จังหวัดสระบุรี

จังหวัดสระบุรี เป็นจังหวัดที่มีแหล่งผลิต แปรรูป ผลผลิตการเกษตรที่สำคัญ เพื่อบริโภคภายในประเทศและส่งออกเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีศักยภาพการพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อการเกษตรมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า เป็นแหล่งอุตสาหกรรม/เกษตรกรรม ทำให้มีความหลากหลายในการประกอบอาชีพ/ภาวการณ์ว่างงานต่ำ มีสภาพแวดล้อมและทำเลที่เหมาะสมกับการติดต่อกับทุกภาค เป็นแหล่งวัตถุดิบวัสดุก่อสร้างและอุตสาหกรรมเกษตรที่ทำรายได้ให้กับภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นรายได้หลักของจังหวัด มีทรัพยากรธรรมชาติและวัตถุดิบในการผลิต โรงงานอุตสาหกรรมหนักในจังหวัดเข้าร่วมโครงการ CSR ผู้ประกอบการมีศักยภาพ ร่วมสร้างจิตสำนึกให้เยาวชน (โครงการมัคคุเทศก์น้อยในโรงงาน) เป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งทางบกเชื่อมต่อในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ และมีโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าที่ใช้แก๊สธรรมชาติ และพลังงานทดแทน (พลังงานแสงอาทิตย์และขยะ)

จังหวัดสระบุรี ตั้งอยู่ในภาคกลาง อยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 8-10 เมตร มีพื้นที่ประมาณ 3,576,486 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,235,304 ไร่ ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) เป็นระยะทาง 108 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

      • ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดลพบุรี
      • ทิศใต้ ติดกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
      • ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดนครนายก
      • ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดลพบุรี

 

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสระบุรีในปี 2556 มีขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.81 เมื่อเทียบกับปี 2555 ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 283,771 บาท โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวม ณ ราคาประจำปี 203,593 ล้านบาท ซึ่งสาขาที่มีมูลค่าการผลิตสูงสุด คือ สาขาอุตสาหกรรม 112,842 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 55.42 ของสาขาการผลิตทั้งหมด

 

ตารางผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสระบุรี ณ ราคาประจำปี

                                                                                                                                          หน่วย : ล้านบาท

สาขา 2552 2553 2554 2555 2556
ภาคเกษตร 9,055 9,097 10,769 12,774 13,049
เกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ 8,823 8,834 10,508 12,498 12,718
การประมง 233 262 261 276 332
ภาคนอกเกษตร 163,799 173,593 175,574 189,000 190,544
การทำเหมืองแร่ และเหมืองหิน 7,384 7,589 7,950 8,253 8,554
อุตสาหกรรม 100,440 107,697 109,619 115,086 112,842
การไฟฟ้า แก๊ส และการประปา 15,712 15,902 14,467 17,424 17,402
การก่อสร้าง 2,056 2,529 2,436 4,723 3,143
การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน 14,305 15,167 15,730 16,476 17,507
โรงแรมและภัตตาคาร 408 468 480 485 537
การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้าและการคมนาคม 5,440 5,347 5,453 5,808 8,130
ตัวกลางทางการเงิน 2,847 2,880 3,160 3,600 4,482
บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและบริการทางธุรกิจ 3,644 3,724 3,686 3,921 4,281
การบริหารราชการและการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกันสังคมภาคบังคับ 3,201 3,414 3,362 3,463 3,550
การศึกษา 3,201 3,414 3,362 3,463 3,550
การบริการด้านสุขภาพและสังคม 2,415 2,433 2,521 2,642 2,716
การให้บริการด้านชุมชน สังคมและบริการส่วนบุคคลอื่นๆ 481 480 536 618 660
ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล 105 159 107 190 285
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด 172,854 182,690 186,343 201,774 203,593
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว (บาท) 245,545 254,956 259,837 281,237 283,771
ประชากร (1,000 คน ) 704 717 717 717 717

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ http://www.nesdb.go.th (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2558)

ทรัพยากรป่าไม้

               จังหวัดสระบุรี มีพื้นที่ป่าไม้ 474,769.38 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 21.78 ของพื้นที่จังหวัด สภาพป่าจากการสำรวจภาพถ่ายดาวเทียมพื้นที่มีต้นไม้ปกคลุม ยกเว้นสวนเกษตร สวนยางพารา สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้ยางไม้ตะเคียนไม้เต็ง ไม้มะค่าและไม้ประดู่ เป็นต้น

 

ทรัพยากรน้ำ

               จังหวัดสระบุรี มีแม่น้ำป่าสักเป็นแหล่งน้ำหลัก และมีคลอง ลำห้วย และหนอง บึง ที่มีน้ำตลอดปีกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ใน 13 อำเภอ ประมาณ 81 แห่ง และมีคลองรวมทั้งลำห้วย หนอง บึง ที่มีน้ำเฉพาะฤดูฝนประมาณ 128 แห่ง แหล่งน้ำสำคัญ ได้แก่

 

  • แม่น้ำป่าสัก มีต้นน้ำจากจังหวัดเลย ไหลผ่าน เพชรบูรณ์ ลพบุรี และสระบุรี แล้วไหลรวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รวมความยาว 513 กม. ) มีเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เป็นแหล่งกักเก็บน้ำ บริเวณรอยต่อจังหวัดลพบุรีกับจังหวัดสระบุรี ปริมาณกักเก็บสูงสุด 960 ล้าน ลบ.ม. ช่วงที่ไหลผ่าน จังหวัดสระบุรี (จากท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) ไหลผ่าน อ.วังม่วง (3 ตำบล) อ.มวกเหล็ก (2 ตำบล) อ.แก่งคอย (8 ตำบล) อ.เมืองสระบุรี (4 ตำบล) และ อ.เสาไห้ (8 ตำบล) ความยาวประมาณ 102 กม. เป็นแหล่งน้ำผิวดินเพื่อการเกษตรกรรม และอุปโภคบริโภค ที่สำคัญที่สุดของจังหวัด
        • คลองและลำห้วยที่สำคัญ ได้แก่
        • ลำห้วยมวกเหล็ก มีต้นน้ำบริเวณเขาอินทนีในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ไหลผ่าน อ.มวกเหล็ก (ต.มิตรภาพ. ต.มวกเหล็ก) และอ.วังม่วง (ต.คำพราน ต.แสลงพัน) แล้วไหลรวมกับแม่น้ำป่าสักรวมความยาวประมาณ 84 กม. เป็นลำห้วยที่ไหลผ่านบริเวณภูเขาจึงมีแก่งน้ำและน้ำตกมากมายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง ได้แก่ น้ำตกมวกเหล็ก (สวนรุกขชาติ) น้ำตกดงพญาเย็น และน้ำตกเจ็ดสาวน้อย (อุทยานแห่งชาติ)
        • คลองปากเพรียว รับน้ำจากคลองทุ่งสาลิกา คลองพวง คลองเขาไม้โค่น รวมกับน้ำฝนที่ตกเขต ต.กุดนกเป้า และ ต.หนองปลาไหล มีอ่างเก็บน้ำชลประทานคลองเพรียวบริเวณ ต.ปากเพรียว (ก่อนไหลรวมกับแม่น้ำป่าสัก) เป็นแหล่งกักเก็บน้ำในปริมาณกักเก็บ 375,000 ลบ.ม เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภค (ส่วนน้อย)
        • ลำห้วยธารทองแดง มีต้นน้ำจากจังหวัดลพบุรีไหลผ่าน ต.พุคำจาน และ ต.ธารเกษม อ.พระพุทธบาท โดยมีคลองธารเกษม ซึ่งมีต้นน้ำบริเวณเขาโพลง – เขาวง (ต.พุกร่าง. ต.เขาวง) ไหลมารวมก่อนไหลออกทุ่งหนองโดน ลำห้วยสายนี้ในอดีตมีชื่อเสียงคู่มากับรอยพระพุทธบาท โดยเป็นบริเวณเสด็จประพาสของพระมหากษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยามีบันทึกเป็นหลักฐานตามนิราศธารทองแดงของเจ้าฟ้ากุ้ง
        • คลองปากบาง รับน้ำจากคลองห้วยแร่ ห้วยผึ้ง รวมกับน้ำฝนที่ตกในบางส่วนของพื้นที่ ต.ห้วยบง ต.เขาดินพัฒนา ต.ผึ้งรวง อ.เฉลิมพระเกียรติ และ ต.งิ้วงาม ต.บ้านยาง อ.เสาไห้ แล้วไหลรวมกับแม่น้ำป่าสัก
        • คลองเริงราง เป็นคลองที่ต่อเชื่อมกับแม่น้ำป่าสักในบริเวณเกือบสุดเขตที่แม่น้ำป่าสักไหลผ่านจังหวัดสระบุรี (ต.เริงราง อ.เสาไห้) ซึ่งเป็นที่ราบรับน้ำจากห้วยป่าหวาย ห้วยศาลเจ้า หนองหลวง หนองบ้านครัว ไหลลงแม่น้ำป่าสัก ในฤดูน้ำหลากน้ำจากแม่น้ำป่าสักจะไหลย้อนผ่านคลองเริงรางเข้าทุ่งราบ (ต.บ้านครัว อ.บ้านหมอ) แล้วลดระดับลงในฤดูแล้วระดับน้ำในคลองเริงรางจะเท่ากับระดับน้ำในแม่น้ำป่าสัก
  • หนองบึงที่สำคัญ มีหนองบึงที่มีน้ำตลอดปีในอำเภอต่างๆ ได้แก่
        • อำเภอวังม่วง หนองมณีโชติ (ต.แสลงพัน) ความจุน้ำ 120 ลบ.ม บึงปึกสะเหวี่ยง (ต.แสลงพัน) ความจุน้ำ 970 ลบ.ม.
        • อำเภอหนองโดน หนองแร่ (ต.ดอนทอง) ความจุน้ำ 8,000 ลบ.ม. หนองน้ำบุง (ต.บ้านกลับ) ความจุน้ำ 75,000 ลบ.ม.
        • อำเภอวิหารแดง หนองปลาไหล (ต.วิหารแดง) ความจุ 600 ลบ.ม. หนองโพธิ์ (ต.หนองสรวง) ความจุน้ำ 10,000 ลบ.ม. หนองฟ้าเลื่อน (ต.หนองสรวง) ความจุน้ำ 4,800 ลบ.ม.
        • อำเภอแก่งคอย บึงตลาดไชย (ต.สองคอน) ความจุน้ำ 24,000 ลบ.ม.
        • อำเภอบ้านหมอ หนองหลวง (ต.บ้านครัว) ความจุ 150,000 ลบ.ม.
        • อำเภอเสาไห้ บึงโง้ง (ต.เมืองเก่า) ความจุน้ำ 125,000 ลบ.ม. บึงวัดเพชร (ต.บ้านยาง) ความจุน้ำ 52,500 ลบ.ม.

 

ทรัพยากรสัตว์ป่า

               จังหวัดสระบุรี มีพื้นที่ป่าในอดีตถูกบุกรุกทำลายเพื่อใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมและอื่นๆ มีผลกระทบต่อพื้นที่อยู่อาศัย แหล่งน้ำ และแหล่งอาหารของสัตว์ป่า สัตว์ป่าส่วนใหญ่จึงอาศัยอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย (พื้นที่เตรียมประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ) และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาคอก-เขาหินดาด ส่วนในพื้นที่นอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์จะพบเห็นสัตว์ป่าที่มีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมง่าย เช่น นกเอี้ยงสาลิกา นกเอี้ยงหงอน นกเอี้ยงโครง นกเขาใหญ่ นกเขาชวา นกกาแวน นกตะขาบทุ่ง นกกระปูด นกคุ่ม นกกวัก และนกยางชนิดต่างๆ งู พังพอน และสัตว์ป่าจำพวกกระรอกชนิดต่างๆ ที่สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป และเนื่องจากจังหวัดสระบุรี พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศน์เขาหินปูน และถ้ำ จึงมีสัตว์ป่าจำพวกที่อาศัยอยู่เฉพาะถิ่นในระบบนิเวศน์เขาหินปูน เท่านั้นคือ นกจู๋เต้น เขาหินปูน ชนิดพันธุ์สระบุรี

การสาธารณสุข

               จังหวัดสระบุรี มีสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐ ประกอบด้วย โรงพยาบาลศูนย์ 1 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง 2 แห่ง ขนาด 30 เตียง 6 แห่ง และขนาด 10 เตียง 2 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 126 แห่ง โรงพยาบาลสังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 1 แห่ง ขนาด 30 เตียง และโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม 1 แห่งขนาด 30 เตียง (โรงพยาบาลค่ายอดิศร) บุคลากรด้านสาธารณสุข ประกอบด้วย อัตราส่วนแพทย์ต่อประชากรจังหวัดสระบุรี เท่ากับ 1:2795

 

การศึกษา

               จังหวัดสระบุรี แบ่งพื้นที่การศึกษาระดับประถมศึกษาเป็น 2 เขต ประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ครอบคลุมพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอหนองแซง อำเภอบ้านหมอ อำเภอเสาไห้ อำเภอหนองโดน อำเภอพระพุทธบาท อำเภอดอนพุด และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีสถานศึกษาในสังกัด 157 แห่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 ครอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแก่งคอย อำเภอหนองแค อำเภอวิหารแดง อำเภอมวกเหล็ก อำเภอวังม่วง มีสถานศึกษาในสังกัด 166 แห่ง และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ครอบคลุมพื้นที่ 13 อำเภอ มีสถานศึกษาในสังกัด จำนวน 21 แห่ง

 

ประชากร

                จังหวัดสระบุรี มีประชากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ทั้งสิ้น 633,460 คน จำแนกเป็นชาย 313,258 คน หญิง 320,175 คน

จังหวัดสระบุรี วิสัยทัศน์ในการพัฒนา 4 ปี พ.ศ. 2557-2560 (ฉบับทบทวน) คือ เป็นฐานการผลิตอาหาร วัสดุก่อสร้าง ที่มีคุณภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวทางเลือก ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดประกอบด้วย 4 ยุทธศาสต์ (17 กลยุทธ์ 369 โครงการ งบประมาณทั้งสิ้น 10,530.90 ล้านบาท)

             ยุทธศาสตร์ที่ 1 การผลิตอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
             ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ
             ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพชีวิต และความมั่นคง ตามแนวของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
             ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน

พื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีพื้นที่ 57 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 35,625 ไร่ และตำบลเขาวง อำเภอพระพุทธบาทมีพื้นที่ 14.16 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 8,850 ไร่ รวมมีพื้นที่ทั้งหมด 71.16 ตารางกิโลเมตร หรือ 44,475 ไร่ โดยมีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ทั้งสิ้น 119 แห่ง

โรงงานในพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (พื้นที่ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และตำบลเขาวง อำเภอพระพุทธบาท)
อำเภอ ตำบล สวนอุตสาหกรรม จำนวนโรงงาน
ในพื้นที่

สวนอุตสาหกรรม
จำนวนโรงงาน
นอกพื้นที่

สวนอุตสาหกรรม
เฉลิมพระเกียรติ หน้าพระลาน - - 101
พระพุทธบาท เขาวง - - 18
รวม 119
มิติ กายภาพ  
ด้านที่ 1. การวางผังที่ตั้งและการจัดพื้นที่
เกณฑ์ตัวชี้วัด 1.1 ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
ตัวชี้วัด 1.1.1 ระบบสาธารณูปโภคได้รับการพัฒนาหรือยกระดับ โดยนำแนวคิดการออกแบบเชิงนิเวศมาใช้ในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ระบบถนน)

              

ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติได้จัดทำผังระบบสาธารณูปโภคภายเขตพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน ได้แก่ แผนที่ถนนและซอย จุดติดตั้งระบบประปาบาดาล และที่ตั้งสถานที่สำคัญในเขตตำบลหน้าพระลาน ได้แก่ สถานที่ราชการ วัด สถาบันการศึกษา ศูนย์นันทนาการ และ โรงพยาบาล และในส่วนของตำบลเขาวง อำเภอพระพุทธบาทได้จัดทำผังระบบสาธารณูปโภคภายเขตพื้นที่ตำบลเขาวง ได้แก่ แผนที่ถนน ซอย และที่ตั้งสถานที่สำคัญในเขตตำบลหน้าพระลาน ได้แก่ สถานที่ราชการ วัด สถาบันการศึกษา ศูนย์นันทนาการ และ โรงพยาบาล

มิติ กายภาพ  
ด้านที่ 1. การวางผังที่ตั้งและการจัดพื้นที่
เกณฑ์ตัวชี้วัด 1.1 การจัดสรรและบริหารจัดการพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ตัวชี้วัด 1.2.1 สัดส่วนพื้นที่สีเขียว (Green Area) ต่อพื้นที่ทั้งหมดของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมทั้งแนวป้องกัน (Protection Strip) และพื้นที่กันชน (Eco-Buffer) (ทั้งนี้ หากเป็นโรงงานที่ EIA/EHIA ไม่กำหนด สามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายนอกโรงงานได้

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจและจัดทำข้อมูลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

มิติ กายภาพ  
ด้านที่ 2. การออกแบบอาคารและบริเวณโดยรอบ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 2.1 อาคารของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม เขตประกอบการอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม และเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มีการออกแบบอาคารและ/หรือระบบภายในที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ/หรือประหยัดพลังงาน
ตัวชี้วัด 2.1.1 อาคารของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม เขตประกอบการอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม และเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มีการออกแบบอาคารและ/หรือระบบภายในที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ/หรือประหยัดพลังงาน

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ ทั้งนี้จากข้อมูลจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พบว่ามีโรงงานที่เข้าข่ายโครงการอนุรักษ์พลังงานอาคารควบคุมพลังงาน จำนวน 8 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 6.72 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และแนวทางในการเก็บข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลบริเวณพื้นที่ตำบลหน้าพระลานและตำบลเขาวง โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งโรงงาน
ที่มีการออกแบบอาคาร และ/หรือระบบภายในอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ/หรือประหยัดพลังงานจะพิจารณาจากการที่โรงงานมีอาคารประหยัดพลังงานตามมาตรฐานเกณฑ์อาคารสีเขียวของประเทศต่างๆ ได้แก่ สถาบันอาคารเขียวไทย LEED TREES และ TEEAM หรือ มีอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าและแสงสว่างในเปิดปิดอัตโนมัติตามความต้องการในการใช้งาน หรือมีพื้นที่ใช้สอยที่รองรับแสงจากธรรมชาติมากกว่า 20% ของอาคาร

มิติ เศรษฐกิจ  
ด้านที่ 3. เศรษฐกิจของภาคอุตสาหกรรม
เกณฑ์ตัวชี้วัด 3.1 การเพิ่มปริมาณการลงทุนของภาคอุตสาหกรรม
ตัวชี้วัด 3.1.1 จำนวนเงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมในเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

 

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี ได้จัดทำฐานข้อมูลเงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดสระบุรีโดยโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และตำบลเขาวง อำเภอพระพุทธบาท มีจำนวนเงินลงทุนสะสม 3 ปีย้อนหลัง (พ.ศ.2557-2560) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8

มิติ เศรษฐกิจ  
ด้านที่ 4. เศรษฐกิจท้องถิ่น
เกณฑ์ตัวชี้วัด 4.1 การส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 4.1.1 การส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมชุมชนในบริเวณโดยรอบ

ปัจจุบันยังไม่มีแผนหรือมีโครงการที่ให้ผู้ประกอบการในพื้นที่เข้าไปส่งเสริมสนับสนุนให้ท้องถิ่นดำเนินกิจกรรมของชุมชน

 

มิติ เศรษฐกิจ  
ด้านที่ 4. เศรษฐกิจท้องถิ่น
เกณฑ์ตัวชี้วัด 4.1 การส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในท้องถิ่นในบริเวณโดยรอบ
ตัวชี้วัด 4.1.2 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีจำนวนแรงงานท้องถิ่น

 

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ข้อมูลจำนวนแรงงานท้องถิ่นในโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละแห่ง แต่มีการรวบรวมเฉพาะจำนวนแรงงานทั้งหมดในโรงงาน โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งแรงงานท้องถิ่น หมายถึง แรงงานที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในจังหวัดที่โรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่

 

มิติ เศรษฐกิจ  
ด้านที่ 4. เศรษฐกิจท้องถิ่น
เกณฑ์ตัวชี้วัด 4.1 การส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 4.1.3 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการจากชุมชน หรือ ส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชน หรือสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนทางด้าน การตลาด หรือพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมอาชีพ หรือทักษะแรงงาน

 

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

 

มิติ เศรษฐกิจ  
ด้านที่ 4. เศรษฐกิจท้องถิ่น
เกณฑ์ตัวชี้วัด 4.1 การส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 4.1.4 อัตราการว่างงาน

 

ข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ พบว่าในปี พ.ศ.2560 ในพื้นที่ตำบลหน้าพระลานมีจำนวนคนว่างงาน 899 คน แต่ในพื้นที่ตำบลเขาวงยังไม่มีมีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การดำเนินการแผนและกิจกรรมพัฒนาส่งเสริมอาชีพให้คนว่างงานในพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน ในส่วนของเขตการปกครององค์การบริหารส่วนตำบลหน้าพระลานไม่มีแผนพัฒนาส่งเสริมอาชีพให้คนว่างงานในพื้นที่ แต่ในส่วนของเขตการปกครองเทศบาลตำบลหน้าพระลานมีแผนพัฒนาส่งเสริมอาชีพให้คนว่างงานในพื้นที่ นอกจากนั้นการดำเนินการแผนและกิจกรรมพัฒนาส่งเสริมอาชีพให้คนว่างงานในพื้นที่ตำบลเขาวง ในส่วนของเขตการปกครององค์การบริหารส่วนตำบลเขาวงไม่มีแผนพัฒนาส่งเสริมอาชีพให้คนว่างงานในพื้นที่

 

มิติ เศรษฐกิจ  
ด้านที่ 5. การตลาด
เกณฑ์ตัวชี้วัด 5.1 มีการส่งเสริมสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด 5.1.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Product/Eco-Service) หรือมีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Purchasing) ต่อจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมด

 

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม  นอกจากนี้โดยกรมควบคุมมลพิษได้จัดทำแผนส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระยะที่ 3 พ.ศ. 2560-2564 มีการผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Product/Eco-Service) หรือมีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Purchasing)

มิติ เศรษฐกิจ  
ด้านที่ 6. การขนส่งและโลจิสติกส์
เกณฑ์ตัวชี้วัด 6.1 การจัดการระบบขนส่งและโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัย
ตัวชี้วัด 6.1.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกิจกรรมหรือมาตรการที่ปลอดภัย ลดต้นทุน หรือเพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่งและโลจิสติกส์ขององค์กร

 

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้จากโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละแห่ง โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลรายโรงงานโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งกิจกรรมหรือมาตรการที่ปลอดภัย ลดต้นทุน หรือเพิ่มประสิทธิภาพ ได้แก่ การลดการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง ใช้วัสดุด้านบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ หรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบอัตโนมัติกับระบบขนส่งและ
โลจิสติกส์

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560-2564) ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) มีเป้าหมายให้ประเทศไทยสามารถยกระดับระบบโลจิสติกส์ของประเทศไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการค้า การบริการ และการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 7. การจัดการคุณภาพน้ำ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 7.1 การควบคุมมลภาวะทางน้ำ
ตัวชี้วัด 7.1.1 คุณภาพน้ำทิ้งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

ฐานข้อมูลจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รวบรวมข้อมูลปริมาณน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ พบว่าในพื้นที่เป้าหมายตำบลเขาวง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี มีข้อมูลโรงงานที่มีน้ำเสีย (ไม่ระบายน้ำทิ้ง) ได้แก่ บริษัท สยามมอร์ตาร์ จำกัด (โรงงานเขาวง) และมีข้อมูลโรงงานที่มีน้ำเสีย (ระบายน้ำทิ้ง) ได้แก่ บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด แต่ไม่มีการรวบรวมข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้ง ณ จุดที่ระบายออกจากโรงงานอุตสาหกรรม

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 7. การจัดการคุณภาพน้ำ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 7.2 การลดปริมาณน้ำใช้ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
ตัวชี้วัด 7.2.1 ปริมาณน้ำใช้ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลดลง

การเก็บรวบรวมข้อมูลจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมพบว่ามีรายชื่อโรงงานที่ส่งรายงาน รว. ของพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดสระบุรี รวมทั้งสิ้น 6 โรงงาน

ทั้งนี้ ข้อมูลน้ำใช้จากการรายงานระบบ รว. ปีที่ส่งรายงาน : 2560 ครั้งที่ : 2 ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จ.สระบุรี ข้อมูลจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 7. การจัดการคุณภาพน้ำ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 7.2 การลดปริมาณน้ำใช้ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
ตัวชี้วัด 7.2.2 ปริมาณน้ำทิ้งต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลดลง

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้จากโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละแห่ง โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลรายโรงงานโดยใช้แบบสอบถาม

 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 7. การจัดการคุณภาพน้ำ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 7.3 คุณภาพแหล่งน้ำสาธารณะ
ตัวชี้วัด 7.3.1 คุณภาพแหล่งน้ำสาธารณะ

 

ปัจจุบันในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดสระบุรี พื้นที่ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และตำบลเขาวง อำเภอพระพุทธบาท ไม่มีจุดตรวจวัดคุณภาพแหล่งน้ำสาธารณะในพื้นที่เป้าหมาย

 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 8. การจัดการคุณภาพอากาศ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 8.1 การควบคุมมลภาวะทางอากาศ
ตัวชี้วัด 8.1.1 คุณภาพอากาศบริเวณนิคมอุตสาหกรรม เขตประกอบการอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม และชุมชน อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

 

       ข้อมูลสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระบุรี แสดงผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอากาศบริเวณโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดในพื้นที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง 100%  และดีกว่าเกณฑ์มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง (ในช่วงระยะเวลา 3 ปี เก็บรวบรวมข้อมูลปี 2558-2560) 1 พารามิเตอร์ ณ สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติ สถานีตำรวจภูธรตำบลหน้าพระลาน ในพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 8. การจัดการคุณภาพอากาศ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 8.1 การควบคุมมลภาวะทางอากาศ
ตัวชี้วัด 8.1.2 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมการลดการปล่อยมลพิษทางอากาศที่มีนัยสำคัญได้มากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

 

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 9. การจัดการกากของเสียและวัสดุเหลือใช้
เกณฑ์ตัวชี้วัด 9.1 การจัดการกากของเสียและวัสดุเหลือใช้ภาคอุตสาหกรรม
ตัวชี้วัด 9.1.1 อัตราการนำกากของเสียอุตสาหกรรมกลับมาใช้ใหม่

 

ศูนย์สารสนเทศโรงงานอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้มีการรวบรวมข้อมูลปริมาณกากของเสียอุตสาหกรรม ตามรายงานการขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน (สก.2) ในพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และตำบลเขาวง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ประกอบด้วยกากของเสียอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นอันตราย 1.33 ล้านตัน และกากของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย 0.11 ล้านตัน 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 9. การจัดการกากของเสียและวัสดุเหลือใช้
เกณฑ์ตัวชี้วัด 9.2 การจัดการขยะชุมชน
ตัวชี้วัด 9.2.1 อัตราการกำจัดขยะชุมชน

 

ข้อมูลด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย จังหวัดสระบุรี ปี พ.ศ. 2558-2560 จากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 พบว่าเทศบาลตำบลหน้าพระลานมีปริมาณการกำจัดขยะเฉลี่ย 8 ตัน/วัน โดยวิธีการเทกองและขายขยะไปเป็นพลังงานเชื้อเพลิง ในสถานที่กำจัดขยะเทศบาลตำบลหน้าพระลาน ข้อมูลการจัดการขยะชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลหน้าพระลานมีปริมาณการกำจัดขยะโดยวิธีการนำไปเป็นพลังงานเชื้อเพลิงมีปริมาณเฉลี่ย 4.35 ตัน/วัน แหล่งกำจัดบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) และวิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองสระบุรีมีปริมาณ 4.93 ตัน/วัน  ข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยองค์การบริหารส่วนตำบลเขาวงด้วยวิธีฝังกลบเชิงวิศวกรรม ในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองพระพุทธบาทมีปริมาณ 2-5 ตัน/วัน  ในพื้นที่เป้าหมายมีอัตราการกำจัดขยะ 100% รวมทั้งมีแผนหรือกิจกรรมการลดปริมาณหรือการกำจัดขยะชุมชนในพื้นที่เป้าหมายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดสระบุรี

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 10. การจัดการพลังงาน
เกณฑ์ตัวชี้วัด 10.1 มีการใช้พลังงานทดแทนในเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ตัวชี้วัด 10.1.1 อัตราการใช้พลังงานทดแทน

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 10. การจัดการพลังงาน
เกณฑ์ตัวชี้วัด 10.2 การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 10.2.1 สัดส่วนโรงงานที่ดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการลดการใช้พลังงานหรือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

 

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 11. การจัดการเหตุเดือนร้อนรำคาญ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 11.1 การจัดการและตอบสนองต่อข้อร้องเรียนด้านเหตุเดือดร้อนรำคาญ
ตัวชี้วัด 11.1.1 การตอบสนองต่อข้อร้องเรียนด้านเหตุเดือดร้อนรำคาญ

 

ข้อมูลจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี พบว่าในปี พ.ศ.2558-2560 โรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และตำบลเขาวง อำเภอพระพุทธบาท ไม่มีข้อร้องเรียนด้านเหตุเดือดร้อนรำคาญ

 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 12. กระบวนการผลิต
เกณฑ์ตัวชี้วัด 12.1 กระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด 12.1.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม(Eco-Process) หรือได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory)

 

จากฐานข้อมูลกรมโรงงานอุตสาหกรรมพบว่า ในพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน และตำบลเขาวง มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco Process) หรือได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) หรืออุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ตั้งแต่ระดับที่ 3 ขึ้นไป หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า จำนวน 12 โรงงาน จากจำนวนโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมาย 119 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 10.08 ของโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดในพื้นที่

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 12. กระบวนการผลิต
เกณฑ์ตัวชี้วัด 12.2 การใช้วัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 12.2.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบ

 

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 13. ประสิทธิภาพเชิงนิเวศ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 13.1 ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเพื่อการจัดการทรัพยากร
ตัวชี้วัด 13.1.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพเชิงนิเวศ (Eco Efficiency) ใน 4 ด้าน ดังนี้
  • ด้านการใช้น้ำ
  • ด้านพลังงาน
  • ด้านปริมาณน้ำทิ้ง
  • ด้านกากของเสียและวัสดุเหลือใช้

 

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 13. ประสิทธิภาพเชิงนิเวศ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 13.2 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ตัวชี้วัด 13.2.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 13. ประสิทธิภาพเชิงนิเวศ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 13.3 ลดการคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
ตัวชี้วัด 13.3.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการประเมินผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กรต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และจัดทำแผนป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 14. การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 14.1 การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ
ตัวชี้วัด 14.1.1 อัตราการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงและอัตราการเจ็บป่วยที่รุนแรง

 

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 14. การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 14.1 การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ
ตัวชี้วัด 14.1.2 การรั่วไหล และการเกิดอุบัติเหตุของสารเคมีและวัตถุอันตราย ที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อพนักงาน ชุมชน หรือสิ่งแวดล้อมภายนอก

 

ข้อมูลจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม รายงานข้อมูลบัญชีรายการสารเคมีอันตราย การป้องกันการรั่วไหลของสารเคมี สถานที่เก็บวัตถุอันตรายที่เป็นสารเคมีของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ตำบลหน้าพระลานและตำบลเขาวง จังหวัดสระบุรี 

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 15. การเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม
เกณฑ์ตัวชี้วัด 15.1 การเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม
ตัวชี้วัด 15.1.1 ระบบการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม หรือ EIA Monitoring หรือโครงการอื่นที่เทียบเท่า

จากข้อมูลการรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโรงงานอุตสาหกรรม ในพื้นที่ที่มีระบบการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม จำนวน 4 โรงงานในพื้นที่เป้าหมายตำบลหน้าพระลานและตำบลเขาวง

มิติ สังคม  
ด้านที่ 16. คุณภาพชีวิตและสังคมของพนักงาน
เกณฑ์ตัวชี้วัด 16.1 ที่ทำงานมีสุข (Happy Workplace)
ตัวชี้วัด 16.1.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีดำเนินงานตามแนวทางการเป็นที่ทำงานมีสุข (Happy Workplace)

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ สังคม  
ด้านที่ 17. คุณภาพชีวิตและสังคมของคนในท้องถิ่นโดยรอบ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 17.1 ชุมชนอยู่ดีมีสุข (Happy Community or Well-being Community)
ตัวชี้วัด 17.1.1 การสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนตามบริบทของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

      ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลบางกะดีมีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับรางวัล CSR-DIW จำนวน 2 แห่ง จากจำนวนโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมาย119 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 1.6 ของโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดในพื้นที่

รายชื่อโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดสระบุรีที่ได้รับรางวัล CSR-DIW
ลำดับ เลขทะเบียนโรงงาน ชื่อโรงงาน
1 ศ3-4(1)-1/33สบ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิลานิล
2 3-58(1)-1/35สบ บริษัท ไลม์มาสเตอร์ จำกัด
มิติ สังคม  
ด้านที่ 17. คุณภาพชีวิตและสังคมของคนในท้องถิ่นโดยรอบ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 17.1 ชุมชนอยู่ดีมีสุข (Happy Community or Well-being Community)
ตัวชี้วัด 17.1.2 ความพึงพอใจของชุมชน

ปัจจุบันยังไม่มีการสำรวจความพึงพอใจของชุมชนต่อการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่

มิติ สังคม  
ด้านที่ 17. คุณภาพชีวิตและสังคมของคนในท้องถิ่นโดยรอบ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 17.1 ชุมชนอยู่ดีมีสุข (Happy Community or Well-being Community)
ตัวชี้วัด 17.1.3 อัตราการเจ็บป่วยจากโรคจากการประกอบอาชีพ

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ สังคม  
ด้านที่ 17. คุณภาพชีวิตและสังคมของคนในท้องถิ่นโดยรอบ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 17.1 ชุมชนอยู่ดีมีสุข (Happy Community or Well-being Community)
ตัวชี้วัด 17.1.4 อัตราการลดลงของการเกิดคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญต่อประชากรรวม

จากการรวบรวมข้อมูลปีพ.ศ. 2558-2560 จำนวนคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญต่อประชากรรวมในพื้นที่พบว่า ในพื้นที่ตำบลเขาวงมีจำนวนคดียาเสพติด ทำร้ายร่างกาย การพนัน การยักยอกฉ้อโกง รวมทั้งสิ้น 128 คดี และในพื้นที่ตำบลหน้าพระลานมีคดีวงเพลิง 1 คดี คดีพยายามฆ่า 3 คดี  

มิติ สังคม  
ด้านที่ 17. คุณภาพชีวิตและสังคมของคนในท้องถิ่นโดยรอบ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 17.1 ชุมชนอยู่ดีมีสุข (Happy Community or Well-being Community)
ตัวชี้วัด 17.1.5 ระดับความสำเร็จการดำเนินการตามแผนพัฒนาทักษะการประกอบวิชาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต

ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสระบุรี ได้รวบรวมข้อมูลสถิตระดับการศึกษาของประชากรในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ในปี พ.ศ.2560 พบว่าประชากรในพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน และตำบลเขาวง มีระดับการศึกษาและโครงการพัฒนาทักษะอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่เป้าหมาย จังหวัดสระบุรี เช่น การฝึกอบรมอาชีพ การพัฒนาเยาวชน กลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ  ส่งเสริมการศึกษาและทักษะภาษาให้แก่เด็กเยาวชน 

มิติ สังคม  
ด้านที่ 17. คุณภาพชีวิตและสังคมของชุมชนโดยรอบ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 17.1 ชุมชนอยู่ดีมีสุข (Happy Community or Well-being Community)
ตัวชี้วัด 17.1.6 ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินจากภัยพิบัติ

 

       ข้อมูลจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสระบุรี มีการจัดเก็บข้อมูลสาธารณภัยในปี พ.ศ.2558- 2560 ประกอบด้วยอุทกภัย ภัยแล้ง วาตภัย อัคคีภัย ในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดสระบุรี

มิติ การบริหารจัดการ
ด้านที่ 18. การบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม
เกณฑ์ตัวชี้วัด 18.1 การดำเนินการของคณะทำงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างมีส่วนร่วม
ตัวชี้วัด 18.1.1 แผนและผลการดำเนินงานของคณะทำงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และ/หรือเครือข่ายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสระบุรีได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและจัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ คำสั่งที่ 872/2559 ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559 มีคณะกรรมการรวม 55 คน โดยคณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสระบุรี มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พื้นที่ตำบลหน้าพระลาน และตำบลเขาวง จังหวัดสระบุรี คำสั่งที่ 1324/2559 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 มีคณะกรรมการรวม 28 คน และคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเครือข่ายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Network) ตำบลหน้าพระลาน และตำบลเขาวง จังหวัดสระบุรี คำสั่งที่ 1824/2560 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 มีคณะทำงานรวม 34 คน เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับจังหวัดสระบุรี

มิติ การบริหารจัดการ
ด้านที่ 19. การพัฒนาและรักษาระบบบริหารระดับสากล
เกณฑ์ตัวชี้วัด 19.1 การดำเนินการของคณะทำงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างมีส่วนร่วม
ตัวชี้วัด 19.1.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว
(Green Industry : GI)ตั้งแต่ระดับที่ 2 ขึ้นไป หรือ CSR Beginner หรือระบบการจัดการอื่นที่เทียบเท่า

จากฐานข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่ตำบลหน้าพระลาน และตำบลเขาวงมีโรงงานอุตสาหกรรมทั้งสิ้น119 แห่ง มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry : GI) ตั้งแต่ระดับที่ 2 ขึ้นไป หรือ CSR Beginner หรือระบบการจัดการอื่นที่เทียบเท่า จำนวน  18 แห่ง คิดเป็นร้อยละ  15.13 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่

 

มิติ การบริหารจัดการ
ด้านที่ 20. ข้อมูลข่าวสารและการรายงาน
เกณฑ์ตัวชี้วัด 20.1 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและการจัดทำรายงาน (Information & Reporting)
ตัวชี้วัด 20.1.1 การสื่อสารและการเปิดเผยข้อมูลของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในรูปแบบช่องทาง และความถี่ในการสื่อสารในลักษณะต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิผล

 

 ข้อมูลจากจังหวัดสระบุรีมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของจังหวัดสระบุรีการสื่อสารผ่าน ผ่านเว็บไซต์ http://ecocenter.diw.go.th ซึ่งมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการของพื้นที่ 15 จังหวัด นอกจากนี้มีการสื่อสารผ่านเว็บไซต์สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรีมีการประชาสัมพันธ์ถึงความหมายและระดับของการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ การสื่อสารผ่าน line group : อีโค่@สระบุรี เพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์การดำเนินงานการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดสระบุรี

 

มิติ การบริหารจัดการ
ด้านที่ 20. ข้อมูลข่าวสารและการรายงาน
เกณฑ์ตัวชี้วัด 20.1 มีธรรมาภิบาล โปร่งใส เปิดเผยข้อมูล และรับผิดชอบต่อชุมชนโดยรอบ
ตัวชี้วัด 20.2.1 การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล การจัดการด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และสารเคมี ของโรงงานต่อสาธารณะ

 

 

พื้นที่เป้าหมายตำบลหน้าพระลาน และตำบลเขาวง ยังไม่มีมีการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของโรงงานอุตสาหกรรมต่อสาธารณะ

กรมโรงงานอุตสาหกรรม

75/6 ถ.พระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย
โทร. 02-202-4000, 4014 โทรสาร 02-354-3390

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
179,464