ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด Shandong ดำเนินการโดย Rizao Municipal โดยตั้งเป้าหมายให้เป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรมเชิงนิเวศนำร่อง ซึ่ง EU-China Environmental Management Cooperation Programme –Industry Development ได้ริเริ่มพัฒนาโครงการ นับตั้งแต่การจัดทำแผนศึกษาการพัฒนา การจัดทำแนวทางการพัฒนา ต่างๆ ในระยะเริ่มต้น
วัตถุประสงค์ของโครงการ คือ การรวมมาตรฐานสากล การดำเนินกิจกรรมทางทะเล การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและชุมชนเข้าด้วยกัน และยังคงต้องเป็นไปตามวิสัยทัศน์ “อุตสาหกรรมใหม่ ชีวิตใหม่ และระบบนิเวศใหม่” (new industry, new life and new ecology) โดยจะเป็นการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองที่มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมืองแห่งการบริการ เมืองแห่งนวัตกรรม และเป็นเมืองที่มีความสุข
เขตพัฒนาเศรษฐกิจ Rizhao เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจในระดับจังหวัด ซึ่งมีพื้นที่การพัฒนาเพียง 10 ตารางกิโลเมตรในปี ค.ศ. 1991 และได้ขยายเป็น 115.6 ตารางกิโลเมตรในปี ค.ศ. 2003 โดยมีประชากรอยู่อาศัยราว 110,000 คน และ ณ ปัจจุบันมีสถานประกอบการในพื้นที่ประมาณ 420 ราย และเป็นบริษัทร่วมลงทุนมากกว่า 100 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทเกาหลีและญี่ปุ่น มีมูลค่าลงทุนมากว่า 640 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ตัวอย่างเช่น โรงไฟฟ้า Rizhao Power Plant และโรงงานผลิตเยื่อกระดาษ SSYMB Pulp & Paper Co. ในขณะที่โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นโรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและข้อมูล เทคโนโลยีชีวภาพ วัตถุดิบสังเคราะห์ และโรงานประกอบและชิ้นส่วน รวมทั้งธุรการค้าขนาดใหญ่ ทำให้ในปัจจุบันเขตพัฒนาเศรษฐกิจ Rizhao เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของชายฝั่งทะเลด้านเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในส่วนของสำนักงานวางแผนและบริหารโครงการ จะแบ่งทีมการบริหารงานเพื่อบรรลุเป้าหมายเขตประกอบการอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ออกเป็น 2 ทีม ประกอบด้วย
ทีมที่ 1 รับผิดชอบการพัฒนาเขตประกอบการอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นก่อน โดยจัดตั้ง Waste Minimization Club: WMC ทำหน้าที่ส่งเสริมการผลิตที่สะอาด โดยมีการเชิญชวนบริษัทต่างๆ เข้าร่วมกิจกรรมการอบรม การตรวจสอบระบบการผลิต และมาตรการอื่นๆ ในการจัดการของเสียและกากอุตสาหกรรม รวมทั้งการให้บริการตรวจสอบระบบการผลิตที่สะอาดนอกเขตพื้นที่การพัฒนาเศรษฐกิจ Rizhao
ทีมที่ 2 รับผิดชอบพื้นที่เขตประกอบการอุตสาหกรรมที่ตั้งใหม่ โดยให้ความสำคัญกับการวางแผนและพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเขตพัฒนาเศรษฐกิจ Rizhao
หลังจากการจัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเสร็จแล้วจะส่งให้รัฐบาลกลางพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนที่จะประชาสัมพันธ์ชักชวนผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมายเข้าดำเนินการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่โครงการต่อไป