จังหวัดปทุมธานี มีทำเลที่ตั้งเหมาะสม เป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าส่งออกที่สำคัญโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมส่งผลต่อพื้นที่ความเจริญทางอุตสาหกรรม มีความพร้อมในด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานที่รองรับการขยายตัวของชุมชนเมืองและโรงงานอุตสาหกรรม มีตลาดกลางกระจายสินค้าการเกษตรของประเทศ (ตลาดไท และตลาดสี่มุมเมือง) มีความหลากหลายของสถานที่ท่องเที่ยวโดยเฉพาะด้านแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และธรรมชาติวิทยา รวมทั้งด้านวัฒนธรรมและประเพณีมหาวิทยาลัยและสถาบันทางวิชาการหลายแห่งตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัด เป็นแหล่งสนับสนุนเชิงวิชาการในการวิจัยและพัฒนาจังหวัด
จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่ในภาคกลาง อยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 2.30 เมตร มีเนื้อที่ประมาณ 1,525,856 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 953,660 ไร่ ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) เป็นระยะทาง 27.8 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
-
-
- ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดสระบุรี
- ทิศใต้ ติดกับจังหวัดนนทบุรี และจังหวัดกรุงเทพมหานคร
- ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดนครนายก และจังหวัดฉะเชิงเทรา
- ติดกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดนครปฐม
-
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดปทุมธานีในปี 2556 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.61 เมื่อเทียบกับปี 2555 ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 229,609 บาท โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวม ณ ราคาประจำปี 321,288 ล้านบาท ซึ่งสาขาที่มีมูลค่าการผลิตสูงสุด คือ สาขาอุตสาหกรรม 192,607 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 59.95 ของสาขาการผลิตทั้งหมด
ตารางผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดปทุมธานี ณ ราคาประจำปี
หน่วย : ล้านบาท
สาขา | 2552 | 2553 | 2554 | 2555 | 2556 |
ภาคเกษตร | 5,805 | 5,557 | 5,629 | 7,629 | 8,530 |
เกษตรกรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้ | 5,380 | 5,121 | 5,194 | 7,170 | 7,979 |
การประมง | 425 | 436 | 435 | 459 | 552 |
ภาคนอกเกษตร | 302,821 | 345,550 | 296,024 | 296,602 | 312,758 |
การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน | 32 | 33 | 37 | 36 | 34 |
อุตสาหกรรม | 190,965 | 224,342 | 191,798 | 178,695 | 192,607 |
การไฟฟ้า แก๊ส และการประปา | 8,175 | 8,733 | 8,062 | 8,138 | 9,344 |
การก่อสร้าง | 8,643 | 8,316 | 6,656 | 9,491 | 9,071 |
การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยาน-ยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน | 46,583 | 44,938 | 39,317 | 41,859 | 44,635 |
โรงแรมและภัตตาคาร | 2,291 | 9,479 | 3,644 | 3,713 | 4,068 |
การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม | 6,565 | 6,399 | 6,001 | 6,683 | 5,889 |
ตัวกลางทางการเงิน | 7,046 | 7,452 | 8,588 | 10,095 | 11,467 |
บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและบริการทางธุรกิจ | 15,836 | 17,392 | 12,557 | 17,818 | 13,923 |
การบริหารราชการและการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกันสังคมภาคบังคับ | 6,699 | 7,102 | 6,915 | 6,098 | 6,521 |
การศึกษา | 5,085 | 5,649 | 6,478 | 7,443 | 7,808 |
การบริการด้านสุขภาพและสังคม | 3,201 | 3,810 | 4,024 | 4,237 | 4,549 |
การให้บริการด้านชุมชน สังคม และบริการส่วนบุคคลอื่นๆ | 1,578 | 1,679 | 1,853 | 2,112 | 2,600 |
ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล | 123 | 226 | 95 | 184 | 243 |
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) | 308,626 | 351,107 | 301,652 | 304,231 | 321,288 |
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว (บาท) | 243,068 | 264,850 | 223,316 | 221,229 | 229,609 |
จำนวนประชากร (1,000 คน) | 1,244 | 1,326 | 1,351 | 1,375 | 1,399 |
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ http://www.nesdb.go.th (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2558)
ทรัพยากรป่าไม้
จังหวัดปทุมธานี ไม่มีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ มีเพียงเขตห้ามล่าสัตว์ป่าวัดไผ่ล้อมและวัดอัมพุวราราม สังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นมา ครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ 74 ไร่
ทรัพยากรน้ำ
จังหวัดปทุมธานี มีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแหล่งน้ำหลัก และมีระบบคลองส่งน้ำชลประทานและคลองน้ำธรรมชาติ เช่น คลองควาย คลองเชียงรากน้อย คลองบางเตย คลองบางโพธิ์ คลองแม่น้ำอ้อม คลองบางหลวง คลองหกวา คลองรังสิตประยูรศักดิ์ และคลองระพีพัฒน์ เป็นต้น ซึ่งจะรับน้ำจากเขื่อนชัยนาท และรับน้ำจากแม่น้ำป่าสัก เขื่อนพระรามหก นอกจากแหล่งน้ำต่างๆ แล้ว จังหวัดยังเป็นจุดสูบน้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อนำน้ำดิบมาผลิตน้ำประปาให้บริการในพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก โดยมีสถานีสูบน้ำบริเวณตอนล่างของปากคลองน้ำอ้อม ตำบลบ้านกระแซง อำเภอเมืองปทุมธานี เพื่อส่งน้ำตามคลองส่งน้ำดิบไปยังโรงกรองน้ำที่บางเขน และสามเสน และเพื่อป้องกันการเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำที่จะนำมาผลิตน้ำประปา คณะรัฐมนตรีได้พิจารณากำหนดพื้นที่อนุรักษ์แหล่งน้ำดิบ เพื่อการประปานครหลวง เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2522 และ 12 มกราคม 2531 เป็นพื้นที่บางส่วนในเขตอำเภอสามโคก อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอคลองหลวง ครอบคลุมพื้นที่ 350 ตารางกิโลเมตร
ทรัพยากรน้ำบาดาล
แหล่งน้ำใต้ดินของจังหวัดปทุมธานี แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
- แหล่งน้ำใต้ดินให้ปริมาณน้ำน้อย (1-50 ลบ.ม./ชั่วโมง) โดยทั่วไปน้ำมีคุณภาพดี แต่บางพื้นที่เป็นน้ำกร่อยและมีตะกอนสนิมเจือปน พื้นที่ที่มีแหล่งน้ำประเภทนี้ ได้แก่ อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอหนองเสือ และอำเภอลำลูกกา
- แหล่งน้ำใต้ดินให้ปริมาณน้ำมาก (5-200 ลบ.ม./ชั่วโมง) โดยทั่วไปน้ำมีคุณภาพเช่นเดียวกับแหล่งน้ำใต้ดิน ให้ปริมาณน้ำน้อย ได้แก่ พื้นที่อำเภอสามโคก อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี และอำเภอเมืองปทุมธานี
ทรัพยากรสัตว์ป่า
จังหวัดปทุมธานี มีเขตห้ามล่าสัตว์ป่าวัดไผ่ล้อมและวัดอัมพุวราราม สังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นมา ครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ 74 ไร่ เป็นถิ่นที่อาศัยเก่าแก่ของนกปากห่าง จากการสำรวจเมื่อปี 2539 พบจำนวน 84,788 ตัว และพบที่อาศัยในพื้นที่อื่นอีก 254 ชนิด ทั้งที่เป็นนกประจำถิ่นและนกอพยพ
การสาธารณสุข
จังหวัดปทุมธานี มีสถานพยาบาล ประกอบด้วย โรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 7 แห่ง โรงพยาบาลเฉพาะทาง 2 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 7 แห่ง โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงอื่น 1 แห่ง สถานีอนามัย 78 แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล 21 แห่ง คลินิก (ทุกประเภท) 439 แห่ง จำนวนเตียง 2,916 เตียง มีบุคลากรด้านสาธารณสุข ประกอบด้วย แพทย์ 214 คน ทันตแพทย์ 60 คน เภสัชกร 106 คน อัตราส่วนแพทย์ต่อจำนวนประชากรจังหวัดปทุมธานี เท่ากับ 1:4,831 คน
การศึกษา
จังหวัดปทุมธานี แบ่งพื้นที่การศึกษาระดับประถมศึกษาเป็น 2 เขต ประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอ คือ อำเภอเมืองปทุมธานี คลองหลวง สามโคก และอำเภอลาดหลุมแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอธัญบุรี ลำลูกกา และอำเภอหนองเสือ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ครอบคลุมพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี คลองหลวง สามโคก อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอธัญบุรี ลำลูกกา และอำเภอหนองเสือ และในปีการศึกษา 2556 มีสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานและอื่นๆ รวม 191 แห่ง และสำนักงานบริหารงานการศึกษาเอกชน 83 แห่ง รวม 274 แห่ง จำนวนห้องเรียน 5,080 ห้องเรียน ครู 6,780 คน นักเรียนจำนวน 1,039,876 คน
ประชากร
จังหวัดปทุมธานี มีประชากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ทั้งสิ้น 1,074,058 คน จำแนกเป็นชาย 510,261 คน หญิง 563,797 คน
จังหวัดปทุมธานี มีวิสัยทัศน์การพัฒนา 4 ปี พ.ศ. 2557-2560 (ฉบับทบทวน) คือ ปทุมธานีเป็นเมืองสะอาด เกษตรปลอดภัย ศูนย์การเรียนรู้ และสังคมสันติสุข โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ (10 กลยุทธ์ 514 โครงการ งบประมาณทั้งสิ้น 10,530.90 ล้านบาท)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมกระบวนการผลิตและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาขีความสามารถในการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนและสังคมอย่างบูรณาการ
คณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปทุมธานีได้มีการคัดเลือกพื้นที่ตำบลบางกระดี เป็นพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ซึ่งมีโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เป้าหมายรวม 91 โรงงาน โดยมีโรงงานที่ได้รับการรับการรับรองระบบบริหารงานระดับสากลและระดับประเทศดังตาราง
การวางผังที่ตั้งและการจัดพื้นที่
พื้นที่เป้าหมายในตำบลบางกะดี อยู่ในเขตการปกครอง 1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. คือ เทศบาลตำบลบางกะดี และมีอาณาเขตครอบคลุมสวนอุตสาหกรรม 1 สวนอุตสาหกรรม ได้แก่ สวนอุตสาหกรรมบางกะดี
ข้อมูลระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
สวนอุตสาหกรรมบางกะดีมีพื้นที่ 1,222 ไร่ โดยมีการจัดสรรพื้นที่ภายในโครงการ 3 ส่วน ได้แก่ เขตอุตสาหกรรมทั่วไป ร้อยละ 75 เขตที่อยู่-การพาณิชยกรรม ร้อยละ 9 และระบบสาธารณูปโภค ร้อยละ 16 บริษัท สวนอุตสาหกรรมบางกะดี จำกัด มีการดูแลงานด้านสาธารณูปโภค 3 ส่วน คือ การผลิตน้ำประปา บำบัดน้ำเสียรวม และดูแลพื้นที่ส่วนกลาง
ระบบประปา
สวนอุตสาหกรรมบางกะดีมีการผลิตน้ำประปาโดยโรงผลิตน้ำประปาเพื่ออุตสาหกรรม ซึ่งได้สัมปทานประกอบกิจการประปาจากกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีสถานสูบน้ำสำแลโดยสูบน้ำจากแหล่งน้ำดิบ คลองประปา เข้าในระบบการผลิตน้ำประปา มีกำลังผลิต 18,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และมีกรมทรัพยากรน้ำ ตรวจติดตามคุณภาพเป็นประจำทุกปี สามารถบริการให้กับโรงงานอุตสาหกรรม ในสวนอุตสาหกรรมบางกะดีอย่างเพียงพอ
บ่อบำบัดน้ำเสีย
บ่อบำบัดน้ำเสียรวมของสวนอุตสาหกรรมบางกะดีเป็นระบบแบบเติมอากาศ (Aerated Lagoon System) รองรับได้ 14,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน แหล่งน้ำทิ้งจากโรงงานที่ต้องระบายสู่ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางมาจาก 3 แหล่ง คือ น้ำทิ้งจากกระบวนการผลิต น้ำทิ้งจากโรงอาหาร และน้ำทิ้งจากห้องน้ำ-ส้วม
ระบบป้องกันน้ำท่วม
จากกรณีปี พ.ศ. 2554 เกิดน้ำท่วมในสวนอุตสาหกรรมบางกะดีปริมาณน้ำสูงสุด 4.3 MSL. จึงมีโครงการสร้างกำแพงป้องกันน้ำท่วมล้อมรอบสวนอุตสาหกรรมไว้ โดยผนังคอนกรีต 2 แบบ คือ แบบผนังคอนกรีตคู่ และผนังคอนกรีตเดี่ยว รวมทั้งมีบ่อกักเก็บน้ำก่อนการระบายออกภายนอกสามารถรองรับน้ำปริมาตร 73,500 ลูกบาศก์เมตร และระบบระบายน้ำออกภายนอกกำลังสูบน้ำ 5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ข้อมูลพื้นที่สีเขียว
ภายในเขตพื้นที่ตำบลบางกะดี ยังไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นที่สีเขียวไว้ชัดเจน แต่ทั้งนี้จากฐานข้อมูลเทศบาลตำบลบางกะดีระบุว่าในพื้นที่ตำบลบางกะดีมีพื้นที่สีเขียว คือ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ) มีเนื้อที่ 2.15 ไร่ และมีโครงการปรับภูมิทัศน์ (สวนสาธารณะ) ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลบางกะดี นอกจากนี้แผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปทุมธานีมี 2 โครงการ คือ โครงการจัดทำแนวป้องกันและพื้นที่กันชนรอบเขตพื้นที่อุตสาหกรรมหนาแน่น (Protection Strip & Zone) และโครงการสร้างพื้นที่สีเขียวพื้นที่อุตสาหกรรมหนาแน่นและชุมชนโดยรอบ และแนวทางในการเก็บข้อมูลในอนาคต คือ กำหนดแนวทางในการจัดเก็บข้อมูลและประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ เกี่ยวข้องเพื่อจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวให้ครบถ้วนต่อไป
ข้อมูลโรงงานที่มีการออกแบบอาคารและ/หรือระบบภายในอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ/หรือประหยัดพลังงาน
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ ทั้งนี้จากข้อมูลจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พบว่ามีโรงงานที่เข้าข่ายโครงการอนุรักษ์พลังงานอาคารควบคุมพลังงาน จำนวน 28 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 30.8 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และแนวทางในการเก็บข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลบริเวณพื้นที่ตำบลบางกะดี โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งโรงงานที่มีการออกแบบอาคาร และ/หรือระบบภายในอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ/หรือประหยัดพลังงานจะพิจารณาจากการที่โรงงานมีอาคารประหยัดพลังงานตามมาตรฐานเกณฑ์อาคารสีเขียวของประเทศต่างๆ ได้แก่ สถาบันอาคารเขียวไทย LEED TREES และ TEEAM หรือ มีอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าและแสงสว่างในเปิดปิดอัตโนมัติตามความต้องการในการใช้งาน หรือมีพื้นที่ใช้สอยที่รองรับแสงจากธรรมชาติมากกว่า 20% ของอาคาร
ข้อมูลจำนวนเงินลงทุนของผู้ประกอบการในเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ในบริเวณพื้นที่ตำบลบางกะดี มีโรงงานทั้งหมด 91 โรงงาน มีจำนวนเงินลงทุนของผู้ประกอบการ (ปี 2559) รวมทั้งสิ้น 28,644,728,959 บาท
ข้อมูลการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของวิสาหกิจชุมชน
ในพื้นที่ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี มีจำนวนวิสาหกิจชุมชนที่ได้จัดตั้งทั้งหมด 2 วิสาหกิจ เช่น วิสาหกิจชุมชนโคกชะพลูล่าง วิสาหกิจชุมชนน้ำดื่มบ้านโคกชะพลู เป็นต้น และระดับจังหวัดมีการจัดตั้งบริษัทประชารัฐรักสามัคคีปทุมธานี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ทั้งนี้จากแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปทุมธานีมี 3 โครงการ คือ โครงการพัฒนาและส่งเสริม Symbiosis Model ของสวนอุตสาหกรรมบางกะดีกับชุมชน โครงการสานพลังงานประชารัฐตำบลบางกะดีมีศูนย์จำหน่าย/รองรับผลิตภัณฑ์ชุมชน และโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี โดยมีชุมชนนำร่อง อย่างน้อย 2 ชุมชนต่อปี
จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีจำนวนแรงงานท้องถิ่นเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน แรงงานทั้งหมด
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ แต่มีการรวบรวมจำนวนแรงงานในสถานประกอบการทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปทุมธานี (กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรายงานทะเบียนรายชื่อสถานประกอบการเขตรับผิดชอบ ตำบลบางกะดี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ณ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2560) มีแรงงานจำนวน 24,101 คน และแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งแรงงานท้องถิ่น หมายถึง แรงงานที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในจังหวัดที่โรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่
จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการจากชุมชน หรือ ส่งเสริมกิจกรรมหรือกลุ่มอาชีพให้กับชุมชน หรือสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนทางด้าน การตลาด หรือพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมอาชีพ หรือทักษะแรงงาน
ในพื้นที่ตำบลบางกะดี ยังไม่มีการรวบรวมข้อมูลของโรงงานที่มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการจากชุมชน ทั้งนี้จากฐานข้อมูลจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมพบว่า มีโรงงานที่ดำเนินการตามมาตรฐาน CSR-DIW ซึ่งตามข้อกำหนดให้มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมให้มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการจากชุมชน หรือ ส่งเสริมกิจกรรมหรือกลุ่มอาชีพให้กับชุมชน จำนวน 7 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 7.6 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ทั้งนี้ยังไม่มีหน่วยงานในพื้นที่ที่รวบรวมข้อมูลการดำเนินกิจกรรม CSR ที่ไม่ได้เข้าร่วมผ่านกรมโรงงานอุตสาหกรรม และจากแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปทุมธานีมี 4 โครงการ คือ โครงการศูนย์ส่งเสริมประสิทธิภาพการสร้างรายได้ชุมชน โครงการพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พื้นที่ตำบลบางกะดี โครงการสานพลังงานประชารัฐตำบลบางกะดีมีศูนย์จำหน่าย/รองรับผลิตภัณฑ์ชุมชน และโครงการกองทุน CSR สถานประกอบการในตำบลบางกะดีข้อมูลจากสวนอุตสาหกรรมมีโครงการ BIP สอนน้องเตรียมความพร้อมสู่ AEC และแนวทางการสำรวจข้อมูลในอนาคตควรกำหนดแนวทางในการจัดเก็บข้อมูลและประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวให้ครบถ้วนต่อไป
อัตราการว่างงาน
ข้อมูลรายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดปทุมธานี สำนักงานแรงงานจังหวัดปทุมธานี พบว่าประชากรในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีในไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ.2560 (มกราคม - มีนาคม) มีอัตราการว่างงานร้อยละ 1.0 ทั้งนี้อัตราการว่างงานในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศยังไม่มีการรายงานเผยแพร่ และจากแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปทุมธานีมีโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานไทยโดยการฝึกอบรมตามหลักสูตรต่างๆ อย่างน้อยร้อยละ 20 จาก 50 คนต่อปีได้รับคัดเลือกเข้าทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่
จำนวนผู้ประกอบการที่มีการผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco- Product/Eco-Service) หรือมีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม (Green Purchasing) ต่อจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมด
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดในท้องถิ่นหรือจังหวัดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ แต่มีการรวบรวมในระดับประเทศโดยมีการมอบรางวัลให้กับผู้ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในโครงการวิจัยและพัฒนาการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จากข้อมูลในระบบฐานข้อมูลการผลิต การบริหารและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ทั้งนี้พื้นที่ตำบลบางกะดีมีจำนวนโรงงานที่ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งหมด 1 บริษัท คือ บริษัท ไทยโตชิบาไลท์ติ้ง จำกัด ได้รับตราสัญลักษณ์ผู้ผลิตสีเขียว ในการผลิตหลอดฟลูออเรสเซนส์
จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกิจกรรมหรือมาตรการที่ปลอดภัย ลดต้นทุน หรือเพิ่ม ประสิทธิภาพระบบขนส่งและโลจิสติกส์ขององค์กร
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ แต่มีโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค (OPOAI) ซึ่งเป็นโครงการที่คัดเลือกผู้ประกอบการจากทั้งจังหวัดเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสถานประกอบการ ทั้งด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน ลดต้นทุนพลังงาน การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์/ระบบมาตรฐานสากล กลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด การบริหารจัดการด้านการเงิน การจัดการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ และแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลรายโรงงานโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งกิจกรรมหรือมาตรการที่ปลอดภัย ลดต้นทุน หรือเพิ่มประสิทธิภาพ ได้แก่ การลดการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง ใช้วัสดุด้านบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ หรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบอัตโนมัติกับระบบขนส่งและโลจิสติกส์
คุณภาพน้ำทิ้งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
กรมโรงงานอุตสาหกรรมไม่มีฐานข้อมูลการระบายน้ำของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ ที่โรงงานที่เข้าข่ายจะต้องมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน (ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม) ซึ่งไม่เปิดเผยข้อมูลคุณภาพน้ำทิ้งต่อสาธารณะ
ฐานข้อมูลจากสวนอุตสาหกรรมบางกะดี ในช่วงระยะเวลา 3 ปี (2557-2559) ณ บ่อบำบัดน้ำเสียรวม ของโครงการสวนอุตสาหกรรมบางกะดี คุณภาพน้ำทิ้ง 5 พารามิเตอร์ (BOD COD pH TDS และSS) มีค่าเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
ปริมาณน้ำใช้ภาคอุตสาหกรรม
ปัจจุบันยังไม่มีการรวบรวมปริมาณน้ำใช้ภาคอุตสาหกรรมของโรงงานในพื้นที่ตำบลบางกะดี อย่างเป็นระบบ แนวทางในการดำเนินการในอนาคต คือ กำหนดแผนในการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าว โดยกำหนดผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บข้อมูลในแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจน รวมถึงมีการติดตามรวบรวมข้อมูลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
ปริมาณน้ำทิ้งภาคอุตสาหกรรม
ปัจจุบันยังไม่มีการรวบรวมปริมาณน้ำทิ้งภาคอุตสาหกรรมของโรงงานในพื้นที่ตำบลบางกะดี อย่างเป็นระบบ แนวทางในการดำเนินการในอนาคต คือ กำหนดแผนในการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าว โดยกำหนดผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บข้อมูลในแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจน รวมถึงมีการติดตามรวบรวมข้อมูลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
คุณภาพแหล่งน้ำสาธารณะ
ฐานข้อมูลจากสวนอุตสาหกรรมบางกะดี ปี 2559 ณ “ประตูน้ำคลองบางงิ้ว” ม.5 ต.บางกะดี คุณภาพแหล่งน้ำ 5 พารามิเตอร์ (BOD COD pH TDS และSS) มีค่าเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดร้อยละ 100 จากแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปทุมธานีมีโครงการ 4 คือ โครงการศึกษาความเหมาะสมและก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนและอุตสาหกรรม โครงการส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงภูมิทัศน์ในชุมชน โครงการพัฒนาและฟื้นฟูคลองชลประทานในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เป็นต้น และโครงการพัฒนาระบบติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม (คุณภาพน้ำแบบต่อเนื่อง) อุตสาหกรรมพื้นที่ตำบลบางกะดี
คุณภาพอากาศบริเวณนิคมอุตสาหกรรม เขตประกอบการอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม และชุมชน อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปทุมธานีไม่มีจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศอยู่ในพื้นที่ แต่จากผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศจังหวัดปทุมธานี ปี พ.ศ.2558-2560 ของสำนักคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ ณ สถานีตรวจวัดพื้นที่บริเวณมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต อ.คลองหลวง พบว่าคุณภาพอากาศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้แผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดปทุมธานีมี 2 โครงการ คือ โครงการพัฒนาระบบติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม (คุณภาพอากาศแบบต่อเนื่อง) อุตสาหกรรมพื้นที่บางกะดี และโครงการการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของอุตสาหกรรมในพื้นที่บางกะดีโดยการอบรม ตรวจประเมิน และป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรม
จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมการลดการปล่อยมลพิษทางอากาศที่มีนัยสำคัญได้มากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
มีฐานข้อมูลการปล่อยมลพิษในโรงงาน ในการยื่นขอจดประกอบกิจการ และยื่นต่อทะเบียนโรงงาน รวมทั้งมีการจัดทำฐานข้อมูลมลพิษทางอากาศของโรงงานที่เข้าข่ายตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ.2550 และแผนปฏิบัติการตามแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปทุมธานีมีโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดมลพิษอุตสาหกรรม และแนวทางในการดำเนินการในอนาคต คือ จัดทำแบบสำรวจข้อมูลโรงงาน และจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เพื่อพิจารณากำหนดผู้รับผิดชอบในการสำรวจข้อมูลและแนวทางในการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
ข้อมูลชนิดและปริมาณกากของเสียและวัสดุเหลือใช้ของโรงงานในพื้นที่
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดในจังหวัดหรือในท้องถิ่นเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ จากข้อมูลศูนย์สารสนเทศโรงงานอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้มีการรวบรวมข้อมูลปริมาณกากของเสียอุตสาหกรรม ตามรายงานการขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน ในพื้นที่อำเภอเมืองปทุมธานี โดยในปี 2559 อำเภอเมืองปทุมธานี มีกากของเสียรวม 346,337.10 ตัน จำแนกเป็นกากของเสียไม่อันตรายร้อยละ 88.56 และกากของเสียอันตรายร้อยละ 11.44 ทั้งนี้จากแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปทุมธานีมี 3 โครงการ คือ โครงการส่งเสริมสังคม 3R พื้นที่ตำบลบางกะดี โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมของโรงงานในพื้นที่ตำบลบางกะดี และโครงการศูนย์ข้อมูลกากอุตสาหกรรมเพื่อใช้ประโยชน์จากกากอุตสาหกรรมพื้นที่ตำบลบางกะดี
ฐานข้อมูลชนิดและปริมาณขยะชุมชน
พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปทุมธานีอยู่ในเขตปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งสิ้น 6 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยพบว่า 1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ เทศบาลตำบลบางกะดี มีฐานข้อมูลปริมาณขยะ และอัตราการเกิดขยะเฉลี่ย 20 ตัน/วัน อัตราการกำจัด 20 ตัน/วัน และกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ คิดเป็นร้อยละ 100 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลชนิดและปริมาณขยะชุมชนและการนำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ตำบลบางกะดี ยังไม่มีการเก็บรวบรวมไว้ชัดเจน และแนวทางในการเก็บข้อมูลในอนาคต คือ จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในพื้นที่ เพื่อพิจารณากำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
ข้อมูลการใช้พลังงานของโรงงานอุตสาหกรรม
ข้อมูลจากรายงานสถานการณ์การใช้พลังงาน พ.ศ.2558 ในจังหวัดปทุมธานี มีการใช้พลังงานรวมของภาคอุตสาหกรรม เท่ากับ 500.80 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) และแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปทุมธานีมี 2 โครงการ คือ Waste to energy for power plant) และโครงการส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในสถานีศึกษาพื้นที่บางกะดี และมีการรวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานเฉพาะของโรงงานอุตสาหกรรมภายในสวนอุตสาหกรรมบางกะดี โดยบริษัท สวนอุตสาหกรรมบางกะดี จำกัด เป็นผู้รวบรวมข้อมูล และในสวนอุตสาหกรรมมีบริษัท บี.กริม บีไอพี เพาเวอร์ 1 จำกัด และบริษัท บี.กริม บีไอพี เพาเวอร์ 2 จำกัด เป็นผู้ให้บริการด้านพลังงานแก่สวนอุตสาหกรรม
ข้อมูลการใช้พลังงานทดแทน
ยังไม่มีการรวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานทดแทนของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ตำบลบางกะดี แนวทางในการเก็บข้อมูลในอนาคต คือ ประสานงานกับบริษัท สวนอุตสาหกรรมบางกะดี จำกัด เพื่อให้ทางบริษัทฯ เป็นผู้รวบรวมข้อมูลในพื้นที่ของสวนอุตสาหกรรมบางกะดี และจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในพื้นที่ เพื่อพิจารณากำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
จำนวนโรงงานที่ดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการลดการใช้พลังงานหรือเพิ่ม ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
ยังไม่มีการรวบรวมข้อมูลจำนวนโรงงานที่ดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการลดการใช้พลังงานหรือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในพื้นที่ตำบลบางกะดีที่ชัดเจน ทั้งนี้มีโครงการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศพื้นที่ 8 จังหวัด มีการจัดทำฐานข้อมูลการใช้พลังงาน (mass balance) ในโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เป้าหมาย และมีโรงงานที่เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พลังงานอาคารควบคุมพลังงาน จำนวน 28 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 30.8 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และแนวทางในการเก็บข้อมูลในอนาคต คือ ประสานงานกับบริษัท สวนอุตสาหกรรมบางกะดี จำกัด เพื่อให้ทางบริษัทฯ เป็นผู้รวบรวมข้อมูลภายในสวนอุตสาหกรรมบางกะดี และจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในพื้นที่ เพื่อพิจารณากำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
จำนวนข้อร้องเรียนเรื่องเหตุเดือดร้อนรำคาญ
ในรอบปีงบประมาณ พ.ศ.2559 - 2560 พบข้อร้องเรียนด้านเหตุเดือดร้อนรำคาญในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปทุมธานี 1 กรณี ในพื้นที่เป้าหมายในตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี มีการวิเคราะห์ข้อร้องเรียน และมีการดำเนินการแก้ไขเรียบร้อย
จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-Process) หรือได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory)
จากฐานข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปทุมธานี ปัจจุบันยังไม่มีโรงงานที่ได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) และจากฐานข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม มีโรงงานได้รับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 13 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 14.1 และแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดปทุมธานีมีโครงการพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ/อุตสาหกรรมสีเขียว พื้นที่ตำบลบางกะดีโดยการอบรมและส่งเสริมโรงงานในพื้นที่เป้าหมาย และแนวทางในการเก็บข้อมูลในอนาคต คือ จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในพื้นที่ เพื่อพิจารณากำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบ
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้จัดทำฐานข้อมูลการใช้วัตถุดิบของโรงงาน ในขั้นตอนการแจ้งจดทะเทียนประกอบกิจการและยื่นต่ออายุใบประกอบกิจการ รวมทั้งโครงการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศพื้นที่ 8 จังหวัด มีการจัดทำฐานข้อมูลการใช้วัตถุดิบของโรงงาน และในระดับจังหวัดมีโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค (OPOAI) และแนวทางในการเก็บข้อมูลในอนาคต คือ จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในพื้นที่ เพื่อพิจารณากำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพเชิงนิเวศ (Eco Efficiency) การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ
ยังไม่มีการรวบรวมข้อมูลจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพเชิงนิเวศ (Eco Efficiency) ในพื้นที่ตำบลบางกะดี และแนวทางในการเก็บข้อมูลในอนาคต คือ จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในพื้นที่ เพื่อพิจารณากำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมมีการจัดเตรียมฐานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโรงงานอุตสาหกรรม ปัจจุบันอยู่ในช่วงการรวบรวมข้อมูลทั้งประเทศ จากฐานข้อมูลขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกพบว่าในพื้นที่ไม่โรงงานที่ได้รับฉลากลดคาร์บอน และแนวทางในการเก็บข้อมูลในอนาคต คือ จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในพื้นที่ เพื่อพิจารณากำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการประเมินผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กรต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และจัดทำแผนป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยมีฐานข้อมูลของสำนักงานนโยบายแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของโรงงานที่จะต้องมีการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งต้องมีการประเมินความหลากหลายทางชีวภาพ และจัดทำแผนป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อความหลากหลายทางชีวภาพ โดยในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศมีโรงงานที่ต้องมีการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมจำนวน 1 โรงงาน ร้อยละ 1.1 และแนวทางในการเก็บข้อมูลในอนาคต คือ จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในพื้นที่ เพื่อพิจารณากำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
จำนวนโรงงานที่จัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยง
จากฐานข้อมูลพบว่าในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศมีโรงงานที่ต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ความเสี่ยง จำนวน 1 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 1.1 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมาย
จำนวนการรั่วไหล และการเกิดอุบัติเหตุของสารเคมีและวัตถุอันตราย ที่ทำให้เกิดผล กระทบต่อพนักงาน ชุมชน หรือสิ่งแวดล้อมภายนอก
จากข้อมูลของสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม สถิติการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ.2559 ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปทุมธานี ไม่มีการรั่วไหล และการเกิดอุบัติเหตุของสารเคมีและวัตถุอันตราย ที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อพนักงาน ชุมชน หรือสิ่งแวดล้อมภายนอก และแนวทางในการเก็บข้อมูลในอนาคต คือ จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในพื้นที่ เพื่อพิจารณากำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
จำนวนโรงงานที่มีระบบการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วมตามโครงการ GI หรือ EIA Monitoring หรือโครงการอื่นที่เทียบเท่า
จากฐานข้อมูลของสำนักนโยบายแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โรงงานในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปทุมธานี มีโรงงานที่มีระบบการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วมตามโครงการ GI ระดับ 3 ขึ้นไป หรือ EIA Monitoring รวมเป็น 14 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 15.2 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายดังแสดงใน ทั้งนี้ภายใต้โครงการยกระดับศูนย์ติดตามตรวจสอบและประเมินผลเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 8 จังหวัด ยังมีการจัดตั้งเครือข่ายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่มีบทบาทเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วมอีกด้วย
จำนวนผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมที่มีดำเนินงานตามแนวทางการเป็นที่ทำงานมีสุข
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมที่มีดำเนินงานตามแนวทางการเป็นที่ทำงานมีสุข (Happy Workplace) นี้ จากข้อมูลจากสวนอุตสาหกรรมบางกะดีมีจำนวนโรงงานที่ดำเนินการตามแนวทางการเป็นที่ ทำงานมีสุขจำนวน 1 โรงงาน คือ บริษัท สวนอุตสาหกรรมบางกะดี จำกัด คิดเป็นร้อยละ 1.1 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมาย
โครงการความร่วมมือกันระหว่างนิคมอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน ในรูปแบบการพึ่งพาอาศัยกัน (Symbiosis)
ยังไม่มีการจัดทำโครงการความร่วมมือกันระหว่างนิคมอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชนในรูปแบบการพึ่งพาอาศัยกัน (Symbiosis) ที่ชัดเจนในพื้นที่สวนอุตสาหกรรมบางกะดี และชุมชนโดยรอบ ซึ่งแนวทางในการเก็บข้อมูลในอนาคต คือ จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในพื้นที่ เพื่อพิจารณากำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
ความพึงพอใจของชุมชนโดยรอบที่มีต่อการดำเนินงานด้าน CSR
จากฐานข้อมูลกรมโรงงานอุตสาหกรรมพบว่า มีโรงงานที่ดำเนินการตามมาตรฐาน CSR-DIW ซึ่งตามข้อกำหนดให้มีการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนตามบริบทของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจำนวน 7 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 7.6 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศดังแสดงใน ทั้งนี้ยังไม่มีหน่วยงานในพื้นที่ที่รวบรวมข้อมูลการดำเนินกิจกรรม CSR ที่ไม่ได้เข้าร่วมผ่านกรมโรงงานอุตสาหกรรม
เทศบาลตำบลบางกะดีได้ทำโครงการเงินบริจาคกองทุน CSR สถานประกอบการในตำบลบางกะดีประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 มีสถานประกอบการเข้าร่วมจำนวน 38 โรงงาน
จำนวนการเกิดคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญต่อประชากรรวม
จากฐานข้อมูลสถานีตำรวจภูธรปากคลองรังสิต ปี 2559 มีข้อมูลการเกิดคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ โดยในตำบลบางกะดีมีคดีฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา 2 คดี ปล้น 1 คดี ชิงทรัพย์ 1 คดี แต่ทั้งนี้ ไม่ได้จัดทำเป็นฐานข้อมูล
จำนวนความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินจากภัยพิบัติ
จากข้อมูลสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดปทุมธานี พบว่าในปี พ.ศ.2559 ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีมีประชากรที่ประสบสาธารณภัยจำนวน 2,430 คน
แผนและผลการดำเนินงานของคณะทำงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และ/หรือ เครือข่ายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปทุมธานีได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและจัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ขึ้นในปี พ.ศ.2559 โดยขณะนี้แผนปฏิบัติการอยู่ในช่วงการของบประมาณเพื่อดำเนินการและในปี พ.ศ.2560 ได้มีการประสานเพื่อจัดตั้งคณะทำงานเครือข่ายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Network) เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับจังหวัดปทุมธานี
การสื่อสารและการเปิดเผยข้อมูลของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในรูปแบบ ช่องทาง และความถี่ในการสื่อสารในลักษณะต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิผล
ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปทุมธานี มีการจัดตั้งศูนย์ติดตามตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับจังหวัดหรือเรียกว่า ศูนย์พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยตั้งอยู่ที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสาร ให้คำปรึกษาแนะนำและเปิดเผยข้อมูลของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ อีกทั้งยังมีการจัดทำเว็บไซต์ http://ecocenter.diw.go.th/ เพื่อใช้ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์อีกหนึ่งช่องทาง
การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล การจัดการด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และ สารเคมีของโรงงานต่อสาธารณะ
ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปทุมธานี มีการจัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีข้อแนะนำเรื่องการจัดการความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และสารเคมีของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยมีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ http://ecocenter.diw.go.th/ อีกทั้งยังมีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเพื่อสื่อสารเผยแพร่ข้อมูลอีกด้วย
คณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ดาวน์โหลดเอกสารคณะทำงานเครือข่ายฯ (Eco Network)
ดาวน์โหลดเอกสารคณะขับเคลื่อนเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ดาวน์โหลดเอกสาร