พื้นที่เป้าหมาย 15 จังหวัด 18 พื้นที่
จังหวัดชลบุรี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดนครปฐม จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปทุมธานี ตำบลบางกะดี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดระยอง เขตควบคุมมลพิษ เขตประกอบการไออาร์พีซี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสงขลา ตำบลฉลุง อำเภอสะเดา จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสระบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระยอง ได้รับการกำหนดบทบาทให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก และถูกกำหนดแนวทางการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางความเจริญแห่งใหม่ เป็นศูนย์บริการมาตรฐานการศึกษา และวิจัยด้านเทคโนโลยีและกำหนดให้ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก เป็นประตูทางออกให้กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการส่งสินค้าออกไปจำหน่ายต่างประเทศ โดยไม่ต้องผ่านกรุงเทพฯ ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินการจัดเตรียมระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานไว้อย่างสมบูรณ์ และกำหนดพื้นที่บริเวณมาบตาพุดอำเภอเมือง จังหวัดระยอง เป็นที่ตั้งสำหรับอุตสาหกรรม 8,000 ไร่ มีท่าเรือน้ำลึกขนส่งสินค้าที่สามารถรับเรือขนาด 20,000 ตัน 1 ท่า และท่าขนส่งวัสดุเหลวที่สามารถรับเรือขนาด 8,000 ตัน 2 ท่า เป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมที่สำคัญ ๆ คือ โรงแยกก๊าซธรรมชาติ กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี จังหวัดระยองจึงเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพสูงในส่วนของการลงทุนด้านอุตสาหกรรม นอกจากนี้จังหวัดระยอง ยังได้รับการกำหนดเขตการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ให้อยู่ในเขต 3 ของการส่งเสริมการลงทุนซึ่งได้เปรียบกว่าจังหวัดปริมณฑลและอยู่ใกล้กรุงเทพมหานคร ในระยะทางไม่เกิน 200 กิโลเมตร จึงส่งผลให้จังหวัดระยองเป็นจังหวัดที่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว
จังหวัดระยอง ประกอบด้วย ที่ราบชายฝั่งที่เกิดจากการทับถมของตะกอนบริเวณแอ่ง ลุ่มน้ำระยอง และที่ราบสลับเนินเขาและภูเขา มีลักษณะเป็นลอนลูกคลื่นสูงต่ำสลับกันไปรวมกับพื้นที่ทิวเขา ๒ แนว คือทิวเขาชะเมาทางทิศตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๐๓๕ เมตร และทิวเขาที่อยู่ประมาณกึ่งกลางของตัวจังหวัดเป็นแนวยาวจากอำเภอเมืองขึ้นไปทางเหนือจนสุดเขตจังหวัดเป็นเนินเขาที่เตี้ยกว่าคือ เขาขุนอิน เขาจอมแห เขางวงช้าง ในเขตอำเภอบ้านค่ายและเขาท่าฉุด เขายายตา เขาตะเภาคว่ำ ในเขตอำเภอเมืองระยอง มีแม่น้ำสำคัญ ๒ สาย คือ แม่น้ำระยองยาวประมาณ ๕๐ กิโลเมตร ไหลผ่านท้องที่อำเภอปลวกแดง อำเภอบ้านค่าย อำเภอเมืองระยอง ไหลลงสู่ทะเลที่ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองระยอง และแม่น้ำประแสร์ยาวประมาณ ๒๕ กิโลเมตร มีต้นกำเนิดจากทิวเขาในจังหวัดจันทบุรี ไหลผ่านท้องที่ของอำเภอเขาชะเมา อำเภอ แกลง ลงสู่ทะเลที่ตำบลปากน้ำประแสร์ อำเภอแกลง แต่หากแบ่งลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดระยองทางกายภาพแล้ว สามารถแบ่งออกเป็น ๕ ลักษณะ ได้แก่
-
- หาดทรายและสันทราย จังหวัดระยองอยู่ติดทะเลมีหาดทรายและสันทรายเป็นแนวยาว ตามแนวชายฝั่งตะวันออก-ตะวันตก ประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร มีความสูงประมาณ ๓ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ความลาดชันต่ำและค่อย ๆ สูงขึ้นในแนวเหนือ-ใต้ แนวชายหาดเริ่มตั้งแต่อำเภอ บ้านฉางไปสิ้นสุดที่อำเภอแกลง
- ที่ลุ่มต่ำและที่ราบเรียบ พบบริเวณทิศใต้ถัดจากแนวสันทรายมาทางทิศเหนือเป็น หย่อม ๆ ตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก โดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำระยองมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มต่ำ น้ำทะเลท่วมถึง มีน้ำแช่ขังเกือบตลอดปี ส่วนบริเวณที่ราบเรียบพบตามแนวใกล้ลำน้ำหรือพื้นที่ที่ต่อเนื่องจากที่ลุ่มต่ำ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากทะเล
- ลูกคลื่นลอนลาดและลูกคลื่นลอน มีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาด ลูกคลื่นลอนชัน และเนินเขาเป็นส่วนใหญ่ พบในพื้นที่ซึ่งอยู่เหนือขึ้นไปจากที่ราบเรียบและที่ลุ่มต่ำ มีความลาดชันประมาณร้อยละ ๓-๑๖ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่เหลือตกค้างจากการกัดกร่อน
- บริเวณที่เป็นเนินเขาและที่ลาดเชิงเขา มีลักษณะเป็นเนินเขาลูกเล็ก ๆ ติดต่อกันไปหรือเป็นที่ลาดเชิงเขา มีความลาดชันตั้งแต่ร้อยละ ๑๖-๓๕ สภาพพื้นที่อยู่ในระดับค่อนข้างสูง มีทั้งที่เป็นพื้นผิวที่เหลือจากการกัดกร่อนและพื้นที่หินดินดานเชิงเขา
- ที่สูงชันและมีความลาดชันมากกว่าร้อยละ ๓๕ และมีระดับความสูงจากพื้นที่บริเวณรอบ ๆ ตั้งแต่ ๑๕๐ เมตรขึ้นไป ส่วนมากพบบริเวณตอนกลางของจังหวัดระยอง
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดระยองในปี 2557 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 3.43 เมื่อเทียบกับปี 2556 ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 1,008,615 บาท โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวม ณ ราคาประจำปี 874,547 ล้านบาท ซึ่งสาขาที่มีมูลค่าการผลิตสูงสุด คือ สาขาอุตสาหกรรม 314,381 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.95 ของสาขาการผลิตทั้งหมด
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดระยอง ณ ราคาประจำปี
หน่วย : ล้านบาท
สาขา | 2553 | 2554 | 2555 | 2556 | 2557 |
ภาคเกษตร | 27,363 | 33,705 | 27,025 | 22,660 | 20,962 |
เกษตรกรรมการล่าสัตว์และ การป่าไม้ |
23,942 | 29,691 | 22,523 | 18,873 | 16,892 |
การประมง | 3,421 | 4,014 | 4,502 | 3,787 | 4,070 |
ภาคนอกเกษตร | 688,762 | 730,853 | 827,199 | 883,004 | 853,585 |
การทําเหมืองแร่และเหมืองหิน | 241,906 | 274,982 | 344,687 | 353,116 | 349,770 |
อุตสาหกรรม | 311,187 | 286,181 | 303,293 | 346,477 | 314,381 |
การไฟฟ้า แก๊ส และการประปา | 40,634 | 57,254 | 51,518 | 48,809 | 52,570 |
การก่อสร้าง | 6,294 | 5,440 | 4,641 | 6,707 | 5,800 |
การขายส่ง การขายปลีกการซ่อมแซมยาน-ยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน |
50,067 | 52,231 | 52,582 | 56,467 | 53,316 |
โรงแรมและภัตตาคาร | 1,747 | 1,974 | 2,148 | 2,430 | 2,644 |
การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้าและ การคมนาคม |
15,261 | 16,156 | 16,125 | 15,312 | 16,277 |
ตัวกลางทางการเงิน | 4,682 | 5,417 | 6,568 | 7,475 | 9,622 |
บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและบริการทางธุรกิจ |
5,550 | 19,093 | 32,611 | 33,256 | 34,385 |
การบริหารราชการและการ ป้องกันประเทศรวมทั้งการ ประกันสังคมภาคบังคับ |
5,736 | 6,068 | 6,370 | 6,400 | 7,226 |
การศึกษา | 3,222 | 3,271 | 3,404 | 3,541 | 3,888 |
การบริการด้านสุขภาพและสังคม | 1,692 | 1,758 | 2,050 | 1,827 | 2,286 |
การให้บริการด้านชุมชน สังคม และบริการส่วนบุคคลอื่นๆ |
640 | 827 | 967 | 1,004 | 1,133 |
ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล | 146 | 202 | 235 | 183 | 288 |
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) |
716,125 | 764,558 | 854,225 | 905,664 | 874,547 |
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อ หัว (บาท) |
873,241 | 918,744 | 1,011,901 | 1,058,293 | 1,008,615 |
จํานวนประชากร (1,000คน) | 820 | 832 | 844 | 856 | 867 |
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ http://www.nesdb.go.th (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2559)
ทรัพยากรป่าไม้
จังหวัดระยอง มีเนื้อที่ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ และ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตอุทยานแห่งชาติโดยแยกเป็นป่าสงวนแห่งชาติ 8 แห่ง เนื้อที่ 821.99 ตารางกิโลเมตร หรือ 513,743 ไร่ อุทยานแห่งชาติ2 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด พื้นที่ 81,875 ไร่ และอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง พื้นที่ 42,400 ไร่ รวมทั้งสิ้นจำนวน 198.84 ตารางกิโลเมตรหรือ 124,275 ไร่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 1 แห่งคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน พื้นที่ 32,875 ไร่ และสวนรุกขชาติ 2 แห่ง คือ สวนรุกขชาติเพและสวนรุกขชาติหนองสนม จากข้อมูลล่าสุดพบว่าพื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดเหลือประมาณ 313.21 ตารางกิโลเมตร หรือ 195,760 ไร่ ร้อยละ 9 ของพื้นที่จังหวัด ป่าส่วนใหญ่เป็นป่าดิบแล้ง นอกจากนี้ยังมีป่าชายเลน ป่าเบญจ-พรรณและป่าละเมาะ การวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อที่ป่าไม้ของกรมป่าไม้ พบว่าเนื้อที่ป่าไม้ลดลงแต่พบว่าเนื้อที่ป่าไม้ที่ลดลงในอัตราที่ลดลง เนื่องจากเนื้อที่ป่าที่เหลืออยู่ในเขตอนุรักษ์และภูเขาสูงชันไม่เหมาะกับการทำเกษตรรวมทั้งการปฏิบัติงานป้องกันรักษาป่าอย่างเข้มแข็งของเจ้าหน้าที่ สภาพปัญหาป่าไม้บางส่วนไม่ได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติเนื่องจากอยู่ในเขตนิคมสร้างตนเองสหกรณ์นิคมและพื้นที่เขาเล็กๆ น้อยๆ ประกอบกับปัจจุบันกฎหมายป่าชุมชนที่มุ่งเน้นให้ประชาชนร่วมจัดการป่าไม้ยังไม่ได้บังคับใช้ เพราะอยู่ระหว่างการพิจารณาหากกฎหมายฉบับนี้บังคับใช้ได้คาดว่าจังหวัดระยองจะมีเนื้อที่ป่าเพิ่มขึ้นเนื่องจากความร่วมมือของประชาชนในการป้องกันรักษาป่าและการฟื้นฟูป่า
ทรัพยากรน้ำ
จังหวัดระยอง มีแม่น้ำที่สำคัญ 2 สาย ได้แก่
- แม่น้ำระยองหรือคลองใหญ่ ความยาวประมาณ 50 กิโลเมตร มีต้นน้ำเกิดจากเทือกเขากองซองและเขาพนมศาสตร์ ซึ่งไหลผ่านตามคลองต่างๆ แล้วมารวมกันเรียกว่าคลองใหญ่และไหลลงสู่ทะเลที่ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองระยอง
- แม่น้ำประแสร์ มีต้นกำเนิดจากเขาใหญ่ เขาอ่างฤาไน เขาหินโรง เขาอ่างกระเด็น ไหลมาตามห้วยและคลองต่างๆ หลายสาย เช่น คลองประแสร์ คลองปลิง คลองบ่อทอง ห้วยหินคม คลองเจว็ด คลองตากล้วย คลองชุมแสง คลองไผ่เหนือ-ใต้ คลองตวาด คลองพังหวาย คลองจำกา คลองใช้ คลองแหวน คลองโพล้ คลองทาสีแก้วและคลองหนองเพลง แล้วไหลมารวมกันเรียกว่าแม่น้ำประแสร์ มีความยาวประมาณ 120 กิโลเมตร และไหลลงสู่ทะเลที่บ้านปากน้ำ ตำบลปากน้ำประแสร์ อำเภอแกลง
คลอง มีคลองต่างๆ จำนวน 170 คลอง ซึ่งมีน้ำใช้ตลอดปีที่สำคัญ ได้แก่
- คลองดอกกราย มีความยาวประมาณ 45 กิโลเมตร มีต้นน้ำจากเขาซากกล้วยในเขตอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ไหลลงคลองหนองปลาไหลก่อนที่จะบรรจบกับคลองใหญ่
- คลองหนองปลาไหล มีความยาวประมาณ 42 กิโลเมตร มีต้นน้ำจากเทือกเขาน้ำโจน เขาชมพู่และเขาเรือตกในเขตจังหวัดชลบุรี ซึ่งไหลมาตามห้วยและคลองต่างๆ เช่น คลองระวิง คลองกร่ำ คลองปลวกแดง จังหวัดระยอง ไหลมารวมกันเรียกว่าคลองหนองปลาไหล แล้วไหลลงสู่คลองใหญ่ที่บ้านหัวทุ่ง ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านค่าย
- คลองโพล้ มีความยาวประมาณ 38 กิโลเมตร มีต้นน้ำจากเขาชมูน เขาชะเอมและเขาปลายคลองโพล้ ไหลลงสู่แม่น้ำประแสร์ที่บ้านท่ากระชาย อำเภอแกลง
- คลองทับมา มีความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร มีต้นน้ำจากเทือกเขาต่างๆ เช่น เขาจอมแหเขาเกตุ เขากระบอก ซึ่งไหลมาตามห้วยและคลองต่างๆ เช่น คลองเขาใหญ่ คลองหนองหล้าและคลองช้างตายไหลมารวมกันเรียกว่าคลองทับมา และไหลลงสู่แม่น้ำระยองที่บ้านเกาะลอย อำเภอเมือง
- คลองระโอก มีความยาวประมาณ 10 กิโลเมตร มีต้นน้ำจากเทือกเขาชะเมา ซึ่งไหลผ่านมาตามคลองต่างๆ เช่น คลองเขาจุด คลองสะท้องและคลองน้ำเป็น ไหลมารวมกันเรียกว่าคลองระโอก และไหลลงสู่คลองโพล้ที่บ้านเนินสุขสำราญ อำเภอแกลง
แหล่งน้ำใต้ดินของจังหวัดระยองมีคุณภาพปานกลางถึงคุณภาพดี ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองระยอง อำเภอแกลง และอำเภอวังจันทร์
ทรัพยากรแร่ธาตุ
จังหวัดระยองมีทรัพยากรแร่อยู่หลายชนิด แร่ที่มีปริมาณมากที่สุดคือแร่ทรายแก้ว แร่หินอุตสาหกรรม ชนิดหินแกรนิตเพื่อการก่อสร้าง แร่หินประดับชนิดหินแกรนิต แร่หินประดับชนิดหินไนส์ แร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินไนส์เพื่อการก่อสร้าง แร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่อการก่อสร้าง แร่อุตสาหกรรมและแร่เศรษฐกิจอื่นๆที่สำรวจพบได้แก่ แร่ดินขาว แร่เฟลด์สปาร์ แร่วอร์ทช์ แร่ทองคำ นอกจากนี้ยังพบว่ามีกลุ่มแร่ที่หายากสะสมตัวอยู่ตามชายฝั่งและในทะเล ได้แก่ แร่ดีบุก แร่โรมาไซด์ แร่เชอร์คอน แร่ซีโนไทม์ แร่ ลูโคซีน แร่ชิลเมไนท์ แร่รูไทล์ แร่โคชลัมไบท์และแร่แทนทาไลท์
นอกจากนี้ ยังมีก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย ส่งมายังโรงแยกก๊าซธรรมชาติของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยที่จังหวัดระยอง นับเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ยิ่งใหญ่ของประเทศ
การสาธารณสุข
จังหวัดระยอง มีสถานพยาบาล ประกอบด้วย โรงพยาบาลของรัฐ 9 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 3 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 95 แห่ง คลินิก (ทุกประเภท) 194 แห่ง จำนวนเตียง 2,916 เตียง มีบุคลากรด้านสาธารณสุข ประกอบด้วย แพทย์ 189 คน ทันตแพทย์ 52 คน เภสัชกร 81 คน และพยาบาล 946 คน อัตราส่วนแพทย์ต่อจำนวนประชากรจังหวัดระยอง เท่ากับ 1:3,468 คน
การศึกษา
จังหวัดระยอง มีสถานศึกษา 259 แห่ง การศึกษาขั้นพื้นฐาน 218 แห่ง การศึกษาระดับอาชีวศึกษาและเอกชน 31 แห่ง และอยู่ในการดูแลของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 9 แห่ง
ประชากร แรงงานและการจ้างงาน และแรงงานต่างด้าว
จังหวัดระยอง มีประชากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ทั้งสิ้น 684,402 คน จำแนกเป็นชาย 336,690 คน หญิง 347,712 คน สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ดำเนินการสำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากรในจังหวัดระยองปี พ.ศ.2557 พบว่า ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวน 1,244,480 คน จำแนกเป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 903,428 คน และผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 341,052 คน จากจำนวนผู้อยู่ในกำลังแรงงาน พบว่ามีผู้ว่างงาน จำนวน 13,651 คน และมีแรงงานต่างด้าวจำนวนทั้งสิ้น 29,115 คน
จำนวนกำลังแรงงาน จำแนกตามเพศและสภาพแรงงาน
สถานภาพแรงงาน |
จํานวนคน |
รวม |
|
ชาย | หญิง | ||
ผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป | 365,216 | 358,299 | 723,515 |
1.ผู้อยู่ในกําลังแรงงาน | 303,343 | 239,401 | 542,745 |
1.1 ผู้มีงานทํา | 300,822 | 237,113 | 537,936 |
1.2 ผู้ว่างงาน | 2,521 | 2,287 | 4,809 |
1.3 ผู้รอฤดูกาล | - | - | - |
2.ผู้ไม่อยู่ในกําลังแรงงาน | 61,872 | 118,897 | 180,769 |
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ, http://service.nso.go.th (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2559)
จังหวัดระยอง มีวิสัยทัศน์การพัฒนา 4 ปี พ.ศ. 2557-2560 (ฉบับทบทวน) คือ ประชามีสุข ท่องเที่ยวอนุรักษ์ เกษตรสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมเป็นมิตร สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ 30 กลยุทธ์ 798 โครงการ งบประมาณทั้งสิ้น 20,020.11 ล้านบาท
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจควบคู่ กับการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรให้คล้องกับความต้องการของตลาดและมีคุณภาพมาตรฐานปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ปรับปรุงและส่งเสริมการพัฒนาการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (environmental Friendly) และสนับสนุนการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)
ยุทธศาสตร์ที่ 4 อนุรักษ์ ฟื้นฟู และป้องกันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของจังหวัดระยอง โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 เสริมสร้างคุณภาพชีวิตและคุ้มครองสิทธิของประชาชนและสังคมจังหวัดระยองให้มีความเข้มแข็งและดำรงชีวิตตามหลักปรัชญา
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ส่งเสริม พัฒนา เพิ่มขีดความสามารถภาคพณิชยกรรมและบริการของจังหวัดระยองสู่ความยั่งยืนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
คณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยองได้มีการคัดเลือกพื้นที่เขตควบคุมมลพิษ เพื่อเป็นพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง ครอบคลุมพื้นที่เขตปกครอง 7 ตำบลใน 3 อำเภอ ได้แก่ ตำบลมาบตาพุด ตำบลห้วยโป่ง ตำบลเนินพระ และ ตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ตำบลมาบข่า อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยองทั้งตำบล และตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง อาณาเขตครอบคลุมนิคมอุตสาหกรรม 5 นิคม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล นิคมอุตสาหกรรมผาแดง และนิคมอุตสาหกรรมเอเซีย มีโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เป้าหมายรวม 607 โรงงาน โดยมีโรงงานที่ได้รับการรับการรับรองระบบบริหารงานระดับสากลและระดับประเทศดังตาราง
การวางผังที่ตั้งและการจัดพื้นที่
พื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (พื้นที่เขตควบคุมมลพิษ) อยู่ในพื้นที่ 7 ตำบล ใน 3 อำเภอ ได้แก่
-
- อำเภอเมือง ตำบลมาบตาพุด ตำบลห้วยโป่ง ตำบลเนินพระ
- อำเภอนิคมพัฒนา ตำบลทับมา
- อำเภอบ้านฉาง ตำบลบ้านฉาง
มีอาณาเขตครอบคลุมนิคมอุตสาหกรรม 5 นิคม ได้แก่
-
- นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
- นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก
- นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล
- นิคมอุตสาหกรรมผาแดง
- นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย
ผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลักและชุมชนมาบตาพุด
ที่มา : กรมโยธาธิการและผังเมือง (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2560)
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นนิคมที่พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.2532 ภายใต้การบริหารและกำกับดูแลของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เป็นที่ดินจัดสรรไว้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเข้าไปอยู่รวมกันอย่างเป็นสัดส่วน ประกอบด้วย พื้นที่อุตสาหกรรม และระบบสาธารณูปโภค โดยตั้งอยู่เลขที่ 1 ถนนไอ-หนึ่ง ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง สามารถเข้าสู่พื้นที่โครงการโดยใช้ ทางหลวงหมายเลข 3 จากกรุงเทพและใช้ทางหลวงหมายเลข 36, 3191 และ 3392 ตามลำดับ มีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 190 กิโลเมตร
ที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีการจัดสรรการใช้พื้นที่รวมทั้งหมด 10,215 ไร่ สามารถแบ่งประเภทการใช้ประโยชน์พื้นที่ดังตาราง
ผังแสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปโภคในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ประกอบด้วย
ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปโภคในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ประกอบด้วย
1) ระบบถนน
-
-
- ถนนสายหลักเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ช่องจราจร กว้าง 40 เมตร
- ถนนสายรองกว้าง 25 เมตร
- ทางเข้า-ออกนิคมอุตสาหกรรมมี 4 ทาง
-
2) ระบบไฟฟ้า
-
-
- รับไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 115 KVA และ 22 KVA
- กำลังการผลิตรวม 1,545 MW ปัจจุบันจ่าย 245 MW
-
3) ระบบน้ำดิบ
-
-
- ใช้น้ำดิบจากอ่างเก็บน้ำดอกกรายและหนองปลาไหล ความจุรวมปีละประมาณ 240 ล้านลบ.ม.
- ระบบส่งจ่ายน้ำ 100 ล้านลบ.ม./ปี
- ผู้ประกอบการต้องการใช้น้ำประมาณ 72 ล้านลบ.ม./ปี แรงดันน้ำ 5-6 บาร์
-
4) ระบบประปา
-
-
- กำลังผลิต 15,300 ลบ.ม./ปี ใช้ระบบกรองเร็ว แรงดันน้ำ 3-4 บาร์
- ผู้ประกอบการต้องการใช้ประมาณ 5,000 ลบ.ม./วัน
-
5) ระบบบำบัดน้ำเสีย
-
-
- เขตอุตสาหกรรมทั่วไป 4,000 ลบ.ม./วัน มีความต้องการใช้บำบัด 1,000 ลบ.ม./วัน
- เขตธุรกิจอุตสาหกรรม 7,200 ลบ.ม./วัน เพื่อรองรับการใช้พื้นที่อนาคต
-
6) ท่าเรือให้บริการสินค้าหลัก
-
-
- ท่าเรือน้ำลึก ท่าเรือทั่วไปให้บริการสินค้าหลัก
- ท่าเรือเคมีภัณฑ์และของเหลว
- ท่าเรือขนถ่ายเหล็ก
- ท่าเรือน้ำมัน
- ท่าเรือปุ๋ยเคมี
-
7) ระบบโทรคมนาคม
-
-
- Internet ADSL
- Fibered Optics
-
-
-
- Teleconference etc.
-
นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก
นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) ตั้งอยู่บริเวณทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3392 ภายในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ 155 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อโดยรอบดังนี้
-
- ทิศเหนือ ติดต่อกับพื้นที่ว่างซึ่งต่อเนื่องกับพื้นที่ชุมชนเมืองใหม่มาบตาพุดและคลองชากหมาก
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับลำรางสาธารณะและพื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับพื้นที่สีเขียวของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
- ทิศใต้ ติดต่อกับทางรถไฟสายสัตหีบ-มาบตาพุดและพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมผาแดง
- นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก มีการจัดสรรการใช้พื้นที่รวมทั้งหมด 3,374.42 ไร่ สามารถแบ่งประเภทการใช้ประโยชน์พื้นที่ ดังตาราง
ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปโภคในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก ประกอบด้วย
1) ระบบถนน
-
- สายประธาน กว้าง 25 - 35 เมตร 4 ช่องทางจราจร
- สายรองประธาน 18 - 25 เมตร 2 ช่องทางจราจร
2) ระบบไฟฟ้า
-
- สถานีไฟฟ้าย่อย (Sub Station) จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 สถานี ขนาด 50 เมกกะวัตต์
- ความสามารถในการจ่ายฟ้า 60 KVA/ไร่
- แรงดันไฟฟ้า 115/22 กิโลโวต์
3) ระบบน้ำดิบ
-
- ใช้น้ำดิบจากอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล และอ่างเก็บน้ำดอกกราย
4) ระบบบำบัดน้ำเสีย
-
- ระบบ Aerated Lagoon ขนาด 5,000 ลบ.ม./วัน
- ระบบบำบัดน้ำเสีย
5) ระบบป้องกันน้ำท่วม
-
- น้ำฝนที่ตกในพื้นที่นิคมฯ จะถูกรวบรวมลงสู่รางระบายน้ำฝน โดยนิคมได้จัดสร้างบ่อพักน้ำฝน (detention pond) จำนวน 2 บ่อ ขนาด 8,095 และ 23,800 ลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ
6) ระบบโทรคมนาคม
-
- Internet ADSL
- Fibered Optics
- Teleconference etc.
7) ระบบกำจัดขยะมูลฝอย
-
- ไม่มีระบบเตาเผาขยะ ส่งต่อให้หน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากราชการ
นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล
นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด อำเภอเมิง จังหวัดระยอง สามารถเข้าสู่พื้นที่โครงการโดยใช้ ทางหลวงหมายเลข 3 จากกรุงเทพและใช้ทางหลวงหมายเลข 3191 มีอาณาเขตโดยรอบพื้นที่โครงการ ดังนี้
-
- ทิศเหนือ ติดต่อกับพื้นที่เกษตรกรรมในเขตชุมชนบ้านบนสามารถเข้าสู่พื้นที่โครงการโดยใช้ ทางหลวงหมายเลข 3 จากกรุงเทพและใช้ทางหลวงหมายเลข 36, 3191
- ทิศใต้ ติดต่อกับชุมชนอิสลาม
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับถนนเนินพะยอม
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับพื้นที่เกษตรกรรมในเขตชุมชนมาบยา
นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอลมีการจัดสรรการใช้ที่ดินทั้งหมด รวม 1,732 ไร่ โดยสามารถแบ่งประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินได้ ทั้งนี้นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอลได้จัดให้มีการจัดทำพื้นที่แนวป้องกันเชิงนิเวศรอบนิคมอุตสาหกรรม เป็นระยะทาง 7.4 กิโลเมตร (มีต้นไม้ประมาณ 52,000 ต้น) นอกจากนี้ยังมีการจัดทำพื้นที่สีเขียวทั้งภายในและภายนอกนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรม โดยนิคมอาร์ไอแอลมีพื้นที่ป้องกันเชิงนิเวศ และพื้นที่สีเขียว รวม 329.73 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 19.04 ของพื้นที่ทั้งหมด
ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการของนิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล ประกอบด้วย
1. แหล่งน้ำ
-
-
- น้ำดิบ โรงงานโอเลฟินส์ จะรับน้ำดิบมาจากนิคมฯ ซึ่งรับต่อมาจาก East Water โดยนำไปผลิตน้ำอุตสาหกรรมเพื่อใช้ในโรงงานและส่งให้กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นปลายรวมถึงโรงงานผลิตแผ่นอะคลิลิกแบบต่อเนื่อง โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกโพลิโพรพิลีนคอมพาวด์ ส่วนโรงงานอะโรมาติกส์จะรับน้ำดิบต่อมาจาด East Water เช่นกัน
- น้ำอุตสาหกรรม โรงงานอะโรมาติกส์ จะรับน้ำอุตสาหกรรมผ่าระบบท่อส่งน้ำจากบริษัทพีทีที ยูลิตี้ จำกัด ซึ่งเป็นกลุ่มโรงงานที่ให้บริการผลิตน้ำอุตสาหกรรมตั้งอยู่ภายนอกพื้นที่โครงการ
-
2. ระบบบำบัดเสีย
นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอลมีระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง โดยขั้นตอนการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย แสดงดังรูป
ผังแสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินของนิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล
นิคมอุตสาหกรรมผาแดง
นิคมอุตสาหกรรมผาแดง ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 15 ถนนผาแดง นิคมอุตสาหกรรมผาแดง ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยมีเนื้อที่ทั้งหมด 540 ไร่ เป็นเขตอุตสาหกรรมทั่วไป 497 ไร่ พื้นที่สาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก 42.74 ไร่ นอกจากนี้ในแต่ละโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมผาแดง ได้จัดให้มีพื้นที่สีเขียวร้อยละ 10 ของพื้นที่โรงงานด้วย
ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปโภคในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมผาแดง ประกอบด้วย
1) ระบบน้ำประปา
-
- รับน้ำจากบริษัท โกลบอล ยูทิลิตี้ เซอร์วิส จำกัด
- ปริมาณใช้น้ำประปาของนิคมฯ 3,000 ลูกบาศก์เมตร/เดือน
- ปริมาณใช้น้ำดิบของนิคมฯ 61,978 ลูกบาศก์เมตร/เดือน
2) ระบบไฟฟ้า
-
- สนับสนุนโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดระยอง
- แรงดันไฟฟ้า 22 กิโลโวลต์
3) ระบบถนน
-
- ถนนสายประธาน กว้าง 14 เมตร 4 ช่องทางจราจร พื้นผิวคอนกรีต ความยาวประมาณ 700 เมตร
- ถนนสายรองประธาน กว้าง 7 เมตร 2 ช่องทางจราจร พื้นผิวคอนกรีต ความยาวประมาณ 560 เมตร
4) ระบบโทรศัพท์
-
- บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จังหวัดระยอง
5) ระบบบำบัดน้ำเสีย
-
- แต่ละโรงงานในนิคมฯ จัดทำระบบบำบัดน้ำเสียเอง จึงไม่มีระบบบำบัดส่วนกลาง
6) ระบบระบายน้ำ
-
- รางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดขนานกับแนวถนน
ผังแสดงบริเวณที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมผาแดง
นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย
นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ตั้งอยู่บนเขตรอยต่อระหว่างตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉางและเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด ในบริเวณใกล้เคียงมีนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่ง
ผังแสดงพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย
นิคมอุตสาหกรรมเอเชียมีเนื้อที่ในปัจจุบันทั้งสิ้น 3,220.25 ไร่ โดยการใช้ประโยชน์ที่ดิน มีรายละเอียดดังนี้
-
- พื้นที่อุตสาหกรรม 2,587.85 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 80.36
- พื้นที่พาณิชยกรรม 3.11 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.10
- พื้นที่สำนักงานและบ้านพักเจ้าหน้าที่ 7.68 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.41
- พื้นที่ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ 257.19 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.99
- พื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ และพื้นที่แนวกันชน 363.53 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 11.29
- (นิคมได้จัดเตรียมพื้นที่แนวกันชนรอบโครงการรวม 60 ไร่ รวมกับพื้นที่สีเขียวอื่นๆในโครงการทำให้โครงการมีพื้นที่สีเขียวทั้งสิ้น 330.5 ไร่ อีกทั้งยังมีพื้นที่สีเขียวที่เป็นเกาะกลางและไหล่ทางอีก 31.33 ไร่)
- พื้นที่สำรองไว้เพื่อการพัฒนาในอนาคต 25 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.99
ระบบสาธารณูปโภคในนิคมอุตสาหกรรมเอเซีย ประกอบด้วย
1) ระบบน้ำประปา
- ระบบน้ำดิบ : บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน)
- ปริมาณที่ได้รับทั้งนิคมฯ 172,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน
- สามารถผลิตได้โดยเฉลี่ย 40 ลูกบาศก์เมตร/วัน/ไร่
- ระบบน้ำประปา : การประปาส่วนภูมิภาค
- ปริมาณที่ได้รับทั้งนิคมฯ 3,800 ลูกบาศก์เมตร/วัน
- สามารถผลิตได้โดยเฉลี่ย 7 ลูกบาศก์เมตร/วัน/ไร่
2) ระบบไฟฟ้า
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และบริษัทโกลล์ เอสพีพี 3 จำกัด
- มีโรงงานไฟฟ้า กำลังการผลิตขนาด 130 เมกกะวัตต์
- สามารถจ่ายไฟฟ้าได้โดยเฉลี่ย 50 กิโลวัตต์/ไร่
3) ระบบโทรศัพท์
- บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
4) ระบบบำบัดน้ำเสีย
- ลักษณะ Gravity Flow โดยรวบรวมน้ำเสียเบื้องต้นไปบำบัดที่ส่วนกลาง
5) ระบบถนน
- สายประธาน : 44 เมตร (R/W) ผิวจราจรกว้าง 19 เมตร 6 ช่องทางจราจร
- สายรองประธาน : 30 เมตร (R/W) ผิวจราจรกว้าง 14 เมตร 4 ช่องทางจราจร
- ถนนเข้าระบบสาธารณูปโภคกว้าง 6 เมตร
6) ระบบป้องกันน้ำท่วม
- ก่อสร้างรางระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นรูปตัวยู วางคู่ขนานตามแนวถนนทั้ง 2 ด้าน
ผังแสดงการใช้ประโยชน์พื้นที่อุตสาหกรรมเอเซีย
การออกแบบอาคารและบริเวณโดยรอบ
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมภายนอกนิคมอุตสาหกรรมที่มีการออกแบบอาคารหรือระบบภายในอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยแนวทางการเก็บข้อมูลในอนาคตคือการสำรวจข้อมูลรายโรงงานโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งพิจารณาตามมาตรฐานเกณฑ์อาคารเขียวของประเทศต่างๆ ได้แก่ สถาบันอาคารเขียวไทย LEED TREES และ TEEAM หรืออุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าและแสงสว่างให้เปิดปิดอัตโนมัติตามความต้องการใช้งาน หรือมีพื้นที่ใช้สอยที่รองรับแสงจากธรรมชาติมากกว่าร้อยละ 20 ของอาคาร นิคมอุตสาหกรรมเอเชียมีโรงงานอุตสาหกรรมที่ประกอบกิจการในพื้นที่จำนวน 4 โรงงานที่มีการนำแนวคิดการออกแบบอาคารหรือระบบภายในอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มาใช้ ได้แก่
-
- บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยได้ขอรับรองอาคารสีเขียว และใช้ระบบ Solar Cell กับไฟส่องสว่างภายในพื้นที่
- บริษัท เอ็มทีพี เอชพีพีโอ โดยมีการออกแบบอาคารด้วยการเลือกใช้กระจกสำนักงานเป็นกระจกสองชั้น โดยมีก๊าซอาร์กอนซึ่งเป็นก๊าซเฉื่อยอยู่ตรงกลาง เพื่อป้องกันการแผ่รังสีความร้อยของแสงอาทิตย์เข้าไปในสำนักงาน
- บริษัท โกล์ว พลังงาน จำกัด (มหาชน) โดยมีการผลิตกระแสฟ้าโดยใช้ระบบ Solar Cell
- บริษัท เอ็มทีพี เอชพีพีโอ แมนูแฟคเจอริ่ง โดยมีระบบกักเก็บน้ำฝนภายในพื้นที่โรงงานตามมาตรการ คิดเป็นร้อยละ 28 ของพื้นที่โรงงานทั้งหมด
ทั้งนี้ ได้รวบรวมรายชื่อโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นโรงงานควบคุมพลังงาน ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ในพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งมีหน้าที่ต้องให้มีจัดการพลังงานตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานและอาคารควบคุม พ.ศ.2552 โดยต้องมีการจัดทำระบบจัดการพลังงาน จัดให้มีการรายงานจัดการพลังงานเป็นประจำทุกปี และมีการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน โดนผู้ตรวจสอบและรับรอง ในพื้นที่เป้าหมายมีโรงงานที่เป็นโรงงานควบคุมพลังงาน จำนวน 139 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 22.8 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
จากข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจดทะเบียนภายในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (เขตควบคุมมลพิษ) พบว่ามีเงินทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 503,878 ล้านบาท
เศรษฐกิจท้องถิ่น
ในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (เขตควบคุมมลพิษ) มีวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนแล้วจำนวน 87 แห่ง สมาชิก 1,449 คน เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน 2 แห่ง สมาชิก 26 คน ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการจากชุมชน หรือส่งเสริมกิจกรรมหรือกลุ่มอาชีพให้กับชุมชน หรือสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนทางด้านการตลาด หรือพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมอาชีพ หรือทักษะแรงงาน แนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลจากโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ ทั้งนี้นิคมอุตสาหกรรมทั้ง 5 นิคมอุตสาหกรรมมีการก่อตั้งกลุ่มเพื่อนชุมชน ซึ่งเกิดจากการก่อตั้งของ 5 ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่ ต.มาบตาพุด เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชน โดยมุ่งหวังให้อุตสาหกรรมและชุมชน อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอลมีการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนที่เชื่อมโยงกับฐานการผลิตทั้งหมด 10 แห่ง เกิดรายได้เฉลี่ย 7,950 บาท/คน/เดือน โดยมีสมาชิกของวิสาหกิจชุมนได้ประโยชน์ทั้งสิ้น 49 คน โดยวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการส่งเสริมโดยนิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอลคือ
-
- วิสาหกิจชุมชนมาบชะลูด (ขนมกล้วยเบรกแตก)
- วิสาหกิจชุมชนเนินพยอม (ขนมเปี๊ยะแปดเซียน)
- วิสาหกิจชุมชนบ้านบน (งานซ่อมบำรุงทั่วไป)
- วิสาหกิจชุมชนอิสลาม (งานบริการรถตู้เช่า)
- วิสาหกิจชุมชนบ้านพลง (งานซ่อมบำรุงทั่วไป)
- วิสาหกิจชุมชนบ้านบน (งานสวน)
- วิสาหกิจชุมชนบ้านพลงใน (งานสวน)
- วิสาหกิจชุมชนมาบยา (งานสวน)
- วิสาหกิจชุมชนหนองแฟบ (เครื่องสำอางค์)
- วิสาหกิจชุมชนเขาไผ่ (น้ำดื่มบรรจุถัง)
ในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง เขตควบคุมมลพิษ มีการจ้างแรงงานรวมทั้งสิ้น 31,153 คน ทั้งนี้ ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลการจ้างแรงงานท้องถิ่น โดยแนวทางการเก็บข้อมูลในอนาคตคือการสำรวจข้อมูลรายโรงงาน ซึ่งแรงงานท้องถิ่น หมายถึงแรงงานที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในจังหวัดที่โรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่
จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ.2559 ประชากรในพื้นที่จังหวัดระยองที่อยู่ในวัยกำลังแรงงาน มีอัตราการว่างงานร้อยละ 1.69 เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 555,447 คน ที่ว่างงานทั้งสิ้น 9,410 คน แยกเป็นเพศชาย จำนวน 5,097 คน และเพศหญิง จำนวน 4,313 คน อย่างไรก็ตามไม่มีข้อมูลในระดับพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
การตลาด
จากข้อมูลองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก พบว่าในพื้นที่เมืองเป้าหมายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (พื้นที่เขตควบคุมมลพิษ) มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับฉลากคาร์บอน ซึ่งเป็นสินค้าที่มีการผลิตหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำนวน 7 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 1.2 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่
การขนส่งและโลจิสติกส์
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนโรงงานที่มีกิจกรรมหรือมาตรการที่ปลอดภัย ลดต้นทุน หรือเพิ่ม ประสิทธิภาพระบบขนส่งและโลจิสติกส์ขององค์กร โดยแนวทางการรวบรวมข้อมูลในอนาคตคือการสำรวจข้อมูลรายโรงงาน
ทั้งนี้ นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอลมีมาตรการด้านความปลอดภัย ป้องกันอุบัติเหตุ ลดมลภาวะที่มีผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ และลดการใช้พลังงาน โดยส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานทางเลือก มีมาตรการควบคุมรถที่เข้า-ออกนิคมอุตสาหกรรมและโรงงาน มีการตรวจสอบน้ำหนักรถ และใบกำกับการขนส่ง นอกจากนี้ยังมีการใช้ระบบ GPS ติดตามรถขนส่งที่ออกจากนิคมอุตสาหกรรม มีศูนย์ควบคุมและสั่งการระบบขนส่ง มีการอบรมพนักงานให้ขับขี่อย่างปลอดภัย และมีความรู้เบื้องต้นในการจัดการับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการขนส่งและการรั่วไหลของสารเคมีที่อาจเกิดจากการขนส่ง
ในระดับจังหวัดมีโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค (OPOAI) ซึ่งมีกิจกรรมหรือมาตรการที่ปลอดภัย ลดต้นทุน หรือเพิ่ม ประสิทธิภาพระบบขนส่งและโลจิสติกส์ขององค์กร
การจัดการคุณภาพน้ำ
กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีการจัดทำฐานข้อมูลคุณภาพน้ำทิ้ง BOD Load และ COD Load ของน้ำทิ้งโรงงานที่เข้าข่ายตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ.2550 ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้รับไม่มีการแจกแจงระดับพื้นที่
จังหวัดระยอง มีแม่น้ำ 2 สายไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำระยอง และแม่น้ำประแสร์ โดยผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำผิวดินจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 พบว่า แม่น้ำระยอง ซึ่งมีจุดตรวจ 6 จุด มีระดับคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างเสื่อมโทรม และเสื่อมโทรม และแม่น้ำประแสร์ ซึ่งมีจุดตรวจ 5 จุด มีระดับคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างเสื่อมโทรม ทั้งนี้ผลการตรวจคุณภาพน้ำคลองสาธารณะในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยมีจุดตรวจวัด 40 จุด ครอบคลุมคลองสาธารณะจำนวน 15 สาย โดยคุณภาพแหล่งน้ำเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 2 จุดตรวจวัด คิดเป็นร้อยละ 5
ในปัจจุบันยังไม่มีการรวบรวมปริมาณน้ำใช้และน้ำทิ้งภาคอุตสาหกรรมของแต่ละโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (เขตควบคุมมลพิษ) อย่างเป็นระบบ แนวทางในการดำเนินการในอนาคต คือ กำหนดแผนในการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวโดยกำหนดผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บข้อมูลในแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจน รวมถึงมีการติดตามรวบรวมข้อมูลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
การควบคุมมลภาวะทางอากาศ
ในพื้นที่เป้าหมาย มีจุดตรวจวัดอากาศ 3 จุด ได้แก่ 1.สถานีตรวจวัดศูนย์ราชการจังหวัดระยอง ต.เนินพระ อ.เมือง 2.สถานีตรวจวัดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมาบตาพุด ต.มาบตาพุด อ.เมือง
3.สถานีศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ต.ห้วยโป่ง อ.เมือง โดยผลตรวจวัดคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศจากสถานีอัตโนมัติ (รายชั่วโมง) จำนวน 2 จุด ในพื้นที่ คือ ใน ต.มาบตาพุด และ ต.ห้วยโป่ง ในพื้นที่เขตมาบตาพุดมีการตรวจวัดสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศ
ในปัจจุบันยังไม่มีการรวบรวมข้อมูลจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมการลดการปล่อยมลพิษทางอากาศที่มีนัยสำคัญได้มากกว่าเกณฑ์มาตรฐานในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (เขตควบคุมมลพิษ) โดยแนวทางในการเก็บข้อมูลในอนาคต คือจัดทำแบบสำรวจข้อมูลโรงงาน และ เพื่อพิจารณากำหนดหน่วยงาน/ผู้รับผิดชอบในการสำรวจข้อมูลและแนวทางในการรวบรวบข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
การจัดการของเสียและวัสดุเหลือใช้
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดในจังหวัดหรือในท้องถิ่นเก็บรวบรวมข้อมูลอัตราการนำกากของเสียอุตสาหกรรมกลับมาใช้ใหม่ ทั้งนี้ศูนย์สารสนเทศโรงงานอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้มีการรวบรวมข้อมูลปริมาณกากของเสียอุตสาหกรรม ตามรายงานการขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน ในพื้นที่ อ.เมืองระยอง อ.นิคมพัฒนา และ อ.บ้านฉาง ทั้งนี้จากแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยองมีโครงการส่งเสริมให้สถานประกอบการนำของเสียมาใช้ประโยชน์ และการพัฒนาธุรกิจรีไซเคิล/อัพไซเคิลเพื่อเพิ่มมูลค่าและใช้ประโยชน์กากอุตสาหกรรม
จากรายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย พบว่าในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (เขตควบคุมมลพิษ) มีอัตราการเกิดขยะชุมชนเฉลี่ย 199 ตัน/วัน โดยมีกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ
การจัดการพลังงาน
จากรายงานสถานการณ์พลังงานจังหวัดระยอง โครงการบูรณาการแผนยุทธศาสตร์พลังงานระดับกลุ่มจังหวัดตามยุทธศาสตร์ประเทศ กระทรวงพลังงาน พบว่าในปี พ.ศ. 2558 จังหวัดระยองมีการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรมรวม 1,178.35 ktoe โดยในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (เขตควบคุมมลพิษ) เขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด มีโรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน 1 แห่ง ได้แก่ บริษัทโกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) ซึ่งผลิตกระแสไฟฟ้า ไอน้ำ และน้ำเพื่อการอุตสาหกรรม ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเอเซีย อย่างไรก็ตามยังไม่มีการรวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานของโรงงานอุตสาหกรรมและการใช้พลังงานทดแทนของโรงงานอุตสาหกรรม แนวทางในการเก็บข้อมูลในอนาคต คือ พิจารณากำหนดหน่วยงาน/ผู้รับผิดชอบและแนวทางในการรวบรวบจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีนโยบายใช้พลังงานทดแทนในกระบวนการผลิต กิจกรรมและบริการ และในชีวิตประจำวัน ตามประกาศสำนักงานนิคมมาบตาพุด ที่ 012/2559 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2559 และนิคมได้มีกรติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบระบบ Solar Cell จำนน 11 จุดภายในพื้นที่นิคม นอกจากนี้ในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ งานระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำและระบบผลิตไฟฟ้า มีการกำหนดให้ใช้ระบบ Solar Cell ขนาด 4 กิโลวัตต์บนหลังคาอาคารอีกด้วย
นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย มีนโยบายและแผนในการใช้พลังงานทดแทนเป็นทางเลือกเสริมพลังงานหลัก โดยมีโครงการติดตั้งป้ายจราจรพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มเติมจากปัจจุบัน ที่มีการใช้ไฟกระพริบระบบ Solar Cell บริเวณทางแยกจำนวน 10 จุด
การจัดการเหตุเดือดร้อนรำคาญ
ในปี พ.ศ.2559 พื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (พื้นที่เขตควบคุมมลพิษ) มีเหตุร้องเรียนด้านเหตุเดือดร้อนรำคาญซึ่งเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 11 กรณี ในพื้นที่ ต.เนินพระ ต.ห้วยโป่ง ต.มาบตาพุด โดยมีการวิเคราะห์ข้อร้องเรียนและมีการดำเนินการแก้ไขเรียบร้อย
กระบวนการผลิต
ในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (พื้นที่เขตควบคุมมลพิษ) มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) จำนวน 50 โรงงาน โรงงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 119 โรงงาน
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดมีข้อมูลจากการตรวจประเมินโรงงานอุตสาหกรรมที่ประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมครั้งที่ 1/2560 พบว่ามีโรงงานที่มี Eco-Process, Eco-Product/Eco-Service และ Green Purchasing จำนวน 10 โรงงาน
นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย มีข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม คือ บริษัท เอ็มทีพี เอชพีพีโอแมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Process) โดยสามารถควบคุมอัตราการใช้ไอน้ำให้ต่ำกว่า 3 ตัน ต่อ 1 ตันผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังมีการผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Product/Eco-Service) โดยมีฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นท์ของผลิตภัณฑ์โพรพิลีออกไซด์ และยังมีการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Purchasing) โดยมีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าร้อยละ 5 ของงบประมาณการจัดซื้อจัดจ้าง
ประสิทธิภาพเชิงนิเวศ
ในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (พื้นที่เขตควบคุมมลพิษ) มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) ซึ่งเป็นโรงงานที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีความปลอดภัย มีการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มคุณค่า ก่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด จำนวนทั้งสิ้น 50 โรงงาน
จากฐานข้อมูลของสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของโรงงานที่จะต้องมีการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งมีการประเมินผลกระทบในการดำเนินงานต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (เขตควบคุมมลพิษ) มีจำนวนทิ้งสิ้น 123 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 20.2 ของโรงงานทั้งหมดใน
พื้นที่เป้าหมาย
นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอลมีโครงการ Off Gas Project โดยการนำของเสียจาก บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC) มาใช้เป็นวัตถุดิบของบริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด (MOC) ทำให้ลดการใช้วัตถุดิบได้เฉลี่ย 13,141 ตัน/ปี และยังมีโครงการ Vent Gas Recover โดยการนำของเสียจากบริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จำกัด (TPE) มาใช้เป็นวัตถุดิบของ MOC ทำให้ลดการกำจัดของเสียของ TPE ได้ 38,610 ตัน/ปี
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีการเก็บข้อมูล Eco Efficiency ของโรงงานอุตสาหกรรมที่ประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมได้จำนวน 20 โรงงาน
นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย มีการเก็บข้อมูล Eco Efficiency ของโรงงานอุตสาหกรรมที่ประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมได้จำนวน 8 โรงงาน โดยมีข้อมูล Eco Efficiency ด้านพลังงาน ด้านการใช้น้ำ และด้านของเสีย ทั้ง 8 โรงงาน ทั้งนี้ ยังไม่มีการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพเชิงนิเวศ (Eco Efficiency)
การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดมีการหารือกับหน่วยงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง เกี่ยวกับการเชื่อมโยงข้อมูลสารเคมีของโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรม และได้มีการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลสารเคมีจากโรงงานลงในฐานข้อมูล DSS ทั้งสิ้น 25 โรงงาน โดยในรอบ 1 ปีนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดไม่มีการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง และอัตราการเจ็บป่วยรุนแรงที่มีผลกระทบต่อชุมชน
นิคมอุตสาหกรรมเอเชียมีการเก็บสถิติผู้ป่วยจากโรงพยาบาลสมเด็จพระเทพฯ โดยพบว่าโรคที่มีผู้ป่วยมากเป็น 3 อันดับแรกคือ ความผิดปกติเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ โภชนาการและเมตะบอลิซึ่ม ความดันโลหิตสูง และโรคติดเชื้ออื่นๆของลำไส้ โดยในรอบ 1 ปี นิคมอุตสาหกรรมเอเชียไม่มีการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง และอัตราการเจ็บป่วยรุนแรงที่มีผลกระทบต่อชุมชน
การเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม
พื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (เขตควบคุมมลพิษ) มีระบบการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม โดยมีการจัดตั้งคณะทำงาน 7 คณะ เพื่อรับผิดชอบตามพื้นที่ครอบคลุม 52 ชุมชน 5 นิคมฯ 1 ท่าเรือ โดยคณะทำงาน ประกอบด้วย 1) นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล 2) นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ทิศตะวันออก 3) นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและเขตท่าเรือ 4) นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก ทิศเหนือ 5) นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก ทิศตะวันตก 6) นิคมอุตสาหกรรมผาแดง และ 7) นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีระบบเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม ดังนี้
-
- โครงการ EIA Monitoring
- โครงการธงขาวดาวเขียว
- เครือข่ายเฝ้าระวัง 7 โซน ในพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ โดยมีนิคมอุตสาหกรรม ชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรมเป็นภาคีที่ดำเนินการร่วมกัน
นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล มีระบบเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม ดังนี้
-
- เผยแพร่ผลการติดตามตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยการประชุมร่วมกับประชาชนทุก 3 เดือน
- เชิญชุมชนเข้าสังเกตการณ์สิ่งแวดล้อมและโรงงานทุก 1 เดือน
- นำเสนอการดำเนินงานตามมาตรการ EIA Monitoring ปีละ 1 ครั้ง
- เครือข่ายเฝ้าระวัง 7 โซน ในพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ โดยมีนิคมอุตสาหกรรม ชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรมเป็นภาคีที่ดำเนินการร่วมกัน
นิคมอุตสาหกรรมผาแดง มีระบบเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม ดังนี้
-
- ดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตามรายงาน EIA
- จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการลดและป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการตรวจสอบ (EIA Monitor Report) ทุก 6 เดือน
- คณะกรรมการไตรภาคีของนิคมอุตสาหกรรม
- คณะกรรมการเฝ้าระวังรักษาลำน้ำ
- เครือข่ายเฝ้าระวัง 7 โซน ในพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ โดยมีนิคมอุตสาหกรรม ชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรมเป็นภาคีที่ดำเนินการร่วมกัน
นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย มีระบบเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม ดังนี้
-
- โครงการ EIA Monitoring จำนวน 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2560
- โครงการธงขาวดาวเขียว มีโรงงานเข้ารับรางวัลจำนวน 10 โรงงาน
- คณะกรรมการไตรภาคีของนิคมอุตสาหกรรม
- คณะกรรมการเฝ้าระวังรักษาลำน้ำ
- เครือข่ายเฝ้าระวัง 7 โซน ในพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ โดยมีนิคมอุตสาหกรรม ชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรมเป็นภาคีที่ดำเนินการร่วมกัน
คุณภาพชีวิตและสังคมของพนักงาน
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีกิจกรรมส่งเสริมการเป็นที่ทำงานมีสุข 6 ประการ ดังนี้
-
- Happy body จัดให้มีการออกกำลังกายในออฟฟิศทุกวันพุธ 15.00 น. จัดพื้นที่เล่นกีฬา
- Happy heart การจัดทำเนียบวันเกิด
- Happy family เช่น สนับสนุนให้ครอบครัวไปเชียร์การแข่งขันฟุตบอล
- Happy brain เช่น จัดตั้งห้องสมุดน้อย มุมหนังสือ
- Happy society โครงการเก็บขยะชายหาด
- Happy money กิจกรรมส่งเสริมการออมเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และสหกรณ์ออมทรัพย์ กนอ.
นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอลมีการดำเนินการตามแนวทางการเป็นที่ทำงานมีสุข (Happy Workplace) ครบทั้ง 8 ประการ ดังนี้
-
- Happy body ส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง โดยจัดให้มีกิจกรรมออกกำลังกายและการแข่งขันต่างๆ ตลอดจนจัดให้มีลานออกกำลังกาย เช่น สนามแบดมินตัน สนามฟุตบอล สนามบาสเกตบอล เพื่อให้พนักงานได้ออกกำลังกายและทำกิจกรรมร่วมกัน
- Happy heart มีกิจกรรมร่วมอวยพรวันเกิดให้แก่พนักงาน อีกทั้งเมื่อมีพนักงานประสบปัญหา เช่น อุทกภัย เพื่อนพนักงานทุกคนพร้อมใจกันอาสาช่วยเหลือ
- Happy Relax จัดกิจกรรมผ่อนคลาย สร้างความสุขและความบันเทิงให้กับพนักงานในเทศกาลๆต่าง เช่น กิจกรรมวันปีใหม่ กิจกรรมสงกรานต์
- Happy brain จัดให้มีการศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ มีการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานอย่างสม่ำเสมอ
- Happy soul จัดให้มีกิจกรรมทางศาสนา รวมถึงพิธีตักบาตรในตอนเช้าทุกวันพฤหัสบดีสุดท้ายของเดือน
- Happy money สนับสนุนให้พนักงานใช้เงินอย่างรู้คุณค่า ส่งเสริมการออมอย่างมีเป้าหมายและวินัย
- Happy family จัดกิจกรรม Family day ให้ครอบครัวของบุคลากรได้มีกิจกรรมร่วมกัน
- Happy society ส่งเสริมให้พนักงานถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมุ่งเน้นให้พนักงานทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างสม่ำเสมอ
แต่ทั้งนี้นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอลยังขาดข้อมูลประสิทธิผลจากการจัดกิจกรรม Happy Workplace ที่ชัดเจน
นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย มีการประกาศการส่งเสริมการเป็นที่ทำงานมีสุข (Happy Workplace) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2560 โดยมีกิจกรรมส่งเสริมการเป็นที่ทำงานมีสุข 6 ประการ คือ Happy body, Happy heart, Happy Relax, Happy brain, Happy soul และ Happy society
คุณภาพชีวิตและสังคมของคนในท้องถิ่นโดยรอบ
จากข้อมูลกรมโรงงานอุตสาหกรรมพบว่าในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (เขตควบคุมมลพิษ) มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินการตามมาตรฐาน CSR-DIW ซึ่งมีการดำเนินงานแผนงานด้านชุมชน ทั้งสิ้น 40 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 6.6 ของโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดในพื้นที่
ข้อมูลการเกิดคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ
ในปี 2559 พื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดระยอง (เขตควบคุมมลพิษ) มีข้อมูลการเกิดคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญใน ต.ห้วยโป่ง โดยมีคดีฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา 2 คดี ชิงทรัพย์ 1 คดี ต.เนินพระ มีคดีฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา 1 คดี ชิงทรัพย์ 3 ต.มาบข่า มีคดีชิงทรัพย์ 3 คดี ต.บ้านฉาง มีคดีปล้นทรัพย์ 1 คดี แต่ทั้งนี้ ไม่ได้จัดทำเป็นฐานข้อมูล และจากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าอัตราการอ่านออกเขียนได้ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปในพื้นที่จังหวัดระยอง ปี 2553 มีอัตราอยู่ที่ร้อยละ 94.9 จากข้อมูลสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ระยอง พบว่าในปี 2559 ประชากรจังหวัดระยองที่ประสบสาธารณภัย รวมทั้งสิ้น 2,820 คน ทั้งนี้ไม่มีการรายงานข้อมูลอัตราการอ่านออกเขียนได้และสาธารณภัยในระดับพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ข้อมูลความพึงพอใจต่อ CSR
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีแผนงานและผลการดำเนินงานในการพัฒนาชุมชนตามกรอบแผนแม่บท CSR ครบ 100% และมีผลการสำรวจความพึงพอใจของชุมชนโดยรอบต่อการดำเนินงานด้าน CSR โดยในปี 2560 มีผลความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.92
นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล มีการดำเนินการตามมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO26000) และมีผลการสำรวจความพึงพอใจของชุมชนโดยรอบต่อการดำเนินงานด้าน CSR โดยในปี 2560 มีผลความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.52
นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย มีแผนงานและผลการดำเนินงานในการพัฒนาชุมชนตามกรอบแผนแม่บท CSR ครบ 100% และมีผลการสำรวจความพึงพอใจของชุมชนโดยรอบต่อการดำเนินงานด้าน CSR โดยในปี 2560 มีผลความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.84
คณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ดาวน์โหลดเอกสารคณะทำงานเครือข่ายฯ (Eco Network)
ดาวน์โหลดเอกสารคณะขับเคลื่อนเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ดาวน์โหลดเอกสาร