จังหวัดปราจีนบุรี ด้านอุตสาหกรรมนับว่าศักยภาพค่อนข้างสูง มีนักลงทุนให้ความสนใจลงทุนมาก มีการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตจากกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียงมาลงทุนตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดปราจีนบุรี โดยหากแยกประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมที่มาลงทุนในจังหวัดปราจีนบุรี จากข้อมูลในปี 2554 พบว่า อุตสาหกรรมการเกษตรมีสัดส่วนในการเข้ามาลงทุนสูงที่สุด รองลงมาได้แก่อุตสาหกรรมอาหาร ด้านเงินลงทุน พบว่า อุตสาหกรรมกระดาษผลิตภัณฑ์จากกระดาษ มีเงินลงทุนสูงสุด รองลงมาคือ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และตามมาด้วย อุตสาหกรรมขนส่ง และหากพิจารณาประเภทอุตสาหกรรมที่มีการแจ้งแรงงานมากที่สุด พบว่า อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีการจ้างมากที่สุด รองลงมาคือ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล มีการจ้างแรงงาน และลำดับที่ 3 คือ อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย
จังหวัดปราจีนบุรี ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย อยู่ระหว่างละติจูดที่ 13 องศา 39 ลิปดา ถึงละติจูดที่ 14 องศา 27 ลิปดาเหนือ และเส้นลองติจูดที่ 101 องศา 90 ลิปดา ถึงลองติจูดที่ 102 องศา 07 ลิปดาตะวันออก ห่างจาก กรุงเทพมหานคร 136 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 33, 305 ใช้เวลาเดินทางเพียง 1.30 ชั่วโมง เป็นจุดเชื่อมโยง การคมนาคมจากกรุงเทพมหานคร ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศกัมพูชา ในรัศมี 100 กว่ากิโลเมตร มีขนาดพื้นที่ทั้งหมด 4,762.362 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,976,476 ไร่ และมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
-
-
- ทิศเหนือ ติดกับ จังหวัดนครราชสีมา
- ทิศตะวันออก ติดกับ จังหวัดสระแก้ว
- ทิศตะวันตก ติดกับ จังหวัดนครนายก
- ทิศใต้ ติดกับ จังหวัดฉะเชิงเทรา
-
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดฉะเชิงเทราในปี 2557 ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 371,776 บาท โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวม ณ ราคาประจำปี 217,106 ล้านบาท ซึ่งสาขาที่มีมูลค่าการผลิตสูงสุด คือ สาขาอุตสาหกรรม 164,405 ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดปราจีนบุรี ณ ราคาประจำปี
หน่วย : ล้านบาท
สาขา | 2553 | 2554 | 2555 | 2556 | 2557 |
ภาคเกษตร | 5,983 | 6,767 | 7,479 | 7,768 | 7,429 |
เกษตรกรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้ | 5,158 | 5,834 | 6,541 | 7,020 | 6,533 |
การประมง | 825 | 933 | 938 | 749 | 897 |
ภาคนอกเกษตร | 206,184 | 163,430 | 237,530 | 206,279 | 209,676 |
การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน | 201 | 233 | 275 | 249 | 231 |
อุตสาหกรรม | 170,673 | 124,928 | 192,279 | 162,244 | 164,405 |
การไฟฟ้า แก๊ส และการประปา | 1,625 | 1,766 | 2,157 | 2,465 | 2,562 |
การก่อสร้าง | 1,141 | 1,793 | 3,161 | 2,441 | 2,340 |
การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยาน-ยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน | 18,686 | 19,129 | 21,519 | 19,668 | 20,337 |
โรงแรมและภัตตาคาร | 381 | 447 | 431 | 491 | 472 |
การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม | 1,359 | 1,438 | 1,252 | 1,291 | 1,318 |
ตัวกลางทางการเงิน | 1,600 | 1,649 | 1,893 | 2,241 | 2,542 |
บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและ บริการทางธุรกิจ |
2,503 | 2,793 | 2,345 | 2,294 | 2,728 |
การบริหารราชการและการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกันสังคมภาคบังคับ |
4,181 | 4,481 | 6,158 | 6,565 | 5,945 |
การศึกษา | 2,664 | 3,484 | 4,538 | 4,771 | 5,188 |
การบริการด้านสุขภาพและสังคม | 749 | 809 | 915 | 998 | 1,048 |
การให้บริการด้านชุมชน สังคม และบริการส่วนบุคคลอื่นๆ | 366 | 405 | 457 | 486 | 477 |
ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล | 54 | 77 | 149 | 77 | 88 |
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) | 212,167 | 170,197 | 245,009 | 214,047 | 217,106 |
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว (บาท) | 388,179 | 306,071 | 370,047 | 317,520 | 371,776 |
จำนวนประชากร (1,000 คน) | 547 | 556 | 565 | 575 | 584 |
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ http://www.nesdb.go.th (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2559)
ทรัพยากรป่าไม้
จังหวัดปราจีนบุรีมีพื้นที่ทั้งสิ้น 4,762 ตารางกิโลเมตร หรือ 2.98 ล้านไร่ ปี พ.ศ. 2557 เป็นอาณาเขตป่าทั้งสิ้น 1,327,718.75 ไร่คิดเป็นร้อยละ 44.61 ของพื้นที่จังหวัด ซึ่งจำแนกเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 386,928.69 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 13.00 ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย 931,720 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 31.30และป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี 9,070 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.30
พื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดปราจีนบุรีมีจำนวนคงที่ไม่ได้มีจำนวนลดลงเหมือนแนวโน้มภาพรวมระดับประเทศ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากพื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดปราจีนบุรีทั้งหมดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ (อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และทับลาน) และเขตป่าสงวนแห่งชาติ (ป่าแควระบมและป่าสียัด ป่าห้วยไคร้ ป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสโตน) จึงทำให้ไม่มีปัญหาในด้านการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ยังคงสามารถคงพื้นที่ป่าไว้ได้
พันธุ์ไม้สำคัญ ได้แก่ ไม้ตะเคียน ไม้ยางไม้มะค่าโมง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้พะยอม ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้ตะแบก ไม้พะยูง และไม้ชิงชัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีไม้ไผ่ ที่สามารถทำรายได้ให้กับจังหวัดในการผลิตหัตถกรรมส่งออกทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เช่น ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ เฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ เสื่อกก เป็นต้น มีสัตว์ป่าหายากและนกกว่า 300 ชนิด เช่น นกเงือก นกยูง รวมถึงมีแหล่งจระเข้น้ำจืด ซึ่งเชื่อว่าเหลือเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย
ทรัพยากรน้ำ
จังหวัดปราจีนบุรี ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำปราจีนบุรี ซึ่งมีลำน้ำสายหลัก คือ แม่น้ำปราจีนบุรี ลำน้ำสาขาคลองพระสทึง ลำน้ำสาขาคลองพระปรง และลำน้ำสาขาแม่น้ำหนุมาน โดยลำน้ำที่อยู่ในเขตจังหวัดปราจีนบุรีมี 2 ลำน้ำ คือ แม่น้ำปราจีนบุรี และแม่น้ำหนุมาน
ทรัพยากรน้ำบาดาล
จังหวัดปราจีนบุรีพบว่ามีแหล่งน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลอยู่ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของจังหวัดโดยเฉพาะอำเภอกบินทร์บุรี โดยอยู่ในแอ่งน้ำบาดาลปราจีนบุรี-สระแก้ว น้ำใต้ดินส่วนใหญ่มีคุณภาพมีปริมาณค่อนข้างจำกัด และมีปัญหาด้านน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม มีปริมาณเหล็กสูงกว่ามาตรฐานน้ำดื่ม นอกจากนี้ยังมีแหล่งฝังกลบขยะและบ่อบำบัดน้ำเสียชุมชนที่อาจทำให้เกิดการซึมเปื้อนของน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำบาดาลได้
การใช้น้ำใต้ดินในแอ่งน้ำบาดาลปราจีนบุรี-สระแก้ว คิดเป็นร้อยละ 28 ของปริมาณน้ำที่ใช้ทั้งหมด คิดเป็น 122.61 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เป็นการใช้น้ำบาดาลเพื่อการอุตสาหกรรม 10.09 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีการใช้น้ำบาดาลเพื่อการเกษตร 34.30 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีซึ่งการใช้น้ำบาดาลมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณน้ำบาดาลลดลงอย่างต่อเนื่อง
การสาธารณสุข
จังหวัดปราจีนบุรี มีสถานพยาบาล ประกอบด้วย โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม สถานพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและสถานพยาบาลสาธารณสุขชุมชน รวม 105 แห่ง มีบุคลากรด้านสาธารณสุข ประกอบด้วย แพทย์ 127 คนทันตแพทย์ 36 คน เภสัชกร 51 คน พยาบาล 754 คน อัตราส่วนแพทย์ต่อจำนวนประชากรจังหวัดปราจีนบุรีเท่ากับ 1: 4,097 คน
การศึกษา
จังหวัดปราจีนบุรีแบ่งระดับการศึกษาเป็น 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา โดยการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย สถานศึกษาตั้งแต่ระดับเด็กเล็ก อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย มีโรงเรียนทั้งสิ้น 299 แห่ง จำนวนห้องเรียน 3,650 ห้องเรียน ครู 4,801 คน นักเรียนจำนวน 86,408 คน
ประชากร แรงงานและการจ้างงาน และแรงงานต่างด้าว
จังหวัดปราจีนบุรี มีประชากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ทั้งสิ้น 481,596 คนจำแนกเป็นชาย 238,278 คน หญิง 243,318 คน
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ดำเนินการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรในจังหวัดปราจีนบุรีปี พ.ศ.2558 พบว่า ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวน 489,472 คนจำแนกเป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 343,721 คน และผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 145,751 คน จากจำนวนผู้อยู่ในกำลังแรงงาน พบว่ามีผู้ว่างงาน จำนวน 4,980 คน และมีแรงงานต่างด้าวจำนวนทั้งสิ้น 7,285 คน
จังหวัดปราจีนบุรี มีวิสัยทัศน์การพัฒนา 4 ปี พ.ศ. 2557-2560 (ฉบับทบทวน) คือ ปราจีนบุรีเมืองน่าอยู่ อุตสาหกรรมสีเขียว แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และสุขภาพ โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ (16 กลยุทธ์ 594 โครงการ งบประมาณทั้งสิ้น 23,050 ล้านบาท)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมสีเขียว
ยุทธศาสตร์ที่ 2 เมืองน่าอยู่ด้วยการพัฒนาทุนทางสังคมและความมั่นคงสู่สังคมเป็นสุข
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และสุขภาพ
คณะะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปราจีนบุรีได้มีการคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายในจังหวัดปราจีนบุรี 1 พื้นที่ คือ พื้นที่สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี ครอบคลุมพื้นที่เขตปกครองตำบลวังดาล ตำบลนนทรี ตำบลนาแขม และตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี อาณาเขตครอบคลุมสวนอุตสาหกรรม 1 แห่ง คือ สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี เพื่อเป็นพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปราจีนบุรี มีโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เป้าหมายรวม 196 โรงงาน โดยมีโรงงานที่ได้รับการรับการรับรองระบบบริหารงานระดับสากลและระดับประเทศ ดังแสดงในตาราง
จำนวนโรงงานในพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ | |||||
นิคมฯ/เขตประกอบการ/สวนอุตสาหกรรม | อำเภอ | ตำบล | จำนวนโรงงาน | จำนวนโรงงาน ในพื้นที่ สวนอุตสาหกรรม |
จำนวนโรงงาน นอกพื้นที่ สวนอุตสาหกรรม |
สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี | กบินทร์บุรี | วังดาล | 10 | 31 | 67 |
นนทรี | 44 | ||||
นาแขม | 15 | ||||
กบินทร์ | 29 | ||||
รวม | 196 |
จำนวนโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานระดับสากลและระดับประเทศ |
|
มาตรฐาน | จำนวนโรงงานที่ได้รับการรับรอง (ราย) |
ระบบจัดการคุณภาพ (ISO14001) | 1 |
ระบบการบริหารงานคุณภาพ (ISO50001) | - |
ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHSAS18001) | - |
อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry : GI) | |
ระดับที่ 1 | 2 |
ระดับที่ 2 | 8 |
ระดับที่ 3 | 23 |
ระดับที่ 4 | - |
ระดับที่ 5 | - |
โรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) | - |
การวางผังที่ตั้งและการจัดพื้นที่
พื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปราจีนบุรี อยู่ในพื้นที่ 4 ตำบล ใน 1 อำเภอ ได้แก่ ตำบลวังดาล ตำบลนนทรี ตำบลนาแขม และตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี อยู่ในเขตการปกครอง 6 อปท. ได้แก่ เทศบาลตำบลกบินทร์ เทศบาลตำบลเมืองเก่า องค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์ องค์การบริหารส่วนตำบลวังดาล องค์การบริหารส่วนตำบลนนทรี และองค์การบริหารส่วนตำบลนาแขม มีอาณาเขตครอบคลุมสวนอุตสาหกรรม 1 แห่ง คือ สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี
ข้อมูลพื้นที่เป้าหมาย สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์กบินทร์บุรี
บริษัทฯ เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2532 โดยตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลนนทรี และตำบลวังดาล อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบันมีเนื้อที่ประมาณ 3,900 ไร่ โดยมีระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ดังนี้
-
- สถานีไฟฟ้า
สถานีไฟฟ้าย่อยของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ขนาด 50 x 2 เมกะวัตต์
- สถานีไฟฟ้า
-
- อ่างเก็บน้ำ
อ่างเก็บน้ำที่สามารถสำรองน้ำดิบได้จำนวน 1,000,000 ลูกบาศก์เมตร
- อ่างเก็บน้ำ
-
- ระบบผลิตน้ำประปา
ระบบผลิตน้ำประปาที่มีกำลังการผลิต 6,000 ลูกบาศก์เมตร ต่อวัน
- ระบบผลิตน้ำประปา
-
- สนามบิน
สนามบินที่ได้รับอนุญาตจากกรมการบินพลเรือน
- สนามบิน
-
- เตาเผามูลฝอย
เตาเผามูลฝอยขนาด 100 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ได้รับการอนุญาตจากกระทรวงอุตสาหกรรม
- เตาเผามูลฝอย
-
- ระบบบำบัดน้ำเสีย
ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง สามารถบำบัดน้ำเสียได้ วันละ 16,000 ลูกบาศก์เมตร
- ระบบบำบัดน้ำเสีย
-
- ISO 9001:2000
ระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2000 ด้านการพัฒนาที่ดิน และบริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี มีการดำเนินการเปลี่ยนโคมไฟถนน LED ภายในพื้นที่โครงการ ทำให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลงจากเดิม โดยแผนผังการเปลี่ยนโคมไฟถนนแต่ละโซนภายในโครงการ และจากแผนพัฒนาสามปี(พ.ศ.2560-2562) อบต.กบินทร์บุรี มีโครงการติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างทางสาธารณะชนิดโคมไฟถนนระบบพลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าเซลล์) เป็นต้น และจากแบบรายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณปี 2560 ของแขวงทางหลวงชนบทและแขวงทางหลวง ในระดับจังหวัดมีการซ่อมสร้างผิวทางพาราแอสฟัลติกคอนกรีต โดยวิธี pavement in-place recycling ซึ่งเป็นวิธีการที่นำแนวคิดการออกแบบเชิงนิเวศมาใช้ เนื่องจากเป็นการใช้ความร้อนทำให้ยางละลายหรืออ่อนลง แล้วทำการปรับผิวทางใหม่ โดยใช้วัสดุเดิม ซึ่งมีผลดีคือ ลดการใช้และทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่สามารถสร้างกลับขึ้นมาใหม่ได้ตามกระบวนการทางธรรมชาติ ลดการเกิดมลภาวะ จากการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้งานลดการใช้น้ำมันจากการขนส่งทรัพยากรเหล่านั้น อีกทั้งยังลดความต้องการใช้ทรัพยากรที่ไม่สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้
- ISO 9001:2000
การออกแบบอาคารและบริเวณโดยรอบ
พื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศมีโรงงานที่เข้าข่ายโครงการอนุรักษ์พลังงานอาคารควบคุมพลังงาน จำนวน 22 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 11.22 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ข้อมูลจำนวนโรงงานที่เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พลังงานอาคารควบคุมพลังงาน | |
ตำบล | จำนวนโรงงาน |
วังดาล | 1 |
นนทรี | 19 |
นาแขม | 1 |
กบินทร์ | 1 |
รวม | 22 |
ที่มา :กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2560) |
จำนวนเงินลงทุนภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่เป้าหมาย
จากข้อมูลสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี พบว่าเงินลงทุนของผู้ประกอบการในพื้นที่เป้าหมาย ปี พ.ศ.2559 รวมทั้งสิ้น 10,776,826,909 บาท
ข้อมูลจำนวนเงินลงทุนของผู้ประกอบการในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปราจีนบุรี | ||
ตำบล | จำนวนโรงงาน | เงินลงทุน |
วังดาล | 10 | 117,145,000 |
นนทรี | 44 | 8,151,311,539 |
นาแขม | 15 | 2,226,790,000 |
กบินทร์ | 29 | 281,580,370 |
รวม | 98 | 10,776,826,909 |
ที่มา: สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี |
การส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของวิสาหกิจชุมชน
ในระดับจังหวัดมีการจัดตั้งบริษัทประชารัฐสามัคคี ปราจีนบุรี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด และจากแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดปราจีนบุรี มีโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนโดยรอบพื้นที่สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์กบินทร์บุรี ให้โรงงานสนับสนุนผลิตภัณฑ์ของชุมชน
สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีจำนวนแรงงานท้องถิ่นเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน แรงงานทั้งหมด
จำนวนคนงานรวมของโรงงานเฉพาะจำพวก 2 และ 3 ในพื้นที่ อ.กบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี รวมทั้งสิ้น 30,042 คน เป็นคนงานชาย 13,139 คน คนงานหญิง 16,903 คน ทั้งนี้ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดในท้องถิ่นและจังหวัดเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนแรงงานท้องถิ่น/แรงงานทั้งหมด
สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการจากชุมชน หรือ ส่งเสริมกิจกรรมหรือกลุ่มอาชีพให้กับชุมชน หรือสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนทางด้าน การตลาด หรือพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมอาชีพ หรือทักษะแรงงาน
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดในระดับท้องถิ่นและจังหวัดเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งนี้จากข้อมูล CSR ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม มีโรงงานที่ดำเนินการตามมาตรฐาน CSR-DIW ซึ่งมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมให้มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการจากชุมชน หรือ ส่งเสริมกิจกรรมหรือกลุ่มอาชีพให้กับชุมชน รวมจำนวน 4 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 3.88 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมาย
อัตราการว่างงาน
จากข้อมูลรายงานสถานการณ์และดัชนีชี้วัดภาวะแรงงานจังหวัดปราจีนบุรีในไตรมาส 1 ปี 2560 (มกราคม - มีนาคม) จาก สำนักงานแรงงานจังหวัดปราจีนบุรี มีอัตราการว่างงานร้อยละ 1.56 ทั้งนี้อัตราการว่างงานในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศยังไม่มีการรายงานเผยแพร
สภาพการทำงานของประชากรในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี | |||
สภาพการทำงาน | รวม | ชาย | หญิง |
กำลังแรงงานรวม | 348,449 | 182,749 | 165,700 |
ผู้ว่างงาน | 5,439 | 2,343 | 3,096 |
อัตราการว่างงาน | 1.56 | 1.28 | 1.86 |
ที่มา : รายงานสถานการณ์แรงงานและดัชนีชี้วัดภาวะแรงงานจังหวัดปราจีนบุรี ไตรมาสที่ 1 ปี 2560 สำนักงานแรงงานจังหวัดปราจีนบุรี |
การตลาด
ในพื้นที่เป้าหมายยังไม่มีโรงงานที่ได้รับฉลากลดคาร์บอน ทั้งนี้จากแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปราจีนบุรี ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ปี พ.ศ. 2559 จังหวัดปราจีนบุรีมีโครงการพัฒนาโรงงานเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
จำนวนโรงงานที่มีกิจกรรมหรือมาตรการที่ปลอดภัย ลดต้นทุน หรือเพิ่มประสิทธิภาพ ระบบขนส่งและโลจิสติกส์
ในระดับจังหวัดมีโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค (OPOAI) ซึ่งมีกิจกรรมหรือมาตรการที่ปลอดภัย ลดต้นทุน หรือเพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่งและโลจิสติกส์ขององค์กร และในพื้นที่เป้าหมายมี โครงการยกระดับการพัฒนาสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 8 จังหวัด ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
การจัดการคุณภาพน้ำ
สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี มีข้อมูลปริมาณน้ำเสียของผู้ประกอบการแต่ละรายในสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี ที่เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย ทั้งนี้ไม่มีข้อมูลคุณภาพน้ำทิ้งที่ระบายออกจากจุดปล่อยของสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี และจากข้อมูลของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี พบว่าปริมาณน้ำทิ้งที่ระบายออกของโรงงานในพื้นที่ อ.กบินทร์บุรี รวม 7,102 ลบ.ม./วัน ทั้งนี้กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีการจัดทำฐานข้อมูลคุณภาพน้ำทิ้ง BOD Load และ COD Load ของน้ำทิ้งโรงงานที่เข้าข่ายตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจาก โรงงาน พ.ศ.2550 ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้รับไม่มีการแจกแจงระดับพื้นที่
ปริมาณน้ำทิ้ง ของโรงงานในโครงการสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี ในปี 2559 | ||
ระบบบำบัดน้ำเสีย | จำนวนโรงงาน | ปริมาณเฉลี่ยรวม (ลบ.ม. ) |
น้ำเสียเข้าระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง-ชุมชน | 13 | 13,648.27 |
น้ำเสียเข้าระบบบำบัด Plant A7 | 4 | 25,174.60 |
น้ำเสียเข้าระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง-โรงงาน | 5 | 132,367.35 |
น้ำเสียโรงงาน (อื่นๆ) | 1 | 151.56 |
ที่มา: สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี |
ปริมาณ BOD และ COD ของน้ำทิ้งโรงงานในพื้นที่ อ.กบินทร์บุรี | ||
ปี | BOD Load(kg/d) | COD Load (kg/d) |
พ.ศ. 2557 | 1,043.52 | 8,079.76 |
พ.ศ. 2558 | 1,753.44 | 9,231.70 |
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศ กรมโรงงานอุตสาหกรรม |
ในการลดปริมาณน้ำใช้ต่อผลิตภัณฑ์ พบว่าจากข้อมูลการใช้น้ำดิบ-น้ำประปา ในปี พ.ศ.2559 ของโรงงานในโครงการสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี ทั้งนี้ไม่มีข้อมูลปริมาณการลดลงของน้ำใช้และน้ำทิ้งต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมมีฐานข้อมูลการใช้น้ำในโรงงาน ในการยื่นขอจดประกอบกิจการ และยื่นต่อทะเบียนโรงงาน แต่ไม่มีข้อมูลการลดการใช้น้ำของโรงงาน
ปริมาณการใช้น้ำดิบ-น้ำประปา ของโรงงานในโครงการสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี ในปี 2559 | ||
การใช้น้ำ | จำนวนโรงงาน | ปริมาณเฉลี่ยรวม (ลบ.ม. ) |
น้ำประปา | 26 | 64,231.43 |
น้ำดิบ | 4 | 25,174.60 |
ที่มา: สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี |
คุณภาพแหล่งน้ำสาธารณะของพื้นที่เป้าหมาย
คุณภาพแหล่งน้ำสาธารณะ จากฐานข้อมูลผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 พบว่าในปี พ.ศ.2559 พื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปราจีนบุรี มีแม่น้ำสายหลักคือ แม่น้ำปราจีนบุรีไหลผ่าน โดยมีจุดตรวจวัดคุณภาพน้ำที่อยู่ในพื้นที่เป้าหมาย 1 จุด คือ บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำปราจีนบุรีจุดสูบน้ำประปา ต.กบินทร์บุรี อ.กบินทร์บุรี
ผลการตรวจวัดคุณภาพแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำปราจีนบุรีจุดสูบน้ำประปา ต.กบินทร์บุรี | ||||||||
ประเภทแหล่งน้ำ | จุดตรวจวัด | ค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญ | คุณภาพน้ำ | |||||
DO (มก./ล.) |
BOD (มก./ล.) |
TCB (MPN/100 มล.) |
FCB (MPN/100 มล.) |
NO3 (มก./ล.) |
NH3 (มก./ล.) |
|||
2 | PA05 | 4.4 | 2.0 | 9,200 | 1,300 | 0.45 | 0.05 | เสื่อมโทรม |
ที่มา: สรุปข้อมูลคุณภาพน้ำแม่น้ำปราจีนบุรี ครั้งที่ 4/2559 ช่วงเดือนก.ค.-ก.ย.2559 สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 (สระบุรี)) |
การควบคุมมลภาวะทางอากาศ
ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปราจีนบุรีไม่มีจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศอยู่ในพื้นที่ แต่มีจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศ 1 จุดใน จ.ปราจีนบุรี ที่ ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ์ โดยผลตรวจวัดคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้ข้อมูลจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี พื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีมีโรงงานที่มีมลภาวะทางอากาศจำนวน 118 โรงงาน โรงงานที่มีระบบขจัดมลภาวะทางอากาศจำนวน 117 โรงงาน และโรงงานที่ต้องปรับปรุงแก้ไขระบบขจัดมลภาวะทางอากาศจำนวน 1 โรงงาน จากแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปราจีนบุรีมีโครงการยกระดับการกำกับดูแลโรงงานเพื่อการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่ดี มีการตรวจติดตามการปล่อยมลพิษอากาศ ทั้งนี้สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมการลดการปล่อยมลพิษทางอากาศที่มีนัยสำคัญได้มากกว่าเกณฑ์มาตรฐานพบว่า ปัจจุบันไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมมีฐานข้อมูลการปล่อยมลพิษในโรงงาน ในการยื่นขอจดประกอบกิจการ และยื่นต่อทะเบียนโรงงาน และมีการจัดทำฐานข้อมูลมลพิษทางอากาศของโรงงานที่เข้าข่ายตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ.2550 อีกทั้งแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปราจีนบุรีมีโครงการอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ (Low carbon Industry)
ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศจังหวัดปราจีนบุรีปี พ.ศ.2559-2560 | ||||||||||
เดือน | ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซค์ (SO2), ppb | ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซค์ (NO2), ppb | ก๊าซโอโซน (O3), ppb | ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10), µg/m3 | ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5), µg/m3 | |||||
2559 | 2560 | 2559 | 2560 | 2559 | 2560 | 2559 | 2560 | 2559 | 2560 | |
มกราคม | 2 | 7 | 27 | 63 | 31 | |||||
กุมภาพันธ์ | 3 | 9 | 34 | 83 | 49 | |||||
มีนาคม | 2 | 7 | 28 | 52 | 33 | |||||
เมษายน | 2 | 5 | 26 | 36 | 23 | |||||
พฤษภาคม | 1 | 4 | 22 | 26 | 16 | |||||
มิถุนายน | 3 | 2 | 6 | 5 | 17 | 18 | 21 | 31 | 8 | 14 |
กรกฎาคม | 2 | 5 | 14 | 24 | 10 | |||||
สิงหาคม | 2 | 5 | 15 | 33 | 19 | |||||
กันยายน | 2 | 5 | 19 | 26 | 15 | |||||
ตุลาคม | 2 | 5 | 19 | 30 | 18 | |||||
พฤศจิกายน | 2 | 5 | 20 | 30 | 17 | |||||
ธันวาคม | 2 | 5 | 34 | 51 | 31 | |||||
ที่มา : สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ |
การจัดการของเสียและวัสดุเหลือใช้
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดในจังหวัดหรือในท้องถิ่นเก็บรวบรวมข้อมูลอัตราการนำกากของเสียอุตสาหกรรมกลับมาใช้ใหม่ ศูนย์สารสนเทศโรงงานอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้มีการรวบรวมข้อมูลปริมาณกากของเสียอุตสาหกรรม ตามรายงานการขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน ในพื้นที่อำเภอกบินทร์บุรี โดยในปี พ.ศ.2559 อำเภอกบินทร์บุรีมีกากของเสียรวม 224,132.31 ตัน จำแนกเป็นกากของเสียไม่อันตรายร้อยละ 86.78 และกากของเสียอันตรายร้อยละ 13.22 ซึ่งจากแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปราจีนบุรี มีโครงการส่งเสริมให้สถานประกอบการนำของเสียมาใช้ประโยชน์ และการพัฒนาธุรกิจรีไซเคิล/อัพไซเคิลเพื่อเพิ่มมูลค่าและใช้ประโยชน์จากกากอุตสาหกรรม
ปริมาณกากของเสียอุตสาหกรรมในพื้นที่ อ.กบินทร์บุรี ในปี พ.ศ.2557-2559 | ||||
ปี | ความอันตราย | จำนวนโรงงาน | รายการของเสีย (รายการ) | ปริมาณกากของเสีย (ตัน) |
พ.ศ.2557 | ไม่อันตราย | 559 | 796 | 146,134.7 |
อันตราย | 415 | 478 | 40,445.87 | |
พ.ศ.2558 | ไม่อันตราย | 586 | 748 | 136,014.5 |
อันตราย | 398 | 435 | 28,368.64 | |
พ.ศ.2559 | ไม่อันตราย | 677 | 1050 | 194,500.7 |
อันตราย | 507 | 610 | 29,631.61 | |
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศโรงงานอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม (ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2560) |
ในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศมีอัตราการเกิดขยะเฉลี่ย 44.83 ตัน/วัน อัตราการกำจัด 33.5 ตัน/วัน และกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ รายละเอียดปริมาณขยะและวิธีการจัดการ นอกจากนี้แผนปฏิบัติการตามแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปราจีนบุรีมีการฝึกอบรมปัญหาการจัดการขยะ การลด คัดแยก การใช้ประโยชน์และการกำจัด
ปริมาณและวิธีการจัดการขยะชุมชนในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปราจีนบุรี | ||
พื้นที่ปกครอง | ปริมาณขยะ (ตัน/เดือน) | การจัดการขยะชุมชน |
เทศบาลตำบลกบินทร์ | 150 | - |
อบต.กบินทร์ | 600 |
มีบ่อขยะจำนวน 2 บ่อ ได้แก่ -บ่อขยะบ้านสระดู่ -บ่อขยะบ้านชำโสม |
อบต.นนทรี | 255 | - |
อบต.นาแขม | 135 | ไม่มีรถสำหรับเก็บขนขยะ โดยชาวบ้านดำเนินการกำจัดขยะเอง |
อบต.วังดาล | 204.9 | - |
ที่มา: รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ.2559 สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ |
การจัดการพลังงาน
ปี 2559 จังหวัดปราจีนบุรีมีการใช้พลังงานรวม 93.85 ktoe และแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปราจีนบุรี มีโครงการตำบลพลังงานทดแทนให้คนในชุมชนเกิดจิตสำนึกรู้จักใช้พลังงานทดแทน สามารถเข้าถึงและผลิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทนใช้ในครัวเรือน และสัดส่วนโรงงานที่ดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการลดการใช้พลังงานหรือเพิ่ม ประสิทธิภาพการใช้พลังงานพบว่าในพื้นที่เป้าหมาย มีโรงงานที่เข้าข่ายโครงการอนุรักษ์พลังงานอาคารควบคุมพลังงาน จำนวน 22 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 21.36 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
การจัดการเหตุเดือดร้อนรำคาญ
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 (ข้อมูล ณ 1 ต.ค.- 30 ก.ย.) จังหวัดปราจีนบุรี มีเหตุร้องเรียน จำนวน 15 กรณี แยกเป็นประเภท
- ลักลอบทิ้งน้ำเสีย 5 เรื่อง
- กลิ่นเหม็น 5 เรื่อง
- ฝุ่นละออง 3 เรื่อง
- เสียงดัง 2 เรื่อง โดยได้ดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 15 กรณี
กระบวนการผลิต
จากฐานข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบันยังไม่มีโรงงานที่ได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) และจากฐานข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม มีโรงงานได้รับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 22โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 22.33 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมาย อีกทั้งจากแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปราจีนบุรี มีโครงการพัฒนาโรงงานเพื่ออุตสาหกรรมเชิงนิเวศ/อุตสาหกรรมสีเขียว นอกจากนี้กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้จัดทำฐานข้อมูลการใช้วัตถุดิบของโรงงาน ในขั้นตอนการแจ้งจดทะเบียนประกอบกิจการและยื่นต่ออายุใบประกอบกิจการทั้งนี้โครงการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศพื้นที่ 8 จังหวัด มีการจัดทำฐานข้อมูลการใช้วัตถุดิบของโรงงานในระดับจังหวัดมีโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค (OPOAI)
ประสิทธิภาพเชิงนิเวศ
จากฐานข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในพื้นที่เป้าหมายยังไม่มีโรงงานที่ได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory)
การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ
จากฐานข้อมูลพบว่าในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศมีโรงงานประเภทอุตสาหกรรมที่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยงจำนวน 6 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 5.83 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมาย และจากข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรมของสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย พบว่าในปี พ.ศ.2559 พื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มีการเกิดเหตุอัคคีภัยในโรงงานอุตสาหกรรม จำนวนทั้งสิ้น 1 ครั้ง นอกจากนี้กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีการจัดทำข้อมูลบัญชีสารเคมีอันตรายในโรงงานที่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ความเสี่ยงและโรงงานที่ต้องขอจัดเก็บสารเคมีอันตราย จากข้อมูลของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2559 ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปราจีนบุรี ไม่มีการรั่วไหล และการเกิดอุบัติเหตุของสารเคมีและวัตถุอันตราย ที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อพนักงาน ชุมชน หรือสิ่งแวดล้อมภายนอก
การเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม
จากฐานข้อมูลของสำนักนโยบายแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปราจีนบุรี ไม่มีโรงงานที่มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ทั้งนี้ภายใต้โครงการยกระดับศูนย์ติดตามตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 8 จังหวัด มีการจัดตั้งเครือข่ายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่มีบทบาทเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม
คุณภาพชีวิตและสังคมของพนักงาน
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดในจังหวัดหรือในพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลสัดส่วนผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมที่มีดำเนินงานตามแนวทางการเป็นที่ทำงานมีสุข (Happy Workplace)
คุณภาพชีวิตและสังคมของคนในท้องถิ่นโดยรอบ
จากฐานข้อมูลกรมโรงงานอุตสาหกรรม มีจำนวนโรงงานที่ดำเนินการตามมาตรฐาน CSR-DIW จำนวน 4 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 3.88 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมาย ตามแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดปราจีนบุรี มีโครงการบริหารจัดการเครือข่ายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และการจัดการองค์ความรู้ของพื้นที่สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ร่วมกันพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โครงการพัฒนาชุมชนสีเขียวต้นแบบจังหวัดปราจีนบุรี ในพื้นที่โดยรอบพื้นที่ที่มีอุตสาหกรรมหนาแน่น สำหรับความพึงพอใจของชุมชนโดยรอบที่มีต่อการดำเนินงานด้าน CSR พบว่า ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดในท้องถิ่นหรือจังหวัดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้
อัตราการลดลงของการเกิดคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญต่อประชากรรวม
ในปี 2559 พื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ต.กบินทร์ มีข้อมูลการเกิดคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ โดยมีคดีฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา 1 คดี
สถิติการรับแจ้งและจับกุมกลุ่มคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ รายตำบลในพื้นที่พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จ.ปราจีนบุรี พ.ศ. 2559 | |||||
คดี/ตำบล | ตำบลวังดาล | ตำบลนนทรี | ตำบลนาแขม | ตำบลกบินทร์ | รวม |
รับแจ้ง (Reported) | |||||
ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา | - | - | - | 1 | 1 |
ปล้นทรัพย์ | - | - | - | - | 0 |
ชิงทรัพย์ | - | - | - | - | - |
ลักพาเรียกค่าไถ่ | - | - | - | - | 0 |
วางเพลิง | - | - | - | - | 0 |
รวม | - | - | - | 1 | |
จับ (Arrested) | |||||
ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา | - | - | - | 1 | 1 |
ปล้นทรัพย์ | - | - | - | - | 0 |
ชิงทรัพย์ | - | - | - | - | - |
ลักพาเรียกค่าไถ่ | - | - | - | - | 0 |
วางเพลิง | - | - | - | - | 0 |
รวม | - | - | - | 1 | |
ที่มา : สถานีตำรวจภูธรกบินทร์บุรี (ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2560) |
ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินจากภัยพิบัติ
จากข้อมูลสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดปราจีนบุรี พบว่าในปี พ.ศ.2559 พื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ได้รวบรวมสถิติประชากรที่ประสบภัยธรรมชาติดังตาราง
ข้อมูลการเกิดภัยพิบัติในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ปี 2559 | |
ประเภทภัย | จำนวน (ครั้ง) |
อัคคีภัย | 11 |
วาตภัย | 9 |
ที่มา : สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดปราจีนบุรี (ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2560) |
การบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม
ภายใต้โครงการยกระดับศูนย์ติดตามตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial town Center) 8 จังหวัด ปี พ.ศ.2559 มีการแต่งตั้งคณะทำงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและจัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในปี พ.ศ.2560 ได้มีการประสานเพื่อจัดตั้งคณะทำงานเครือข่ายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Network) ระดับจังหวัดปราจีนบุรี
ข้อมูลข่าวสารและการรายงาน
ภายใต้โครงการติดตั้งศูนย์ติดตามตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial town Center) 8 จังหวัด จังหวัดปราจีนบุรีมีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยตั้งอยู่ที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี อีกทั้งยังมีการจัดทำเว็บไซต์ http://ecocenter.diw.go.th/ เพื่อใช้ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์อีกหนึ่งช่องทาง โดยมีการจัดทำแผนปฏิบัติการแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งมีข้อแนะนำเรื่องการจัดการความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และสารเคมีของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
คณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ดาวน์โหลดเอกสารคณะทำงานเครือข่ายฯ (Eco Network)
ดาวน์โหลดเอกสารคณะขับเคลื่อนเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ดาวน์โหลดเอกสาร