อุตสาหกรรมเชิงนิเวศในสหราชอาณาจักร

กรณีการพัฒนาเมืองนิเวศของประเทศสหราชอาณาจักร (United Kingdom-UK) จะมีความหมายแบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ

๑) เมืองนิเวศ (Eco-town) ในบริบทของเมืองที่มีความยั่งยืน (Sustainable town or city) สามารถดำรงอยู่ได้ภายใต้การใช้ทรัพยากรและพลังงานที่จำกัด และที่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้เป็นส่วนใหญ่ โดยผู้คนที่อยู่ในเมืองมีรูปแบบการดำรงชีวิตที่มีความยั่งยืน(sustainable lifestyles)

แต่ยังสามารถคงความมีคุณภาพชีวิตในระดับสูงได้ (high quality of life) แนวทางการพัฒนาเมืองนิเวศในแนวทางนี้ จะครอบคลุมถึงการสร้างอาคารอนุรักษ์พลังงาน การใช้พลังงานทดแทนที่เกิดใหม่ได้ โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่อนุรักษ์ทรัพยากร และการจ้างงานและการบริการที่อยู่ใกล้ ๆ ไม่ต้องเดินทางมาก

๒) เมืองหรือเขตอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Park/Eco park) ซึ่งเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเกี่ยวกับการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ (Resource Recycling Eco park) โดยเป็นแนวคิดใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ ๑๙s เกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมกับสิ่งแวดล้อม หรือหลักการอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (The Principles of industrial ecology) ที่มุ่งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือ น้อยที่สุด โดยยังคงความสามารถในการดำเนินธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน โดยดำเนินการผ่านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร รวมทั้งพลังงาน น้ำ วัตถุดิบ และอื่น ๆ รวมตลอดถึงความร่วมมือกลุ่มโรงงานของเขตประกอบการอุตสาหกรรม

เมืองนิเวศ (Eco-town)
แม้ว่าการพัฒนาเมืองนิเวศจะมุ่งเน้นความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม แต่เมืองนิเวศก็ยังต้องให้ความสำคัญกับสังคมและเศรษฐกิจ ความยั่งยืนไม่ใช่เพียงแต่ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร แต่สังคมที่ยั่งยืน จะต้องมีความยั่งยืนในทางเศรษฐกิจด้วย ในการบ่งชี้ว่าเมืองใดเมืองหนึ่งที่มุ่งพัฒนาสู่ความเป็นเมืองเชิงนิเวศแล้ว จะต้องมีข้อกำหนดที่สามารถชี้วัดหรือประเมินได้

คำถามที่ว่าอะไรคือความยั่งยืนในการดำรงชีพภายใต้ข้อจำกัดด้านนิเวศ (ecological limits) คำตอบในแนวคิดของ UK คือ รอยเท้านิเวศ (Ecological footprint) ที่ใช้และการระบายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2 emissions) ซึ่งในปัจจุบันวิถีการดำรงชีวิตของประชาชนในสหราชอาณาจักร – UK ก็เป็นเช่นเดียวกันกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งไม่อยู่ในแนวทางที่ยั่งยืน หากพิจารณาระดับโลกจะพบว่า จำนวน มวลโลกได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การใช้พื้นที่ดินและน้ำเพื่อการผลิตของประชาชนแต่ละคนหรือกิจกรรมแต่ละอย่างต้องใช้ไป (ความหมายของ ecological footprint) แสดงให้เห็นว่า เราได้บริโภคทรัพยากรที่เกิดใหม่ได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ ๒๕ ทุกปี มากกว่าที่โลกจะสร้างทดแทนได้ ซึ่งแต่ละประเทศจะมีอัตราการบริโภคทรัพยากรที่แตกต่างกัน ถ้าหากทุกคนในโลกนี้บริโภคเท่ากับค่าเฉลี่ยของประชาชนใน UK แล้ว เราจะต้องการโลกเพิ่มขึ้นเป็น ๓ ใบ แต่ข้อเท็จจริง เรามีโลกเพียงหนึ่งเดียว หนทางที่เป็นไปได้ในการพัฒนาอย่างยั่งยืนคือ ลดการใช้พื้นที่เพื่อการผลิตและบริการลง ๒ ใน ๓ (สำหรับ UK)

อนึ่ง การระบายหรือปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักหนึ่งของ ecological footprint แสดงให้เห็นว่า ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๖๓ (ปีที่ทำรายงาน Living Planet Report) ถึงปี ๒๐๐๓ ได้มีการปล่อย CO2 ออกสู่บรรยากาศจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพิ่มขึ้น ๙ เท่า กฎหมายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของ UK (The UK Climate Change Bill) ได้กำหนดเป้าหมายให้ UK ต้องลดการระบายก๊าซ CO2 ลงร้อยละ ๖๐ ของระดับที่ระบายออกในปี ๑๙๙๐ ภายในปี ค.ศ.๒๐๕๐ โดยเป็นผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการด้านมลพิษสิ่งแวดล้อม (The Royal Commission on Environment Pollution) แต่จากข้อห่วงใยขององค์การต่าง ๆ อาทิ WWF และ Friends of the Earth ได้ขอให้รัฐบาลลดการระบายก๊าซ CO2 ในกฎหมายดังกล่าวเป็นร้อยละ ๘๐ ของระดับที่ระบายในปี ๑๙๙๐ คือ ลดการระบายลงจากที่กำหนดไว้เดิมอีกร้อยละ ๒๐ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบกับข้อเสนอดังกล่าวด้วย จากข้อกำหนดนี้เอง จึงเป็นที่มาของเป้าหมายในการพัฒนา Eco-town ไปด้วย

ผลกระทบจากการออกกฎหมาย Climate Change ดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชน ซึ่งกิจกรรมหรือสิ่งที่กระทบจากกฎหมายฉบับนี้มีหลายด้าน แต่ที่สำคัญได้แก่ บ้านเรือน พลังงาน การคมนาคมขนส่ง อาหาร และสิ่งที่บริโภคได้ โดยสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวมีสัดส่วนในการใช้ ecological footprint และการปล่อยก๊าซ CO2 สูง ในการคำนวณและศึกษาวิจัยเพื่อถึงค่าเป้าหมายการลด ecological footprint และการปล่อย CO2 ของกิจกรรมต่าง ๆ ดังกล่าว จะทำโดยการวิเคราะห์ทรัพยากรและพลังงาน โดยโปรแกรม The Resource and Energy Analysis Programme (REAP) ทั้งนี้ สามารถแบ่งระดับความรับผิดชอบในการลดการใช้ทรัพยากรและการระบาย CO2 เพื่อความยั่งยืนตามผู้รับผิดชอบ ได้แก่
๑. ความรับผิดชอบระดับบุคคล (personal responsibility)
๒. ความรับผิดชอบของรัฐบาลและธุรกิจทั่วประเทศ (UK wide government) (และภาคธุรกิจ)
๑) ความรับผิดชอบระดับบุคคล (Personal responsiblility)

การออกแบบและสร้างเมืองนิเวศที่ดีจะสามารถช่วยให้ราษฎรที่อาศัยในเมืองได้รับความสำเร็จในการลดการใช้ ecological foot prints;
75% ของการระบายก๊าซ CO2
76% ของการระบายก๊าซ greenhouse gas emission
78% ของ ecological footprint

โดยกำหนดวิธีสำหรับ housing/construction พลังงานในบ้าน การขนส่ง อาหาร การบริโภคสินค้า การบริการเอกชน งานภาครัฐ สินทรัพย์ต่าง ๆ ความรับผิดชอบของภาครัฐ และความรับผิดชอบของธุรกิจความรับผิดชอบจากส่วนที่เกินกว่าบุคคลจะรับผิดชอบได้ จะตกเป็นรัฐบาลกลาง

เพื่อรองรับกับหลักการลด ecological footprint และการลด CO2 emission รัฐบาลได้ส่งเสริมการสร้าง Eco-town เพื่อเป็นต้นแบบของการดำเนินงานควบคู่กันไประหว่างภาคเอกชนและภาครัฐ ในการลด ecological footprint และ CO2 emission อย่างน้อยให้เป็นไปตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ (ดังตารางที่ ๓-๓ ตัวอย่างเมืองเชิงนิเวศ (Eco-town) ในประเทศสหราชอาณาจักร ได้แก่ Marston Vale Hanley Grange Curborough Rossington New Marston Ford Weston Otmoor Bordon-Whitehill Pennbury Mauby Middle Quinton North East Elsenham Coltishall STAustell ลักษณะเมืองดังกล่าว จะเป็นเมืองขนาดเล็ก สามารถเดินเท้า ขี่จักรยาน หรือใช้รถสาธารณะ ไม่ต้องมีรถยนต์ มีงานในเมืองและอาศัยอยู่ในเมือง สามารถปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์เพื่อไว้บริโภคในเมืองได้ ใช้พลังงานทดแทนเป็นหลัก โรงงานอุตสาหกรรมอยู่ติด กับเมือง แต่เป็นโรงงานสะอาด ฯลฯ อย่างไรก็ดี ลักษณะของเมืองเชิงนิเวศยังไม่บรรลุเป้าหมายหรือหลักการที่กำหนดไว้ และยังต้องมีงานศึกษาวิจัยอีกมาก เพื่อชี้วัดและกำหนดวิธีปฏิบัติการลดการใช้ ecological footprint และการลด CO2 emission

Eco Park
ในสหราชอาณาจักร การพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่ส่งเสริมธุรกิจกลุ่มรีไซเคิล จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน เช่น Resource Recovery Parks, Eco-Park, Recycling Eco-Park หรือ Sustainable Growth Park หลักการของ Resources Recovery Park เป็นการปฏิวัติแนวคิดแรก ๆ ของการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ Resources Recovery Park ครอบคลุมการดำเนินงานด้าน recycling, reuse, remanufacturing และการดำเนินงานแบบผสมผสาน โดยมีโรงงานที่ร่วมดำเนินการรวบรวม คัดแยก และกระบวนการจัดการวัสดุอุตสาหกรรม เพื่อนำไปใช้ต่อไป ได้แก่ การขายปลีก-ขายส่ง การรวบรวมวัสดุไม่ใช้แล้ว รวมถึงการรวบรวมขยะมูลฝอยและวัสดุไม่ใช้แล้วของชุมชนต่าง ๆ ด้วย จึงเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างกลุ่มโรงงานรีไซเคิลกับเทศบาลและชุมชน
ในช่วงเวลาไม่นานมานี้ ได้มีความตื่นตัวในเรื่องการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ในการพัฒนาอุตสาหกรรมและการจัดการขยะชุมชนในประเทศสหราชอาณาจักร ประกอบกับการถดถอยของอุตสาหกรรมเดิม ๆ เหมืองถ่านหิน การต่อเรือ การประกอบรถยนต์ ทำให้มีความพยายามลดต้นทุน และใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ ในการผสมผสานและพัฒนาโรงงานทั้งสองกลุ่มเพื่อความอยู่รอดของเศรษฐกิจ eco-park เป็นแนวคิดการแก้ไขปัญหากากของเสียอุตสาหกรรม

ตัวอย่างของ Eco-Park ในประเทศสหราชอาณาจักร ได้แก่
๑) The Genesis Project “Conselt”
เป็น eco-industrial park แห่งแรก ๆ ของประเทศและของโลก เป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดเล็กทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ ในอดีต Conselt เป็นเองแห่งอุตสาหกรรมเหล็ก ตั้งอยู่ใกล้เมือง Durhan โรงงานเหล็กได้ปิดตัวลงในปี ๑๙๘๐ หลังจากผลิตมา ๑๕๐ ปี การปิดโรงงานทำให้คนงาน ๓,๗๐๐ คน ตกงาน คนว่างงานถึง ๒๗ % ต่อมาในปี ๑๙๙๐ มียุทธศาสตร์การฟื้นคืนอุตสาหกรรมระยะยาว ภายใต้ชื่อ “The Genesis Project” เปลี่ยนโรงงานเหล็กเดิมเป็นโรงงาน eco-industrial park เป็นอุตสาหกรรม recycling โดยหวังจะเป็น recycling hub ของตะวันออกเฉียงเหนือ แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ได้รับความนิยม/ความสำเร็จ มีโรงงานด้านรีไซเคิลไปอยู่เพียงประเภทโรงงานผลิตอาหารเท่านั้น ทั้งนี้ อาจเป็นผลจากการเป็นเมืองขนาดเล็ก มีข้อจำกัดในการคมนาคมขนส่ง
๒) Sustainable Growth Park, Castleford
แนวคิดของ The Sustainable Growth Park คือ การพัฒนาแนวทางแก้ไขปัญหาของเสียอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิดการทำเหมืองในเมือง “Urban Mines” สวนอุตสาหกรรมแห่งนี้แตกออกเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งส่วนอำนวยความสะดวกในการับและคัดแยกกากอุตสาหกรรม/ของเสียชนิดต่าง ๆ ส่วนที่สองเป็นส่วนการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่จากวัสดุที่คัดแยกมา และส่วนที่สามเป็นส่วนของการศึกษา การวิจัย และการบ่มเพาะอุตสาหกรรมเกิดใหม่ สวนอุตสาหกรรมแห่งนี้ ตั้งอยู่บนเหมืองถ่านหินเก่าใน Castleford West Yorkshire เป็นการลงทุนร่วมระหว่างรัฐและเอกชน โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาของเสียอย่างยั่งยืน ในขณะเดียวกันก็ได้รับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และเป็นการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ โครงการนี้เริ่มก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ในปี ๒๐๐๔ โดยมีการวางแผนงานอย่างรอบคอบ แต่ก็ยังไม่มั่นใจว่าจะดีได้ตลอดไป

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาจัดตั้ง Eco park แห่งอื่น ๆ ใน Hampshire, South Tyneside, Sandwell and Doncaster

กรมโรงงานอุตสาหกรรม

75/6 ถ.พระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย
โทร. 02-202-4000, 4014 โทรสาร 02-354-3390

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
179,565