เขตพัฒนาเศรษฐกิจเทียนสิน (Tianjin Economic Development Area: TEDA)

เป็นอีกหนึ่งพื้นที่โครงการนำร่องของ EU-China Environmental Management Cooperation Programme – Industry Development ที่ต้องการสร้างระบบการจัดการกากอุตสาหกรรม (Industrial solid waste management system) ในเขตประกอบการอุตสาหกรรม และเพิ่มความสามารถเจ้าหน้าที่ของรัฐในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจเทียนสินให้เป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco-Industrial Park)

       เขตพัฒนาเศรษฐกิจเทียนสินจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1984 บนพื้นที่ประมาณ 33 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากเมืองเทียนสินประมาณ 43 กิโลเมตร และมีประชากรอยู่อาศัยรวมประมาณ 400,000 คน ในพื้นที่เขตประกอบการอุตสาหกรรมจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ สวนอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์ Yixian เขตอุตสาหกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เขตอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ และพื้นที่ด้านตะวันตก โดยมีสถานประกอบการทั้งหมดประมาณ 300 ราย ในจำนวนนี้มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ประมาณ 100 ราย เช่น กลุ่มโมโตโรล่า ซัมซุง โตโยต้า และ GSK มีการปล่อยมลพิษอุตสาหกรรมสูงถึงร้อยละ 80-90 ของปริมาณการปล่อยมลพิษอุตสาหกรรมทั้งหมดในเขตประกอบการอุตสาหกรรมเทียนสิน ซึ่งเป็นผลมาจากขาดข้อมูลและประสบการณ์ในการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมและมวลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ดังนั้นการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาเขตประกอบการอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจะให้ความสำคัญกับ กลยุทธ์บริหารจัดการของเสียอุตสาหกรรม (Waste Management Strategy) ระบบข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการของเสียและกากอุตสาหกรรม (Solid Waste Management Information System: SWIMS) การแลกเปลี่ยนและซื้อขายของเสียและกากอุตสาหกรรม (Waste Exchange) ชมรมการลดของเสียอุตสาหกรรม (Waste Minimization Club) การจัดทำระบบตราสัญลักษณ์สำหรับผู้ประกอบการขนส่งของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม (Logo System for Waste Transporters) และการจัดหลักสูตรอบรมและการให้ข้อมูลข่าวสารการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Training and Dissemination)

 

เนื่องจากในระยะแรก ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณและการจัดการของเสียและกากอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจเทียนสินยังขาดความสมบูรณ์ทำให้ไม่สามารถติดตามและวิเคราะห์ได้อย่างเพียงพอ ทำให้มีการพัฒนาระบบรายงานข้อมูลของเสียและกากอุตสาหกรรมบนอินเทอร์เน็ต (Web Base) ในปี ค.ศ. 2004 ซึ่งได้รับความร่วมมือจากบริษัทต่างๆ รวม 70 บริษัทในการกรอกข้อมูลของเสียและกากอุตสาหกรรมของโรงงาน ทั้งนี้ใน Web Base ได้จัดหาเครื่องมือการจัดการของเสียและกากอุตสาหกรรมเพื่อเป็นข้อมูลให้แก่โรงงานต่างๆ ในขณะที่การจัดทำระบบแบรนด์สำหรับผู้ประกอบการขนส่งของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม (Logo System for Waste Transporters) มีวัตถุประสงค์เพื่อกำกับดูแลการดำเนินธุรกิจและการดำเนินงานของบริษัทรับขนย้ายกากอุตสาหกรรม และส่งเสริมให้โรงงานต่างๆ ใช้บริการจากบริษัทที่ได้รับตราสัญลักษณ์จากโครงการ ซึ่งปัจจุบันมีรวมประมาณ 33 บริษัท ตราสัญลักษณ์จะออกแบบโดยโรงเรียนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นการประกวดแข่งขันเพื่อเลือกตราสัญลักษณ์ และตราสัญลักษณ์ที่ชนะเลิศจากการแข่งการออกจะให้ผู้ประกอบการขนย้ายกากอุตสาหกรรม โรงงานที่เข้าร่วมโครงการ และผู้บริการกำจัดกากและขยะอุตสาหกรรมใช้

 

ตัวชี้วัดความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเทียนจิน
ประกอบด้วยตัวชี้วัดด้านปริมาณ 22 ตัว และด้านคุณภาพ 4 ตัว รายละเอียดดังนี้

ตัวชี้วัดด้านปริมาณ

สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ดี
  • คุณภาพอากาศในบรรยากาศ
  • คุณภาพน้ำภายในเมืองนิเวศ (Eco-city)
  • คุณภาพน้ำจากท่อ (คุณภาพน้ำประปา)
  • ระดับมลพิษทางเสียง
  • การปล่อยคาร์บอนต่อ GDP
  • ปริมาณพื้นที่ชุ่มน้ำตามธรรมชาติ
สมดุลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น
  • สัดส่วนของอาคารสีเขียว
  • ดัชนีพืชพื้นเมือง
  • พื้นที่สีเขียวต่อ capita GDP
ไลฟ์สไตล์ที่ดี
  • การบริโภคน้ำต่อวันเทียบกับ capita GDP
  • ปริมาณของเสียในพื้นที่ต่อ capita GDP
  • สัดส่วนการท่องเที่ยวสีเขียว (ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์)
  • อัตราการนำวัสดุนำกลับมาใช้ใหม่
  • การเข้าถึงกิจกรรมและกีฬา
  • การบำบัดของเสีย
  • ความไม่มีอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต
  • ความครอบคลุมของการบริการด้านเครือข่าย
  • สัดส่วนของบ้านที่มีราคายอมรับได้
การพัฒนาเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพและมีพลวัตร
  • การใช้พลังงานทดแทนและนำกลับมาใช้ใหม่
  • การใช้น้ำที่ไม่ได้มาจากแหล่งธรรมชาติ
  • สัดส่วนของการออกแบบและพัฒนาของนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร ในเรื่องของการดำเนินการด้าน Eco-city
  • ดัชนีความสมดุลของการจ้างงาน

ที่มา: http://www.tianjinecocity.gov.sg/bg_kpis.htm#GoodNatural

ตัวชี้วัดด้านคุณภาพ

  • การรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยและระบบนิเวศที่ดีผ่านการดำเนินการด้าน Low-carbon และการบริโภคสีเขียว (Green consumption)
  • การใช้นโยบายด้านนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมความร่วมมือของคนในพื้นที่และส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชนที่อยู่ล้อมรอบ
  • การอนุรักษ์มรดกของแหล่งน้ำเพื่อคุณค่าทางวัฒนาธรรม และเป็นการแสดงออกซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
  • ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์และการพัฒนาชุมชนที่อยู่ล้อมรอบ

ที่มา: http://www.tianjinecocity.gov.sg/bg_kpis.htm#GoodNatural

กรมโรงงานอุตสาหกรรม

75/6 ถ.พระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย
โทร. 02-202-4000, 4014 โทรสาร 02-354-3390

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
179,588