พื้นที่เป้าหมาย 15 จังหวัด 18 พื้นที่
จังหวัดชลบุรี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดนครปฐม จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปทุมธานี ตำบลบางกะดี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดระยอง เขตควบคุมมลพิษ เขตประกอบการไออาร์พีซี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสงขลา ตำบลฉลุง อำเภอสะเดา จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสระบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดขอนแก่น เป็นจังหวัดที่มีความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของภาคอีสาน สามารถเชื่อมโยงออกสู่ทะเลตะวันออก เป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการส่วนกลาง ภูมิภาค ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการให้บริการประชาชนและพัฒนาจังหวัด เป็นที่ตั้งสถานกงสุลใหญ่จีน เวียดนาม และลาว เป็นแหล่งผลิตพืชอาหาร/พลังงานทดแทนที่สำคัญ เช่น ข้าว อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง และแหล่งผลิตสัตว์ที่สำคัญ เช่น โคเนื้อ และไก่เนื้อ รวมทั้งเป็นแหล่งแปรรูปอาหาร/เครื่องดื่ม เป็นศูนย์บริการการแพทย์และสาธารณสุข และการศึกษา มีเขื่อนอุบลรัตน์ซึ่งเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ใช้ในด้านไฟฟ้า ชลประทาน แหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และแหล่งท่องเที่ยว
ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดอุดรธานี จังหวัดเลย และจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 100-200 เมตร มีเนื้อที่ประมาณ 10,885.99 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 6.8 ล้านไร่ ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) เป็นระยะทาง 445 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
- ทิศใต้ ติดกับจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดบุรีรัมย์
- ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดมหาสารคาม
- ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดเพชรบูรณ์
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดขอนแก่นในปี 2556 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.14 เมื่อเทียบกับปี 2555 ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 109,556 บาท โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวม ณ ราคาประจำปี 190,826 ล้านบาท ซึ่งสาขาที่มีมูลค่าการผลิตสูงสุด คือ สาขาอุตสาหกรรม 73,955 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 38.75 ของสาขาการผลิตทั้งหมด
ตารางผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดขอนแก่น ณ ราคาประจำปี
หน่วย : ล้านบาท
สาขา | 2552 | 2553 | 2554 | 2555 | 2556 |
ภาคเกษตร | 15,842 | 17,329 | 19,581 | 23,868 | 27,100 |
เกษตรกรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้ | 15,035 | 16,520 | 23,016, | 26,077 | 15,981 |
การประมง | 806 | 809 | 851 | 1,023 | 156 |
ภาคนอกเกษตร | 126,693 | 134,945 | 161,848 | 163,727 | 351,434 |
การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน | 1,481 | 1,304 | 1,408 | 1,277 | 1,277 |
อุตสาหกรรม | 54,678 | 60,549 | 218,050 | 218,755 | 248,933 |
การไฟฟ้า แก๊ส และการประปา | 5,574 | 6,284 | 61,504 | 73,690 | 73,955 |
การก่อสร้าง | 8,690 | 8,203 | 7,996 | 10,158 | 8,370 |
การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน | 13,515 | 14,527 | 15,219 | 16,455 | 17,487 |
โรงแรมและภัตตาคาร | 1,621 | 1,883 | 2,190 | 2,495 | 2,661 |
การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม | 4,587 | 4,328 | 5,108 | 4,898 | 4,797 |
ตัวกลางทางการเงิน | 5,614 | 5,948 | 6,471 | 7,419 | 8,857 |
บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและบริการทางธุรกิจ | 8,753 | 8,150 | 8,347 | 8,671 | 8,508 |
การบริหารราชการและการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกันสังคมภาคบังคับ | 6,524 | 7,499 | 8,085 | 8,325 | 7,837 |
การศึกษา | 13,834 | 14,845 | 16,686 | 18,720 | 19,685 |
การบริการด้านสุขภาพและสังคม | 3,473 | 3,940 | 4,380 | 5,052 | 5,288 |
การให้บริการด้านชุมชน สังคม และบริการส่วนบุคคลอื่นๆ | 1,120 | 1,086 | 1,223 | 1,368 | 1,478 |
ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล | 422 | 197 | 249 | 440 | 375 |
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด(GPP) | 142,534 | 152,274 | 160,935 | 185,715 | 190,826 |
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว (บาท) | 81,571 | 87,463 | 92,410 | 106,652 | 109,556 |
จำนวนประชากร (1,000 คน) | 1,747 | 1,741 | 1,742 | 1,741 | 1,742 |
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ http://www.nesdb.go.th (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2558)
ทรัพยากรป่าไม้
จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ป่า 1,296,400 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 11.91 ของพื้นที่จังหวัด มีอุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง มีพื้นที่รวม 743,973 ไร่ วนอุทยาน 2 แห่ง มีพื้นที่รวม 6,200 ไร่ ป่าสงวนแห่งชาติ 22 ป่า มีพื้นที่รวม 1,697,052 ไร่ ป่าชุมชน 206 แห่ง มีพื้นที่รวม 49,316 ไร่ สภาพป่าประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และ ป่าเต็งรัง พรรณไม้สำคัญ ได้แก่ ประดู่ มะค่าโมง ตะแบก เหียง พลวง แดง เต็ง รัง พรรณไม้พื้นล่างที่ขึ้นอยู่หนาแน่น ได้แก่ หว่านไพร ชัน ข่าป่า เพ็ก หวาย กล้วยไม้ป่า หญ้าคา แฝก
ทรัพยากรน้ำ
จังหวัดขอนแก่นมีลำน้ำที่สำคัญไหลผ่าน 3 สาย ดังนี้
- ลำน้ำพอง มีต้นกำเนิดจากภูกระดึงและเทือกเขาสันปันน้ำของลุ่มน้ำป่าสักกับลุ่มน้ำชี ไหลผ่าน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย และ อำเภออุบลรัตน์, อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และไหลบรรจบแม่น้ำชีที่ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีการก่อสร้างเขื่อนอุบลรัตน์กั้นลำน้ำพอง ที่อำเภออุบลรัตน์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและการชลประทาน มีพื้นที่ชลประทานประมาณ 258,000 ไร่ โดยการก่อสร้างฝายหนองหวายเพื่อทดน้ำ ที่อำเภอน้ำพอง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย ลำน้ำพองสามารถแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ (1) น้ำพองตอนบน ซึ่งอยู่เหนือเขื่อนอุบลรัตน์ ลำน้ำสาขาประกอบด้วย หนองโก ลำน้ำพวย ห้วยทรายขาว ลำน้ำมอ ห้วยแกน และห้วยซำจาน ซึ่งไหลลงเขื่อนอุบลรัตน์ และ (2) ลำน้ำพองตอนล่าง ซึ่งอยู่ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ ลำน้ำสาขาประกอบด้วย ห้วยทราย ห้วยคุมมุมห้วยยาง ห้วยโจด ห้วยเสือเต้น ห้วยเสียว ห้วยเก้าคต ห้วยใหญ่ ห้วยสายบาตร และห้วยพระคือ
- ลำน้ำเชิญ มีต้นกำเนิดจากสันปันน้ำของลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำชี ใน จังหวัดชัยภูมิ และ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และไหลลงเขื่อนอุบลรัตน์ที่ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
- ลำน้ำชี มีต้นกำเนิดจากสันปันน้ำของลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำชี ใน จังหวัดชัยภูมิ ไหลเข้าสู่จังหวัดขอนแก่นบริเวณ อำเภอแวงน้อย ไหลผ่านอำเภอแวงใหญ่ อำเภอชนบท อำเภอมัญจาคีรี อำเภอบ้านไผ่ และอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ไหลผ่านจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร และบรรจบแม่น้ำมูล ที่จังหวัดอุบลราชธานี ความยาว 900 กม. ในสภาพปัจจุบันน้ำท่าจากแม่น้ำชีไหลผ่านแม่น้ำมูลประมาณ 8.752 ล้าน ลบ.ม. ต่อปี ปริมาณน้ำท่าในพื้นที่ลุ่มน้ำชี จากการรวบรวมข้อมูลปริมาณน้ำท่าจากสถานีวัดน้ำท่าที่อยู่ในลุ่มน้ำชีทั้งหมด 32 สถานี พบว่าปริมาณน้ำท่าของแม่น้ำชีส่วนใหญ่จะมีมากในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน และมีปริมาณน้อยในช่วงฤดูแล้งโดยเดือนที่มีปริมาณน้ำท่าสูงสุดได้แก่ช่วงเดือนกันยายนและตุลาคม ส่วนลุ่มน้ำย่อยที่อยู่ในลุ่มน้ำมูลพื้นที่จังหวัดขอนแก่น จะมีปัญหาการขาดแคลนน้ำมากพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำท่าที่เกิดจากลุ่มน้ำมีน้อย และยังไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำขนาดกลาง
- แหล่งน้ำชลประทาน ในเขตจังหวัดขอนแก่น มีแหล่งน้ำประกอบด้วย โครงการแหล่งน้ำจำนวน 462 โครงการ คือ โครงการขนาดใหญ่จำนวน 2 แห่ง เก็บกักน้ำได้ 2,263.60 ล้านลูกบาศก์เมตร โครงการขนาดกลางจำนวน 19 แห่ง เก็บกักน้ำได้ 81.44 ล้านลูกบาศก์เมตร โครงการขนาดเล็กจำนวน 441 แห่ง สามารถเก็บกักน้ำได้ 37.13 ล้านลูกบาศก์เมตร และโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจำนวน 109 แห่ง มีพื้นที่รับผลประโยชน์ทั้งหมด 553.461 ไร่
ทรัพยากรน้ำบาดาล
จังหวัดขอนแก่น มีบ่อบาดาล จำนวน 6,462 บ่อ บ่อน้ำบาดาลส่วนใหญ่จะใช้ประโยชน์ เพื่อการผลิตน้ำประปาหมู่บ้านและเพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน ส่วนบ่อบาดาลที่ใช้สำหรับกิจกรรม อื่นๆ เช่น เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การประมง และการเลี้ยงสัตว์ มีอยู่บ้างแต่เป็นจำนวนไม่มากนัก
ทรัพยากรสัตว์ป่า
จังหวัดขอนแก่น สัตว์ป่าส่วนใหญ่มักอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้งบริเวณเทือกเขาภูเม็ง เพราะเป็นแหล่งหากินที่อุดมสมบูรณ์และถูกรบกวนจากมนุษย์น้อยมาก สัตว์ป่าที่พบเห็นเป็นสัตว์ขนาดกลางและขนาดเล็ก อาทิ หมูป่า เก้ง สุนัขจิ้งจอก เม่น นิ่ม กระต่ายป่า ไก่ป่า งู และนกชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
การสาธารณสุข
จังหวัดขอนแก่น มีสถานพยาบาล ประกอบด้วย โรงพยาบาล 32 แห่ง สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 23 แห่ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 แห่ง กระทรวงกลาโหม 1 แห่ง กรมอนามัย 1 แห่ง กรมสุขภาพจิต 1 แห่ง กรมการแพทย์ 1 แห่ง เอกชน 2 แห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล 248 แห่ง บุคลากรด้านสาธารณสุข ประกอบด้วย แพทย์ 426 คน ทันตแพทย์ 136 คน เภสัชกร 164 คน อัตราส่วนแพทย์ต่อจำนวนประชากรจังหวัดขอนแก่น เท่ากับ 1:4,149 คน
การศึกษา
จังหวัดขอนแก่น มีโรงเรียนที่เปิดทำการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1,138 แห่ง จำนวนนักเรียน 247,429 คน จำนวนครู 13,599 คน จำนวนห้องเรียน 11,440 ห้อง สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา 14 แห่ง โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จำนวน 11 แห่ง
ประชากร แรงงานและการจ้างงาน และแรงงานต่างด้าว
จังหวัดขอนแก่น มีประชากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ทั้งสิ้น 1,790,049 คน จำแนกเป็นชาย 884,822 คน และหญิง 905,227 คน
จังหวัดขอนแก่น มีวิสัยทัศน์การพัฒนา 4 ปี พ.ศ. 2557- 2560 (ฉบับทบทวน) คือ ขอนแก่นเมืองน่าอยู่ มุ่งสู่มหานครแห่งอาเซียน โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ (21 กลยุทธ 601 โครงการ งบประมาณทั้งสิ้น 72,132 ล้านบาท)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความมั่นคงและมีความพยายามทางการแข่งขัน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพคนและสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน และความมั่นคง
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเพิ่มศักยภาพของเมืองเพื่อเชื่อมโยงโอกาสจากกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและอาเซียน
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาการบริหารภาครัฐ
คณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่นได้มีการคัดเลือกพื้นที่อุตสาหกรรมหนาแน่น อำเภอน้ำพอง เพื่อเป็นพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่น ครอบคลุมพื้นที่เขตปกครอง 3 ตำบล ในอำเภอน้ำพอง ได้แก่ ตำบลน้ำพอง ตำบลม่วงหวานและตำบลกุดน้ำใส มีโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เป้าหมายรวมทั้งสิ้น 151 โรงงาน โดยมีโรงงานที่ได้รับการรับการรับรองระบบบริหารงานระดับสากลและระดับประเทศสรุปดังตาราง
จำนวนโรงงานในพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่น (พื้นที่อุตสาหกรรมหนาแน่น อำเภอน้ำพอง)
จำนวนโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบริหารงานระดับสากลและระดับประเทศ
การวางผังที่ตั้งและการจัดพื้นที่
ในด้านการวางผังที่ตั้งและการจัดพื้นที่ในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ นั้น พบว่าในแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดขอนแก่นมีโครงการที่มุ่งพัฒนาระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่ เช่น โครงการก่อสร้างแหล่งน้ำพร้อมระบบส่งน้ำตำบลม่วงหวาน เพื่อให้มีแหล่งน้ำและระบบส่งน้ำที่มีประสิทธิภาพและทั่วถึง และโครงการก่อสร้าง ซ่อมแซม ขยายถนน จำนวน 5 เส้น เพื่อจัดระบบการจราจร แก้ไขปัญหาการจราจรในชั่วโมงเร่งด่วน และควบคุมดูแลให้รถบรรทุกบรรทุกน้ำหนักแล่นตามช่องจราจรที่กฎหมายกำหนด โดยโครงการที่กล่าวมามุ่งเพื่อพัฒนาและวางผังที่ตั้งและการจัดพื้นที่ในพื้นที่
ข้อมูลพื้นที่สีเขียว
จากการรวบรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่มีหน่วยงานในพื้นที่และจังหวัดที่สำรวจและจัดทำข้อมูลพื้นที่สีเขียวเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
การออกแบบอาคารและบริเวณโดยรอบ
ในด้านการออกแบบอาคารและบริเวณโดยรอบ ของพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่น นั้น พบว่ามีแผนในการจักทำผังพื้นที่เฉพาะ ปรับปรุงภูมิทัศน์ และแผนในการส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยในแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดขอนแก่น มีโครงการ ได้แก่ โครงการจัดทาผังพื้นที่เฉพาะ เพื่อความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Layout โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อนันทนาการ พื้นที่โล่ง และพื้นที่แนวป้องกันมลพิษ (buffer zone) ในพื้นที่พัฒนาเมือง) และโครงการส่งเสริมการจัดการป่าชุมชนให้อยู่ร่วมกับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม
ในด้านการออกแบบอาคารและ/หรือระบบภายในอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ/หรือประหยัดพลังงาน นั้น ข้อมูลจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พบว่าในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่นมีโรงงานที่เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พลังงานอาคารควบคุมพลังงาน จำนวน 9 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 5.9 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมาย
จำนวนเงินลงทุนภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่เป้าหมาย
จากข้อมูลสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น พบว่าในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่นมีจำนวนเงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจดทะเบียนในพื้นที่เป้าหมายรวม จำนวน 29,035,666,645 บาท โดยตำบลน้ำพอง ตำบลกุดน้ำใส และตำบลม่วงหวาน
จำนวนเงินลงทุนในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่น
แรงงานในพื้นที่เป้าหมาย
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดในท้องถิ่นและจังหวัดเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนแรงงานท้องถิ่น/แรงงานทั้งหมด แต่มีการรวบรวมจำนวนแรงงานทั้งหมดในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลแรงงานในสถานประกอบการทั้งหมด (โรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้า)
จำนวนแรงงานทั้งหมดในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่น
จำนวนโรงงานที่มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการจากชุมชน หรือส่งเสริมกิจกรรมหรือกลุ่มอาชีพให้กับชุมชน หรือสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนทางด้านการตลาด หรือพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมอาชีพ หรือทักษะแรงงาน
ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่น มีโรงงานที่ดำเนินการตามมาตรฐาน CSR-DIW ซึ่งมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมให้มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการจากชุมชน หรือ ส่งเสริมกิจกรรมหรือกลุ่มอาชีพให้กับชุมชน รวมจำนวน 6 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 3.9 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมาย โดยไม่มีหน่วยงานในพื้นที่ที่รวบรวมข้อมูลการดำเนินงานกิจกรรม CSR ที่ไม่ได้เข้าร่วมผ่านกรมโรงงานอุตสาหกรรม
อัตราการว่างงาน
จากข้อมูลรายงานสถานการณ์แรงงานและดัชนีชี้วัดภาวะแรงงานจังหวัดขอนแก่น สำนักงานแรงงานจังหวัดขอนแก่น พบว่าประชากรในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นในไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ.2560 มีอัตราการว่างงานร้อยละ 0.32 ทั้งนี้อัตราการว่างงานในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศยังไม่มีการรายงานเผยแพร่
จำนวนโรงงานผลิตสินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดในท้องถิ่นหรือจังหวัดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ แต่ทั้งนี้มีการรวบรวมในข้อมูลระดับประเทศโดยมีข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากลดคาร์บอนจากองค์การบริหารจัดการเรือนกระจก ซึ่งในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่นยังไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับฉลากลดคาร์บอน
การส่งเสริมในมิติเศรษฐกิจด้านการตลาดของพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของจังหวัดขอนแก่น นั้น ได้มีการวางแผนที่เกี่ยวข้องกับการตลาดซึ่งรายงานไว้ในแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยมีการส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมหรือมาตรการที่ปลอดภัย ลดต้นทุน หรือเพิ่มประสิทธิภาพ ระบบขนส่งและโลจิสติกส์
ในปัจจุบันจังหวัดขนแก่นมีโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค (OPOAI) ซึ่งเป็นโครงการที่คัดเลือกผู้ประกอบการจากทั้งจังหวัดเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสถานประกอบการ ทั้งด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน ลดต้นทุนพลังงาน การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์/ระบบมาตรฐานสากล กลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด การบริหารจัดการด้านการเงิน การจัดการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
ทั้งนี้แผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่นมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประสิทธิภาพด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ โดยมีโครงการปรับปรุงและซ่อมแซมถนนในพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ โครงการจัดท้าทางยกระดับข้ามแยกทางเข้าเขื่อนอุบลรัตน์ โครงการจัดท้าสะพานกลับรถ กม.ใหม่ 372 (กม.เก่า 33) โครงการขยายและปรับปรุงซ่อมแซมถนนสายเขื่อนอุบลรัตน์ (กม.2) - บ้านม่วงหวาน หมู่ที่ 1 ต้าบลม่วงหวาน โครงการขยายและปรับปรุงซ่อมแซมถนนสายแยกทางหลวงหมายเลข 2 (กม.ที่ 22.150) บ้านค้าใหญ่ ต.ม่วงหวาน อ.น้ำพอง และโครงการขยายและปรับปรุงซ่อมแซมถนนสายแยกบ้านม่วงหวาน หมู่ที่ 1-บ้านโนนศรีสวัสดิ์ หมู่ที่ 3 ต.ม่วงหวาน อ.น้ำพอง
ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงาน
กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีฐานข้อมูลการระบายน้ำของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ ที่โรงงานที่เข้าข่ายจะต้องมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน (ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม) ซึ่งไม่เปิดเผยข้อมูลคุณภาพน้ำทิ้งต่อสาธารณะ
คุณภาพแหล่งน้ำสาธารณะของพื้นที่เป้าหมาย
พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่นมีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่านเขตพื้นที่ 1 สาย คือแม่น้ำพอง โดยในพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศมีสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำของสำนักงานสิ่งแวดภาคที่ 10 จังหวัดขอนแก่น จำนวน 2 สถานี ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอน้ำพอง ได้แก่ สถานีปากบึงโจด ต.กุดน้ำใส และ สถานีฝายหนองหวาย ต.น้ำพอง ความถี่ในการตรวจวัดคุณภาพน้ำ 4 ครั้งต่อปี ซึ่งคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้
คุณภาพอากาศของพื้นที่เป้าหมาย
ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่นไม่มีจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศอยู่ในพื้นที่ แต่จากผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศจังหวัดขอนแก่นปี พ.ศ.2558-2560 ของสำนักคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ ณ สถานีตรวจวัดพื้นที่สำนักทรัพยากรน้ำภาค4 อ.เมือง จ.ขอนแก่น พบว่าคุณภาพอากาศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
กิจกรรมลดการปล่อยมลพิษทางอากาศของพื้นที่เป้าหมาย
ในปัจจุบันมีการส่งเสริมให้มีการจัดทำฐานข้อมูลการปล่อยมลพิษในโรงงาน ในการยื่นขอจดประกอบกิจการ และยื่นต่อทะเบียนโรงงาน รวมทั้งมีการจัดทำฐานข้อมูลมลพิษทางอากาศของโรงงานที่เข้าข่ายตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ.2550 โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ในแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่น ยังมีโครงการที่ส่งเสริมการตรวจประเมินและกำกับดูแล เพื่อการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของโรงงานในพื้นที่ โดยมีโครงการพัฒนาคณะกรรมการไตรภาคี ตรวจและกำกับดูแลคุณภาพสิ่งแวดล้อมและป้องกันมลพิษแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่
ข้อมูลชนิดและปริมาณกากของเสียของพื้นที่เป้าหมาย
จากข้อศูนย์สารสนเทศโรงงานอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้มีการรวบรวมข้อมูลปริมาณกากของเสียอุตสาหกรรม ตามรายงานการขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน ในพื้นที่อำเภอน้ำพอง โดยในปี พ.ศ.2559 อำเภอน้ำพอง มีกากของเสียรวม 963,331.90 ตัน จำแนกเป็นกากของเสียไม่อันตรายร้อยละ 98.91 และกากของเสียอันตรายร้อยละ 1.09
นอกจากข้อมูลข้างต้นแล้ว จากแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่นยังมีโครงการที่มุ่งส่งเสริมให้สถานประกอบการนำของเสียมาใช้ประโยชน์และการพัฒนาธุรกิจรีไซเคิล/อัพไซเคิลเพื่อเพิ่มมูลค่าและใช้ประโยชน์กากอุตสาหกรรม ของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่น
ข้อมูลชนิดและปริมาณขยะชุมชุนของพื้นที่เป้าหมาย
จากข้อมูลรายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ.2559 กรมควบคุมมลพิษ พบว่าพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่น โดยพบว่ามีการจัดเก็บขยะและกำจัดขยะชุมชน โดยวิธีฝังกลบ (landfill)
นอกจากข้อมูลข้างต้น ในแผนปฏิบัติการตามแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่น ยังได้มีโครงการที่มุ่งส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้มีโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง
การใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม
จากรายงานสถานการณ์การใช้พลังงานในจังหวัดขอนแก่นรวม ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม ณ ปี พ.ศ. 2558 พบว่ามีปริมาณการใช้อยู่ที่ 365.33 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe)
การใช้พลังงานทดแทนในพื้นที่เป้าหมาย
ข้อมูลจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พบว่ามีโรงงานที่เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พลังงานอาคารควบคุมพลังงาน จำนวน 9 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 5.9 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
การจัดการเหตุเดือดร้อนรำคาญ
รอบปีงบประมาณ พ.ศ.2559 พบข้อร้องเรียนด้านเหตุเดือดร้อนรำคาญในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่นจำนวน 1 เรื่อง ในพื้นที่ ต.น้ำพอง โดยมีการวิเคราะห์ข้อร้องเรียนและมีการดำเนินการแก้ไขตามมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมกระบวนการผลิต
โรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
จากฐานข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่น พบว่าไม่มีโรงงานที่ได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) และโรงงานได้รับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 10 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 6.6 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
การดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบ
กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้มีมาตรการเพื่อส่งแสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้วัตถุดิบของโรงงานอุตสาหกรรม โดยได้จัดทำฐานข้อมูลการใช้วัตถุดิบของโรงงาน ในขั้นตอนการแจ้งจดทะเทียนประกอบกิจการและยื่นต่ออายุใบประกอบกิจการ นอกจากนั้น โครงการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศพื้นที่ 7 จังหวัด มีการจัดทำฐานข้อมูลการใช้วัตถุดิบของโรงงาน และในระดับจังหวัดมีโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค (OPOAI)
การดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบ
ปัจจุบันยังไม่มีโรงงานที่ได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) ในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่น อย่างไรก็ตามได้มีแผนในการส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบ โดยในแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดได้มีโครงการส่งเสริมโรงงานเชิงนิเวศ (Eco Factory) อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry)
การดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก
ปัจจุบันกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้มีมาตรการเพื่อส่งแสริมการลดก๊าซเรือนกระจก โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมมีการจัดเตรียมฐานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งอยู่ในช่วงการรวบรวมข้อมูลทั้งประเทศ และจากฐานข้อมูลขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก พบว่าในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่นไม่มีโรงงานที่ได้รับฉลากลดโลกร้อน
การประเมินผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กรต่อความหลากหลายทางชีวภาพและจัดทำแผนป้องกันผลกระทบ
จากฐานข้อมูลของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของโรงงานที่จะต้องมีการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งต้องมีการประเมินความหลากหลายทางชีวภาพ และจัดทำแผนป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อความหลากหลายทางชีวภาพ พบว่าในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศมีโรงงานที่ต้องมีการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมจำนวน 4 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 2.6 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่
การจัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยง
จากฐานข้อมูลสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย พบว่าในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่นมีโรงงานที่ต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ความเสี่ยง จำนวน 3 โรงงาน ทั้งนี้จากข้อมูลของสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม พบว่าในปี พ.ศ.2559 ในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่นไม่มีการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม
การรั่วไหล และการเกิดอุบัติเหตุของสารเคมีและวัตถุอันตราย ที่ทำให้เกิดผล กระทบต่อพนักงาน ชุมชน หรือสิ่งแวดล้อมภายนอก
กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีการจัดทำข้อมูลบัญชีสารเคมีอันตรายในโรงงานที่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ความเสี่ยงและโรงงานที่ต้องขอจัดเก็บสารเคมีอันตราย ทั้งนี้ข้อมูลจากสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ.2559 ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่น ไม่มีการรั่วไหล และการเกิดอุบัติเหตุของสารเคมีและวัตถุอันตราย ที่ทำให้เกิดผล กระทบต่อพนักงาน ชุมชน หรือสิ่งแวดล้อมภายนอกก
การเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม
จากฐานข้อมูลของสำนักนโยบายแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โรงงานในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่น มีโรงงานที่มีระบบการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม EIA Monitoring จำนวน 4 โรงงาน ทั้งนี้ภายใต้โครงการยกระดับศูนย์ติดตามตรวจสอบและประเมินผลเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 7 จังหวัด ยังมีการจัดตั้งเครือข่ายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่มีบทบาทเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วมอีกด้วย
คุณภาพชีวิตและสังคมของพนักงาน
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมที่มีดำเนินงานตามแนวทางการเป็นที่ทำงานมีสุข (Happy Workplace)
การสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนตามบริบทของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
จากฐานข้อมูลกรมโรงงานอุตสาหกรรมพบว่า มีโรงงานที่ดำเนินการตามมาตรฐาน CSR-DIW ซึ่งตามข้อกำหนดให้มีการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนตามบริบทของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จำนวน 6โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 3.9 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศแสดงใน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหน่วยงานในพื้นที่ที่รวบรวมข้อมูลการดำเนินกิจกรรม CSR ที่ไม่ได้เข้าร่วมผ่านกรมโรงงานอุตสาหกรรม
คดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญในพื้นที่เป้าหมาย
จำนวนคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญต่อประชากรรวมในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่น ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2559 มีคดีเกิดขึ้นทั้งหมด 1 คดี และมีการจับกุมได้ทั้ง 1 คดี ในพื้นที่ตำบลม่วงหวาน
จำนวนผู้เสียชีวิต และมูลค่าความเสียหายในทรัพย์สินจากภัยพิบัติ
จากข้อมูลสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดขอนแก่น พบว่าในปี พ.ศ.2559 ประชากรจังหวัดขอนแก่นประสบสาธารณภัย รวม 243,200 คน โดยมูลค่าความเสียหาย 15,029.896 บาท
แผนและผลการดำเนินงานของคณะทำงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และ/หรือ เครือข่ายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่นได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและจัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ขึ้นในปี พ.ศ.2559 โดยขณะนี้แผนปฏิบัติการอยู่ในช่วงการของบประมาณเพื่อดำเนินการและในปี พ.ศ.2560 ได้มีการประสานเพื่อจัดตั้งคณะทำงานเครือข่ายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Network) เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับจังหวัดขอนแก่น
การสื่อสารและการเปิดเผยข้อมูลของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในรูปแบบ ช่องทาง และความถี่ในการสื่อสารในลักษณะต่างๆ อย่างมีประสิทธิผล
ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่น มีการจัดตั้งศูนย์ติดตามตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับจังหวัดหรือเรียกว่า ศูนย์พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยตั้งอยู่ที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสาร ให้คำปรึกษาแนะนำและเปิดเผยข้อมูลของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ อีกทั้งยังมีการจัดทำเว็บไซต์ http://ecocenter.diw.go.th/ เพื่อใช้ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์อีกหนึ่งช่องทาง
การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล การจัดการด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และสารเคมีของโรงงานต่อสาธารณะ
ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่น มีการจัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีข้อแนะนำเรื่องการจัดการความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และสารเคมีของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยมีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ http://ecocenter.diw.go.th/ อีกทั้งยังมีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเพื่อสื่อสารเผยแพร่ข้อมูลอีกด้วย
คณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ดาวน์โหลดเอกสารคณะขับเคลื่อนเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ดาวน์โหลดเอกสาร