การพัฒนาอุตสาหกรรมป่าไม้เชิงนิเวศในเขตเทศบาล Kisa

มีประชากรอยู่อาศัยรวมประมาณ 10,000 คน มีโรงงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมไม้ขนาดกลางและขนาดเล็กรวม 5 แห่ง โดยมีการจ้างงานระหว่าง 8 -140 คนต่อแห่ง ประกอบด้วยโรงงานเลื่อยไม้ 2 แห่งเป็นโรงงานขนาดกำลังผลิต 170,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี

และขนาดกำลังผลิต 15,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี โรงงานกระดาษ 1 แห่งขนาดกำลังผลิต 36,000 ตันต่อปี และโรงงานผลิตกระดาษมีคุณสมบัติเฉพาะ (Paper Processing Industry) จำนวน 2 แห่ง โดยมีกำลังผลิต 5,000 ตันต่อปีและ 1,500 ตันต่อปี นอกจากนี้ ยังมีโรงงานจัดการของเสียและโรงงานผลิตไฟฟ้า ที่มีการแลกเปลี่ยนและซื้อขายผลพลลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานเลื่อยไม้ขายไอน้ำความร้อนและพลังงานชีวภาพให้แก่บริษัทบริการพลังงานในพื้นที่ (Energy Service Company: ESCO) ซึ่งจะขายพลังงานไฟฟ้าให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งโรงงานกระดาษ ในขณะที่โรงงานกระดาษจะขายขยะมูลฝอยที่เป็นกระดาษ เช่น กระดาษใช้แล้ว เศษกระดาษ และอื่นๆ ให้กับ ESCO เพื่อนำไปใช้ในการเผาทำความร้อนให้แก่หม้อน้ำเพื่อสร้างไอน้ำร้อนและขายให้โรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ ต่อไป

การแลกเปลี่ยนวัตถุดิบและผลพลลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรม
ที่มา: http://liu.diva-portal.org/smash/get/diva2:16766/FULLTEXT01.pdf

การแลกเปลี่ยนพลังงานจากโรงงานอุตสาหกรรม
ที่มา: http://liu.diva-portal.org/smash/get/diva2:16766/FULLTEXT01.pdf การพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในเขตเทศบาล Kisa พบว่าในระหว่างการดำเนินการและพัฒนาเขตเทศบาล Kisa เป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พบปัญหาและเงื่อนไขสำคัญ ได้แก่
ประการที่ 1 ความตั้งใจและความร่วมมือของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ โดยเฉพาะโรงงานขนาดใหญ่จำเป็นต้องให้การสนับสนุนและความร่วมมือเป็นอย่างดี
ประการที่ 2 กรอบระยะเวลาและเงื่อนไขของสถานการณ์การลงทุน ตัวอย่างเช่น การตั้งหรือขยายโรงงานผลิตพลังงานชีวภาพ (Biofuel) ที่ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและสภาพตลาดที่เอื้ออำนวย จากความไม่แน่นอนของปริมาณวัตถุดิบที่จะใช้ในการผลิตและผลผลิตส่วนเกินที่ได้จากการใช้ในโรงงานอื่นๆ
ประการที่ 3 การสร้างผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจ โดยพบว่าธุรกิจที่ไม่สามารถสร้างผลกำไรให้แก่บริษัทผู้ลงทุน ผู้ลงทุนจะไม่ให้ความสนใจแม้ว่าจะเกิดประโยชน์โดยรวมต่อประเทศหรือชุมชน ดังนั้น การใช้หลักการแบ่งผลกำไร (Profit sharing) ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะทำให้ทุกฝ่ายยอมรับค่าการลงทุนและผลกำไรที่ได้จากดำเนินการ
ประการที่ 4 ความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมกับประชาชนในพื้นที่ และหากความสัมพันธ์นั้นขาดหายไปจะด้วยเหตุเปลี่ยนเจ้าของบริษัทหรือการเปลี่ยนแปลงผู้แทนของบริษัท จะส่งผลให้การดำเนินการต่างๆ หยุดชะงัก และอาจจะต้องใช้เวลานานในการสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นใหม่
ประการที่ 5 การได้รับการอนุมัติหรือความเห็นชอบในการดำเนินโครงการต่างๆ จากเจ้าหน้าของรัฐที่เกี่ยวกับกฎระเบียบสิ่งแวดล้อม นับตั้งแต่การขนย้ายของเสียและกากอุตสาหกรรม ที่ตั้งโรงงาน ซึ่งระบบงานราชการส่วนใหญ่ยังขาดการประสานงานและการมองประโยชน์ในภาพรวมต่อสังคมและประเทศ รายงานการศึกษา “Industrial symbiosis in the Swedish forest industry” รายงานปัจจัยสำคัญที่กำหนดความสำเร็จของการเกื้อกูลกันในอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในรูปแบบ Industrial symbiosis ประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ
1) ทัศนคติในเชิงบวกของผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
2) ความต้องการหรือความปรารถนาของผู้เกี่ยวข้องในโครงการพัฒนา
3) ความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินการโครงการซื้อขายและเปลี่ยนของเสียและกากอุตสาหกรรมในพื้นที่ ในขณะที่การขาดแคลนทรัพยากรรวมทั้งเงินลงทุน กฎหมายและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย และกรอบระยะเวลา เงื่อนไขของสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมจะเป็นปัจจัยอุปสรรคขัดขวางการดำเนินโครงการให้ประสบความสำเร็จ จึงมีข้อสังเกตว่าเครือข่ายของโรงงานอุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมป่าไม้รวม 15 กลุ่ม ไม่ได้เกิดจากกระบวนการวางแผนที่จะทำให้เกิด Industrial symbiosis แต่เป็นผลจากความพยายามที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการระบบนิเวศในพื้นที่ (Eco-efficiency) และความพยายามที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่

กรมโรงงานอุตสาหกรรม

75/6 ถ.พระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย
โทร. 02-202-4000, 4014 โทรสาร 02-354-3390

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
179,570