จังหวัดสุราษฎร์ธานี

จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นจังหวัดที่มีฐานเศรษฐกิจที่ดีมีความแข็งแกร่งและประชาชนมีรายได้ต่อหัวสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ อีกทั้งทำเลที่ตั้งเหมาะสมมีความได้เปรียบเนื่องจากเป็นประตูสู่ภาคใต้ เชื่อมโยงการคมนาคมและแหล่งท่องเที่ยวทั้งฝั่งอ่าวไทย-อันดามัน สามารถพัฒนาสู่ศูนย์กลางการคมนาคมและศูนย์โลจิสติกส์ภาคใต้ตอนบน ผลผลิตทางการเกษตรหลากหลาย ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมันผลไม้ และอาหารทะเล สร้างความมั่งคั่งให้กับชุมชนและสามารถนำไปแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้ การท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมมีชื่อเสียงระดับโลก ทรัพยากรธรรมชาติมีความหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ ทั้งป่าไม้ ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลนรวมถึง ชะวากทะเลเป็นแหล่งนิเวศน์อันอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ทะเลวัยอ่อน สถาบันการศึกษาในพื้นที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะสามารถวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างมูลค่าแก่ผลผลิตทางการเกษตรทรัพยากรธรรมชาติ และการบริหารจัดการ อีกทั้งมีทุนทางสังคมที่หลากหลาย ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษา การท่องเที่ยว ประเพณีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่มองค์กรภาคประชาชน เป็นต้น

จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของภาคใต้ มีเนื้อที่ประมาณ 13,079.61 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 8,174,758.61 ไร่ ห่างจากกรุงเทพฯโดยทางรถยนต์ ประมาณ 645 กิโลเมตร มีเกาะขนาดใหญ่ ได้แก่ เกาะสมุย เนื้อที่ 227.25 ตารางกิโลเมตร เกาะพะงัน มีเนื้อที่ 194.2 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีหมู่เกาะอ่างทอง และเกาะบริวาร 42 เกาะ เกาะสมุยเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัด ห่างจากฝั่งทะเลประมาณ 20 กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 80 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

        • ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง และอ่าวไทย
        • ทิศใต้ ติดกับจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดกระบี่
        • ทิศตะวันออก ติดกับอ่าวไทย และจังหวัดนครศรีธรรมราช
        • ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดพังงา

 

 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี 2556 มีการหดตัวร้อยละ 4.48 เมื่อเทียบกับปี 2555 ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 157,360 บาท โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวม ณ ราคาประจำปี 161,949 ล้านบาท ซึ่งสาขาที่มีมูลค่าการผลิตสูงสุด คือ สาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้ 43,672 บาท คิดเป็นร้อยละ 27.75 ของสาขาการผลิตทั้งหมด

 

ตารางผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสุราษฏร์ธานี ณ ราคาประจำปี

                                                                                                                               หน่วย : ล้านบาท

สาขา 2552 2553 2554 2555 2556
ภาคเกษตร 36,942 55,754 67,982 55,663 47,074
เกษตรกรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้ 33,478 52,504 63,776 51,716 43,672
การประมง 3,463 3,251 4,206 3,947 3,402
ภาคนอกเกษตร 85,251 98,009 109,026 113,887 114,875
การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน 2,784 3,119 2,966 3,026 3,363
อุตสาหกรรม 17,376 23,178 27,323 25,022 23,944
การไฟฟ้า แก๊ส และการประปา 2,660 2,891 3,005 3,320 3,640
การก่อสร้าง 4,179 4,182 4,755 5,936 5,034
การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน 16,193 20,048 21,738 19,809 19,083
โรงแรมและภัตตาคาร 9,794 11,287 13,318 16,501 18,657
การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้าและการคมนาคม 7,169 7,530 7,387 8,787 8,858
ตัวกลางทางการเงิน 5,140 5,333 6,130 6,925 7,855
บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและบริการทางธุรกิจ 4,728 4,815 4,852 6,056 6,395
การบริหารราชการและการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกัน สังคมภาคบังคับ 6,297 6,448 7,476 7,318 6,913
การศึกษา 5,334 5,566 6,317 7,067 6,958
การบริการด้านสุขภาพและสังคม 2,863 2,812 2,913 3,126 3,204
การให้บริการด้านชุมชน สังคมและบริการส่วนบุคคลอื่นๆ 659 709 783 842 874
ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล 77 91 63 153 96
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด 122,192 153,763 177,008 169,550 161,949
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ต่อคน (บาท) 122,491 152,504 174,295 165,841 157,360
ประชากร (1,000 คน) 998 1,008 1,016 1,022 1,029

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ http://www.nesdb.go.th (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2558)

ทรัพยากรป่าไม้

               จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่ป่าซึ่งกำหนดเป็นป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 26 ป่า เนื้อที่ 3,643,588.00 ไร่ และมีพื้นที่ป่าอนุรักษ์ซึ่งส่วนใหญ่ทับซ้อนกับพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ คือ อุทยานแห่งชาติ จำนวน 6 แห่ง พื้นที่เตรียมการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ จำนวน 2 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จำนวน 4 แห่ง เขตห้ามล่าสัตว์ป่า จำนวน 2 แห่ง ในปี พ.ศ.2556 มีเนื้อที่ป่าคงเหลือ จำนวน 2,335,659.99 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 28.57 ของเนื้อที่จังหวัด สภาพปัญหาการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนใหญ่เป็นการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อยึดถือครอบครองปลูกพืชผล จำพวก ยางพารา และปาล์มน้ำมัน เนื่องจากราคาผลผลิตทั้งปาล์มน้ำมัน และยางพาราบางช่วงมีราคาสูง ความต้องการที่ดินของราษฎรจึงเพิ่มมากขึ้น การอพยพถิ่นที่อยู่อาศัยของราษฎร การบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อน เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างรุนแรง

 

ทรัพยากรน้ำ

             จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีแหล่งน้ำธรรมชาติ แม่น้ำ ลำธาร และอ่างเก็บน้ำ เพียงร้อยละ 2.31 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งแม่น้ำ และคลองทั้งหมดจะไหลลงสู่อ่าวไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีลุ่มน้ำใหญ่น้อยรวม 14 ลุ่มน้ำ แต่ละลุ่มน้ำมีแม่น้ำ และร่องหลายสาย ทุกสายล้วนลงสู่อ่าวไทย แม่น้ำในสุราษฎร์ธานี ตัดขวางคาบสมุทร ออกสู่ทะเลด้านตะวันออก ในอดีตอาศัยเครือข่าย แม่น้ำเดินทางติดต่อถึงกัน และติดต่อกับเมืองชายฝั่งแม่น้ำที่มีลักษณะทางอุทกวิทยาที่สำคัญของสุราษฎร์ธานี คือ แม่น้ำตาปี แม่น้ำพุมดวง ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำ ที่สำคัญของจังหวัดมี 2 สาย คือ

    • แม่น้ำตาปี เกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราชไหลผ่าน อำเภอชัยบุรี อำเภอพระแสง อำเภอ เวียงสระ อำเภอเคียนซา อำเภอบ้านนาสาร อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอพุนพิน และไหลลงสู่อ่าวไทยที่ อำเภอเมือง มีความยาวประมาณ 230 กิโลเมตร ปริมาณน้ำเฉลี่ย 5,900 ล้าน ลูกบาศก์เมตรต่อปี
    • แม่น้ำพุมดวง เกิดจากคลองแสง คลองสก และคลองยันไหลผ่าน อำเภอบ้านตาขุน อำเภอคีรีรัฐนิคม และ อำเภอท่าฉาง บรรจบกับแม่น้ำตาปีที่ อำเภอพุนพิน ยาวประมาณ 80 กิโลเมตร ปริมาณน้ำเฉลี่ย 6,600 ล้าน ลูกบาศก์เมตรต่อปี

 

ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

               พื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี ครอบคลุมพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอท่าชนะ อำเภอไชยา อำเภอท่าฉาง อำเภอพุนพิน อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอดอนสัก อำเภอเกาะสมุย และอำเภอเกาะพะงัน มีความยาวชายฝั่งทะเลทั้งหมดประมาณ 341 กิโลเมตร พื้นที่รวมประมาณ 1,184 ตารางกิโลเมตรหรือ 740,014 ไร่ มีสภาพแวดล้อมทางทะเลที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีระบบนิเวศน์ทั้งป่าชายเลน หาดหิน หาดทราย หญ้าทะเล ปะการัง สัตว์ทะเล หายากและใกล้สูญพันธุ์ มีพื้นที่ป่าชายเลน 76,408 ไร่ ซึ่งเคยลดลงต่ำสุดเมื่อ พ.ศ.2539 เหลือเพียง 19,586.25 ไร่ (ข้อมูล ส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 4, 2553) มีพื้นที่แนวปะการัง 3 กลุ่มเกาะ ได้แก่ กลุ่มเกาะเต่า กลุ่มเกาะพะงัน กลุ่มเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 24,257.50 ไร่ ปะการังเสื่อมโทรม 20,271.88 ไร่ และพื้นที่ปะการังสมบูรณ์ 3,985.50 ไร่ พื้นที่แหล่งหญ้าทะเลในอ่าวไชยา เกาะพะงัน เกาะสมุย เกาะนกตะเภา เกาะถ้ำ ท่าเรือเฟอร์รี่ อำเภอดอนสัก 10,680 ไร่ และพบสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ในบริเวณอ่าวบ้านดอน ได้แก่ พะยูน เต่าทะเลและโลมา (ข้อมูล ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง, 2552) พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีพบมากที่สุดบริเวณอ่าวบ้านดอน ขึ้นเป็นแนวแคบๆ ประมาณ 50-100 เมตรจากฝั่งทะเลและตามริมลำแม่น้ำตาปีและลำน้ำสาขา พืชที่พบ เช่น โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก แสม ลำพู ลำแพน ถั่วขาว เป็นต้น การเพิ่มขึ้นของพื้นที่ป่าในจังหวัดจังหวัดสุราษฎร์ธานีในช่วงระยะเวลา 5 ปีนั้น พบว่า ป่าชายเลนมีพื้นที่เพิ่มขึ้นจาก 34.89 ตารางกิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2543 เป็น 83.51 ตารางกิโลเมตร ในปีพ.ศ. 2547 หรือคิดเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 139.34 หรือมีอัตราการเพิ่มของป่าชายเลนเฉลี่ยปีละ 9.7 ตารางกิโลเมตร (ข้อมูล กรมป่าไม้ (ประมวลผลโดยสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้ สศช.)) พื้นที่ป่าชายเลนของตำบลลีเล็ด นับว่าเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพราะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ของป่าชายเลนได้ขยายเพิ่มขึ้นจำนวน 3,000 ไร่โดยที่ไม่ต้องปลูก เพียงแต่มีการเฝ้าระวังไม่ให้มีการทำประมงผิดกฎหมายในพื้นที่ และผลจากการที่พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นด้วย ช่วยให้ชาวบ้านที่ทำประมงชายฝั่งมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น (สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน)

 

ทรัพยากรพลังงาน

                จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งของทรัพยากรแร่และเชื้อเพลิงธรรมชาติที่หลากหลายที่สุดในกลุ่มพื้นที่ภาคใต้ตอนบน มีแหล่งแร่เศรษฐกิจหลายชนิด ซึ่งกระจายอยู่เกือบทุกอำเภอ อาทิ ดีบุก แบไรต์ ยิปซั่ม พลวง เหล็กแดง ดินขาว หินคาร์บอเนต แหล่งผลิตสำคัญอยู่ในอำเภอเวียงสระ บ้านนาสาร ดอนสัก กาญจนดิษฐ์ คีรีรัฐนิคม เมือง และพุนพิน ทำให้มีศักยภาพเป็นแหล่งส่งแร่ออกไปพื้นที่อื่นทั้งในและต่างประเทศ
นอกจากสินแร่ต่างๆ เหล่านี้ สุราษฎร์ธานียังมีแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้แก่ ลิกไนต์ ปิโตรเลียม ทั้งน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติทั้งในบริเวณนอกชายฝั่งด้านอ่าวไทย และบนฝั่ง โดยเฉพาะแหล่งปิโตรเลียมนอกชายฝั่ง 2 แหล่ง คือ แหล่งนางนวล มีอัตราไหลสูง 10,000 บาร์เรลต่อวันและแหล่งสุราษฎร์ธานี 2 มีอัตราการไหล 1,900 บาร์เรล

การสาธารณสุข

              จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีสถานพยาบาล ประกอบด้วย โรงพยาบาลศูนย์ 1 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 18 แห่ง โรงพยาบาลเฉพาะทาง 1 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 7 แห่ง โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงอื่น 3 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 166 แห่ง สถานีอนามัย 1แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล 5 แห่ง ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง 5 แห่ง สถานพยาบาล 2 แห่ง คลินิก (ทุกประเภท) 490 แห่ง มีบุคลากรด้านสาธารณสุข ประกอบด้วย แพทย์ 331 คน ทันตแพทย์ 85 คน เภสัชกร 163 คน อัตราส่วนแพทย์ต่อจำนวนประชากรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เท่ากับ 1: 3,127 คน

 

การศึกษา

             จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีสถานศึกษาทั้งสิ้น 664 แห่ง แบ่งเป็นระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 647 แห่ง ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี 12 แห่ง และระดับอุดมศึกษา 5 แห่ง มีครูและอาจารย์ รวมทั้งสิ้น 10,987 คน มีนักเรียน นักศึกษา 211,683 คน อัตราส่วนครูและอาจารย์ ต่อนักเรียน นักศึกษา เป็น 1 ต่อ 19.26

 

ประชากร

              จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีประชากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ทั้งสิ้น 1,040,230 คน จำแนกเป็นชาย 514,167 คน หญิง 526,063 คน

ข้อมูลด้านการบริหารจัดการ

จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวิสัยทัศน์การพัฒนา 4 ปี พ.ศ. 2557-2560 (ฉบับทบทวน) คือ เมืองเกษตรคุณภาพ การท่องเที่ยวยั่งยืน สังคมเป็นสุข โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ (14 กลยุทธ์ 403 โครงการ งบประมาณทั้งสิ้น 22,130.90 ล้านบาท)

               ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันภาคเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตร
               ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
               ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมและศูนย์โลจิสติกส์ (Logistics) ภาคใต้ตอนบน
               ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาสังคมปลอดภัย คุณภาพชีวิตที่ดี และมีศักยภาพในการแข่งขัน
               ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างฐานทรัพยากรธรรมชาติที่มั่นคงและมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

พื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศพื้นที่ตำบลท่าโรงช้าง ตำบลท่าสะท้อน ตำบลเขาหัวควาย และตำบลบางมะเดื่อ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย 23 หมู่บ้าน มีพื้นที่ทั้งหมด 225.83 ตารางกิโลเมตร มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในตำบลท่าโรงช้าง ตำบลท่าสะท้อน ตำบลเขาหัวควาย และตำบลบางมะเดื่อ อำเภอพุนพินจำนวน 121 แห่ง

โรงงานในพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (ตำบลท่าโรงช้าง ตำบลท่าสะท้อน ตำบลเขาหัวควาย และตำบลบางมะเดื่อ อำเภอพุนพิน)
อำเภอ ตำบล จำนวนโรงงานในพื้นที่
อำเภอพุนพิน ตำบลท่าโรงช้าง 36
ตำบลท่าสะท้อน 38
ตำบลเขาหัวควาย 28
ตำบลบางมะเดื่อ 19
รวม 121

 

มิติ กายภาพ  
ด้านที่ 1. การวางผังที่ตั้งและการจัดพื้นที่
เกณฑ์ตัวชี้วัด 1.1 ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
ตัวชี้วัด 1.1.1 ระบบสาธารณูปโภคได้รับการพัฒนาหรือยกระดับ โดยนำแนวคิดการออกแบบเชิงนิเวศมาใช้ในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ระบบถนน)

       องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโรงช้างได้จัดทำผังระบบสาธารณูปโภคภายเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโรงช้าง ได้แก่ แผนที่ถนนเขตตำบลท่าโรงช้าง นอกจากนี้แผนที่ยังแสดงที่ตั้งสถานที่สำคัญในเขตตำบลท่าโรงช้าง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโรงช้าง โรงพยาบาล อนามัย โรงเรียน ศาลาหมู่บ้าน วัด และประปาหมู่บ้าน และข้อมูลจากแผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี (พ.ศ.2561-2564) องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโรงช้าง พบว่ามีการจัดทำแผนงานโครงการก่อสร้างถนน ระบบประปา และขยายไฟฟ้าแรงต่ำ

       องค์การบริหารส่วนตำบลเขาหัวควายได้จัดทำผังระบบสาธารณูปโภคภายเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาหัวควาย ได้แก่ แผนที่ถนนเขตตำบลเขาหัวควาย และแผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี (พ.ศ.2561-2564) มีการจัดทำแผนงานโครงการก่อสร้างถนน ระบบประปา และขยายไฟฟ้าแรงต่ำ

       องค์การบริหารส่วนตำบลบางมะเดื่อได้จัดทำผังระบบสาธารณูปโภคภายเขตองค์การบริหารตำบลบางมะเดื่อ ได้แก่ แผนที่ถนนเขตตำบลบางมะเดื่อ นอกจากนี้แผนที่ยังแสดงที่ตั้งสถานที่สำคัญในเขตตำบลบางมะเดื่อ ได้แก่ สถานที่ราชการ ศาลาอเนกประสงค์ สถานีอนามัย โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สระน้ำ ห้วย หนอง และสะพาน

       องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะท้อน มีแผนงานโครงการก่อสร้างถนน ขยายเขตไฟฟ้าระบบประปาผิวดินขนาดใหญ่ตามแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2560 - 2562) และจากแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสุราษฎร์ธานี ยังมีโครงการศึกษาศักยภาพและความเหมาะสมการจัดติดตั้งศูนย์กลางคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ โครงการบริหารจัดการและขยายระบบประปาเพื่อการอุปโภคอย่างบูรณาการในพื้นที่อำเภอพุนพิน

 

มิติ กายภาพ  
ด้านที่ 1. การวางผังที่ตั้งและการจัดพื้นที่
เกณฑ์ตัวชี้วัด 1.1 การจัดสรรและบริหารจัดการพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ตัวชี้วัด 1.2.1 สัดส่วนพื้นที่สีเขียว (Green Area) ต่อพื้นที่ทั้งหมดของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมทั้งแนวป้องกัน (Protection Strip) และพื้นที่กันชน (Eco-Buffer) (ทั้งนี้ หากเป็นโรงงานที่ EIA/EHIA ไม่กำหนด สามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายนอกโรงงานได้

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโรงช้าง องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะท้อน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาหัวควาย และตำบลบางมะเดื่อ ไม่มีการจัดทำแผนผังแสดงพื้นที่สีเขียวในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโรงช้าง องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะท้อน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาหัวควาย และตำบลบางมะเดื่อ

มิติ กายภาพ  
ด้านที่ 2. การออกแบบอาคารและบริเวณโดยรอบ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 2.1 อาคารของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม เขตประกอบการอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม และเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มีการออกแบบอาคารและ/หรือระบบภายในที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ/หรือประหยัดพลังงาน
ตัวชี้วัด 2.1.1 อาคารของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม เขตประกอบการอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม และเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มีการออกแบบอาคารและ/หรือระบบภายในที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ/หรือประหยัดพลังงาน

 

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ ทั้งนี้จากข้อมูลจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พบว่ามีโรงงานที่เข้าข่ายโครงการอนุรักษ์พลังงานอาคารควบคุมพลังงาน จำนวน 14 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 11.57 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และแนวทางในการเก็บข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลบริเวณพื้นที่ตำบลท่าโรงช้าง ตำบลท่าสะท้อน ตำบลเขาหัวควาย และตำบลบางมะเดื่อ โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งโรงงานที่มีการออกแบบอาคาร และ/หรือระบบภายในอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ/หรือประหยัดพลังงานจะพิจารณาจากการที่โรงงานมีอาคารประหยัดพลังงานตามมาตรฐานเกณฑ์อาคารสีเขียวของประเทศต่างๆ ได้แก่ สถาบันอาคารเขียวไทย LEED TREES และ TEEAM หรือ มีอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าและแสงสว่างในเปิดปิดอัตโนมัติตามความต้องการในการใช้งาน หรือมีพื้นที่ใช้สอยที่รองรับแสงจากธรรมชาติมากกว่า 20% ของอาคาร

มิติ เศรษฐกิจ  
ด้านที่ 3. เศรษฐกิจของภาคอุตสาหกรรม
เกณฑ์ตัวชี้วัด 3.1 การเพิ่มปริมาณการลงทุนของภาคอุตสาหกรรม
ตัวชี้วัด 3.1.1 จำนวนเงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมในเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จัดทำฐานข้อมูลเงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยโรงงานอุตสาหกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโรงช้าง องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะท้อน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาหัวควาย และองค์การบริหารบางมะเดื่อ มีจำนวนเงินลงทุนสะสม 3 ปีย้อนหลัง (พ.ศ.2558-2560)

จำนวนเงินลงทุนสะสม 3 ปีย้อนหลัง (พ.ศ.2558-2560)
พ.ศ. เงินลงทุนรวม (ล้านบาท)
2558 2,185,773,880
2559 686,473,880
2560 398,973,880
ที่ที่มา : สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี
มิติ เศรษฐกิจ  
ด้านที่ 4. เศรษฐกิจท้องถิ่น
เกณฑ์ตัวชี้วัด 4.1 การส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 4.1.1 การส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมชุมชนในบริเวณโดยรอบ

ปัจจุบันยังไม่มีแผนหรือมีโครงการที่ให้ผู้ประกอบการในพื้นที่เข้าไปส่งเสริมสนับสนุนให้ท้องถิ่นดำเนินกิจกรรมของชุมชน โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ เศรษฐกิจ  
ด้านที่ 4. เศรษฐกิจท้องถิ่น
เกณฑ์ตัวชี้วัด 4.1 การส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในท้องถิ่นในบริเวณโดยรอบ
ตัวชี้วัด 4.1.2 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีจำนวนแรงงานท้องถิ่น

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ข้อมูลจำนวนแรงงานท้องถิ่นในโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละแห่ง แต่มีการรวบรวมเฉพาะจำนวนแรงงานทั้งหมดในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งข้อมูลจากสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีจำนวนแรงงานทั้งหมดในสถานประกอบการในพื้นที่ตำบลท่าโรงช้าง ตำบลท่าสะท้อน ตำบลเขาหัวควาย และตำบลบางมะเดื่อ จำนวน 7,306 คน โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งแรงงานท้องถิ่น หมายถึง แรงงานที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในจังหวัดที่โรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่

มิติ เศรษฐกิจ  
ด้านที่ 4. เศรษฐกิจท้องถิ่น
เกณฑ์ตัวชี้วัด 4.1 การส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 4.1.3 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการจากชุมชน หรือ ส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชน หรือสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนทางด้าน การตลาด หรือพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมอาชีพ หรือทักษะแรงงาน

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานที่เก็บรวบรวมผู้ประกอบการทั้งหมดในพื้นที่ที่มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการจากชุมชน หรือส่งเสริมกิจกรรมหรือกลุ่มอาชีพให้กับชุมชน หรือสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนทางด้านการตลาด หรือพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมอาชีพ หรือทักษะแรงงาน โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ เศรษฐกิจ  
ด้านที่ 4. เศรษฐกิจท้องถิ่น
เกณฑ์ตัวชี้วัด 4.1 การส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 4.1.4 อัตราการว่างงาน

ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่าในปี พ.ศ.2560 ในพื้นที่ตำบลท่าโรงช้าง ตำบลท่าสะท้อน ตำบลเขาหัวควาย และตำบลบางมะเดื่อ มีจำนวนคนว่างงาน 730 คน แบ่งเป็นชาย 318 คน และหญิง 412 คน

มิติ เศรษฐกิจ  
ด้านที่ 5. การตลาด
เกณฑ์ตัวชี้วัด 5.1 มีการส่งเสริมสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด 5.1.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Product/Eco-Service) หรือมีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Purchasing) ต่อจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมด

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ ทั้งนี้ในแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีโครงการฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ เศรษฐกิจ  
ด้านที่ 6. การขนส่งและโลจิสติกส์
เกณฑ์ตัวชี้วัด 6.1 การจัดการระบบขนส่งและโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัย
ตัวชี้วัด 6.1.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกิจกรรมหรือมาตรการที่ปลอดภัย ลดต้นทุน หรือเพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่งและโลจิสติกส์ขององค์กร

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้จากโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละแห่ง โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลรายโรงงานโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งกิจกรรมหรือมาตรการที่ปลอดภัย ลดต้นทุน หรือเพิ่มประสิทธิภาพ ได้แก่ การลดการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง ใช้วัสดุด้านบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ หรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบอัตโนมัติกับระบบขนส่งและโลจิสติกส์

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 7. การจัดการคุณภาพน้ำ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 7.1 การควบคุมมลภาวะทางน้ำ
ตัวชี้วัด 7.1.1 คุณภาพน้ำทิ้งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้จากโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละแห่ง แต่กรมโรงงานอุตสาหกรรม มีการจัดทำฐานข้อมูลการระบายน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรม แต่ไม่สำแดงผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งทุกพารามิเตอร์ จึงไม่สามารถระบุได้ว่าคุณภาพน้ำทิ้งเป็นไปตามมาตรฐาน 100% โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลรายโรงงานโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 7. การจัดการคุณภาพน้ำ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 7.2 การลดปริมาณน้ำใช้ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
ตัวชี้วัด 7.2.1 ปริมาณน้ำใช้ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลดลง

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมปริมาณน้ำใช้ภาคอุตสาหกรรมของโรงงานในพื้นที่อำเภอพุนพิน อย่างเป็นระบบ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลรายโรงงานโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 7. การจัดการคุณภาพน้ำ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 7.2 การลดปริมาณน้ำใช้ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
ตัวชี้วัด 7.2.2 ปริมาณน้ำทิ้งต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลดลง

ปัจจุบันยังไม่มีการรวบรวมปริมาณน้ำทิ้งภาคอุตสาหกรรมของโรงงานในพื้นที่อำเภอพุนพิน อย่างเป็นระบบ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลรายโรงงานโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 7. การจัดการคุณภาพน้ำ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 7.3 คุณภาพแหล่งน้ำสาธารณะ
ตัวชี้วัด 7.3.1 คุณภาพแหล่งน้ำสาธารณะ

พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีสถานีตรวจวัดของสำนักงานสิ่งแวดภาคที่ 14 จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 1 สถานีอยู่ในอำเภอพุนพิน โดยมีดัชนีวัดที่สำคัญ คือ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ (DO) ค่าความสกปรกในรูปแบบสารอินทรีย์ (BOD) การปนเปื้อนแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (TCB) และการปนเปื้อนแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์ม (FCB)

ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำบริเวณสะพานพุมดวง หน้าโรงสุรา อำเภอพุนพิน
พารามิเตอร์สถานี ครั้ง pH Tur. Cond Sal DO BOD TCB FCB ประเภทคุณภาพน้ำ
(NTU) (μS/cm) (ppt) (mg/L) (mg/L) (MPN/100ml) (MPN/100ml)
สะพานพุมดวง หน้าโรงสุรา
อ.พุนพิน (TPO4)
1 7.6 20 83 0 5.1 1.6 5,400 490 3
2 8.3 18 84 0 5.2 1.3 1,100 490 3
3 7.6 106 106 0 7.4 0.7 2,800 2,800 3
4 7.7 32 75 0 6.1 1.7 9,200 1,700 3
ที่มา : สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14
มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 8. การจัดการคุณภาพอากาศ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 8.1 การควบคุมมลภาวะทางอากาศ
ตัวชี้วัด 8.1.1 คุณภาพอากาศบริเวณนิคมอุตสาหกรรม เขตประกอบการอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม และชุมชน อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไม่มีจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศอยู่ในพื้นที่ ทั้งนี้แผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีโครงการจัดทำพื้นที่แนวกันชน (Protection Strip) ระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชน และโครงการสนับสนุนหลักการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรมและขยายผลให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่นำร่อง

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 8. การจัดการคุณภาพอากาศ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 8.1 การควบคุมมลภาวะทางอากาศ
ตัวชี้วัด 8.1.2 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมการลดการปล่อยมลพิษทางอากาศที่มีนัยสำคัญได้มากกว่าเกณฑ์มาตร

ปัจจุบันยังไม่มีการรวบรวมข้อมูลการลดการปล่อยมลพิษทางอากาศที่มีนัยสำคัญได้มากกว่าเกณฑ์มาตรฐานในพื้นที่เป้าหมาย ทั้งนี้แผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีโครงการจัดทำพื้นที่แนวกันชน (Protection Strip) ระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชน และโครงการยกระดับมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม และแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 9. การจัดการกากของเสียและวัสดุเหลือใช้
เกณฑ์ตัวชี้วัด 9.1 การจัดการกากของเสียและวัสดุเหลือใช้ภาคอุตสาหกรรม
ตัวชี้วัด 9.1.1 อัตราการนำกากของเสียอุตสาหกรรมกลับมาใช้ใหม่

    จากข้อมูลศูนย์สารสนเทศโรงงานอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้มีการรวบรวมข้อมูลปริมาณกากของเสียอุตสาหกรรม ตามรายงานการขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยในปี 2560 มีกากของเสียรวม 125,037.90 ตัน จำแนกเป็นกากของเสียไม่อันตรายร้อยละ 97.80 และกากของเสียอันตรายร้อยละ 2.20

       ทั้งนี้จากแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีโครงการ 3Rs โดยโรงงานต้องมีการตรวจประเมินกิจกรรม 3Rs อย่างน้อย 20 โรงงาน และโครงการศึกษาความเหมาะสมของการบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร

ปริมาณกากของเสียอุตสาหกรรมในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จ.สุราษฎร์ธานี
ลำดับ ความอันตราย จำนวนโรงงาน รายการ ปริมาณ (ตัน)
1 ไม่อันตราย 53 250 122,290.46
2 อันตราย 63 320 2,747.435
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศโรงงานอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2561)
มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 9. การจัดการกากของเสียและวัสดุเหลือใช้
เกณฑ์ตัวชี้วัด 9.2 การจัดการขยะชุมชน
ตัวชี้วัด 9.2.1 อัตราการกำจัดขยะชุมชน

ข้อมูลจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14 พบว่า ปี 2560 มีขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโรงช้าง องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะท้อน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาหัวควาย และองค์การบริหารส่วนตำบลบางมะเดื่อ มีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นเฉลี่ย 15.6 ตันต่อวัน โดยมีการนำขยะเข้าสู่ระบบกำจัดจำนวน 15.6 ตันต่อเดือน ด้วยวิธีการฝังกลบอย่างถูกสุขาภิบาล และจ้างเอกชนในการกำจัด

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 10. การจัดการพลังงาน
เกณฑ์ตัวชี้วัด 10.1 มีการใช้พลังงานทดแทนในเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ตัวชี้วัด 10.1.1 อัตราการใช้พลังงานทดแทน

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 10. การจัดการพลังงาน
เกณฑ์ตัวชี้วัด 10.2 การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 10.2.1 สัดส่วนโรงงานที่ดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการลดการใช้พลังงานหรือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 11. การจัดการเหตุเดือนร้อนรำคาญ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 11.1 การจัดการและตอบสนองต่อข้อร้องเรียนด้านเหตุเดือดร้อนรำคาญ
ตัวชี้วัด 11.1.1 การตอบสนองต่อข้อร้องเรียนด้านเหตุเดือดร้อนรำคาญ

ข้อมูลจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่าในปี พ.ศ.2560 พื้นที่ตำบลบางมะเดื่อมีข้อร้องเรียนด้านเหตุเดือดร้อนจากการขุดดิน

จำนวนข้อร้องเรียนด้านเหตุเดือดร้อนรำคาญที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่
ตำบล เหตุร้องเรียน จำนวน (เรื่อง)
พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2560
ดำเนินแก้ไข ไม่มีการแก้ไข ดำเนินแก้ไข ไม่มีการแก้ไข ดำเนินแก้ไข ไม่มีการแก้ไข
ท่าโรงช้าง   - - - - - -
ท่าสะท้อน   - - - - - -
เขาหัวควาย คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลและโรงไฟฟ้าขยะจากชุมชน เนื่องจากมีปลาตายในแม่น้ำ - - 1 - - -
บางมะเดื่อ ได้รับความเดือดร้อนจากการขุดดิน - - - - 1 -
ที่มา : สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี
มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 12. กระบวนการผลิต
เกณฑ์ตัวชี้วัด 12.1 กระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด 12.1.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม(Eco-Process) หรือได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory)

จากฐานข้อมูลกรมโรงงานอุตสาหกรรมพบว่า ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco Process) หรือได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) หรืออุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ตั้งแต่ระดับที่ 3 ขึ้นไป หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า จำนวน 14 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 11.57 ของโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดในพื้นที่

โรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco Process) หรือได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) หรืออุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ตั้งแต่ระดับที่ 3 ขึ้นไป หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า
ลำดับ เลขทะเบียนโรงงาน ชื่อโรงงาน GI2 GI3 GI4 GI5
1 3-52(4)-1/45สฎ บริษัท ชัวร์เท็กซ์ จำกัด   /    
2 จ3-89-1/52สฎ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด   /    
3 จ3-58(1)-1/39สฎ บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด   /    
4 3-52(3)-4/32สฎ บริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด   /    
5 3-52(3)-4/32สฎ บริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด   /    
6 3-52(3)-31/52 สฎ บริษัท วาย ที รับเบอร์ จำกัด   /    
7 3-52(3)-31/52สฎ บริษัท วาย ที รับเบอร์ จำกัด   /    
8 3-20(1)-1/40สฎ บริษัท สุราษฎร์ธานี เบเวอเรช จำกัด   /    
9 3-52(3)-2/21สฎ บริษัท สุราษฎร์สิริพิริยะ (1999) จำกัด   /    
10 จ3-34(4)-25/57สฎ บริษัท สุราษฎร์สิริพิริยะ (1999) จำกัด   /    
11 3-52(3)-2/21สฎ บริษัท สุราษฎร์สิริพิริยะ(1999) จำกัด   /    
12 3-20(3)-1/39สฎ บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน)   /    
13 จ3-53(4)-38/57สฎ บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน)   /    
14 ศ3-6(2)-1/38สฎ บริษัท ห้องเย็นเอเชี่ยนซีฟู้ด (สุราษฎร์ธานี) จำกัด   /    
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 12. กระบวนการผลิต
เกณฑ์ตัวชี้วัด 12.2 การใช้วัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 12.2.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบ

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 13. ประสิทธิภาพเชิงนิเวศ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 13.1 ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเพื่อการจัดการทรัพยากร
ตัวชี้วัด 13.1.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพเชิงนิเวศ (Eco Efficiency) ใน 4 ด้าน ดังนี้
  • ด้านการใช้น้ำ
  • ด้านพลังงาน
  • ด้านปริมาณน้ำทิ้ง
  • ด้านกากของเสียและวัสดุเหลือใช้

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 13. ประสิทธิภาพเชิงนิเวศ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 13.2 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ตัวชี้วัด 13.2.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมมีการจัดเตรียมฐานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโรงงานอุตสาหกรรม ปัจจุบันอยู่ในช่วงการรวบรวมข้อมูลทั้งประเทศ จากฐานข้อมูลขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกพบว่าในพื้นที่ไม่โรงงานที่ได้รับฉลากลดคาร์บอน และแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 13. ประสิทธิภาพเชิงนิเวศ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 13.3 ลดการคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
ตัวชี้วัด 13.3.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการประเมินผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กรต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และจัดทำแผนป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 14. การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 14.1 การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ
ตัวชี้วัด 14.1.1 อัตราการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงและอัตราการเจ็บป่วยที่รุนแรง

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 14. การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 14.1 การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ
ตัวชี้วัด 14.1.2 การรั่วไหล และการเกิดอุบัติเหตุของสารเคมีและวัตถุอันตราย ที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อพนักงาน ชุมชน หรือสิ่งแวดล้อมภายนอก

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ สิ่งแวดล้อม  
ด้านที่ 15. การเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม
เกณฑ์ตัวชี้วัด 15.1 การเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม
ตัวชี้วัด 15.1.1 ระบบการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม หรือ EIA Monitoring หรือโครงการอื่นที่เทียบเท่า

        ปัจจุบันยังไม่มีการรวบรวมจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่มีระบบการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม หรือ EIA Monitoring หรือโครงการอื่นที่เทียบเท่าโดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ สังคม  
ด้านที่ 16. คุณภาพชีวิตและสังคมของพนักงาน
เกณฑ์ตัวชี้วัด 16.1 ที่ทำงานมีสุข (Happy Workplace)
ตัวชี้วัด 16.1.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีดำเนินงานตามแนวทางการเป็นที่ทำงานมีสุข (Happy Workplace)

           ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมที่มีดำเนินงานตามแนวทางการเป็นที่ทำงานมีสุข (Happy Workplace) นี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ สังคม  
ด้านที่ 17. คุณภาพชีวิตและสังคมของคนในท้องถิ่นโดยรอบ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 17.1 ชุมชนอยู่ดีมีสุข (Happy Community or Well-being Community)
ตัวชี้วัด 17.1.1 การสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนตามบริบทของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

จากฐานข้อมูลกรมโรงงานอุตสาหกรรมพบว่า ในพื้นที่เป้าหมาย มีโรงงานที่ดำเนินการตามมาตรฐาน CSR-DIW ซึ่งตามข้อกำหนดให้มีการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนตามบริบทของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจำนวน 6 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 4.96 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

รายชื่อโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่ได้รับรางวัล CSR-DIW
ลำดับ ปีที่ได้ CSR-DIW ชื่อโรงงาน
1 2555 บริษัท ห้องเย็นเอเชี่ยนซีฟู้ด (สุราษฎร์ธานี) จำกัด
2 2554 บริษัท สุราษฎร์ธานี เบเวอเรช จำกัด
3 2553 บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน)
4 2558 บริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด
5 2554 บริษัท ชัวร์เท็กซ์ จำกัด
6 2553 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
มิติ สังคม  
ด้านที่ 17. คุณภาพชีวิตและสังคมของคนในท้องถิ่นโดยรอบ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 17.1 ชุมชนอยู่ดีมีสุข (Happy Community or Well-being Community)
ตัวชี้วัด 17.1.2 ความพึงพอใจของชุมชน

ปัจจุบันยังไม่มีการสำรวจความพึงพอใจของชุมชนต่อการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่

มิติ สังคม  
ด้านที่ 17. คุณภาพชีวิตและสังคมของคนในท้องถิ่นโดยรอบ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 17.1 ชุมชนอยู่ดีมีสุข (Happy Community or Well-being Community)
ตัวชี้วัด 17.1.3 อัตราการเจ็บป่วยจากโรคจากการประกอบอาชีพ

ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

มิติ สังคม  
ด้านที่ 17. คุณภาพชีวิตและสังคมของคนในท้องถิ่นโดยรอบ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 17.1 ชุมชนอยู่ดีมีสุข (Happy Community or Well-being Community)
ตัวชี้วัด 17.1.4 อัตราการลดลงของการเกิดคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญต่อประชากรรวม

จากข้อมูลสถานีตำรวจภูธรอำเภอพุนพิน ปี 2560 มีข้อมูลการเกิดคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ ในพื้นที่ตำบลท่าโรงช้าง จำนวน 2 ครั้ง ซึ่งเป็นคดีฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา จำนวน 2 คดี

สถิติการรับแจ้งคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญในพื้นที่เป้าหมาย ปี พ.ศ. 2558 - 2560
พื้นที่ คดี จำนวนคดี
พ.ศ.2558 พ.ศ.2559 พ.ศ.2560
ต.ท่าโรงช้าง ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา 1 - 2
ปล้น/ชิงทรัพย์ - - -
ลักพาเรียกค่าไถ่ - - -
วางเพลิง - - -
อื่นๆ........................... - - -
ต.ท่าสะท้อน ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา - - -
ปล้น/ชิงทรัพย์ - - -
ลักพาเรียกค่าไถ่ - - -
วางเพลิง - - -
อื่นๆ........................... - - -
ต.เขาหัวควาย ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา 1 - -
ปล้น/ชิงทรัพย์ - - -
ลักพาเรียกค่าไถ่ - - -
วางเพลิง - - -
อื่นๆ........................... - - -
ต.บางมะเดื่อ ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา - - -
ปล้น/ชิงทรัพย์ - - -
ลักพาเรียกค่าไถ่ - - -
วางเพลิง - - -
อื่นๆ........................... - - -
ที่มา : สถานีตำรวจภูธรอำเภอพุนพิน
มิติ สังคม  
ด้านที่ 17. คุณภาพชีวิตและสังคมของคนในท้องถิ่นโดยรอบ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 17.1 ชุมชนอยู่ดีมีสุข (Happy Community or Well-being Community)
ตัวชี้วัด 17.1.5 ระดับความสำเร็จการดำเนินการตามแผนพัฒนาทักษะการประกอบวิชาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต

จากข้อมูลสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รวบรวมข้อมูลสถิตระดับการศึกษาของประชากรในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ.2560 พบว่าประชากรในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโรงช้าง องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะท้อน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาหัวควาย และองค์การบริหารส่วนตำบลบางมะเดื่อ

ระดับการศึกษาของประชากรในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ.2560

ตำบล

ระดับการศึกษาของประชากรในพื้นที่
ต่ำกว่าประถม ศึกษา (คน)

ประถม ศึกษา (คน)

มัธยม ศึกษาตอนต้น(คน)

มัธยม

ศึกษา

ตอนปลาย (คน)

อาชีว ศึกษา (คน)

ปริญญาตรี

(คน)

สูงกว่าปริญญาตรี (คน)
ท่าโรงช้าง 305 1572 959 657 141 399 24
ท่าสะท้อน 192 1671 722 612 182 360 15
เขาหัวควาย 177 1355 674 424 153 387 11
บางมะเดื่อ 61 1432 759 595 136 537 15
ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี
มิติ สังคม  
ด้านที่ 17. คุณภาพชีวิตและสังคมของชุมชนโดยรอบ
เกณฑ์ตัวชี้วัด 17.1 ชุมชนอยู่ดีมีสุข (Happy Community or Well-being Community)
ตัวชี้วัด 17.1.6 ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินจากภัยพิบัติ

ข้อมูลจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่าตั้งแต่ปี พ.ศ.2558-2560 ไม่มีจำนวนผู้เสียชีวิต และมูลค่าความเสียหายในทรัพย์สินจากภัยพิบัติในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสุราษฎร์ธานี

มิติ การบริหารจัดการ
ด้านที่ 18. การบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม
เกณฑ์ตัวชี้วัด 18.1 การดำเนินการของคณะทำงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างมีส่วนร่วม
ตัวชี้วัด 18.1.1 แผนและผลการดำเนินงานของคณะทำงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และ/หรือเครือข่ายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและจัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ขึ้นในปี พ.ศ.2559 โดยคณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเชิงนิเวศพื้นที่อำเภอพุนพิน (ตำบลท่าโรงช้าง ตำบลท่าสะท้อน ตำบลเขาหัวควาย และตำบลบางมะเดื่อ) จังหวัดสุราษฎร์ธานี คำสั่งที่ 2146/2559 ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2559 มีคณะทำงานรวมทั้งสิ้น 53 คน และคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเครือข่ายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Network) พื้นที่อำเภอพุนพิน (ตำบลท่าโรงช้าง ตำบลท่าสะท้อน ตำบลเขาหัวควาย และตำบลบางมะเดื่อ) จังหวัดสุราษฎร์ธานี คำสั่งที่ 2110/2560 ลงวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2560 มีคณะทำงานรวมทั้งสิ้น 47 คน เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับจังหวัดสุราษฎร์ธานี

และเมื่อวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2561 ได้มีการสัมมนาผู้แทนเครือข่าย Eco Network ครั้งที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 และได้ร่วมกันจัดทำแผนการดำเนินงานของเครือข่าย Eco Network และตามที่คณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มีการประชุม ครั้งที่ 5-1/2561 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 มีมติเห็นชอบในหลักการแผนการดำเนินงานของคณะทำงานเครือข่ายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Network) ในพื้นที่เป้าหมาย ได้ดำเนินการปรับแผนดำเนินงานตามความเห็นของที่ประชุมเรียบร้อยแล้ว และได้ดำเนินการจัดการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสุราษฎร์ธานี ครั้งที่ 6-2/2561 เมื่อวันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ณ ห้องประชุมสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี และมีมติเห็นชอบโครงการและคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตามแผนงานบูรณาการการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ การจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม และมอบหมายหน่วยงานที่มีแผนงานโครงการตามแผนปฏิบัติการฯ การจัดทำโครงการและคำของบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำโครงการและคำของบประมาณรายจ่ายผ่านฝ่ายเลขานุการฯ เพื่อเสนอคำของบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (แผนบูรณาการการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม) เพื่อขอให้ ก.บ.จ. และเห็นชอบโครงการและคำของบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 บรรจุอยู่ในแผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ทั้งนี้คณะทำงานเครือข่ายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Network) ได้มีการดำเนินงานตามแผนงาน โดยจัดกิจกรรมเสวนากาแฟสัญจร เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2561

และได้ดำเนินการจัดการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสุราษฎร์ธานี ครั้งที่ 6-2/2561 เมื่อวันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ณ ห้องประชุมสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี 

มิติ การบริหารจัดการ
ด้านที่ 19. การพัฒนาและรักษาระบบบริหารระดับสากล
เกณฑ์ตัวชี้วัด 19.1 การดำเนินการของคณะทำงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างมีส่วนร่วม
ตัวชี้วัด 19.1.1 สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว
(Green Industry : GI)ตั้งแต่ระดับที่ 2 ขึ้นไป หรือ CSR Beginner หรือระบบการจัดการอื่นที่เทียบเท่า

จากฐานข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีโรงงานอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 121 โรงงาน มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry : GI) ตั้งแต่ระดับที่ 2 ขึ้นไป หรือ CSR Beginner หรือระบบการจัดการอื่นที่เทียบเท่า จำนวน 35 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 28.9 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่

โรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry : GI) ตั้งแต่ระดับที่ 2 ขึ้นไป หรือ CSR Beginner หรือระบบการจัดการอื่นที่เทียบเท่า
ลำดับ เลขทะเบียนโรงงาน ชื่อโรงงาน GI2 GI3 GI4 GI5 เข้าร่วมโครงการยกระดับโรงงานฯ
2560 2561 2562 2563 2564
1 ศ3-7(1)-1/35สฎ บริษัท กาญจนดิษฐ์อินดัสตรี(1989) จำกัด /                
2 3-52(4)-1/45สฎ บริษัท ชัวร์เท็กซ์ จำกัด   /              
3 จ3-89-1/52สฎ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด   /              
4 จ3-52(3)-1/45สฎ บริษัท เนเจอร์เท็กซ์ จำกัด /                
5 จ3-58(1)-1/39สฎ บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด   /              
6 3-34(1)-8/42สฎ บริษัท แฟนซีวู้ดอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด /                
7 3-52(3)-4/32สฎ บริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด   /              
8 3-52(3)-4/32สฎ บริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด   /              
9 3-52(3)-31/52 สฎ บริษัท วาย ที รับเบอร์ จำกัด   /              
10 3-52(3)-31/52สฎ บริษัท วาย ที รับเบอร์ จำกัด   /              
11 3-20(1)-1/40สฎ บริษัท สุราษฎร์ธานี เบเวอเรช จำกัด   /              
12 3-52(3)-2/21สฎ บริษัท สุราษฎร์สิริพิริยะ (1999) จำกัด   /              
13 จ3-34(4)-25/57สฎ บริษัท สุราษฎร์สิริพิริยะ (1999) จำกัด   /              
14 3-52(3)-2/21สฎ บริษัท สุราษฎร์สิริพิริยะ(1999) จำกัด   /              
15 3-20(3)-1/39สฎ บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน)   /              
16 จ3-53(4)-38/57สฎ บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน)   /              
17 ศ3-6(2)-1/38สฎ บริษัท ห้องเย็นเอเชี่ยนซีฟู้ด (สุราษฎร์ธานี) จำกัด   /              
18 3-50(4)-1/43สฎ บริษัท เอส ซี จี 1995 จำกัด /                
19 3-50(4)-67/59สฎ บริษัท เอส ซี จี 1995 จำกัด /                
20 จ3-52(3)-7/42สฎ สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านท่าสะท้อน จำกัด /                
21 จ3-34(1)-62/49สฎ 19 วุฒิ ชัยกิจค้าไม้         /        
22 จ3-34(2)-60/52สฎ ก.ม.22 ค้าไม้         /        
23 3-20(2)-1/41สฎ บริษัท กรีนสปอต จำกัด         /        
24 3-52(1)-30/56 สฎ บริษัท กว๋างเชิ่น รับเบอร์ จำกัด         /        
25 ศ3-34(1)-3/36สฎ บริษัท เจ.ยู.เอ็น.เอ็กซ์เพรส จำกัด         /        
26 3-20(1)-18/59 สฎ บริษัท ไทยดริ้งค์ จำกัด         /        
27 3-16-1/28สฎ บริษัท นทีชัย จำกัด (บริษัท สุราทิพย์ ศรีตะลุง จำกัด)         /        
28 จ3-7(1)-22/53สฎ บริษัท แนททูว่า วัน จำกัด         /        
29 3-20(1)-18/58 สฎ บริษัท เปอริเอ้ วิทเทล (ประเทศไทย) จำกัด         /        
30 3-34(3)-1/56สฎ บริษัท แฟนซีวู๊ดอินดัสตรีส จำกัด (มหาชน)         /        
31 ศ3-34(1)-8/38สฎ บริษัท วี.เอส. สุราษฎร์ พาราวู้ด กรุ๊ป (2005) จำกัด         /        
32 จ3-34(4)-34/57สฎ บริษัท เวิลด์ วู้ด เพลเลท จำกัด         /        
33 3-20(3)-1/56สฎ บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน)         /        
34 3-34(1)-31/60 สฎ บริษัท เอสเอสเค โปรดักส์ แอนด์ ซัพพลาย จำกัด         /        
35 3-88-8/49สฎ โรงไฟฟ้า สุราษฏร์ธานี กรีน เอ็นเนอยี่ จำกัด         /        
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

 

มิติ การบริหารจัดการ
ด้านที่ 20. ข้อมูลข่าวสารและการรายงาน
เกณฑ์ตัวชี้วัด 20.1 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและการจัดทำรายงาน (Information & Reporting)
ตัวชี้วัด 20.1.1 การสื่อสารและการเปิดเผยข้อมูลของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในรูปแบบช่องทาง และความถี่ในการสื่อสารในลักษณะต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิผล

เมื่อวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2561 ได้มีการสัมมนาผู้แทนเครือข่าย Eco Network ครั้งที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 และร่วมกันจัดทำแผนการดำเนินงานของเครือข่าย Eco Network ซึ่งมีการจัดทำแผนการสื่อสารประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ  และมีการสื่อสารผ่าน line group : อีโค่@สุราษฎร์ธานี เพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์การดำเนินงานการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และการสื่อสารการดำเนินโครงการ “สุราษฎร์ธานี เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (ECO INDUSTRIAL TOWN)” ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี นอกจากนี้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยผ่านกิจกรรมประชาสัมพันธ์ตามแผนการสื่อสารความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในการประชุมสภากาแฟ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2561 เพื่อให้ผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้รับทราบทิศทางขับเคลื่อนเมืองสุราษฎร์ธานีด้วยการพัฒนาสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน

มิติ การบริหารจัดการ
ด้านที่ 20. ข้อมูลข่าวสารและการรายงาน
เกณฑ์ตัวชี้วัด 20.1 มีธรรมาภิบาล โปร่งใส เปิดเผยข้อมูล และรับผิดชอบต่อชุมชนโดยรอบ
ตัวชี้วัด 20.2.1 การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล การจัดการด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และสารเคมี ของโรงงานต่อสาธารณะ

พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการจัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีข้อแนะนำเรื่องการจัดการความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และสารเคมีของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยมีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ http://ecocenter.diw.go.th/ อีกทั้งยังมีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเพื่อสื่อสารเผยแพร่ข้อมูลอีกด้วย

กรมโรงงานอุตสาหกรรม

75/6 ถ.พระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย
โทร. 02-202-4000, 4014 โทรสาร 02-354-3390

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
179,434