บทความ

แนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เกิดจากอิทธิพลของการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่พยายามให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability Development) ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการพัฒนาอุตสาหกรรมและการพัฒนาเมืองต่างๆ กิจกรรมของมนุษย์ได้สร้างความเสื่อมโทรมต่อสภาวะแวดล้อม เกิดปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติ และทำให้ทรัพยากรธรรมชาติมีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็ว และปัญหามลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมที่คุกคามต่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของสังคมเมือง และการคุกคามต่อการดำรงชีวิตประจำวันและความเป็นอยู่ด้านสุขภาพอนามัยของมนุษย์ พืชและสัตว์อย่างรุนแรง

        กรมโรงงานอุตสาหกรรมเริ่มดำเนินการศึกษาวิจัยการทำตัวชี้วัดเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town Development) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 โดยได้มีการศึกษาทบทวนวรรณกรรมตัวชี้วัดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศใน 3 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น เดนมาร์ก และ สหราชอาราจักร เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำแบบจำลอง (Model) และตัวชี้วัด (Indicator) ระดับความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสำหรับประเทศไทย พบว่า การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของทั้ง 3 ประเทศ มีรูปแบบที่ไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาที่มีอยู่ แต่สิ่งที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาเมือง มาจากการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจากมาตรการกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อม การกำกับดูแลให้ผู้ประกอบการโรงงานประกอบกิจการให้ถูกต้องตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมในเรื่องของการจัดการกากอุตสาหกรรมและชุมชน จนกระทั้งการพัฒนาเมืองไปสู่เมืองแห่งสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และจากการศึกษาทบทวนวรรณกรรมตัวชี้วัดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ร่วมกับสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหาร/ผู้รับผิดชอบ/ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ทั้งหน่วยงานราชการ ผู้ประกอบกิจการโรงงาน ผู้ประกอบกิจการเขตประกอบการอุตสาหกรรม/สวนอุตสาหกรรม ชุมชนอุตสาหกรรม รวมทั้งผู้บริหาร อปท. และผู้นำชุมชน และจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อร่างแบบจำลอง (Model) และตัวชี้วัด (indicator) ระดับความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในปี พ.ศ. 2557 นั้น ได้แบ่งระดับตัวชี้วัดความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศออกเป็น 5 ระดับ คือ ระดับที่ 1 การปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย ระดับที่ 2 การรักษาระดับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการประกอบการอุตสาหกรรม ระดับที่ 3 การใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ระดับที่ 4 การยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต และ ระดับที่ 5 การเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

        งานศึกษาวิจัยการทำตัวชี้วัดเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town Development) ในปี พ.ศ. 2558 นี้ ได้มีการศึกษาทบทวนวรรณกรรมตัวชี้วัดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเพิ่มเติมในอีก 4 ประเทศ ได้แก่ สวีเดน สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมณี และสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อศึกษาความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ความเหมาะสมของคุณลักษณะแต่ละตัว และค่าดัชนีของตัวชี้วัดของประเทศต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบและยกระดับตัวชี้วัดความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่ได้จัดทำแล้วในปี พ.ศ. 2557 ให้เป็นสากลยิ่งขึ้น

 

ไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้ หากคุณเห็นหมวดย่อย เนื้อหาอาจอยู่ในนั้น

วอชิงตันดีซี ติดอันดับหนึ่ง พื้นที่หลังคาสีเขียว
วอชิงตันดีซี ติดอันดับหนึ่ง พื้นที่หลังคาสีเขียว
แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
การพัฒนาเมืองอัจฉริยะในจีน
การพัฒนาเมืองอัจฉริยะในจีน
วิจัยพบระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเร็วสุดในรอบสองพันปี
วิจัยพบระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเร็วสุดในรอบสองพันปี