“สมาคมเพื่อนชุมชน” พัฒนาเครือข่ายการดูแลสิ่งแวดล้อม
สร้างความร่วมมือในแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ระหว่างกลุ่มโรงงานพื้นที่มาบตาพุดซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคม เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเครื่องมือที่จะช่วยกันดูแลให้การดำเนินงานมีความปลอดภัยสูงสุด
รวมทั้งบริษัทต่างๆ ก็ได้ยกระดับการดูแลสิ่งแวดล้อมในกิจกรรมหลายๆ ด้าน นอกจากนี้ ยังได้จัดกิจกรรมเปิดบ้านให้ชุมชนเข้าเยี่ยมชมโรงงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ชุมชนได้รับข้อมูลอย่างโปร่งใส เกิดความเชื่อมั่นในการดำเนินงานของโรงงาน และในอนาคตจะมีการขยายเครือข่ายเพิ่มขึ้นเพื่อการดูแลสิ่งแวดล้อมและชุมชนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งผลักดันให้จังหวัดระยองก้าวสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ หรือ Eco Industrial Town โดยความร่วมมือกันในกลุ่มอุตสาหกรรมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และการมีส่วนร่วมของชุมชนตลอดจนมีการดูแลชุมชน สังคม ให้มีมาตรการการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น
สมาคมเพื่อนชุมชน ดำเนินงานสู่ปีที่5 เตรียมยกระดับโรงงานสู่โรงงานเชิงนิเวศแห่งแรกของไทย พร้อมเร่งผลักดันมาบตาพุดเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในปี 2561 นายชลณัฐ ญาณารณพ นายกสมาคมเพื่อนชุมชน เปิดเผยว่า ในการก่อตั้งสมาคมเพื่อนชุมชนขณะนี้ ได้ก้าวสู่ปีที่ 5แล้ว ปัจจุบันมี 5กลุ่มบริษัทผู้ร่วมก่อตั้งสมาคม ประกอบด้วยกลุ่มปตท. /เอสซีจี /กลุ่มบริษัทดาวประเทศไทย /โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี และกลุ่มบริษัทโกลว์ และได้ร่วมมือกันเพื่อปรับเปลี่ยนทุกโรงงานในกลุ่มสมาชิกให้เป็นต้นแบบโรงงานเชิงนิเวศ(Eco Factory) แห่งแรกของไทย และยึดมั่นในการประกอบกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กรตลอดห่วงโซ่อุปทานอย่างต่อเนื่อง พร้อมส่งเสริมทุกภาคส่วนเร่งเดินหน้าสู่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ(Eco Industrial Town) ภายในปี 2561 ตามเป้าหมายที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดไว้ ทั้งนี้ สมาคมเพื่อนชุมชนได้นำหลักเกณฑ์โรงงานเชิงนิเวศหรือ Eco Factory ที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพัฒนาขึ้นและได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาใช้ปรับเปลี่ยนทุกโรงงานในกลุ่มสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคมทั้ง 42โรงงาน ให้เป็นโรงงานเชิงนิเวศได้ภายในปี 2558 โดยจากนี้มีแผนจะขยายความร่วมมือไปยังโรงงานของสมาชิกสมทบ และโรงงานอื่นๆในมาบตาพุดที่มีอยู่ทั้งหมด 120 โรงงาน เพื่อส่งเสริมให้เกิดต้นแบบชุมชนเชิงนิเวศและโรงเรียนเชิงนิเวศ และเร่งเดินหน้ายกระดับมาบตาพุดให้เป็นต้นแบบเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศภายในปี 2561 สำหรับกรอบการดำเนินการตามแนวทางโรงงานเชิงนิเวศ จะประกอบด้วยเกณฑ์การประเมินทั้งหมด14 ด้าน อาทิการใช้วัตถุดิบ ,การใช้พลังงาน ,การจัดการด้านขนส่งและโลจิสติกส์ ,ห่วงโซ่อุปทานสีเขียว,การจัดการพื้นที่และภูมิทัศน์สีเขียว และการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย