากนิคมฯ ซึ่งรับต่อมาจาก East Water โดยนำไปผลิตน้ำอุตสาหกรรมเพื่อใช้ในโรงงานและส่งให้กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นปลายรวมถึงโรงงานผลิตแผ่นอะคลิลิกแบบต่อเนื่อง โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกโพลิโพรพิลีนคอมพาวด์ ส่วนโรงงานอะโรมาติกส์จะรับน้ำดิบต่อมาจาด East Water เช่นกัน
      •  น้ำอุตสาหกรรม โรงงานอะโรมาติกส์ จะรับน้ำอุตสาหกรรมผ่าระบบท่อส่งน้ำจากบริษัทพีทีที ยูลิตี้ จำกัด ซึ่งเป็นกลุ่มโรงงานที่ให้บริการผลิตน้ำอุตสาหกรรมตั้งอยู่ภายนอกพื้นที่โครงการ

2. ระบบบำบัดเสีย

          นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอลมีระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง โดยขั้นตอนการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย แสดงดังรูป


ผังแสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินของนิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล

นิคมอุตสาหกรรมผาแดง
        นิคมอุตสาหกรรมผาแดง ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 15 ถนนผาแดง นิคมอุตสาหกรรมผาแดง ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยมีเนื้อที่ทั้งหมด 540 ไร่ เป็นเขตอุตสาหกรรมทั่วไป 497 ไร่ พื้นที่สาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก 42.74 ไร่ นอกจากนี้ในแต่ละโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมผาแดง ได้จัดให้มีพื้นที่สีเขียวร้อยละ 10 ของพื้นที่โรงงานด้วย
ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปโภคในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมผาแดง ประกอบด้วย
1) ระบบน้ำประปา

    •  รับน้ำจากบริษัท โกลบอล ยูทิลิตี้ เซอร์วิส จำกัด
    •  ปริมาณใช้น้ำประปาของนิคมฯ 3,000 ลูกบาศก์เมตร/เดือน
    •  ปริมาณใช้น้ำดิบของนิคมฯ 61,978 ลูกบาศก์เมตร/เดือน

2) ระบบไฟฟ้า

    •  สนับสนุนโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดระยอง
    •  แรงดันไฟฟ้า 22 กิโลโวลต์

3) ระบบถนน

    •  ถนนสายประธาน กว้าง 14 เมตร 4 ช่องทางจราจร พื้นผิวคอนกรีต ความยาวประมาณ 700 เมตร
    •  ถนนสายรองประธาน กว้าง 7 เมตร 2 ช่องทางจราจร พื้นผิวคอนกรีต ความยาวประมาณ 560 เมตร

4) ระบบโทรศัพท์

    •  บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จังหวัดระยอง

5) ระบบบำบัดน้ำเสีย

    •  แต่ละโรงงานในนิคมฯ จัดทำระบบบำบัดน้ำเสียเอง จึงไม่มีระบบบำบัดส่วนกลาง

6) ระบบระบายน้ำ

    •  รางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดขนานกับแนวถนน


ผังแสดงบริเวณที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมผาแดง

นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย
นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ตั้งอยู่บนเขตรอยต่อระหว่างตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉางและเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด ในบริเวณใกล้เคียงมีนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่ง


ผังแสดงพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย

นิคมอุตสาหกรรมเอเชียมีเนื้อที่ในปัจจุบันทั้งสิ้น 3,220.25 ไร่ โดยการใช้ประโยชน์ที่ดิน มีรายละเอียดดังนี้

    •  พื้นที่อุตสาหกรรม 2,587.85 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 80.36
    •  พื้นที่พาณิชยกรรม 3.11 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.10
    •  พื้นที่สำนักงานและบ้านพักเจ้าหน้าที่ 7.68 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.41
    •  พื้นที่ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ 257.19 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.99
    •  พื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ และพื้นที่แนวกันชน 363.53 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 11.29
    • (นิคมได้จัดเตรียมพื้นที่แนวกันชนรอบโครงการรวม 60 ไร่ รวมกับพื้นที่สีเขียวอื่นๆในโครงการทำให้โครงการมีพื้นที่สีเขียวทั้งสิ้น 330.5 ไร่ อีกทั้งยังมีพื้นที่สีเขียวที่เป็นเกาะกลางและไหล่ทางอีก 31.33 ไร่)
    •  พื้นที่สำรองไว้เพื่อการพัฒนาในอนาคต 25 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.99

 

ระบบสาธารณูปโภคในนิคมอุตสาหกรรมเอเซีย ประกอบด้วย
1) ระบบน้ำประปา
- ระบบน้ำดิบ : บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน)
- ปริมาณที่ได้รับทั้งนิคมฯ 172,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน
- สามารถผลิตได้โดยเฉลี่ย 40 ลูกบาศก์เมตร/วัน/ไร่
- ระบบน้ำประปา : การประปาส่วนภูมิภาค
- ปริมาณที่ได้รับทั้งนิคมฯ 3,800 ลูกบาศก์เมตร/วัน
- สามารถผลิตได้โดยเฉลี่ย 7 ลูกบาศก์เมตร/วัน/ไร่
2) ระบบไฟฟ้า
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และบริษัทโกลล์ เอสพีพี 3 จำกัด
- มีโรงงานไฟฟ้า กำลังการผลิตขนาด 130 เมกกะวัตต์
- สามารถจ่ายไฟฟ้าได้โดยเฉลี่ย 50 กิโลวัตต์/ไร่
3) ระบบโทรศัพท์
- บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
4) ระบบบำบัดน้ำเสีย
- ลักษณะ Gravity Flow โดยรวบรวมน้ำเสียเบื้องต้นไปบำบัดที่ส่วนกลาง
5) ระบบถนน
- สายประธาน : 44 เมตร (R/W) ผิวจราจรกว้าง 19 เมตร 6 ช่องทางจราจร
- สายรองประธาน : 30 เมตร (R/W) ผิวจราจรกว้าง 14 เมตร 4 ช่องทางจราจร
- ถนนเข้าระบบสาธารณูปโภคกว้าง 6 เมตร
6) ระบบป้องกันน้ำท่วม
- ก่อสร้างรางระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นรูปตัวยู วางคู่ขนานตามแนวถนนทั้ง 2 ด้าน


ผังแสดงการใช้ประโยชน์พื้นที่อุตสาหกรรมเอเซีย

การออกแบบอาคารและบริเวณโดยรอบ

          ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมภายนอกนิคมอุตสาหกรรมที่มีการออกแบบอาคารหรือระบบภายในอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยแนวทางการเก็บข้อมูลในอนาคตคือการสำรวจข้อมูลรายโรงงานโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งพิจารณาตามมาตรฐานเกณฑ์อาคารเขียวของประเทศต่างๆ ได้แก่ สถาบันอาคารเขียวไทย LEED TREES และ TEEAM หรืออุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าและแสงสว่างให้เปิดปิดอัตโนมัติตามความต้องการใช้งาน หรือมีพื้นที่ใช้สอยที่รองรับแสงจากธรรมชาติมากกว่าร้อยละ 20 ของอาคาร นิคมอุตสาหกรรมเอเชียมีโรงงานอุตสาหกรรมที่ประกอบกิจการในพื้นที่จำนวน 4 โรงงานที่มีการนำแนวคิดการออกแบบอาคารหรือระบบภายในอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มาใช้ ได้แก่

    1. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยได้ขอรับรองอาคารสีเขียว และใช้ระบบ Solar Cell กับไฟส่องสว่างภายในพื้นที่
    2. บริษัท เอ็มทีพี เอชพีพีโอ โดยมีการออกแบบอาคารด้วยการเลือกใช้กระจกสำนักงานเป็นกระจกสองชั้น โดยมีก๊าซอาร์กอนซึ่งเป็นก๊าซเฉื่อยอยู่ตรงกลาง เพื่อป้องกันการแผ่รังสีความร้อยของแสงอาทิตย์เข้าไปในสำนักงาน
    3. บริษัท โกล์ว พลังงาน จำกัด (มหาชน) โดยมีการผลิตกระแสฟ้าโดยใช้ระบบ Solar Cell
    4. บริษัท เอ็มทีพี เอชพีพีโอ แมนูแฟคเจอริ่ง โดยมีระบบกักเก็บน้ำฝนภายในพื้นที่โรงงานตามมาตรการ คิดเป็นร้อยละ 28 ของพื้นที่โรงงานทั้งหมด

          ทั้งนี้ ได้รวบรวมรายชื่อโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นโรงงานควบคุมพลังงาน ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ในพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งมีหน้าที่ต้องให้มีจัดการพลังงานตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานและอาคารควบคุม พ.ศ.2552 โดยต้องมีการจัดทำระบบจัดการพลังงาน จัดให้มีการรายงานจัดการพลังงานเป็นประจำทุกปี และมีการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน โดนผู้ตรวจสอบและรับรอง ในพื้นที่เป้าหมายมีโรงงานที่เป็นโรงงานควบคุมพลังงาน จำนวน 139 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 22.8 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

 

 

 

 

 จากข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจดทะเบียนภายในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (เขตควบคุมมลพิษ) พบว่ามีเงินทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 503,878 ล้านบาท

เศรษฐกิจท้องถิ่น

         ในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (เขตควบคุมมลพิษ) มีวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนแล้วจำนวน 87 แห่ง สมาชิก 1,449 คน เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน 2 แห่ง สมาชิก 26 คน ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการจากชุมชน หรือส่งเสริมกิจกรรมหรือกลุ่มอาชีพให้กับชุมชน หรือสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนทางด้านการตลาด หรือพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมอาชีพ หรือทักษะแรงงาน แนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลจากโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ ทั้งนี้นิคมอุตสาหกรรมทั้ง 5 นิคมอุตสาหกรรมมีการก่อตั้งกลุ่มเพื่อนชุมชน ซึ่งเกิดจากการก่อตั้งของ 5 ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่ ต.มาบตาพุด เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชน โดยมุ่งหวังให้อุตสาหกรรมและชุมชน อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

         ทั้งนี้ นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอลมีการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนที่เชื่อมโยงกับฐานการผลิตทั้งหมด 10 แห่ง เกิดรายได้เฉลี่ย 7,950 บาท/คน/เดือน โดยมีสมาชิกของวิสาหกิจชุมนได้ประโยชน์ทั้งสิ้น 49 คน โดยวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการส่งเสริมโดยนิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอลคือ

    1. วิสาหกิจชุมชนมาบชะลูด (ขนมกล้วยเบรกแตก)
    2. วิสาหกิจชุมชนเนินพยอม (ขนมเปี๊ยะแปดเซียน)
    3. วิสาหกิจชุมชนบ้านบน (งานซ่อมบำรุงทั่วไป)
    4. วิสาหกิจชุมชนอิสลาม (งานบริการรถตู้เช่า)
    5. วิสาหกิจชุมชนบ้านพลง (งานซ่อมบำรุงทั่วไป)
    6. วิสาหกิจชุมชนบ้านบน (งานสวน)
    7. วิสาหกิจชุมชนบ้านพลงใน (งานสวน)
    8. วิสาหกิจชุมชนมาบยา (งานสวน)
    9. วิสาหกิจชุมชนหนองแฟบ (เครื่องสำอางค์)
    10. วิสาหกิจชุมชนเขาไผ่ (น้ำดื่มบรรจุถัง)

ในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง เขตควบคุมมลพิษ มีการจ้างแรงงานรวมทั้งสิ้น 31,153 คน ทั้งนี้ ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลการจ้างแรงงานท้องถิ่น โดยแนวทางการเก็บข้อมูลในอนาคตคือการสำรวจข้อมูลรายโรงงาน ซึ่งแรงงานท้องถิ่น หมายถึงแรงงานที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในจังหวัดที่โรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ.2559 ประชากรในพื้นที่จังหวัดระยองที่อยู่ในวัยกำลังแรงงาน มีอัตราการว่างงานร้อยละ 1.69 เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 555,447 คน ที่ว่างงานทั้งสิ้น 9,410 คน แยกเป็นเพศชาย จำนวน 5,097 คน และเพศหญิง จำนวน 4,313 คน อย่างไรก็ตามไม่มีข้อมูลในระดับพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

การตลาด

           จากข้อมูลองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก พบว่าในพื้นที่เมืองเป้าหมายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (พื้นที่เขตควบคุมมลพิษ) มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับฉลากคาร์บอน ซึ่งเป็นสินค้าที่มีการผลิตหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำนวน 7 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 1.2 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่

การขนส่งและโลจิสติกส์

          ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนโรงงานที่มีกิจกรรมหรือมาตรการที่ปลอดภัย ลดต้นทุน หรือเพิ่ม ประสิทธิภาพระบบขนส่งและโลจิสติกส์ขององค์กร โดยแนวทางการรวบรวมข้อมูลในอนาคตคือการสำรวจข้อมูลรายโรงงาน 

         ทั้งนี้ นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอลมีมาตรการด้านความปลอดภัย ป้องกันอุบัติเหตุ ลดมลภาวะที่มีผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ และลดการใช้พลังงาน โดยส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานทางเลือก มีมาตรการควบคุมรถที่เข้า-ออกนิคมอุตสาหกรรมและโรงงาน มีการตรวจสอบน้ำหนักรถ และใบกำกับการขนส่ง นอกจากนี้ยังมีการใช้ระบบ GPS ติดตามรถขนส่งที่ออกจากนิคมอุตสาหกรรม มีศูนย์ควบคุมและสั่งการระบบขนส่ง มีการอบรมพนักงานให้ขับขี่อย่างปลอดภัย และมีความรู้เบื้องต้นในการจัดการับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการขนส่งและการรั่วไหลของสารเคมีที่อาจเกิดจากการขนส่ง

          ในระดับจังหวัดมีโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค (OPOAI) ซึ่งมีกิจกรรมหรือมาตรการที่ปลอดภัย ลดต้นทุน หรือเพิ่ม ประสิทธิภาพระบบขนส่งและโลจิสติกส์ขององค์กร

การจัดการคุณภาพน้ำ

        กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีการจัดทำฐานข้อมูลคุณภาพน้ำทิ้ง BOD Load และ COD Load ของน้ำทิ้งโรงงานที่เข้าข่ายตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ.2550 ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้รับไม่มีการแจกแจงระดับพื้นที่

 จังหวัดระยอง มีแม่น้ำ 2 สายไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำระยอง และแม่น้ำประแสร์ โดยผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำผิวดินจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 พบว่า แม่น้ำระยอง ซึ่งมีจุดตรวจ 6 จุด มีระดับคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างเสื่อมโทรม และเสื่อมโทรม และแม่น้ำประแสร์ ซึ่งมีจุดตรวจ 5 จุด มีระดับคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างเสื่อมโทรม ทั้งนี้ผลการตรวจคุณภาพน้ำคลองสาธารณะในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยมีจุดตรวจวัด 40 จุด ครอบคลุมคลองสาธารณะจำนวน 15 สาย โดยคุณภาพแหล่งน้ำเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 2 จุดตรวจวัด คิดเป็นร้อยละ 5

ในปัจจุบันยังไม่มีการรวบรวมปริมาณน้ำใช้และน้ำทิ้งภาคอุตสาหกรรมของแต่ละโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (เขตควบคุมมลพิษ) อย่างเป็นระบบ แนวทางในการดำเนินการในอนาคต คือ กำหนดแผนในการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวโดยกำหนดผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บข้อมูลในแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจน รวมถึงมีการติดตามรวบรวมข้อมูลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

 

การควบคุมมลภาวะทางอากาศ
          ในพื้นที่เป้าหมาย มีจุดตรวจวัดอากาศ 3 จุด ได้แก่ 1.สถานีตรวจวัดศูนย์ราชการจังหวัดระยอง ต.เนินพระ อ.เมือง 2.สถานีตรวจวัดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมาบตาพุด ต.มาบตาพุด อ.เมือง
3.สถานีศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ต.ห้วยโป่ง อ.เมือง โดยผลตรวจวัดคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศจากสถานีอัตโนมัติ (รายชั่วโมง) จำนวน 2 จุด ในพื้นที่ คือ ใน ต.มาบตาพุด และ ต.ห้วยโป่ง ในพื้นที่เขตมาบตาพุดมีการตรวจวัดสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศ

 ในปัจจุบันยังไม่มีการรวบรวมข้อมูลจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมการลดการปล่อยมลพิษทางอากาศที่มีนัยสำคัญได้มากกว่าเกณฑ์มาตรฐานในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (เขตควบคุมมลพิษ) โดยแนวทางในการเก็บข้อมูลในอนาคต คือจัดทำแบบสำรวจข้อมูลโรงงาน และ เพื่อพิจารณากำหนดหน่วยงาน/ผู้รับผิดชอบในการสำรวจข้อมูลและแนวทางในการรวบรวบข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน

 

การจัดการของเสียและวัสดุเหลือใช้
        ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดในจังหวัดหรือในท้องถิ่นเก็บรวบรวมข้อมูลอัตราการนำกากของเสียอุตสาหกรรมกลับมาใช้ใหม่ ทั้งนี้ศูนย์สารสนเทศโรงงานอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้มีการรวบรวมข้อมูลปริมาณกากของเสียอุตสาหกรรม ตามรายงานการขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน ในพื้นที่ อ.เมืองระยอง อ.นิคมพัฒนา และ อ.บ้านฉาง ทั้งนี้จากแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยองมีโครงการส่งเสริมให้สถานประกอบการนำของเสียมาใช้ประโยชน์ และการพัฒนาธุรกิจรีไซเคิล/อัพไซเคิลเพื่อเพิ่มมูลค่าและใช้ประโยชน์กากอุตสาหกรรม

 จากรายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย พบว่าในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (เขตควบคุมมลพิษ) มีอัตราการเกิดขยะชุมชนเฉลี่ย 199 ตัน/วัน โดยมีกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ

การจัดการพลังงาน
       จากรายงานสถานการณ์พลังงานจังหวัดระยอง โครงการบูรณาการแผนยุทธศาสตร์พลังงานระดับกลุ่มจังหวัดตามยุทธศาสตร์ประเทศ กระทรวงพลังงาน พบว่าในปี พ.ศ. 2558 จังหวัดระยองมีการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรมรวม 1,178.35 ktoe โดยในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (เขตควบคุมมลพิษ) เขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด มีโรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน 1 แห่ง ได้แก่ บริษัทโกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) ซึ่งผลิตกระแสไฟฟ้า ไอน้ำ และน้ำเพื่อการอุตสาหกรรม ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเอเซีย อย่างไรก็ตามยังไม่มีการรวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานของโรงงานอุตสาหกรรมและการใช้พลังงานทดแทนของโรงงานอุตสาหกรรม แนวทางในการเก็บข้อมูลในอนาคต คือ พิจารณากำหนดหน่วยงาน/ผู้รับผิดชอบและแนวทางในการรวบรวบจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน


        นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีนโยบายใช้พลังงานทดแทนในกระบวนการผลิต กิจกรรมและบริการ และในชีวิตประจำวัน ตามประกาศสำนักงานนิคมมาบตาพุด ที่ 012/2559 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2559 และนิคมได้มีกรติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบระบบ Solar Cell จำนน 11 จุดภายในพื้นที่นิคม นอกจากนี้ในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ งานระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำและระบบผลิตไฟฟ้า มีการกำหนดให้ใช้ระบบ Solar Cell ขนาด 4 กิโลวัตต์บนหลังคาอาคารอีกด้วย


         นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย มีนโยบายและแผนในการใช้พลังงานทดแทนเป็นทางเลือกเสริมพลังงานหลัก โดยมีโครงการติดตั้งป้ายจราจรพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มเติมจากปัจจุบัน ที่มีการใช้ไฟกระพริบระบบ Solar Cell บริเวณทางแยกจำนวน 10 จุด

 

การจัดการเหตุเดือดร้อนรำคาญ
          ในปี พ.ศ.2559 พื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (พื้นที่เขตควบคุมมลพิษ) มีเหตุร้องเรียนด้านเหตุเดือดร้อนรำคาญซึ่งเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 11 กรณี ในพื้นที่ ต.เนินพระ ต.ห้วยโป่ง ต.มาบตาพุด โดยมีการวิเคราะห์ข้อร้องเรียนและมีการดำเนินการแก้ไขเรียบร้อย

 

กระบวนการผลิต
       ในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (พื้นที่เขตควบคุมมลพิษ) มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) จำนวน 50 โรงงาน โรงงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 119 โรงงาน
        นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดมีข้อมูลจากการตรวจประเมินโรงงานอุตสาหกรรมที่ประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมครั้งที่ 1/2560 พบว่ามีโรงงานที่มี Eco-Process, Eco-Product/Eco-Service และ Green Purchasing จำนวน 10 โรงงาน
        นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย มีข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม คือ บริษัท เอ็มทีพี เอชพีพีโอแมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Process) โดยสามารถควบคุมอัตราการใช้ไอน้ำให้ต่ำกว่า 3 ตัน ต่อ 1 ตันผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังมีการผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Product/Eco-Service) โดยมีฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นท์ของผลิตภัณฑ์โพรพิลีออกไซด์ และยังมีการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Purchasing) โดยมีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าร้อยละ 5 ของงบประมาณการจัดซื้อจัดจ้าง

ประสิทธิภาพเชิงนิเวศ
          ในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (พื้นที่เขตควบคุมมลพิษ) มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) ซึ่งเป็นโรงงานที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีความปลอดภัย มีการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มคุณค่า ก่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด จำนวนทั้งสิ้น 50 โรงงาน
จากฐานข้อมูลของสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของโรงงานที่จะต้องมีการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งมีการประเมินผลกระทบในการดำเนินงานต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (เขตควบคุมมลพิษ) มีจำนวนทิ้งสิ้น 123 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 20.2 ของโรงงานทั้งหมดใน

 

พื้นที่เป้าหมาย
          นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอลมีโครงการ Off Gas Project โดยการนำของเสียจาก บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC) มาใช้เป็นวัตถุดิบของบริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด (MOC) ทำให้ลดการใช้วัตถุดิบได้เฉลี่ย 13,141 ตัน/ปี และยังมีโครงการ Vent Gas Recover โดยการนำของเสียจากบริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จำกัด (TPE) มาใช้เป็นวัตถุดิบของ MOC ทำให้ลดการกำจัดของเสียของ TPE ได้ 38,610 ตัน/ปี
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีการเก็บข้อมูล Eco Efficiency ของโรงงานอุตสาหกรรมที่ประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมได้จำนวน 20 โรงงาน
นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย มีการเก็บข้อมูล Eco Efficiency ของโรงงานอุตสาหกรรมที่ประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมได้จำนวน 8 โรงงาน โดยมีข้อมูล Eco Efficiency ด้านพลังงาน ด้านการใช้น้ำ และด้านของเสีย ทั้ง 8 โรงงาน ทั้งนี้ ยังไม่มีการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพเชิงนิเวศ (Eco Efficiency)

 

การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ
          นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดมีการหารือกับหน่วยงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง เกี่ยวกับการเชื่อมโยงข้อมูลสารเคมีของโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรม และได้มีการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลสารเคมีจากโรงงานลงในฐานข้อมูล DSS ทั้งสิ้น 25 โรงงาน โดยในรอบ 1 ปีนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดไม่มีการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง และอัตราการเจ็บป่วยรุนแรงที่มีผลกระทบต่อชุมชน
         นิคมอุตสาหกรรมเอเชียมีการเก็บสถิติผู้ป่วยจากโรงพยาบาลสมเด็จพระเทพฯ โดยพบว่าโรคที่มีผู้ป่วยมากเป็น 3 อันดับแรกคือ ความผิดปกติเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ โภชนาการและเมตะบอลิซึ่ม ความดันโลหิตสูง และโรคติดเชื้ออื่นๆของลำไส้ โดยในรอบ 1 ปี นิคมอุตสาหกรรมเอเชียไม่มีการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง และอัตราการเจ็บป่วยรุนแรงที่มีผลกระทบต่อชุมชน

 

การเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม
          พื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (เขตควบคุมมลพิษ) มีระบบการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม โดยมีการจัดตั้งคณะทำงาน 7 คณะ เพื่อรับผิดชอบตามพื้นที่ครอบคลุม 52 ชุมชน 5 นิคมฯ 1 ท่าเรือ โดยคณะทำงาน ประกอบด้วย 1) นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล 2) นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ทิศตะวันออก 3) นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและเขตท่าเรือ 4) นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก ทิศเหนือ 5) นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก ทิศตะวันตก 6) นิคมอุตสาหกรรมผาแดง และ 7) นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย

 

นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีระบบเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม ดังนี้

    1.  โครงการ EIA Monitoring
    2.  โครงการธงขาวดาวเขียว
    3.  เครือข่ายเฝ้าระวัง 7 โซน ในพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ โดยมีนิคมอุตสาหกรรม ชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรมเป็นภาคีที่ดำเนินการร่วมกัน

นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล มีระบบเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม ดังนี้

    1.  เผยแพร่ผลการติดตามตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยการประชุมร่วมกับประชาชนทุก 3 เดือน
    2.  เชิญชุมชนเข้าสังเกตการณ์สิ่งแวดล้อมและโรงงานทุก 1 เดือน
    3.  นำเสนอการดำเนินงานตามมาตรการ EIA Monitoring ปีละ 1 ครั้ง
    4.  เครือข่ายเฝ้าระวัง 7 โซน ในพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ โดยมีนิคมอุตสาหกรรม ชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรมเป็นภาคีที่ดำเนินการร่วมกัน

นิคมอุตสาหกรรมผาแดง มีระบบเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม ดังนี้

    1.  ดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตามรายงาน EIA
    2.  จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการลดและป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการตรวจสอบ (EIA Monitor Report) ทุก 6 เดือน
    3.  คณะกรรมการไตรภาคีของนิคมอุตสาหกรรม
    4.  คณะกรรมการเฝ้าระวังรักษาลำน้ำ
    5.  เครือข่ายเฝ้าระวัง 7 โซน ในพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ โดยมีนิคมอุตสาหกรรม ชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรมเป็นภาคีที่ดำเนินการร่วมกัน

นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย มีระบบเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม ดังนี้

    1.  โครงการ EIA Monitoring จำนวน 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2560
    2.  โครงการธงขาวดาวเขียว มีโรงงานเข้ารับรางวัลจำนวน 10 โรงงาน
    3.  คณะกรรมการไตรภาคีของนิคมอุตสาหกรรม
    4.  คณะกรรมการเฝ้าระวังรักษาลำน้ำ
    5.  เครือข่ายเฝ้าระวัง 7 โซน ในพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ โดยมีนิคมอุตสาหกรรม ชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรมเป็นภาคีที่ดำเนินการร่วมกัน

 

 

คุณภาพชีวิตและสังคมของพนักงาน

นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีกิจกรรมส่งเสริมการเป็นที่ทำงานมีสุข 6 ประการ ดังนี้

    •  Happy body จัดให้มีการออกกำลังกายในออฟฟิศทุกวันพุธ 15.00 น. จัดพื้นที่เล่นกีฬา
    •  Happy heart การจัดทำเนียบวันเกิด
    •  Happy family เช่น สนับสนุนให้ครอบครัวไปเชียร์การแข่งขันฟุตบอล
    •  Happy brain เช่น จัดตั้งห้องสมุดน้อย มุมหนังสือ
    •  Happy society โครงการเก็บขยะชายหาด
    •  Happy money กิจกรรมส่งเสริมการออมเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และสหกรณ์ออมทรัพย์ กนอ.

 นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอลมีการดำเนินการตามแนวทางการเป็นที่ทำงานมีสุข (Happy Workplace) ครบทั้ง 8 ประการ ดังนี้

    •  Happy body ส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง โดยจัดให้มีกิจกรรมออกกำลังกายและการแข่งขันต่างๆ ตลอดจนจัดให้มีลานออกกำลังกาย เช่น สนามแบดมินตัน สนามฟุตบอล สนามบาสเกตบอล เพื่อให้พนักงานได้ออกกำลังกายและทำกิจกรรมร่วมกัน
    •  Happy heart มีกิจกรรมร่วมอวยพรวันเกิดให้แก่พนักงาน อีกทั้งเมื่อมีพนักงานประสบปัญหา เช่น อุทกภัย เพื่อนพนักงานทุกคนพร้อมใจกันอาสาช่วยเหลือ
    •  Happy Relax จัดกิจกรรมผ่อนคลาย สร้างความสุขและความบันเทิงให้กับพนักงานในเทศกาลๆต่าง เช่น กิจกรรมวันปีใหม่ กิจกรรมสงกรานต์
    •  Happy brain จัดให้มีการศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ มีการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานอย่างสม่ำเสมอ
    •  Happy soul จัดให้มีกิจกรรมทางศาสนา รวมถึงพิธีตักบาตรในตอนเช้าทุกวันพฤหัสบดีสุดท้ายของเดือน
    •  Happy money สนับสนุนให้พนักงานใช้เงินอย่างรู้คุณค่า ส่งเสริมการออมอย่างมีเป้าหมายและวินัย
    •  Happy family จัดกิจกรรม Family day ให้ครอบครัวของบุคลากรได้มีกิจกรรมร่วมกัน
    •  Happy society ส่งเสริมให้พนักงานถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมุ่งเน้นให้พนักงานทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างสม่ำเสมอ

 

          แต่ทั้งนี้นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอลยังขาดข้อมูลประสิทธิผลจากการจัดกิจกรรม Happy Workplace ที่ชัดเจน
          นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย มีการประกาศการส่งเสริมการเป็นที่ทำงานมีสุข (Happy Workplace) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2560 โดยมีกิจกรรมส่งเสริมการเป็นที่ทำงานมีสุข 6 ประการ คือ Happy body, Happy heart, Happy Relax, Happy brain, Happy soul และ Happy society

 

คุณภาพชีวิตและสังคมของคนในท้องถิ่นโดยรอบ
          จากข้อมูลกรมโรงงานอุตสาหกรรมพบว่าในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (เขตควบคุมมลพิษ) มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินการตามมาตรฐาน CSR-DIW ซึ่งมีการดำเนินงานแผนงานด้านชุมชน ทั้งสิ้น 40 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 6.6 ของโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดในพื้นที่

 

ข้อมูลการเกิดคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ
          ในปี 2559 พื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (เขตควบคุมมลพิษ) มีข้อมูลการเกิดคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญใน ต.ห้วยโป่ง โดยมีคดีฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา 2 คดี ชิงทรัพย์ 1 คดี ต.เนินพระ มีคดีฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา 1 คดี ชิงทรัพย์ 3 ต.มาบข่า มีคดีชิงทรัพย์ 3 คดี ต.บ้านฉาง มีคดีปล้นทรัพย์ 1 คดี แต่ทั้งนี้ ไม่ได้จัดทำเป็นฐานข้อมูล และจากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าอัตราการอ่านออกเขียนได้ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปในพื้นที่จังหวัดระยอง ปี 2553 มีอัตราอยู่ที่ร้อยละ 94.9 จากข้อมูลสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ระยอง พบว่าในปี 2559 ประชากรจังหวัดระยองที่ประสบสาธารณภัย รวมทั้งสิ้น 2,820 คน ทั้งนี้ไม่มีการรายงานข้อมูลอัตราการอ่านออกเขียนได้และสาธารณภัยในระดับพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

 

ข้อมูลความพึงพอใจต่อ CSR
        นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีแผนงานและผลการดำเนินงานในการพัฒนาชุมชนตามกรอบแผนแม่บท CSR ครบ 100% และมีผลการสำรวจความพึงพอใจของชุมชนโดยรอบต่อการดำเนินงานด้าน CSR โดยในปี 2560 มีผลความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.92
        นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล มีการดำเนินการตามมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO26000) และมีผลการสำรวจความพึงพอใจของชุมชนโดยรอบต่อการดำเนินงานด้าน CSR โดยในปี 2560 มีผลความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.52
        นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย มีแผนงานและผลการดำเนินงานในการพัฒนาชุมชนตามกรอบแผนแม่บท CSR ครบ 100% และมีผลการสำรวจความพึงพอใจของชุมชนโดยรอบต่อการดำเนินงานด้าน CSR โดยในปี 2560 มีผลความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.84

คณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

ดาวน์โหลดเอกสาร

 คณะทำงานเครือข่ายฯ (Eco Network)

ดาวน์โหลดเอกสาร

คณะขับเคลื่อนเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

ดาวน์โหลดเอกสาร
กรมโรงงานอุตสาหกรรม

75/6 ถ.พระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย
โทร. 02-202-4000, 4014 โทรสาร 02-354-3390

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
179,472