จังหวัดสมุทรปราการ

จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่ใกล้ศูนย์กลางของประเทศและยังเป็นแหล่งวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ เป็นคลังสินค้าที่สำคัญ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งทั้งทางบกทางน้ำ และทางอากาศ ทำให้การขนส่งวัตถุดิบและสินค้ามีความสะดวกและเสียค่าใช้จ่ายต่ำ ทำให้นักลงทุนเข้ามาประกอบกิจการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลปัจจุบัน (15 กันยาน 2557) ในการขอจดทะเบียนโรงงานโดยศูนย์สารสนเทศ กรมโรงงานอุตสาหกรรมพบว่าจังหวัดสมุทรปราการมีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการจดทะเบียนทั้งสิ้น 7,391 แห่ง นับได้ว่าเป็นจังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ยานยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องจักร/อุปกรณ์ผลิตภัณฑ์โลหะ ไฟฟ้า/ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์อาหาร แปรรูป เคมีภัณฑ์/พลาสติก เป็นต้น

จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตอนปลายสุดของแม่น้ำเจ้าพระยาและเหนืออ่าวไทยมีเนื้อที่ประมาณ ๑,๐๐๔ ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ ๖๒๗,๕๕๗ ไร่ ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๒๙ กิโลเมตร

      • ทิศเหนือ ติดกับกรุงเทพมหานคร
      • ทิศใต้ ติดกับทะเลอ่าวไทย(พื้นที่ชายฝั่งทะเล)
      • ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
      • ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดกรุงเทพมหานคร

 ส่วนใหญ่พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านกลางแยก พื้นที่ออกเป็นด้านตะวันตกและด้านตันออกและมีลำคลองรวม ๙๕ สายโดยเป็นคลองชลประทาน ๑๔ สาย คลองธรรมชาติ ๘๑ สาย ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป สามารถแบ่งพื้นที่ออกได้เป็น ๓ ส่วน คือ

      1. บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มทั้งหมด
      2. บริเวณตอนใต้ใกล้ชายฝั่งทะเล น้ำทะเลท่วมถึงและที่ดินจะเค็มจัดในฤดูแล้ง
      3. บริเวณที่ราบกว้างใหญ่ทางตอนเหนือและทางตะวันออก ซึ่งจะเป็นที่ราบลุ่มติดต่อกันตลอด มีคลองชลประทานหลายแห่ง

 

ลักษณะภูมิอากาศ

          อากาศเย็นไม่ร้อนจัด ในฤดูร้อนมีความชื้นในอากาศสูง เนื่องจากอิทธิพลของลมทะเลและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ฤดูฝนมีฝนตกมาก ฤดูหนาวไม่หนาวจัด อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยเท่ากับ ๓๐.๖ องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ย ๒๖.๖ องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีเท่ากับ ๒๘.๙ องศาเซลเซียส

 

เขตการปกครองและประชากร

การปกครอง
            จังหวัดสมุทรปราการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๖ อำเภอ ๕๐ ตำบล ๓๙๔ หมู่บ้าน มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด ๑ แห่ง เทศบาล จำนวน ๑๘ แห่ง (๑ เทศบาล ๔ เทศบาลเมือง และ ๑๓ เทศบาลตำบล) และองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๓๐ แห่ง

 

ประชากร
            จังหวัดสมุทรปราการมีประชากรเป็นอันดับ ๒ ของภาคกลาง รองจากกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ด้วยเหตุที่เป็นจังหวัดที่รองรับการขยายตัวจากกรุงเทพมหานคร และเป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ อีกทั้งมีการเจริญเติบโตในด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรม การค้า การบริการและการกระจายตัวของประชากร ทำให้จังหวัดสมุทรปราการมีประชากรที่ย้ายถิ่นจากที่อื่น มาอาศัยอยู่ในพื้นที่เป็นจำนนมากเคลื่อนย้ายเข้ามาโดยแจ้งย้ายที่อยู่อย่างถูกต้อง และไม่ย้ายทะเบียนราษฎร์เข้ามา ทำให้จำนวนประชากรที่มีอยู่จริงสูงกว่าจำนวนประชากรในทะเบียนราษฎร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในวัยทำงานจะมีรายชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ต่ำกว่ากลุ่มอื่น โดยข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖ มีประชากรตามทะเบียนราษฎร์ทั้งสิ้น ๑,๒๒๓,๓๐๒ คน แยกเป็นชาย ๕๘๘,๙๗๕ คน หญิง ๖๓๔,๓๒๗ คน มีประชากรแฝงหลั่งไหลเข้ามาในจังหวัดสมุทรปราการ เมื่อรวมประชากรแฝงที่มิได้ย้ายทะเบียนราษฎร์อย่างถูกต้องด้วยแล้ว สามารถประเมินจำนวนประชากรที่อยู่อาศัยอยู่จริงได้ประมาณ ๒.๓ ล้านคนเศษ โดยมีจำนวนที่อยู่อาศัยตามทะเบียนราษฎร์จำนวน ๕๔๘,๘๘๓ ครัวเรือน

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสมุทรปราการในปี 2556 มีการหดตัวลดลงร้อยละ 2.60 เมื่อเทียบกับปี 2555 ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 109,556 บาท โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวม ณ ราคาประจำปี 352,296 ล้านบาท ซึ่งสาขาที่มีมูลค่าการผลิตสูงสุด คือ สาขาอุตสาหกรรม 312,403 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 88.67 ของสาขาการผลิตทั้งหมด

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสมุทรปราการ ณ ราคาประจำปี

หน่วย : ล้านบาท

สาขา 2552 2553 2554 2555 2556
ภาคเกษตร 3,059 2,805 2,301 2,659 2,458
เกษตรกรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้ 711 673 794 1,083 851
การประมง 2,348 2,131 1,507 1,576 1,607
ภาคนอกเกษตร 533,738 659,515 599,974 699,575 681,463
การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน 6 7 7 7 7
อุตสาหกรรม 245,189 340,644 284,529 339,319 312,403
การไฟฟ้า แก๊ส และการประปา 11,893 13,647 12,675 14,035 15,284
การก่อสร้าง 8,011 9,069 7,464 8,556 12,816
การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซม ยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน 71,357 84,713 85,825 95,570 94,113
โรงแรมและภัตตาคาร 5,919 6,703 7,087 8,097 9,537
การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้าและการคมนาคม 126,925 134,537 133,503 150,172 150,333
ตัวกลางทางการเงิน 13,149 13,110 14,091 15,504 17,561
บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและบริการทางธุรกิจ 28,733 34,202 30,909 41,854 43,725
การบริหารราชการและการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกัน สังคมภาคบังคับ 9,180 8,762 9,566 10,778 9,779
การศึกษา 4,042 4,158 3,789 3,862 4,177
การบริการด้านสุขภาพและสังคม 5,990 6,532 6,748 7,022 7,057
การให้บริการด้านชุมชน สังคมและบริการส่วนบุคคลอื่นๆ 2,779 3,076 3,278 3,993 4,091
ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล 566 356 503 806 583
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) 536,797 662,320 602,275 702,234 683,921
ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว (บาท) 309,375 362,533 322,897 368,913 352,296
ประชากร (1,000) 1,735 1,827 1,865 1,904 1,941

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ http://www.nesdb.go.th (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2559)

ทรัพยากรป่าไม้

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้สำรวจสถานภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนในเขต ป่าสงวนแห่งชาติและนอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ พบว่าจังหวัดสมุทรปราการ มีพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด 93,499.40 ไร่

พันธุ์ไม้เด่นในป่าชายเลนพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ มีจำนวน 2 วงศ์ 2 สกุล และ 4 ชนิด คือ แสมทะเล, แสมขาว, แสมดา และโกงกางใบเล็ก ความหนาแน่นเฉลี่ยรวมของต้นไม้ต่อพื้นที่เท่ากับ 225.26 ต้น/ไร่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย และความสูงเฉลี่ย เท่ากับ 11.12 เซนติเมตร และ 7.36 เมตร ตามลำดับ ค่าดัชนีความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ (Shannon-Wiener diversity index) มีค่าเท่ากับ 0.1688 ค่าความชุกชุมทางชนิดพันธุ์ (Margalef’s index) เท่ากับ 1.0996 และค่าความสม่ำเสมอทางชนิดพันธุ์ (Pielou’s enness) เท่ากับ 0.2803 พันธุ์ไม้ที่มีค่าดัชนีความสำคัญ (Important Value Index) สูงที่สุด คือ แสมขาว มีค่าเท่ากับ 182.56 รองลงมา คือ แสมทะเล เท่ากับ 61.72

ทรัพยากรน้ำ

จากลักษณะทางกายภาพของจังหวัดสมุทรปราการ เป็นที่ราบลุ่มชายทะเล มีระดับดินระหว่าง +0.50 ถึง +1.50 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ทำให้จังหวัดสมุทรปราการไม่มีอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ โดยแหล่งน้ำสำคัญของจังหวัดแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา และคลองระบายน้ำต่างๆ

  • แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายเดียวที่ไหลผ่านเขตจังหวัดสมุทรปราการ มีแนวการไหลจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ ต่อเนื่องจากเขตกรุงเทพมหานคร โดยไหลผ่านอำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และอำเภอเมืองสมุทรปราการ ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร แม้ว่าแม่น้ำเจ้าพระยาจะเป็นแหล่งน้ำที่หล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตรในภาคกลาง แต่เนื่องจากแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดสมุทรปราการ มีคุณภาพน้ำลดลงรวมทั้งได้รับอิทธิพลจากความเค็มของน้ำทะเล ประกอบกับเขตพื้นที่ที่แม่น้ำไหลผ่านไม่มีการทำการเกษตร ดังนั้น การใช้ประโยชน์จากแม่น้ำเจ้าพระยาจึงมีเฉพาะด้านการระบายน้ำ และการคมนาคมทางน้ำ
  • คลองระบายน้ำ เป็นแหล่งน้ำสำคัญของจังหวัดสมุทรปราการ เนื่องจากจังหวัดสมุทรปราการมีเส้นคลองในพื้นที่เชื่อมโยงกันเป็นจำนวนมาก คลองบางสาย เช่น คลองประเวศ- บุรีรัมย์ คลองสำโรง คลองด่าน คลองชายทะเล ถูกขุดขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา ปัจจุบันพื้นที่การเกษตรใน จังหวัดสมุทรปราการได้รับน้ำต้นทุนจากคลองสายต่างๆ ซึ่งได้รับปริมาณน้ำจากพื้นที่ตอนบนอีกทอดหนึ่ง ทำให้ในฤดูแล้งไม่สามารถกำหนดปริมาณน้ำได้ตรงตามความต้องการโดยสามารถแบ่งส่วนการบริหารจัดการน้ำ ตามลักษณะพื้นที่ได้ 3 ส่วน ประกอบด้วย

1. พื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณอำเภอพระประแดง และอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จำนวน 170 ตารางกิโลเมตร หรือ 106,250 ไร่

2. พื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณพื้นที่ปิดล้อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาและคันกั้นน้ำพระราชดาริ ในเขตอำเภอเมือง และบางส่วนของอำเภอบางพลี จำนวน 210 ตารางกิโลเมตร หรือ 131,250 ไร่

3. พื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านนอกแนวคันกั้นน้ำพระราชดาริ ในเขตอำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง และบางส่วนของอำเภอเมือง และอำเภอบางพลี จำนวน 624 ตารางกิโลเมตร หรือ 390,000 ไร่

ปัจจุบันพื้นที่นอกแนวคันกั้นน้ำซึ่งเป็นพื้นที่รองรับการระบายน้ำตามแนวพระราชดาริ ประกอบด้วย คลองระบายน้ำตามธรรมชาติเชื่อมโยงถึงกันจำนวนมากกว่า 60 สาย ปริมาณน้ำเก็บกักสูงสุดประมาณ 26,600 ล้าน-ลูกบาศก์เมตร โดยคลองทั้งหมดมีลักษณะเป็นคลองดินและมีระดับต่ำกว่าพื้นที่การเกษตร คลองระบายน้ำเหล่านี้มีการใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการส่งน้ำและระบายน้ำควบคู่กันไป

ทรัพยากรสัตว์ป่า

สัตว์ที่พบในป่าชายเลนจังหวัดสมุทรปราการ ประกอบไปด้วย

1. กลุ่มของประชาคมสิ่งมีชีวิตพื้นป่าชายเลน (Mangrove Benthic Organism) หรือสัตว์หน้าดินพื้นป่าชายเลน ในจังหวัดสมุทรปราการ พบมีค่าความหนาแน่น เท่ากับ 70.00 ตัว/ตารางเมตร มีค่าดัชนีความหลากหลาย เท่ากับ 0.37 และมีค่าความสม่ำเสมอ เท่ากับ 0.24 สัตว์ที่พบได้แก่ หอยเรดเชลล์ ปูแสม ปูก้ามดาบ และไส้เดือนทะเล

2. กลุ่มของนกในป่าชายเลน ในจังหวัดสมุทรปราการ พบจำนวน 16 ชนิด 15 สกุล 8 วงศ์ และ 4 อันดับ ตัวอย่างนกที่พบได้แก่ นกตีนเทียน นกหัวโตเล็กขาเหลือง นกกินเปี้ยว เป็นต้น

3. กลุ่มของแมลง พบจำนวน 6 อันดับ 10 วงศ์ และ 13 ชนิดได้แก่ แมลงค่อมทอง, มวนหลังแข็ง, ต่อ, ผีเสื้อเณรธรรมดา เป็นต้น โดยไม่สามารถจำแนกวงศ์ได้ 1 ชนิด ได้แก่ ผีเสื้อกลางวัน

ทรัพยากรดิน

ดินป่าชายเลนในจังหวัดสมุทรปราการ สามารถขุดหน้าตัดดินได้ ลึกประมาณ 40 เซนติเมตร เกือบทั้งหมดเป็นดินเหนียวที่มีเนื้อละเอียดมาก (มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 1 มิลลิเมตรส่วนมากมีกลิ่นของซากพืช ซากสัตว์ ดินส่วนใหญ่มีสีในกลุ่มสีน้ำตาล (7.5YR) และกลุ่มสีเทาอมฟ้า (G2) 4 ที่ความลึก 0-5 เซนติเมตร อุณหภูมิดินอยู่ในช่วง 27.0-31.0 องศาเซลเซียส (เฉลี่ย 29.0 องศาเซลเซียสมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6.0-6.4 จัดอยู่ในกลุ่มดินที่มีความเป็นกรดปานกลาง ส่วนที่ความลึก 5-40 เซนติเมตร อุณหภูมิอยู่ในช่วงระหว่าง 25.0-28.0 องศาเซลเซียส (เฉลี่ย 26.5 องศาเซลเซียสมีค่า pH อยู่ในช่วง 6.2-6.4 จัดอยู่ในกลุ่มดินที่มีความเป็นกรดเล็กน้อย

ที่ความลึกจากผิวดินลึกลงไปถึงระดับ 40 เซนติเมตร บนพื้นที่หน้าตัดส่วนมากพบรากไม้ปะปน และปริมาณจุดประ (Jarosite) ในชั้นหน้าตัดดินระหว่างร้อยละ 2-20 แต่ไม่พบหินปะปนในชั้นหน้าตัดดินนี้

ปริมาณคาร์บอนรวมอยู่ในช่วงร้อยละ 1.78-3.67 โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 2.73 ปริมาณไนโตรเจน รวมอยู่ในช่วงร้อยละ 0.23-0.41 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.32 ค่า C:N ratio ของดินโดยรวมของจังหวัดสมุทรปราการเท่ากับ 8.5:1 บ่งชี้ว่าดินเลนบริเวณนี้มีไนโตรเจนในปริมาณที่ค่อนข้างมากเกินไป เทียบกับปริมาณคาร์บอนในดิน ปริมาณฟอสฟอรัสรวมอยู่ในช่วงร้อยละ 0.100-0.141 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.120

การสาธารณสุข

 

จังหวัดสมุทรปราการ มีสถานพยาบาล ประกอบด้วย โรงพยาบาล 4 แห่ง แบ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชน 1 แห่ง โรงพยาบาลรัฐ 3 แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 1 แห่ง คลินิกเอกชน จำนวน 33 แห่งบุคลากรด้านสาธารณสุข ประกอบด้วย แพทย์ 415 คน ทันตแพทย์ 76 คน เภสัชกร 189 คน อัตราส่วนแพทย์ต่อจำนวนประชากรจังหวัดสมุทรปราการ เท่ากับ 1:2,830 คน

 

การศึกษา

 

จังหวัดสมุทรปราการ มีโรงเรียนที่เปิดทำการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 279 แห่ง จำนวนนักเรียน 191,354 คน สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา 3 แห่ง จำนวนสถาบันการศึกษาที่สังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตจังหวัด จำนวน 4 แห่ง

 

ประชากร แรงงานและการจ้างงาน และแรงงานต่างด้าว

 

จังหวัดสมุทรปราการ มีประชากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ทั้งสิ้น 1,261,530 คน จำแนกเป็นชาย 605,702 คน และหญิง 655,828 คน สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ดำเนินการสำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากรในจังหวัดสมุทรปราการปี พ.ศ. 2557 พบว่า ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวน 1,434,398 คน จำแนกเป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 891,053 คน และผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 560,787 คน จากจำนวนผู้อยู่ในกำลังแรงงาน พบว่ามีผู้ว่างงาน จำนวน 6,595 คน และแรงงานต่างด้าวจำนวนทั้งสิ้น 8,454 คน

จำนวนกำลังแรงงาน จำแนกตามเพศและสภาพแรงงาน
สถานภาพแรงงาน จำนวนคน รวม
ชาย หญิง
ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป 834,036 890,545 1,724,581
1. ผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 688,969 610,080 1,299,049
   1.1 ผู้มีงานทำ 678,472 601,660 1,280,132
   1.2 ผู้ว่างงาน 9,091 7,112 16,203
   1.3 กำลังแรงงานที่รอฤดูกาล 1,405 1,308 2,713
2. ผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน 145,067 280,464 425,531
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ, http://service.nso.go.th (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2558)

จังหวัดสมุทรปราการ มีวิสัยทัศน์การพัฒนา 4 ปี พ.ศ. 2557- 2560 คือ “สมุทรปราการเมืองอุตสาหกรรมสะอาด ปลอดภัย น่าอยู่” ภายใต้วิสัยทัศน์ในการพัฒนาพื้นที่ (Area Vision) “เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เกษตรปลอดภัย แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสมดุลกับการพัฒนาเมือง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมมั่นคงปลอดภัย” โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ (31 กลยุทธ์ 116 โครงการ งบประมาณทั้งสิ้น 17,514 ล้านบาท)

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมให้มีศักยภาพเพื่อการแข่งขันในภูมิภาคอาเซียน โดยพัฒนากระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน โดยยกระดับรายได้และการจัดการด้านการศึกษา สาธารณสุข ศาสนา ศิลปวัฒธรรม และสาธารณูปโภคให้เพียงพอ เท่าเทียม และทั่วถึง

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมระบบ Logistics สู่ประชาคมอาเซียน โดยพัฒนาการบริหารจัดการ และปรับปรุงโครงข่ายคมนาคมขนส่งให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม โดยการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว สินค้า การบริการ และประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักและประทับใจของนักท่องเที่ยว

ยุทธศาสตร์ที่ 5 เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน โดยการพัฒนาระบบป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามความมั่นคง

คณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสมุทรปราการได้มีการคัดเลือกพื้นที่ดำเนินการการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 1 พื้นที่ คือพื้นที่เขตเทศบาลตำบลบางปู อำเภอเมืองสมุทรปราการ ครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบล คือ ตำบลบางปู ตำบลบางปูใหม่ ตำบลท้ายบ้าน และตำบลท้ายบ้านใหม่ ประกอบด้วย 29 หมู่บ้าน ครอบคลุมเนื้อที่ 63.50 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ฐานเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด เป็นที่ตั้งของเขตประกอบการอุตสาหกรรมฟอกหนัง กม. 30 และ กม. 34 และพื้นที่บางส่วนของนิคมอุตสาหกรรมบางปู มีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ทั้งสิ้น 693 แห่ง

ส่วนใหญ่พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านกลางแยก พื้นที่ออกเป็นด้านตะวันตกและด้านตันออกและมีลำคลองรวม ๙๕ สายโดยเป็นคลองชลประทาน ๑๔ สาย คลองธรรมชาติ ๘๑ สาย ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป สามารถแบ่งพื้นที่ออกได้เป็น ๓ ส่วน คือ

      1. บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มทั้งหมด
      2. บริเวณตอนใต้ใกล้ชายฝั่งทะเล น้ำทะเลท่วมถึงและที่ดินจะเค็มจัดในฤดูแล้ง
      3. บริเวณที่ราบกว้างใหญ่ทางตอนเหนือและทางตะวันออก ซึ่งจะเป็นที่ราบลุ่มติดต่อกันตลอด มีคลองชลประทานหลายแห่ง

 

ลักษณะภูมิอากาศ

          อากาศเย็นไม่ร้อนจัด ในฤดูร้อนมีความชื้นในอากาศสูง เนื่องจากอิทธิพลของลมทะเลและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ฤดูฝนมีฝนตกมาก ฤดูหนาวไม่หนาวจัด อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยเท่ากับ ๓๐.๖ องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ย ๒๖.๖ องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีเท่ากับ ๒๘.๙ องศาเซลเซียส

 

เขตการปกครองและประชากร

การปกครอง
            จังหวัดสมุทรปราการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๖ อำเภอ ๕๐ ตำบล ๓๙๔ หมู่บ้าน มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด ๑ แห่ง เทศบาล จำนวน ๑๘ แห่ง (๑ เทศบาล ๔ เทศบาลเมือง และ ๑๓ เทศบาลตำบล) และองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๓๐ แห่ง

 

ประชากร
            จังหวัดสมุทรปราการมีประชากรเป็นอันดับ ๒ ของภาคกลาง รองจากกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ด้วยเหตุที่เป็นจังหวัดที่รองรับการขยายตัวจากกรุงเทพมหานคร และเป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ อีกทั้งมีการเจริญเติบโตในด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรม การค้า การบริการและการกระจายตัวของประชากร ทำให้จังหวัดสมุทรปราการมีประชากรที่ย้ายถิ่นจากที่อื่น มาอาศัยอยู่ในพื้นที่เป็นจำนนมากเคลื่อนย้ายเข้ามาโดยแจ้งย้ายที่อยู่อย่างถูกต้อง และไม่ย้ายทะเบียนราษฎร์เข้ามา ทำให้จำนวนประชากรที่มีอยู่จริงสูงกว่าจำนวนประชากรในทะเบียนราษฎร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในวัยทำงานจะมีรายชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ต่ำกว่ากลุ่มอื่น โดยข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖ มีประชากรตามทะเบียนราษฎร์ทั้งสิ้น ๑,๒๒๓,๓๐๒ คน แยกเป็นชาย ๕๘๘,๙๗๕ คน หญิง ๖๓๔,๓๒๗ คน มีประชากรแฝงหลั่งไหลเข้ามาในจังหวัดสมุทรปราการ เมื่อรวมประชากรแฝงที่มิได้ย้ายทะเบียนราษฎร์อย่างถูกต้องด้วยแล้ว สามารถประเมินจำนวนประชากรที่อยู่อาศัยอยู่จริงได้ประมาณ ๒.๓ ล้านคนเศษ โดยมีจำนวนที่อยู่อาศัยตามทะเบียนราษฎร์จำนวน ๕๔๘,๘๘๓ ครัวเรือน

มิติ เศรษฐกิจ  
ด้านที่ 3. เศรษฐกิจของภาคอุตสาหกรรม
เกณฑ์ตัวชี้วัด 3.1 การเพิ่มปริมาณการลงทุนของภาคอุตสาหกรรม
ตัวชี้วัด 3.1.1 จำนวนเงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมในเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

 

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ ได้จัดทำข้อมูลจำนวนเงินลงทุนของผู้ประกอบการในพื้นที่เทศบาลตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ 3 ปีย้อนหลัง (พ.ศ.2557-2560) ซึ่งมีอัตราการเพิ่มขึ้น/ลดลงของจำนวนเงินลงทุนเมื่อเทียบกับปี 2557

ข้อมูลจำนวนเงินลงทุนของผู้ประกอบการในพื้นที่เป้าหมาย

ตำบล จำนวนเงินลงทุน (ล้านบาท) อัตราการเพิ่มขึ้น/ลดลง เมื่อเทียบกับปี 2557 (%)
ปี 2557 ปี 2558 ปี 2559 ปี 2560
บางปู 33,236.55 34,358.18 36,014.98 36,585.48 10.08
บางปูใหม่ 32,549.02 33,670.65 35,316.25 35,883.25 10.24
ท้ายบ้าน 19,150.94 19,601.44 19,866.72 20,169.55 5.32
ท้ายบ้านใหม่ 3,150.86 3,198.86 3,256.83 3,281.29 4.14
รวม 88,087.37 90,829.13 94,454.78 94,454.78 8.89
มิติ เศรษฐกิจ  
ด้านที่ 4. เศรษฐกิจท้องถิ่น
เกณฑ์ตัวชี้วัด 4.1 การส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 4.1.1 การส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมชุมชนในบริเวณโดยรอบ

พื้นที่เทศบาลตำบลบางปู ยังไม่มีแผนงานหรือมีโครงการที่ให้ผู้ประกอบการในพื้นที่เข้าไปส่งเสริมสนับสนุนให้ท้องถิ่นดำเนินกิจกรรมของชุมชน

มิติ เศรษฐกิจ  
ด้านที่ 4. เศรษฐกิจท้องถิ่น
เกณฑ์ตัวชี้วัด 4.1 การส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในท้องถิ่นในบริเวณโดยรอบ
ตัวชี้วัด 4.1.2 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีจำนวนแรงงานท้องถิ่น

 

      ยังไม่มีหน่วยงานที่เก็บรวบรวมจำนวนผู้ประกอบการที่มีการจ้างแรงงานท้องถิ่นเกินกว่าร้อยละ 25

 

มิติ เศรษฐกิจ  
ด้านที่ 4. เศรษฐกิจท้องถิ่น
เกณฑ์ตัวชี้วัด 4.1 การส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 4.1.3 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการจากชุมชน หรือ ส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชน หรือสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนทางด้าน การตลาด หรือพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมอาชีพ หรือทักษะแรงงาน

 

ยังไม่มีหน่วยงานที่เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ประกอบการทั้งหมดในพื้นที่ที่มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการจากชุมชน หรือส่งเสริมกิจกรรมหรือกลุ่มอาชีพให้กับชุมชน หรือสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนทางด้านการตลาด หรือพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมอาชีพ หรือทักษะแรงงาน

มิติ เศรษฐกิจ  
ด้านที่ 4. เศรษฐกิจท้องถิ่น
เกณฑ์ตัวชี้วัด 4.1 การส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 4.1.4 อัตราการว่างงาน

 

ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ พบว่าในปี พ.ศ.2560 ในพื้นที่เทศบาลตำบลบางปู มีจำนวนคนว่างงาน 1,610 คน เป็นชาย 664 คน และหญิง 946 คน

 

มิติ เศรษฐกิจ  
ด้านที่ 5. การตลาด
เกณฑ์ตัวชี้วัด 5.1 มีการส่งเสริมสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด 5.1.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Product/Eco-Service) หรือมีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Purchasing) ต่อจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมด

 

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้จากโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละแห่ง  แต่มีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในพื้นที่มีการผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Product/Eco-Service) หรือมีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Purchasing) โดยกรมควบคุมมลพิษได้จัดทำแผนส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ระยะที่ 3 พ.ศ. 2560-2564

มิติ เศรษฐกิจ  
ด้านที่ 6. การขนส่งและโลจิสติกส์
เกณฑ์ตัวชี้วัด 6.1 การจัดการระบบขนส่งและโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัย
ตัวชี้วัด 6.1.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกิจกรรมหรือมาตรการที่ปลอดภัย ลดต้นทุน หรือเพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่งและโลจิสติกส์ขององค์กร

 

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้จากโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละแห่ง โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลรายโรงงานโดยใช้แบบสอบถาม ทั้งนี้มีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในพื้นที่มีการดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการที่ปลอดภัย ลดต้นทุน หรือเพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่งและโลจิสติกส์โดยมีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560-2564) ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) มีเป้าหมายให้ประเทศไทยสามารถยกระดับระบบโลจิสติกส์ของประเทศไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการค้า การบริการ และการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 7. การจัดการคุณภาพน้ำ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 7.1 การควบคุมมลภาวะทางน้ำ
ตัวชี้วัด 7.1.1 คุณภาพน้ำทิ้งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

ฐานข้อมูลจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม พบว่ามีข้อมูลคุณภาพน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการระบายน้ำทิ้งในพื้นที่เทศบาลตำบลบางปู  และเป็นไปตามมาตรฐาน 100% ของจำนวนตัวอย่างที่ตรวจวิเคราะห์ 

 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 7. การจัดการคุณภาพน้ำ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 7.2 การลดปริมาณน้ำใช้ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
ตัวชี้วัด 7.2.1 ปริมาณน้ำใช้ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลดลง

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้จากโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละแห่ง โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลรายโรงงานโดยใช้แบบสอบถาม

ทั้งนี้ข้อมูลจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม มีฐานข้อมูลหรือ Baseline การใช้น้ำของโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งหมดในพื้นที่ ซึ่งเป็นข้อมูลน้ำใช้จากการรายงานระบบ รว. ปีที่ส่งรายงาน 2560 ครั้งที่ 2 ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดสมุทรปราการ

ข้อมูลน้ำใช้จากการรายงานระบบ รว. (ปีที่ส่งรายงาน 2560 ครั้งที่ 2 ) ในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ
ประเภทน้ำใช้ ปริมาณการใช้งาน (ลบ.ม./วัน)
น้ำประปา ปริมาณเฉลี่ย 36,958.92
ปริมาณใช้สูงสุด 47,155.83
น้ำบาดาล ปริมาณเฉลี่ย 3,500.91
ปริมาณใช้สูงสุด 5,443.73
น้ำทะเล ปริมาณเฉลี่ย 0
ปริมาณใช้สูงสุด 0

รวมน้ำผิวดิน

ปริมาณเฉลี่ย 0
ปริมาณใช้สูงสุด 0

รวมอื่นๆ

ปริมาณเฉลี่ย 314
ปริมาณใช้สูงสุด 416

 

 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 7. การจัดการคุณภาพน้ำ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 7.2 การลดปริมาณน้ำใช้ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
ตัวชี้วัด 7.2.2 ปริมาณน้ำทิ้งต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลดลง

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้จากโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละแห่ง โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลรายโรงงานโดยใช้แบบสอบถาม

 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 7. การจัดการคุณภาพน้ำ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 7.3 คุณภาพแหล่งน้ำสาธารณะ
ตัวชี้วัด 7.3.1 คุณภาพแหล่งน้ำสาธารณะ

 

ไม่มีข้อมูลผลการตรวจวัดคุณภาพแหล่งน้ำสาธารณะ ในพื้นที่เทศบาลตำบลบางปู เนื่องจากในพื้นที่ไม่มีจุดตรวจวัดตามภารกิจของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค

 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 8. การจัดการคุณภาพอากาศ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 8.1 การควบคุมมลภาวะทางอากาศ
ตัวชี้วัด 8.1.1 คุณภาพอากาศบริเวณนิคมอุตสาหกรรม เขตประกอบการอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม และชุมชน อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

 

ไม่มีข้อมูลผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่เทศบาลตำบลบางปู เนื่องจากในพื้นที่ไม่มีจุดตรวจวัดตามภารกิจของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค

 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 8. การจัดการคุณภาพอากาศ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 8.1 การควบคุมมลภาวะทางอากาศ
ตัวชี้วัด 8.1.2 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมการลดการปล่อยมลพิษทางอากาศที่มีนัยสำคัญได้มากกว่าเกณฑ์มาตร

 

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 8. การจัดการคุณภาพอากาศ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 8.1 การควบคุมมลภาวะทางอากาศ
ตัวชี้วัด 8.1.2 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมการลดการปล่อยมลพิษทางอากาศที่มีนัยสำคัญได้มากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 9. การจัดการกากของเสียและวัสดุเหลือใช้
เกณฑ์ตัวชี้วัด 9.1 การจัดการกากของเสียและวัสดุเหลือใช้ภาคอุตสาหกรรม
ตัวชี้วัด 9.1.1 อัตราการนำกากของเสียอุตสาหกรรมกลับมาใช้ใหม่

 

ข้อมูลจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม พบข้อมูลชนิดและปริมาณกากของเสียอุตสาหกรรม ปี พ.ศ.2560 ในพื้นที่เทศบาลตำบลบางปู  

ข้อมูลปริมาณกากของเสียอุตสาหกรรม ตามรายงานการขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน (สก.2) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ปี 2560
ตำบล ความอันตราย ปริมาณ (ตัน)
บางปู ไม่อันตราย 401.00
อันตราย 18.40
บางปูใหม่ ไม่อันตราย 70,415.57
อันตราย 35,608.23
ท้ายบ้าน ไม่อันตราย 16,225.70
อันตราย 6,114.86
ท้ายบ้านใหม่ ไม่อันตราย 5,133.90
อันตราย 6,320.00

 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 9. การจัดการกากของเสียและวัสดุเหลือใช้
เกณฑ์ตัวชี้วัด 9.2 การจัดการขยะชุมชน
ตัวชี้วัด 9.2.1 อัตราการกำจัดขยะชุมชน

 

ข้อมูลจากเทศบาลตำบลบางปูพบว่าขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในเขตเทศบาลตำบลบางปู มีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นเฉลี่ย 214.43 ตันต่อเดือน โดยจากฐานข้อมูล ในปี 2558  มีปริมาณขยะมูลฝอยทั่วไป 195 ตันต่อวัน ในปี 2559  มีปริมาณขยะมูลฝอยทั่วไป 217 ตันต่อวัน โดยมีแผน/มาตรการลดปริมาณขยะชุมชนได้แก่ โครงการคัดแยกขยะในโรงเรียน โครงการจ้างเหมาจัดเก็บขยะมูลฝอย โครงการจ้างเหมาฝังกลบขยะ ด้วยวิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล อีกทั้งมีอัตราการกำจัดขยะชุมชนร้อยละ 100

 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 10. การจัดการพลังงาน
เกณฑ์ตัวชี้วัด 10.1 มีการใช้พลังงานทดแทนในเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ตัวชี้วัด 10.1.1 อัตราการใช้พลังงานทดแทน

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 10. การจัดการพลังงาน
เกณฑ์ตัวชี้วัด 10.2 การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 10.2.1 สัดส่วนโรงงานที่ดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการลดการใช้พลังงานหรือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

 

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 11. การจัดการเหตุเดือนร้อนรำคาญ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 11.1 การจัดการและตอบสนองต่อข้อร้องเรียนด้านเหตุเดือดร้อนรำคาญ
ตัวชี้วัด 11.1.1 การตอบสนองต่อข้อร้องเรียนด้านเหตุเดือดร้อนรำคาญ

 

ข้อมูลจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ พบว่าในปี พ.ศ.2558-2560 ในพื้นที่เทศบาลตำบลบางปู มีข้อมูลเหตุเดือดร้อนรำคาญที่ได้ดำเนินการแก้ไขแล้วทั้งหมด 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 12. กระบวนการผลิต
เกณฑ์ตัวชี้วัด 12.1 กระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด 12.1.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม(Eco-Process) หรือได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory)

 

จากฐานข้อมูลกรมโรงงานอุตสาหกรรมพบว่า ในพื้นที่เทศบาลตำบลบางปู มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco Process) หรือได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) หรืออุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ตั้งแต่ระดับที่ 3 ขึ้นไป หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า จำนวน 29 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 4.48 ของโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดในพื้นที่

 

ฐานข้อมูลของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco Process) หรือได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) หรืออุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ตั้งแต่ระดับที่ 3 ขึ้นไป
ลำดับ เลขทะเบียนโรงงาน ชื่อโรงงาน GI3 GI4 GI5 ISO14001 ISO50001
1 3-22(1)-2/35สป บริษัท โรงงานผ้าไทย จำกัด (มหาชน) /        
2 ข3-29-2/42สป บริษัท โรงงานฟอกหนังคุรุ จำกัด /        
3 ข3-29-111/25สป บริษัท ทวีสิน แทนเนอรี่ จำกัด /        
4 3-42(1)-3/18สป บริษัท เอสทีซี นิกกะ จำกัด /     /  
5 จ3-75(1)-1/36สป บริษัท มาร์ซัน จำกัด /     / /
6 3-22(1)-1/20สป บริษัท ลัคกี้เท็กซ์(ไทย) จำกัด (มหาชน) โรงงานที่ 2 /        
7 3-22(2)-8/19สป บริษัท ลัคกี้เท็คซ์ (ไทย) จำกัด(มหาชน) /        
8 3-22(3)-6/35สป บริษัท ไทยนำศิริ อินเตอร์เท็กซ์ จำกัด /        
9 ข3-29-4/55สป บริษัท ซีพีแอล กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) /        
10 ข3-29-58/25สป บริษัท ศรีสินฟ้า แทนเนรี่ จำกัด /        
11 ข3-29-113/25สป บริษัท ซีพีแอล กรุ๊ป จำกัด(มหาชน /        
12 น.39-1/2546-นนป. บริษัท แม แม อินดัสเตรียล จำกัด /        
13 น.42(1)-1/2543-นนป. บริษัท ไทยยัง เคมีคอล จำกัด /        
14 น.44-1/2515-ญนป. บริษัท เอเซียไฟเบอร์ จำกัด (มหาชน) /        
15 น.53(1)-1/2537-ญนป. บริษัท ทีเอส โมลิเมอร์ จำกัด /        
16 3-53(4)-46/47สป บริษัท ฟูจิ เอซ จำกัด /        
17 น.53(5)-4/2555-นนป. บริษัท โพลีเมอร์ริท เอเชีย จำกัด /        
18 3-64(2)-2/21สป บริษัท วาย เค เค (ประเทศไทย) จำกัด /        
19 น.73-1/2550-นนป. บริษัท ซินโฟเนียร์ เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด /        
20 น.74(2)-1/2535-ญนป. บริษัท ซูมิโตโม อีเล็คตริก วินเทค (ประเทศไทย) จำกัด /        
21 3-74(5)-3/13สป บริษัท สยาม ยี เอสแบตเตอรี่ จำกัด /        
22 3-77(2)-26/53สป บริษัท สยามชิตะ จำกัด /        
23 น.77(2)-2/2536-ญนป. บริษัท ศรีไทยโอโตซีทส์ อินดัสตรี จำกัด /        
24 น.88(2)-1/2541-นนป. บริษัท สมุทรปราการ โคเจนเนอเรชั่น จำกัด /        
25 น.101-1/2544-นนป. บริษัท อัคคีปราการ จำกัด (มหาชน) /        
26 น.101-1/2547-ญนป. บริษัท บางปู เอนไวรอนเมนทอล คอมเพล็กซ์ จำกัด /        
27 3-60-2/21สป บริษัท ไทยเม็ททอล อลูมิเนียม จำกัด /        
28 3-22(1)-2/51สป บริษัท ยูเนี่ยนอุตสาหกรรมสิ่งทอ จำกัด (มหาชน)   /      
29 3-42(1)-2/18สป บริษัท สยามเคมีคอลอินดัสตรี้ จำกัด   /      

 

 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 12. กระบวนการผลิต
เกณฑ์ตัวชี้วัด 12.2 การใช้วัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 12.2.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบ

 

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 13. ประสิทธิภาพเชิงนิเวศ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 13.1 ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเพื่อการจัดการทรัพยากร
ตัวชี้วัด 13.1.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพเชิงนิเวศ (Eco Efficiency) ใน 4 ด้าน ดังนี้
  • ด้านการใช้น้ำ
  • ด้านพลังงาน
  • ด้านปริมาณน้ำทิ้ง
  • ด้านกากของเสียและวัสดุเหลือใช้

 

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 13. ประสิทธิภาพเชิงนิเวศ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 13.2 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ตัวชี้วัด 13.2.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 13. ประสิทธิภาพเชิงนิเวศ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 13.3 ลดการคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
ตัวชี้วัด 13.3.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการประเมินผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กรต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และจัดทำแผนป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 14. การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 14.1 การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ
ตัวชี้วัด 14.1.1 อัตราการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงและอัตราการเจ็บป่วยที่รุนแรง

 

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 14. การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 14.1 การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ
ตัวชี้วัด 14.1.2 การรั่วไหล และการเกิดอุบัติเหตุของสารเคมีและวัตถุอันตราย ที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อพนักงาน ชุมชน หรือสิ่งแวดล้อมภายนอก

 

จากฐานข้อมูลกรมโรงงานอุตสาหกรรม พบว่ามีฐานข้อมูลรายงานสถานที่เก็บวัตถุอันตรายที่เป็นสารเคมีของจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2558 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 15. การเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม
เกณฑ์ตัวชี้วัด 15.1 การเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม
ตัวชี้วัด 15.1.1 ระบบการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม หรือ EIA Monitoring หรือโครงการอื่นที่เทียบเท่า

 

ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน มีข้อมูลการรายผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เทศบาลตำบลบางปู โดยบริษัท สมุทรปราการ โคเจนเนอเรชั่น จำกัด ซึ่งได้รับรางวัล EIA Monitoring Awards 2016 ชื่อโครงการ โรงไฟฟ้าบางปู ซึ่งมีระบบการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม เช่น

  • ติดตั้งระบบ Steam Injection เพื่อลดการเกิด Nox
  • ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีกำมะถันต่ำ เพื่อลดการเกิด SO2, CO และฝุ่น
  • ติดตั้ง CEMs ที่ปากปล่อง HRSG มีระบบกริ่งสัญญาณเตือน เมื่อมีข้อผิดพลาดมายังห้องควบคุม
  • ติดตั้งชุดลดเสียงทีปั๊มอัดก๊าซ 
มิติ สังคม  
ด้านที่ 16. คุณภาพชีวิตและสังคมของพนักงาน
เกณฑ์ตัวชี้วัด 16.1 ที่ทำงานมีสุข (Happy Workplace)
ตัวชี้วัด 16.1.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีดำเนินงานตามแนวทางการเป็นที่ทำงานมีสุข (Happy Workplace)

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

 

มิติ สังคม  
ด้านที่ 17. คุณภาพชีวิตและสังคมของคนในท้องถิ่นโดยรอบ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 17.1 ชุมชนอยู่ดีมีสุข (Happy Community or Well-being Community)
ตัวชี้วัด 17.1.1 การสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนตามบริบทของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

 

      ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลบางปูมีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรอง CSR-DIW จำนวน 10 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 1.44 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมาย

รายชื่อโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เทศบาลตำบลบางปูที่ได้รับการรับรอง CSR-DIW
ลำดับ ปีที่ได้ CSR-DIW ชื่อโรงงาน
1 2555 บริษัท สยามเคมีคอลอินดัสตรี้ จำกัด
2 2555 บริษัท อัคคีปราการ จำกัด (มหาชน)
3 2555 บริษัท เอสทีซี นิกกะ จำกัด
4 2555 บริษัท ลัคกี้เท็คซ์ (ไทย) จำกัด (มหาชน) โรงงาน 3
5 2556 บริษัท ลินเด้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
6 2557 บริษัท ยูเนี่ยนอุตสาหกรรมสิ่งทอ จำกัด (มหาชน)
7 2558 บริษัท วายเคเค (ประเทศไทย) จำกัด
8 2560 บริษัท ทีเอส โมลิเมอร์ จำกัด
9 2561 บริษัท สยามยีเอสแบตเตอรี่ จำกัด
10 2561 บริษัท สยามเคมีคอลอินดัสตรี้ จำกัด

 

 

มิติ สังคม  
ด้านที่ 17. คุณภาพชีวิตและสังคมของคนในท้องถิ่นโดยรอบ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 17.1 ชุมชนอยู่ดีมีสุข (Happy Community or Well-being Community)
ตัวชี้วัด 17.1.2 ความพึงพอใจของชุมชน

 

ปัจจุบันยังไม่มีการสำรวจความพึงพอใจของชุมชนต่อการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่

มิติ สังคม  
ด้านที่ 17. คุณภาพชีวิตและสังคมของคนในท้องถิ่นโดยรอบ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 17.1 ชุมชนอยู่ดีมีสุข (Happy Community or Well-being Community)
ตัวชี้วัด 17.1.3 อัตราการเจ็บป่วยจากโรคจากการประกอบอาชีพ

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

 

มิติ สังคม  
ด้านที่ 17. คุณภาพชีวิตและสังคมของคนในท้องถิ่นโดยรอบ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 17.1 ชุมชนอยู่ดีมีสุข (Happy Community or Well-being Community)
ตัวชี้วัด 17.1.4 อัตราการลดลงของการเกิดคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญต่อประชากรรวม

ข้อมูลจากสถานีตำรวจภูธรบางปู พบว่า ในปี 2558-2560 มีข้อมูลจำนวนคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญต่อประชากรรวมในพื้นที่

สถิติการรับแจ้งคดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญในพื้นที่เทศบาลตำบลบางปู พ.ศ. 2558 - 2560
คดี จำนวนคดี
2558 2559 2560
ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา 4 3 2
ปล้นทรัพย์ / ชิงทรัพย์ 1 - 2
ลักพาเรียกค่าไถ่ - - -
วางเพลิง - - -
อื่นๆ 2 3 1
รวม 7 6 5
มิติ สังคม  
ด้านที่ 17. คุณภาพชีวิตและสังคมของคนในท้องถิ่นโดยรอบ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 17.1 ชุมชนอยู่ดีมีสุข (Happy Community or Well-being Community)
ตัวชี้วัด 17.1.5 ระดับความสำเร็จการดำเนินการตามแผนพัฒนาทักษะการประกอบวิชาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต

ข้อมูลจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ มีฐานข้อมูลระดับการศึกษาของประชากรในพื้นที่เทศบาลตำบลบางปู รายละเอียดดังตาราง

 และข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการมีข้อมูลสถิติระดับการศึกษาของประชากรในพื้นที่เทศบาลตำบลบางปู ในปี พ.ศ.2558 - 2560 พบว่าประชากรในพื้นที่เทศบาลตำบลบางปู มีระดับการศึกษา อีกทั้งยังมีแผนงานโครงการพัฒนาทักษะอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้แก่

  • โครงการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นให้กับประชาชนในเขตเทศบาล
  • โครงการสอนภาษาต่างประเทศโดยครูต่างชาติให้กับนักเรียนในสังกัดเทศบาลตำบลบางปู
  • โครงการส่งเสริมพัฒนาภาษาอังกฤษในชุมชนสู่ AEC ให้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่เทศบาลตำบลบางปู

 

ข้อมูลระดับการศึกษาของประชากรในพื้นที่เทศบาลตำบลบางปู
ตำบล โรงเรียน ต่ำกว่าประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวศึกษา ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี สังกัด
ท้ายบ้าน โรงเรียนวัดราษฎร์โพธิ์ทอง 67 241           สพป.สป.1
ท้ายบ้าน โรงเรียนอนุบาลทอรัก 98 164           สช.
ท้ายบ้าน โรงเรียนปราณีเนาวบุตร 145 604           สช.
ท้ายบ้าน โรงเรียนอนุบาลสวนแพรกษาจงสิน 71 105           สช.
ท้ายบ้าน โรงเรียนคลองแสนสุข 165 512           สพป.สป.1
ท้ายบ้าน โรงเรียนหาดอมราอักษรลักษณ์วิทยา     792 368       สพม.6
ท้ายบ้าน โรงเรียนอนุบาลเคหะบ้านใหม่ 68             สช.
ท้ายบ้าน โรงเรียนบ้านคลองหลวง 213 1118           สพป.สป.1
ท้ายบ้านใหม่ โรงเรียนอนุบาลบ้านไทรงาม 72             สช.
ท้ายบ้านใหม่ โรงเรียนเสงื่ยมพิทยานุกุล 68 117           สังกัด สพป.สป.1
ท้ายบ้านใหม่ วิทยาลัยเทคโนโลยีสมุทรปราการ (ช.เทค)         348     อศจ.สป.
ท้ายบ้านใหม่ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ         4308     อศจ.สป.
ท้ายบ้านใหม่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กท้ายบ้านใหม่ 51             เทศบาลตำบลบาปู (ศพด.)
ท้ายบ้านใหม่ โรงเรียนเทศบาล 3 159             เทศบาลตำบลบางปู (โรงเรียน)
ท้ายบ้านใหม่ โรงเรียนอุ่นอารีวิทยา 89 250           สช.
บางปู โรงเรียนชุมชนวัดราษฎร์บำรุง 81 427           สช.
บางปู โรงเรียนคลองบางปู 2 97           สพป.สป.1
บางปู ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทต.บางปู 58             เทศบาลตำบลบางปู (ศพด.)
บางปู โรงเรียนเทศบาล 2 412             เทศบาลตำบลบางปู (โรงเรียน)
บางปู โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัยสมุทรปราการ     1495 1113       สพม.6
บางปูใหม่ โรงเรียนพิบูลประชาบาล 123 806           สพป.สป.1
บางปูใหม่ โรงเรียนมัธยมวัดศรีจันทร์ประดิษฐ์     676 204       สช.
บางปูใหม่ โรงเรียนดิษลี 125 463           สช.
บางปูใหม่ โรงเรียนวัดตำหรุ มิตรภาพที่ 65 39 535 469         สพป.สป.1
บางปูใหม่ โรงเรียนเอี่ยมสุรีย์(อนุบาลเมืองสมุทรปราการ) 169 1171           สพปสป.2
บางปูใหม่ โรงเรียนเทศบาล 1 357             เทศบาลตำบลบางปู (โรงเรียน)
บางปูใหม่ โรงเรียนคลองเสาธง 13 81 45         สพป.สป.1
หมายเหตุ ข้อมูลปีการศึกษา 2560 (10 มิ.ย.2560)

 

ระดับการศึกษาของประชากรในพื้นที่เทศบาลตำบลบางปู ในปี พ.ศ. 2558 – 2560
ระดับการศึกษา จำนวนประชากร (คน)
2558 2559 2560
ต่ำกว่าประถมศึกษา 929 703 493
ประถมศึกษา 7,727 6,996 4,881
มัธยมศีกษาตอนต้น 5,691 5,354 4,417
มัธยมศีกษาตอนปลาย 5,615 5,347 5,828
อนุปริญญา หรือเทียบเท่า 1,782 1,762 1,767
ปริญญาตรี หรือเทียบเท่า 4,543 4,349 3,875
สูงกว่าปริญญาตรี 151 106 52

 

มิติ สังคม  
ด้านที่ 17. คุณภาพชีวิตและสังคมของชุมชนโดยรอบ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 17.1 ชุมชนอยู่ดีมีสุข (Happy Community or Well-being Community)
ตัวชี้วัด 17.1.6 ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินจากภัยพิบัติ

 

       ข้อมูลจากเทศบาลตำบลบางปู มีการจัดเก็บข้อมูลมูลค่าความเสียหายในทรัพย์สินที่เกิดจากภัยพิบัติในปี พ.ศ.2558- 2560 ในพื้นที่เทศบาลตำบลบางปู และมีมาตรการในการลดความเสียหายจากภัยพิบัติ ดังนี้

  • ติดตั้งเครื่องดับเพลิงในพื้นที่เทศบาลตำบลบางปู
  • จัดโครงการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพ อสช.ปภ.บางปู
  • จัดโครงการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
  • จัดชุดเคลื่อนที่เข้าเฝ้าระวังการเกิดน้ำท่วมและแก้ไขปัญหาการเกิดสาธารณภัยในเขตพื้นที่เทศบาล

ซึ่งมูลค่าความเสียหายในทรัพย์สินจากภัยพิบัติในปี พ.ศ.2560 ลดลงจากปี พ.ศ.2559 ร้อยละ 73.3

มูลค่าความเสียหายในทรัพย์สินที่เกิดจากภัยพิบัติในพื้นที่เทศบาลตำบลบางปู ปี พ.ศ.2558-2560
ปี รายละเอียด
จำนวนภัยพิบัติที่เกิด (ครั้ง) จำนวนผู้เสียชีวิต (คน) มูลค่าความเสียหายในทรัพย์สิน (บาท)
พ.ศ.2558 49 - 195,500
พ.ศ.2559 109 1 382,500
พ.ศ.2560 64 - 102,000

 

มิติ การบริหารจัดการ
ด้านที่ 18. การบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม
เกณฑ์ตัวชี้วัด 18.1 การดำเนินการของคณะทำงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างมีส่วนร่วม
ตัวชี้วัด 18.1.1 แผนและผลการดำเนินงานของคณะทำงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และ/หรือเครือข่ายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสมุทรปราการได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและจัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ขึ้นในปี พ.ศ.2559 โดยคณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสมุทรปราการ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พื้นที่เทศบาลตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ คำสั่งที่ 1180/2559 ลงวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559 มีคณะกรรมการรวม 43 คน และคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเครือข่ายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Network) พื้นที่เทศบาลตำบลบางปู คำสั่งที่ 2535/2561 ลงวันที่ 12  มีนาคม พ.ศ.2560 มีคณะทำงานรวมทั้งสิ้น 35 คน เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับจังหวัดสมุทรปราการ

มิติ การบริหารจัดการ
ด้านที่ 19. การพัฒนาและรักษาระบบบริหารระดับสากล
เกณฑ์ตัวชี้วัด 19.1 การดำเนินการของคณะทำงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างมีส่วนร่วม
ตัวชี้วัด 19.1.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว
(Green Industry : GI)ตั้งแต่ระดับที่ 2 ขึ้นไป หรือ CSR Beginner หรือระบบการจัดการอื่นที่เทียบเท่า

จากฐานข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่เทศบาลตำบลบางปูมีโรงงานอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 693 แห่ง มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry : GI) ตั้งแต่ระดับที่ 2 ขึ้นไป หรือ CSR Beginner หรือระบบการจัดการอื่นที่เทียบเท่า จำนวน  41 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 6.33 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่

 

โรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เทศบาลตำบลบางปูที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน  
ลำดับ เลขทะเบียนโรงงาน ชื่อโรงงาน GI2 GI3 GI4 GI5 CSR beginner CSR DIW ISO14001 ISO50001
1 3-22(2)-24/15สป บริษัท พิพัฒนกิจเท็กซ์ไทล์ จำกัด /              
2 ข3-29-16/57สป บริษัท ลิ้มศิลป์แทนเนอรี่ จำกัด /              
3 ข3-29-17/57สป บริษัท ลิ้มศิลป์แทนเนอรี่ จำกัด /              
4 3-42(1)-3/35สป บริษัท ไดสตาร์ ไทย จำกัด /              
5 จ3-4(3)-3/46สป บริษัท ชบาบางกอก จำกัด /              
6 จ3-13(2)-9/55สป บริษัท แนชเชอรัล ฟู้ด อินเตอร์เทรด จำกัด /              
7 น.37-1/2550-นนป. บริษัท พิมพ์เพ็ญ จำกัด /              
8 จ3-39-7/49สป บริษัท ยูเนี่ยน คอนเทนเนอร์ จำกัด /              
9 3-42(1)-1/27สป บริษัท ไทย-อัมบิก้า เคมีคัลส์ จำกัด /              
10 3-53(1)-16/50สป บริษัท ยืนยงเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด /              
11 3-59-7/18สป บริษัท นิติคาสติ้ง จำกัด /              
12 จ3-72-2/51สป บริษัท อี-ลีด อีเลคโทรนิคส์ (ไทยแลนด์) จำกัด /              
13 3-22(1)-2/35สป บริษัท โรงงานผ้าไทย จำกัด (มหาชน)   /            
14 ข3-29-2/42สป บริษัท โรงงานฟอกหนังคุรุ จำกัด   /            
15 ข3-29-111/25สป บริษัท ทวีสิน แทนเนอรี่ จำกัด   /            
16 3-42(1)-3/18สป บริษัท เอสทีซี นิกกะ จำกัด   /       / /  
17 จ3-75(1)-1/36สป บริษัท มาร์ซัน จำกัด   /         / /
18 3-22(1)-1/20สป บริษัท ลัคกี้เท็กซ์(ไทย) จำกัด (มหาชน) โรงงานที่ 2   /       /    
19 3-22(2)-8/19สป บริษัท ลัคกี้เท็คซ์ (ไทย) จำกัด(มหาชน)   /       /    
20 3-22(3)-6/35สป บริษัท ไทยนำศิริ อินเตอร์เท็กซ์ จำกัด   /            
21 ข3-29-4/55สป บริษัท ซีพีแอล กรุ๊ป จำกัด(มหาชน)   /            
22 ข3-29-58/25สป บริษัท ศรีสินฟ้า แทนเนรี่ จำกัด   /            
23 ข3-29-113/25สป บริษัท ซีพีแอล กรุ๊ป จำกัด(มหาชน   /            
24 น.39-1/2546-นนป. บริษัท แม แม อินดัสเตรียล จำกัด   /            
25 น.42(1)-1/2543-นนป. บริษัท ไทยยัง เคมีคอล จำกัด   /            
26 น.44-1/2515-ญนป. บริษัท เอเซียไฟเบอร์ จำกัด (มหาชน)   /            
27 น.53(1)-1/2537-ญนป. บริษัท ทีเอส โมลิเมอร์ จำกัด   /            
28 3-53(4)-46/47สป บริษัท ฟูจิ เอซ จำกัด   /            
29 น.53(5)-4/2555-นนป. บริษัท โพลีเมอร์ริท เอเชีย จำกัด   /            
30 3-64(2)-2/21สป บริษัท วาย เค เค (ประเทศไทย) จำกัด   /       /    
31 น.73-1/2550-นนป. บริษัท ซินโฟเนียร์ เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด   /            
32 น.74(2)-1/2535-ญนป. บริษัท ซูมิโตโม อีเล็คตริก วินเทค (ประเทศไทย) จำกัด   /            
33 3-74(5)-3/13สป บริษัท สยาม ยี เอสแบตเตอรี่ จำกัด   /       /    
34 3-77(2)-26/53สป บริษัท สยามชิตะ จำกัด   /            
35 น.77(2)-2/2536-ญนป. บริษัท ศรีไทยโอโตซีทส์ อินดัสตรี จำกัด   /            
36 น.88(2)-1/2541-นนป. บริษัท สมุทรปราการ โคเจนเนอเรชั่น จำกัด   /            
37 น.101-1/2544-นนป. บริษัท อัคคีปราการ จำกัด (มหาชน)   /            
38 น.101-1/2547-ญนป. บริษัท บางปู เอนไวรอนเมนทอล คอมเพล็กซ์ จำกัด   /            
39 3-60-2/21สป บริษัท ไทยเม็ททอล อลูมิเนียม จำกัด   /            
40 3-22(1)-2/51สป บริษัท ยูเนี่ยนอุตสาหกรรมสิ่งทอ จำกัด (มหาชน)     /     /    
41 3-42(1)-2/18สป บริษัท สยามเคมีคอลอินดัสตรี้ จำกัด     /     /    
                       

 

มิติ การบริหารจัดการ
ด้านที่ 20. ข้อมูลข่าวสารและการรายงาน
เกณฑ์ตัวชี้วัด 20.1 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและการจัดทำรายงาน (Information & Reporting)
ตัวชี้วัด 20.1.1 การสื่อสารและการเปิดเผยข้อมูลของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในรูปแบบช่องทาง และความถี่ในการสื่อสารในลักษณะต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิผล

 

ข้อมูลจากเทศบาลตำบลบางปู มีการสื่อสารและเปิดเผยข้อมูลของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่

  • การสื่อสารผ่าน line group : อีโค่@สมุทรปราการเพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์การดำเนินงานการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดสมุทรปราการ
  • การสื่อสารการดำเนินโครงการ “สมุทรปราการ เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (ECO INDUSTRIAL TOWN)” ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรปราการ
  • การสื่อสารผ่าน เว็บไซต์สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของเครือข่าย Eco Network
  • เอกสารเผยแพร่การดำเนินงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดสมุทรปราการ ปี 2560  

โดยมีการสำรวจการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ซึ่งจากการสำรวจพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 42.65 ไม่ทราบถึงหลักการ ความหมาย และแนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ส่วนผู้ที่ทราบร้อยละ 57.35 โดยระบุว่าช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและผลการดำเนินงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จากอินเตอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ มากที่สุด (ร้อยละ 39.92) รองลงมาคือการประชุม (ร้อยละ 29.62) สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์/โปสเตอร์/แผ่นพับ (ร้อยละ 8.19) และหนังสือเวียนจากทางราชการ (ร้อยละ 3.78) 

มิติ การบริหารจัดการ
ด้านที่ 20. ข้อมูลข่าวสารและการรายงาน
เกณฑ์ตัวชี้วัด 20.1 มีธรรมาภิบาล โปร่งใส เปิดเผยข้อมูล และรับผิดชอบต่อชุมชนโดยรอบ
ตัวชี้วัด 20.2.1 การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล การจัดการด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และสารเคมี ของโรงงานต่อสาธารณะ

เทศบาลตำบลบางปู มีการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยผ่านทางเว็บไซต์เทศบาลตำบลบางปู และเว็บไซต์ชมรมอุตสาหกรรมบางปู 

นอกจากนี้ยังได้มีการทำการสำรวจความพึงพอใจของชุมชนต่อข้อมูลข่าวสารด้านการจัดการด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมและสารเคมีของโรงงานอุตสาหกรรมต่อสาธารณะที่ได้รับ โดยจากการสำรวจพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 9.24 ไม่ทราบว่าโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่มีการจัดการด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และสารเคมีก่อนปล่อยสู่สาธารณะ ส่วนผู้ที่ทราบร้อยละ 90.76 โดยระบุว่าช่องทางการรับรู้จัดการด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และสารเคมีของโรงงานอุตสาหกรรม อินเตอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ มากที่สุด (ร้อยละ 49.37) รองลงมาคือการประชุม (ร้อยละ 37.82) สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์/โปสเตอร์/แผ่นพับ (ร้อยละ 21.22) เสียงตามสาย (ร้อยละ 15.34) และหนังสือเวียนจากทางราชการ (ร้อยละ 2.52) 

ผลการสำรวจความพึงพอใจของชุมชนต่อการเผยแพร่และรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และสารเคมีของโรงงานสู่สาธารณะ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจมีความพึงพอใจต่อการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในระดับคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกัน โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้

ลำดับ ผู้ตอบแบบสำรวจมีความพึงพอใจต่อโรงงานในพื้นที่ที่มีการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล การจัดการด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และสารเคมีของโรงงานต่อสาธารณะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90

ลำดับ ผู้ตอบแบบสำรวจมีความพึงพอใจต่อหน่วยงานราชการในพื้นที่ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและสารเคมีต่อสาธารณะ และคิดว่าการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจะช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่มีต่อชุมชนได้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.62

ลำดับ ผู้ตอบแบบสำรวจมีความพึงพอใจต่อการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและสารเคมีของโรงงานในพื้นที่ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.58

ลำดับ ผู้ตอบแบบสำรวจมีความพึงพอใจและคิดว่าการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศช่วยส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทด้านการอนุรักษ์และเฝ้าระวังการได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากโรงงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.31

โดยสามารถสรุปได้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อการเผยแพร่และรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และสารเคมีของโรงงานสู่สาธารณะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.61 หรือคิดเป็นร้อยละ 72.11

ผลการสำรวจความพึงพอใจของชุมชนต่อการเผยแพร่และรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และสารเคมีของโรงงานสู่สาธารณะ
ข้อ รายละเอียด ระดับความพึงพอใจ คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
1 หน่วยงานราชการในพื้นที่มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและสารเคมีต่อสาธารณะ 13 361 48 15 39 3.62 72.35
2 โรงงานในพื้นที่มีการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล การจัดการด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และสารเคมีของโรงงานต่อสาธารณะ 128 245 61 11 31 3.90 77.98
3 ท่านมีความพึงพอใจต่อการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและสารเคมีของโรงงานในพื้นที่มากน้อยเพียงใด 27 301 86 45 17 3.58 71.60
4 ท่านคิดว่าการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจะช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่มีต่อชุมชนได้ 56 237 131 50 2 3.62 72.39
5 ท่านคิดว่าการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศช่วยส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทด้านการอนุรักษ์และเฝ้าระวังการได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากโรงงาน 37 175 188 51 25 3.31 66.22
ความพึงพอใจภาพรวมเฉลี่ย 3.61 72.11

 

กรมโรงงานอุตสาหกรรม

75/6 ถ.พระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย
โทร. 02-202-4000, 4014 โทรสาร 02-354-3390

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
179,446