พื้นที่เป้าหมาย 15 จังหวัด 18 พื้นที่
จังหวัดชลบุรี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดนครปฐม จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปทุมธานี ตำบลบางกะดี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดระยอง เขตควบคุมมลพิษ เขตประกอบการไออาร์พีซี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสงขลา ตำบลฉลุง อำเภอสะเดา จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสระบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ในภาคใต้ตอนล่างฝั่งตะวันออก อยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 4 เมตร มีเนื้อที่ประมาณ 7,393.889 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,621,180 ไร่ มีขนาดเป็นอันดับ 27 ของประเทศ และใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของภาคใต้ ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศใต้ ตามเส้นทางรถไฟ เป็นระยะทาง 947 กิโลเมตร และตามทางหลวงแผ่นดิน เป็นระยะทาง 950 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
-
-
- ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดพัทลุง
- ทิศใต้ ติดกับจังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และรัฐเปอร์ลิสของมาเลเซีย
- ทิศตะวันออก ติดกับอ่าวไทย
- ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดพัทลุง และจังหวัดสตูล
-
ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดสงขลาในปี พ.ศ.2556 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.43 เมื่อเทียบกับปี 2555 ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 146,030.33 บาท โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวม ณ ราคาประจำปี 220,712 ล้านบาท ซึ่งสาขาที่มีมูลค่าการผลิตสูงสุด คือ สาขาอุตสาหกรรม 47,030 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.31 ของสาขาการผลิตทั้งหมด
ตารางผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดนครราชสีมา ณ ราคาประจำปี
หน่วย : ล้านบาท
สาขา | 2552 | 2553 | 2554 | 2555 | 2556 |
ภาคเกษตร | 30,287 | 40,832 | 48,872 | 39,694 | 36,398 |
เกษตรกรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้ | 22,286 | 33,775 | 41,782 | 32,160 | 30,063 |
การประมง | 8,001 | 7,058 | 7,090 | 7,534 | 6,335 |
ภาคนอกเกษตร | 136,804 | 162,544 | 175,533 | 175,791 | 184,314 |
การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน | 16,770 | 23,051 | 22,469 | 24,163 | 28,348 |
อุตสาหกรรม | 35,989 | 43,644 | 51,099 | 47,971 | 47,030 |
การไฟฟ้า แก๊ส และการประปา | 4,270 | 4,353 | 4,717 | 4,771 | 4,955 |
การก่อสร้าง | 5,951 | 9,749 | 9,257 | 10,664 | 13,063 |
การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน | 21,421 | 25,266 | 26,741 | 23,763 | 23,286 |
โรงแรมและภัตตาคาร | 2,657 | 3,617 | 4,003 | 4,284 | 4,828 |
การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้าและการคมนาคม | 9,086 | 9,274 | 9,901 | 9,990 | 10,145 |
ตัวกลางทางการเงิน | 7,151 | 7,400 | 8,631 | 9,489 | 11,156 |
บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและบริการทางธุรกิจ | 8,434 | 8,094 | 8,464 | 8,500 | 9,770 |
การบริหารราชการและการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกันสังคมภาคบังคับ | 9,605 | 11,145 | 12,051 | 12,293 | 11,721 |
การศึกษา | 10,395 | 11,096 | 12,301 | 13,374 | 13,286 |
การบริการด้านสุขภาพและสังคม | 3,471 | 4,365 | 4,327 | 4,647 | 4,845 |
การให้บริการด้านชุมชน สังคมและบริการส่วนบุคคลอื่นๆ | 1,369 | 1,341 | 1,490 | 1,641 | 1,705 |
ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล | 235 | 149 | 82 | 242 | 176 |
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด | 167,090 | 203,376 | 224,405 | 215,485 | 220,712 |
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อคน (บาท) | 114,287 | 137,406 | 150,515 | 143,541 | 146,030 |
ประชากร ( 1,000 คน) | 1,462 | 1,480 | 1,491 | 1,501 | 1,511 |
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ http://www.nesdb.go.th (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2558)
ทรัพยากรป่าไม้
จังหวัดสงขลามีพื้นที่ป่า 1,124.39 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 15.21 ของเนื้อที่จังหวัด มีการประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ (ตั้งแต่ พ.ศ.2507) รวม 41 ป่า เนื้อที่ 1,256,669.25 ไร่ หรือร้อยละ 27.84 ของเนื้อที่จังหวัด
ทรัพยากรน้ำ
จังหวัดสงขลาประกอบด้วยลุ่มน้ำหลัก 2 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และส่วนหนึ่งของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยแต่ละลุ่มน้ำหลักประกอบด้วยลุ่มน้ำย่อยหรือลุ่มน้ำสาขา ได้แก่
- ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ประกอบด้วยลุ่มน้ำย่อยหรือลุ่มน้ำสาขา ดังนี้
-
- ลุ่มน้ำย่อยคลองอู่ตะเภา มีพื้นที่รับน้ำประมาณ 2,383 ตารางกิโลเมตร มีคลองอู่ตะเภา เป็นลำน้ำสายหลัก ความยาวประมาณ 68 กิโลเมตร มีคลองเล็กๆ หลายสายมารวมกัน และไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลาที่บ้านแหลมโพธิ์ ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาสันกาลาคีรี ในตำบลสำนักแต้ว อำเภอสะเดา ไหลผ่านตำบลต่างๆ ในอำเภอสะเดา ผ่านอำเภอหาดใหญ่ลงสู่ทะเลสาบสงขลาที่บ้านคลองบางกล่ำ มีความยาวประมาณ 90 กิโลเมตร ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 2,392 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยทั้งปี 1,243.67 ล้านลูกบาศก์เมตร
- ลุ่มน้ำย่อยคลองพรุพ้อ มีพื้นที่รับน้ำประมาณ 500 ตารางกิโลเมตร มีคลองพรุพ้อเป็นลำน้ำสายหลัก ความยาวประมาณ 36 กิโลเมตร มีคลองเล็กๆ หลายสายมารวมกัน ไหลลงทะเลสาบที่บ้านท่าหยี ตำบลห้วยลึก อำเภอควนเนียง
- ลุ่มน้ำย่อยคลองรัตภูมิ มีพื้นที่รับน้ำประมาณ 617 ตารางกิโลเมตร มีคลองรัตภูมิ เป็นลำน้ำสายหลัก ความยาวประมาณ 63 กิโลเมตร ไหลผ่านอำเภอรัตภูมิ ก่อนลงสู่ทะเลสาบที่บ้านบางหัก ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง ต้นกำเนิดจากเทือกเขาบรรทัดและเขาหลวง กั้นเขตแดนระหว่างอำเภอรัตภูมิกับจังหวัดสตูล ไหลผ่านอำเภอรัตภูมิ อำเภอควนเนียง ลงสู่ทะเลสาบที่บ้านปากบาง ความยาว 45 กิโลเมตร ลุ่มน้ำคลองรัตภูมิ มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 859 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยทั้งปี 648.60 ล้านลูกบาศก์เมตร
- ลุ่มน้ำย่อยคาบสมุทรสทิงพระ ประกอบด้วยลุ่มน้ำย่อย 4 ลุ่มน้ำ ได้แก่ 1) ลุ่มน้ำย่อยฝั่งตะวันออก 1 (อำเภอระโนด) มีพื้นที่รับน้ำประมาณ 488 ตารางกิโลเมตร 2) ลุ่มน้ำย่อยฝั่งตะวันออก 2 มีพื้นที่รับน้ำประมาณ 202 ตารางกิโลเมตร มีคลองสำคัญหลายสาย 3) ลุ่มน้ำย่อยฝั่งตะวันออก 3 มีพื้นที่รับน้ำประมาณ 136 ตารางกิโลเมตร 4) ลุ่มน้ำย่อยฝั่งตะวันออก 4 (อำเภอเมืองสงขลา) มีพื้นที่รับน้ำประมาณ 204 ตารางกิโลเมตร คาบสมุทรสทิงพระ มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 493.60 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยทั้งปี 400.73 ล้านลูกบาศก์เมตร
- ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกในจังหวัดสงขลา คือ ลุ่มน้ำย่อยเทพา - นาทวี มีพื้นที่รับน้ำประมาณ 1,336.12 ตารางกิโลเมตร มีลำน้ำสายหลัก 2 สาย ได้แก่ คลองเทพา ความยาวประมาณ 130 กิโลเมตร และคลองตุหยง ความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร
-
-
-
- ลุ่มน้ำคลองเทพา มีต้นน้ำจากเทือกเขาสันกาลาคีรี ไหลผ่านอำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอเทพา ไปลงอ่าวไทยที่ตำบลเทพา ความยาวประมาณ 80 กิโลเมตร ลุ่มน้ำคลองเทพา มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 1,895 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณน้ำเฉลี่ยทั้งปี 763 ล้านลูกบาศก์เมตร
- ลุ่มน้ำคลองนาทวี ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาสันกาลาคีรีผ่านอำเภอนาทวี อำเภอจะนะ ไหลลงสู่อ่าวไทยที่ปากบางสะกอม ความยาวประมาณ 70 กิโลเมตร ลุ่มน้ำคอลงนาทวี มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 1,586 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำเฉลี่ยทั้งปี 617 ล้านลูกบาศก์เมตร
-
ทรัพยากรสัตว์ป่า
จังหวัดสงขลามีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์จึงเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหายากหลายชนิด จำแนกเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่ สัตว์ป่าที่สำรวจพบในพื้นที่มีไม่น้อยกว่า 355 ชนิด และ สัตว์ป่าที่ห้ามล่ามีทั้งหมด 53 ชนิด ตามประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนใหญ่เป็นนกน้ำ
ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
จังหวัดสงขลามีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 160 กิโลเมตร ซึ่งตอนใต้ส่วนหนึ่งติดมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนเหนือ ติดทะเลอ่าวไทย ชายฝั่งทะเลนี้ส่วนใหญ่เป็นชายหาดซึ่งส่วนหนึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว
-
-
- ป่าชายเลน พื้นที่ป่าชายเลนจังหวัดสงขลาพบบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนใน เขตอำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสทิงพระ อำเภอสิงหนคร อำเภอควนเนียง อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอเมืองสงขลา ปัจจุบันพื้นที่ป่าชายเลนได้เปลี่ยนสภาพเป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง โดยเฉพาะการทำนากุ้ง แหล่งชุมชน อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม ทำให้พื้นที่ป่าชายเลนลดลงอย่างรวดเร็ว
- หญ้าทะเล พบแหล่งหญ้าทะเลในจังหวัดสงขลาบริเวณเดียว คือ บริเวณตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จำนวน 15 ไร่ และเป็นแหล่งหญ้าทะเลขนาดเล็ก ไม่มีความสมบูรณ์ สถานภาพค่อนข้างเสื่อมโทรม สัตว์น้ำในบริเวณหญ้าทะเลมีน้อย จึงไม่มีการใช้ประโยชน์จากแหล่งหญ้าทะเลดังกล่าว
- ปะการัง จังหวัดสงขลามีแนวปะการังคิดเป็นพื้นที่ 0.04 ตารางกิโลเมตร โดยพบว่าแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ที่เกาะขาม ซึ่งเป็นเกาะใกล้ฝั่งในเขตอำเภอเทพา ส่วนที่เกาะหนูและเกาะแมว มีพื้นที่แนวปะการัง 0.005 และ 0.006 ตารางกิโลเมตร แนวปะการังของจังหวัดสงขลาส่วนใหญ่ อยู่ในสภาพสมบูรณ์ปานกลาง
-
การสาธารณสุข
จังหวัดสงขลา มีสถานพยาบาล ประกอบด้วย โรงพยาบาลรัฐ 5 แห่ง และ เอกชน 5 แห่ง เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) 1 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) 1 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 15 แห่ง (อำเภอสะเดามี 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลสะเดา และโรงพยาบาลปาดังเบซาร์) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล/หน่วยปฐมภูมิ 202 แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุขสังกัดเทศบาล 25 แห่ง โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงอื่นๆ 5 แห่ง โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โรงพยาบาลทันตกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โรงพยาบาลค่ายเสนาณรงค์ โรงพยาบาลฐานทัพเรือสงขลา และ โรงพยาบาลกองบิน 56 มีคลินิกเอกชน 404 แห่ง ร้านขายยา 504 แห่ง และสถานบริการเพื่อสุขภาพ เช่น สปาเพื่อสุขภาพ นวดเพื่อสุขภาพ นวดเพื่อเสริมสวย 73 แห่ง มีบุคลากรสาธารณสุขประกอบด้วย แพทย์ 359 คน ทันตแพทย์ 82 คน เภสัชกร 148 คน อัตราส่วนแพทย์ต่อจำนวนประชากรจังหวัดสงขลา เท่ากับ 1: 3,903 คน
การศึกษา
จังหวัดสงขลา แบ่งพื้นที่การศึกษาระดับประถมศึกษาเป็น 3 เขต ประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ครอบคลุมพื้นที่ 6 อำเภอ คือ อำเภอเมืองสงขลา อำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม และอำเภอสิงหนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 ครอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอ คือ อำเภอหาดใหญ่ อำเภอรัตภูมิ อำเภอควนเนียง อำเภอบางกล่ำ และอำเภอคลองหอยโข่ง และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ครอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอ คือ อำเภอนาทวี อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอสะเดา และอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา มีโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 42 โรงเรียน มีครู จำนวน 2,536 คน มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 46,496 คน โดยแยกเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาต้อนต้น จำนวน 27,697 คน นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 18,654 คน และนักเรียนระดับ ปวช.จำนวน 15 คน ซึ่งครู 1 คนจะต้องดูแลนักเรียนถึง 18.33 คน
ประชากร
จังหวัดสงขลามีประชากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ทั้งสิ้น 1,401,303 คน จำแนกเป็นชาย 684,223 คน หญิง 717,080 คน
ข้อมูลด้านการบริหารจัดการ
จังหวัดสงขลา มีวิสัยทัศน์การพัฒนา 4 ปี พ.ศ. 2557-2560 (ฉบับทบทวน) คือ สงขลา ศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคใต้ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน ประชาชนมีคุณภาพ สู่อาเซียน โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ (15 กลยุทธ์ 566 โครงการ งบประมาณทั้งสิ้น 82,577.85 ล้านบาท)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาภาคการเกษตร อุตสาหกรรม การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและบริการ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนบนฐานความรู้และพหุวัฒนธรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
พื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศพื้นที่ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน มีพื้นที่ทั้งหมด 134.43 ตารางกิโลเมตร มีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ทั้งสิ้น 29 แห่ง ซึ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ จำนวน 24 แห่ง
โรงงานในพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (พื้นที่ตำบลฉลุง) | ||||
อำเภอ | ตำบล | นิคมอุตสาหกรรม | จำนวนโรงงาน ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม |
จำนวนโรงงาน นอกพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม |
หาดใหญ่ | ฉลุง | นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ | 24 | 5 |
รวม | 29 |
โรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ | ||
ลำดับ | เลขทะเบียนโรงงาน | ชื่อโรงงาน |
1 | น.4(3)-1/2557-นนต. | บริษัท สยามน้ำผึ้ง ระหว่างประเทศ จำกัด |
2 | น.34(2)-1/2554-นนต. | บริษัท หาดใหญ่ทิมเบอร์ จำกัด |
3 | น.52(3)-1/2553-ญนต. | บริษัท สยามมิชลิน จำกัด |
4 | น.52(4)-1/2541-ญนต. | บริษัท ไทย ลีคเลส คอร์ปอเรชั่น จำกัด |
5 | น.52(4)-3/2546-นนต. | บริษัท อินโนลาเท็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด |
6 | น.53(4)-3/2556-นนต. | บริษัท โรโตซอน จำกัด |
7 | น.53(5)-1/2560-นนต. | บริษัท บีเคเทรดดิ้ง จำกัด |
8 | น.58(1)-3/2540-ญนต. | บริษัท สยามอุตสาหกรรมยิปซัม (สงขลา) จำกัด |
9 | น.59-4/2556-นนต. | บริษัท สายใยแก้ว ภาคใต้ จำกัด |
10 | น.63(2)-1/2550-นนต. | บริษัท เอ็ม ที ซี ดับเบิ้ลยู จำกัด |
11 | น.63(2)-2/2554-นนต. | บริษัท มาสโลหะกิจ (ประเทศไทย) จำกัด |
12 | น.64(1)-2/2545-ญนต. | บริษัท เซ้าท์เกท อุตสาหกรรม จำกัด |
13 | น.68-2/2556-นนต. | บริษัท ชลัมเบอร์เจร์ อินดัสทรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด |
14 | น.91(1)-7/2545-นนต. | บริษัท อัล-รอยยาน เทรดดิ้ง จำกัด |
15 | น.105-2/2549-ญนต. | บริษัท ดับบลิว เอ็ม เอส ดีโป จำกัด |
16 | น.106-1/2555-นนต. | บริษัท นาโน รีไซค์เคิ้ล จำกัด |
17 | น.42(1)-3/2560-ญนต. | บริษัท ทีดิก เซาท์ จำกัด |
18 | น.48(3)-1/2560-นนต. | บริษัท วอนนาเทค จำกัด |
19 | น.48(7)-4/2549-นนต. | บริษัท สุรเสียง (ประเทศไทย) จำกัด |
20 | น.53(1)-1/2559-นนต. | บริษัท ธรรมสรณ์ จำกัด |
21 | น.53(4)-1/2559-นนต. | บริษัท พี แอนด์ พี ฟรุ๊ต ซัพพลาย จำกัด |
22 | น.52(3)-1/2559-นนต. | บริษัท คาเร็กซ์ โพลิเมอร์ส จำกัด |
23 | น.52(4)-1/2560-ญนต. | บริษัท เบดดิ้ง ฮูซ จำกัด |
24 | น.88(2)-4/2559-ญนต. | บริษัท อีพี สงขลา จำกัด |
มิติ |
กายภาพ | |
ด้านที่ | 1. | การวางผังที่ตั้งและการจัดพื้นที่ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 1.1 | ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ |
ตัวชี้วัด | 1.1.1 | ระบบสาธารณูปโภคได้รับการพัฒนาหรือยกระดับ โดยนำแนวคิดการออกแบบเชิงนิเวศมาใช้ในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ระบบถนน) |
นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ได้จัดทำผังพื้นที่ถนนและสาธารณูปโภคและอื่นๆ นอกจากนี้ยังแสดงที่ตั้งสำนักงานนิคมอุตสาหกรรม เขตอุตสาหกรรมทั่วไป พื้นที่ว่าง เขตอุตสาหกรรมทั่วไป พื้นที่สีเขียว สถานที่ราชการ พื้นที่พาณิชยกรรม และพื้นที่ที่อยู่อาศัย | ||
มิติ | กายภาพ | |
ด้านที่ | 1. | การวางผังที่ตั้งและการจัดพื้นที่ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 1.1 | การจัดสรรและบริหารจัดการพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ |
ตัวชี้วัด | 1.2.1 | สัดส่วนพื้นที่สีเขียว (Green Area) ต่อพื้นที่ทั้งหมดของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมทั้งแนวป้องกัน (Protection Strip) และพื้นที่กันชน (Eco-Buffer) (ทั้งนี้ หากเป็นโรงงานที่ EIA/EHIA ไม่กำหนด สามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายนอกโรงงานได้ |
ข้อมูลจากนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ พบว่าในเขนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ประกอบด้วย สวนสาธารณะพื้นที่แนวกันชน (Buffer Zone) พื้นที่สีเขียวบริเวณทางเท้า รวมทั้งสิ้น ร้อยละ 11.67 จากพื้นที่ทั้งหมด 2261 ไร่ ทั้งนี้นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ มี Protection Strip แต่ไม่รอบพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้
มิติ | กายภาพ | |
ด้านที่ | 2. | การออกแบบอาคารและบริเวณโดยรอบ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 2.1 | อาคารของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม เขตประกอบการอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม และเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มีการออกแบบอาคารและ/หรือระบบภายในที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ/หรือประหยัดพลังงาน |
ตัวชี้วัด | 2.1.1 | อาคารของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม เขตประกอบการอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม และเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มีการออกแบบอาคารและ/หรือระบบภายในที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ/หรือประหยัดพลังงาน |
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ ทั้งนี้จากข้อมูลจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พบว่ามีโรงงานที่เข้าข่ายโครงการอนุรักษ์พลังงานอาคารควบคุมพลังงาน จำนวน 5 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 17.24 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และแนวทางในการเก็บข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลบริเวณพื้นที่ตำบลฉลุง โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งโรงงานที่มีการออกแบบอาคาร และ/หรือระบบภายในอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ/หรือประหยัดพลังงานจะพิจารณาจากการที่โรงงานมีอาคารประหยัดพลังงานตามมาตรฐานเกณฑ์อาคารสีเขียวของประเทศต่างๆ ได้แก่ สถาบันอาคารเขียวไทย LEED TREES และ TEEAM หรือ มีอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าและแสงสว่างในเปิดปิดอัตโนมัติตามความต้องการในการใช้งาน หรือมีพื้นที่ใช้สอยที่รองรับแสงจากธรรมชาติมากกว่า 20% ของอาคาร
ข้อมูลจากนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ พบว่า มีจำนวนโรงงานในพื้นที่ที่ดำเนินกิจกรรมที่เป็นมิตรดับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสิ้น 4 โรงงาน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 13.79 จากโรงงานทั้งหมดในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง ประกอบด้วย
- บริษัท ไทย ลีคเลส คอร์ปอเรชั่น จำกัด
- แต่งตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์พลังงาน
- เปลี่ยนหลอดฟลูออเรสเซ้น 36 w เป็นหลอดแอลอีดี 18 w
- ปิดไฟเมื่อไม่ใช้งาน ปิดแอร์เวลาพักกลางวัน
- บริษัท อินโนลาเท็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด
- ใช้หลังคาแผ่นใสเพื่อเป็นแสงสว่างภายในอาคาร
- บริษัท โรโตซอน จำกัด
- ใช้หลังคาแผ่นใสเพื่อเป็นแสงสว่างภายในอาคาร
- บริษัท สยามอุตสาหกรรมยิบซั่ม จำกัด
- ปิดไฟเมื่อไม่ใช้งาน ปิดแอร์เวลาพักกลางวัน
- เปลี่ยนหลอดฟลูออเรสเซ้น 36 w เป็นหลอดแอลอีดี 18 w
- นำไอน้ำ/น้ำเสียกลับมาใช้ใหม่
มิติ | เศรษฐกิจ | |
ด้านที่ | 3. | เศรษฐกิจของภาคอุตสาหกรรม |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 3.1 | การเพิ่มปริมาณการลงทุนของภาคอุตสาหกรรม |
ตัวชี้วัด | 3.1.1 | จำนวนเงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมในเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ |
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา ได้จัดทำฐานข้อมูลเงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดสงขลา โดยโรงงานอุตสาหกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง มีจำนวนเงินลงทุนสะสม 3 ปีย้อนหลัง (พ.ศ.2557-2560)
จำนวนเงินลงทุนสะสม 3 ปีย้อนหลัง (พ.ศ.2557-2560) | |
พ.ศ. | เงินลงทุนรวม (ล้านบาท) |
2558 | 3,838,002,000 |
2559 | 75,450,000 |
2560 | 3,878,112,000 |
มิติ | เศรษฐกิจ | |
ด้านที่ | 4. | เศรษฐกิจท้องถิ่น |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 4.1 | การส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในท้องถิ่น |
ตัวชี้วัด | 4.1.1 | การส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมชุมชนในบริเวณโดยรอบ |
นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้มีการจัดกิจกรรมหรือร่วมกับหน่วยงานอื่นๆในการส่งเสริม หรือสนับสนุนให้แก่คนในท้องถิ่น รวมทั้งหมด 7 ชุมชน เช่น
วันที่ 14 ธันวาคม 2559 ลงพื้นที่ติดตามผลและให้ความรู้ โครงการการจัดการสวนยาง จัดการชีวิต เพื่ออนาคตที่มั่นคงของชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมยางพารา (Rubber City) รุ่นที่ 2 ต่อเนื่องชุมชน หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 7
วันที่ 15 ธันวาคม 2559 ลงพื้นที่ติดตามผล และให้ความรู้ โครงการการจัดการสวนยาง จัดการชีวิต เพื่ออนาคตที่มั่นคงของชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมยางพารา (Rubber City) รุ่นที่ 2 ต่อเนื่องชุมชน หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 5
วันที่ 8 กรกฎาคม 2560 จัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพสนับสนุน และบริการชุมชนตามแนวทางประชารัฐ (สอนทำดอกไม้จันทน์ ดอกดารารัตน์ และทำขนมโดนัทจากฟักทอง)
มิติ | เศรษฐกิจ | |
ด้านที่ | 4. | เศรษฐกิจท้องถิ่น |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 4.1 | การส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในท้องถิ่นในบริเวณโดยรอบ |
ตัวชี้วัด | 4.1.2 | สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีจำนวนแรงงานท้องถิ่น |
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ข้อมูลจำนวนแรงงานท้องถิ่นในโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละแห่ง แต่มีการรวบรวมเฉพาะจำนวนแรงงานทั้งหมดในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งข้อมูลจากสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสงขลา มีจำนวนแรงงานทั้งหมดในสถานประกอบการ 2,970 คน โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งแรงงานท้องถิ่น หมายถึง แรงงานที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในจังหวัดที่โรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่
ทั้งนี้ข้อมูลจากนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ พบว่าโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ มีการจ้างแรงงานท้องถิ่น คิดเป็นร้อยละ 100 ของโรงงานทั้งหมดที่ประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้
มิติ | เศรษฐกิจ | |
ด้านที่ | 4. | เศรษฐกิจท้องถิ่น |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 4.1 | การส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในท้องถิ่น |
ตัวชี้วัด | 4.1.3 | สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการจากชุมชน หรือ ส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชน หรือสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนทางด้าน การตลาด หรือพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมอาชีพ หรือทักษะแรงงาน |
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม
ทั้งนี้ข้อมูลจากนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ พบว่าได้มีกิจกรรมร่วมส่งเสริมการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน และยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน อาทิ เช่น วิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานบ้านโดนปลิว โดยนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ ได้นำทีมวิทยากรจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อบรมการให้องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตร การดูแลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรรวมทั้งสนับสนุนวัสดุทางการเกษตร และจัดหาพันธุ์พืชที่เหมาะสมสำหรับชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ และการสนับสนุนให้ขอการรับรองผลิตภัณฑ์ชุมชนไม่มีสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค จากสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสงขลา โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่าง พร้อมทั้งยังได้มีการจัดทำเอกสารรายรับรายจ่ายของกลุ่ม
มิติ | เศรษฐกิจ | |
ด้านที่ | 4. | เศรษฐกิจท้องถิ่น |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 4.1 | การส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในท้องถิ่น |
ตัวชี้วัด | 4.1.4 | อัตราการว่างงาน |
ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลา พบว่าในปี พ.ศ.2560 ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลฉลุงมีจำนวนคนว่างงาน 213 คน เป็นชาย 90 คน และหญิง 213 คน
มิติ | เศรษฐกิจ | |
ด้านที่ | 5. | การตลาด |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 5.1 | มีการส่งเสริมสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม |
ตัวชี้วัด | 5.1.1 | สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Product/Eco-Service) หรือมีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Purchasing) ต่อจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมด |
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม
ทั้งนี้ข้อมูลจากนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ พบว่านิคมอุตสาหกรรมภาคใต้รวบรวมข้อมูลประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจนิเวศ (Eco Efficiency) จากแบบสำรวจ Eco Efficiency และได้รับข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 12 โรง คิดเป็นร้อยละ 41.38 จากโรงงานที่ประกอบกิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง และมีโรงงานที่มีการดำเนินการในด้าน Eco-Process Eco-Product/Eco-Service และ Green Purchasing ของบริษัท สยามอุตสาหกรรมยิปซั่ม จำกัด
มิติ | เศรษฐกิจ | |
ด้านที่ | 6. | การขนส่งและโลจิสติกส์ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 6.1 | การจัดการระบบขนส่งและโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัย |
ตัวชี้วัด | 6.1.1 | สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกิจกรรมหรือมาตรการที่ปลอดภัย ลดต้นทุน หรือเพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่งและโลจิสติกส์ขององค์กร |
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้จากโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละแห่ง โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลรายโรงงานโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งกิจกรรมหรือมาตรการที่ปลอดภัย ลดต้นทุน หรือเพิ่มประสิทธิภาพ ได้แก่ การลดการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง ใช้วัสดุด้านบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ หรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบอัตโนมัติกับระบบขนส่งและ
โลจิสติกส์
มิติ | สิ่งแวดล้อม | |
ด้านที่ | 7. | การจัดการคุณภาพน้ำ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 7.1 | การควบคุมมลภาวะทางน้ำ |
ตัวชี้วัด | 7.1.1 | คุณภาพน้ำทิ้งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน |
ฐานข้อมูลจากนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ ปี พ.ศ.2560 ณ บำบัดจากบ่อผึ่งแล้ว ของโครงการนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ มีการตรวจคุณภาพน้ำทิ้ง 18 พารามิเตอร์ (pH Color (Original pH) Color (pH 7) SS TDS BOD COD Oil & Grease Hg As Cr Pb Ba Cd Ni Mn Zn และFlow Rate) พร้อมทั้งมีโครงการเฝ้าระวัง และฟื้นฟูแหล่งน้ำที่ดำเนินการแล้ว เช่น โครงการอาสาสมัครสิ่งแวดล้อม โดยมีผลการตรวจวัดร่วมกับชุมชนทุกเดือน และมีการประชาสัมพันธ์ให้กับชุมชนที่อยู่โดยรอบนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ ได้รับทราบข้อมูล โดยติดบอร์ดประชาสัมพันธ์ของหมู่บ้าน
น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดจากบ่อผึ่งแล้ว (W3) ปี พ.ศ. 2560 | ||||||||||||||||
อัน ดับ |
พารา มิเตอร์ |
หน่วย |
Detec tion Limited |
ผลวิเคราะห์ |
มาตร ฐาน (1) |
|||||||||||
น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดจากบ่อผึ่งแล้ว (W3) | ||||||||||||||||
13/07/60 | 24/07/60 | 03/08/60 | 16/08/60 | 05/09/60 | 18/09/60 | 03/10/60 | 16/10/60 | 01/11/60 | 13/11/60 | 04/12/60 | 18/12/60 | |||||
1. | pH | - | - | 8.64 | 8.60 | 8.58 | 8.55 | 8.58 | 8.64 | 8.62 | 8.54 | 8.61 | 8.52 | 8.33 | 8.77 | 5.5-9.0 |
2. | Color (Original pH) | 51 | 82 | 44 | 52 | 56 | 48 | 42 | 47 | 42 | 53 | 16 | 52 | 300 | ||
3. | Color (pH 7) | 50 | 81 | 43 | 49 | 51 | 47 | 39 | 45 | 39 | 36 | 14 | 44 | 300 | ||
4. | SS | mg/L | - | 25.59 | 14.82 | 28.44 | 30.39 | 39.40 | 25.20 | 38.24 | 43.20 | 36.06 | 33.38 | 31.34 | 35.68 | 50 |
5. | TDS | mg/L | - | 1,370 | 1,265 | 1,280 | 1,385 | 1,443 | 1,286 | 1,040 | 1,087 | 1,125 | 1,191 | 799 | 1,507 | 3,000 |
6. | BOD | mg/L | - | 2 | 3 | 3 | 3 | 4 | 3 | 4 | 3 | 2 | 6 | 3 | 8 | 20 |
7. | COD | mg/L | - | 32 | 29 | 28 | 31 | 45 | 38 | 40 | 37 | 36 | 65 | 29 | 46 | 120 |
8. | Oil & Grease | mg/L | - | 0.7 | 0.5 | 0.6 | 0.5 | 0.8 | 0.7 | 0.7 | 0.7 | 0.7 | 0.7 | 0.6 | 0.7 | 5 |
9. | Hg | mg/L | 0.0005 | <0.0005 | <0.0005 | <0.0005 | <0.0005 | <0.0005 | <0.0005 | <0.0005 | <0.0005 | <0.0005 | <0.0005 | <0.0005 | <0.0005 | 0.005 |
10. | As | mg/L | 0.0005 | 0.0051 | 0.0049 | 0.0049 | 0.0070 | 0.0061 | 0.0045 | 0.0052 | 0.0039 | 0.0041 | 0.0036 | 0.0026 | 0.0024 | 0.25 |
11. | Cr | mg/L | 0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | - |
12. | Pb | mg/L | 0.04 | <0.04 | <0.04 | <0.04 | <0.04 | <0.04 | <0.04 | <0.04 | <0.04 | <0.10 | <0.04 | <0.04 | <0.04 | 0.2 |
13. | Ba | mg/L | 0.05 | <0.05 | <0.05 | <0.05 | <0.05 | <0.05 | <0.05 | <0.05 | <0.05 | <0.05 | <0.05 | <0.05 | <0.05 | 1.0 |
14. | Cd | mg/L | 0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.03 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | 0.03 |
15. | Ni | mg/L | 0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | 0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.20 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | 1.0 |
16. | Mn | mg/L | 0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | 0.14 | 0.03 | <0.02 | <0.02 | 5.0 |
17. | Zn | mg/L | 0.05 | 0.23 | 0.15 | 0.24 | 0.27 | 0.32 | 0.25 | 0.27 | 0.37 | 0.31 | 0.29 | 0.29 | 0.32 | 5.0 |
18. | Flow Rate | m3/day | - | ,015 | 1,015 | 1,474 | 1,431 | 1,105 | 1,994 | 1,488 | 1,069 | 1,307 | 1,495 | 1,617 | 1,568 | - |
มิติ | สิ่งแวดล้อม | |
ด้านที่ | 7. | การจัดการคุณภาพน้ำ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 7.2 | การลดปริมาณน้ำใช้ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ |
ตัวชี้วัด | 7.2.1 | ปริมาณน้ำใช้ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลดลง |
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้จากโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละแห่ง โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลรายโรงงานโดยใช้แบบสอบถาม
มิติ | สิ่งแวดล้อม | |
ด้านที่ | 7. | การจัดการคุณภาพน้ำ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 7.2 | การลดปริมาณน้ำใช้ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ |
ตัวชี้วัด | 7.2.2 | ปริมาณน้ำทิ้งต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลดลง |
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้จากโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละแห่ง โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลรายโรงงานโดยใช้แบบสอบถาม
มิติ | สิ่งแวดล้อม | |
ด้านที่ | 7. | การจัดการคุณภาพน้ำ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 7.3 | คุณภาพแหล่งน้ำสาธารณะ |
ตัวชี้วัด | 7.3.1 | คุณภาพแหล่งน้ำสาธารณะ |
ฐานข้อมูลจากนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ ปี พ.ศ.2560 ณ สะพานวัดเจริญราษฎร์ จุดระบายน้ำทิ้งของนิคมฯ และสะพานท้ายน้ำของนิคมฯ ประมาณ 1,500 เมตร ของโครงการนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ มีการตรวจคุณภาพน้ำผิวดิน 19 พารามิเตอร์ (pH SS TDS DO BOD COD Oil & Grease TKN Total Hardness Hg As Cd และ Pb) พร้อมทั้งมีโครงการเฝ้าระวัง และฟื้นฟูแหล่งน้ำที่ดำเนินการแล้ว เช่น โครงการอาสาสมัครสิ่งแวดล้อม โดยมีผลการตรวจวัดร่วมกับชุมชนทุกเดือน และมีการประชาสัมพันธ์ให้กับชุมชนที่อยู่โดยรอบนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ ได้รับทราบข้อมูล โดยติดบอร์ดประชาสัมพันธ์ของหมู่บ้าน
ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำผิวดิน ปี พ.ศ. 2560 | |||||||||
อันดับ | ดัชนี | หน่วย | ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำผิวดิน | มาตรฐาน | |||||
สะพานวัดเจริญราษฎร์ | จุดระบายน้ำทิ้งของนิคมฯ | สะพานท้ายน้ำของนิคมฯ ประมาณ 1,500 เมตร | |||||||
10/09/60 | 18/12/60 | 10/09/60 | 18/12/60 | 10/09/60 | 18/12/60 | ||||
1. | pH | - | 6.72 | 6.78 | 6.90 | 6.96 | 6.81 | 6.68 | 5.0-9.0 |
2. | SS | mg/L | 23.99 | 22.88 | 23.05 | 21.96 | 44.29 | 19.32 | - |
3. | TDS | mg/L | 56 | 30 | 87 | 34 | 64 | 30 | - |
4. | DO | mg/L | 5 | 5.75 | 4 | 5.69 | 5 | 5.93 | ≥4.0 |
5. | BOD | mg/L | 2 | 2 | 1 | <1 | 1 | <1 | ≤2.0 |
6. | COD | mg/L | 27 | 22 | 17 | 14 | 25 | 12 | - |
7. | Oil & Grease | mg/L | 0.7 | 0.6 | 0.7 | 0.6 | 0.7 | 0.6 | - |
8. | TKN | mg/L | 0.47 | 0.03 | 0.36 | <0.01 | <0.01 | <0.01 | - |
9. | Total Hardness | mg/L as CaCO3 | 15.5 | 19.5 | 27.5 | 15.5 | 21.5 | 22.5 | - |
10. | Hg | mg/L | <0.0005 | <0.0005 | <0.0005 | <0.0005 | <0.0005 | <0.0005 | 0.002 |
11. | As | mg/L | 0.0033 | 0.0025 | 0.0044 | 0.0025 | 0.0045 | 0.0020 | 0.01 |
12. | Cd | mg/L | <0.001 | <0.001 | <0.001 | <0.001 | <0.001 | <0.001 | 0.005 |
13. | Pb | mg/L | 0.002 | 0.002 | 0.002 | 0.002 | 0.002 | 0.003 | 0.05 |
14. | Ni | mg/L | <0.001 | 0.002 | 0.004 | 0.002 | 0.002 | 0.001 | 0.1 |
15. | Zn | mg/L | <0.04 | <0.04 | <0.04 | <0.04 | <0.04 | <0.04 | 1.0 |
16. | Ba | mg/L | <0.05 | <0.05 | <0.05 | <0.05 | <0.05 | <0.005 | - |
17. | Mn | mg/L | 0.13 | 0.07 | 0.12 | 0.07 | 0.13 | 0.07 | 1.0 |
18. | Cr | mg/L | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | <0.02 | - |
19. | Coliform Bacteria | MPN/100 mL | 160,000 | 35,000 | 54,000 | 160,000 | 35,000 | 92,000 | 20,000 |
มิติ | สิ่งแวดล้อม | |
ด้านที่ | 8. | การจัดการคุณภาพอากาศ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 8.1 | การควบคุมมลภาวะทางอากาศ |
ตัวชี้วัด | 8.1.1 | คุณภาพอากาศบริเวณนิคมอุตสาหกรรม เขตประกอบการอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม และชุมชน อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน |
ฐานข้อมูลจากนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ ปี พ.ศ.2560 ณ บริเวณชุมชนที่พักอาศัยในโครงการ บริเวณหมู่ 3 บ้านหลุมหัวล้าน และบริเวณหมู่ที่ 4 บ้านหัวจักร-ทุ่งรื่น ของโครงการนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ มีการตรวจคุณภาพอากาศในบรรยากาศ 3 พารามิเตอร์( TSP NO2 และ SO2) มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
มิติ | สิ่งแวดล้อม | |
ด้านที่ | 8. | การจัดการคุณภาพอากาศ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 8.1 | การควบคุมมลภาวะทางอากาศ |
ตัวชี้วัด | 8.1.2 | สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมการลดการปล่อยมลพิษทางอากาศที่มีนัยสำคัญได้มากกว่าเกณฑ์มาตร |
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม
มิติ | สิ่งแวดล้อม | |
ด้านที่ | 8. | การจัดการคุณภาพอากาศ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 8.1 | การควบคุมมลภาวะทางอากาศ |
ตัวชี้วัด | 8.1.2 | สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมการลดการปล่อยมลพิษทางอากาศที่มีนัยสำคัญได้มากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน |
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม
มิติ | สิ่งแวดล้อม | |
ด้านที่ | 9. | การจัดการกากของเสียและวัสดุเหลือใช้ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 9.1 | การจัดการกากของเสียและวัสดุเหลือใช้ภาคอุตสาหกรรม |
ตัวชี้วัด | 9.1.1 | อัตราการนำกากของเสียอุตสาหกรรมกลับมาใช้ใหม่ |
ฐานข้อมูลจากนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ มีการรวบรวมชนิดและปริมาณกากของเสียของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ และมีการรายงาน ผสว.ทุกเดือน และมีมาตรการในการกำกับดูแลเคลื่อนย้ายกากอุตสาหกรรมอันตรายต้องสำเนาใบอนุญาตขนส่งกากอุตสาหกรรมอันตราย หรือใบ Manifest ในแต่ละเดือนให้กับนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ และกำหนดให้รถขนส่งอุตสาหกรรมอันตรายต้องมีการติดตั้งระบบ GPS ทุกคัน เพื่อติดตามการขนส่งให้ถูกต้อง
มิติ | สิ่งแวดล้อม | |
ด้านที่ | 9. | การจัดการกากของเสียและวัสดุเหลือใช้ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 9.2 | การจัดการขยะชุมชน |
ตัวชี้วัด | 9.2.1 | อัตราการกำจัดขยะชุมชน |
ข้อมูลจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 พบว่า ปี 2560 มีขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง มีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นเฉลี่ย 7.5 ตันต่อวัน โดยมีการนำขยะเข้าสู่ระบบกำจัดจำนวน 7.5 ตันต่อเดือน ด้วยวิธีการฝังกลบอย่างถูกสุขาภิบาล
มิติ | สิ่งแวดล้อม | |
ด้านที่ | 10. | การจัดการพลังงาน |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 10.1 | มีการใช้พลังงานทดแทนในเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ |
ตัวชี้วัด | 10.1.1 | อัตราการใช้พลังงานทดแทน |
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม
มิติ | สิ่งแวดล้อม | |
ด้านที่ | 10. | การจัดการพลังงาน |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 10.2 | การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ |
ตัวชี้วัด | 10.2.1 | สัดส่วนโรงงานที่ดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการลดการใช้พลังงานหรือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน |
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม
มิติ | สิ่งแวดล้อม | |
ด้านที่ | 11. | การจัดการเหตุเดือนร้อนรำคาญ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 11.1 | การจัดการและตอบสนองต่อข้อร้องเรียนด้านเหตุเดือดร้อนรำคาญ |
ตัวชี้วัด | 11.1.1 | การตอบสนองต่อข้อร้องเรียนด้านเหตุเดือดร้อนรำคาญ |
ข้อมูลจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา พบว่าในปี พ.ศ.2558 - 2560 ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลฉลุงไม่มีข้อร้องเรียนด้านเหตุเดือดร้อนรำคาญ
มิติ | สิ่งแวดล้อม | |
ด้านที่ | 12. | กระบวนการผลิต |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 12.1 | กระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม |
ตัวชี้วัด | 12.1.1 | สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม(Eco-Process) หรือได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) |
จากฐานข้อมูลกรมโรงงานอุตสาหกรรมพบว่า ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลฉลุงมีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco Process) หรือได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) หรืออุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ตั้งแต่ระดับที่ 3 ขึ้นไป หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า จำนวน 3 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 10.34 ของโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดในพื้นที่
ทั้งนี้ข้อมูลจากนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ พบว่ามีโรงงานที่มีการดำเนินการในด้าน Eco-Process Eco-Product/Eco-Service และ Green Purchasing ของบริษัท สยามอุตสาหกรรมยิปซั่ม จำกัด มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย Eco Process โดยผลิตภัณฑ์ของบริษัท มีการนำเศษ gypsum waste มาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิต โดยมีเอกสารและได้รับ Green Label Stamp On Gypsum Board For See In Singapore และมีกระบวนการจัดซื้อที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีการใช้น้ำยาสารเคมีกำจัดปลวกที่เป็นสารชีวภาพที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
โรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco Process) หรือได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) หรืออุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ตั้งแต่ระดับที่ 3 ขึ้นไป หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า | ||||||
เลขที่ | เลขทะเบียนโรงงาน | ชื่อโรงงาน | GI 3 | GI 4 | GI 5 | Eco Factory |
1 | น.52(4)-1/2541-ญนต. | บริษัท ไทย ลีคเลส คอร์ปอเรชั่น จำกัด | 1 | |||
2 | น.52(4)-3/2546-นนต. | บริษัท อินโนลาเท็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด | 1 | |||
3 | น.68-2/2556-นนต. | บริษัท ชลัมเบอร์เจร์ อินดัสทรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด |
1 |
มิติ | สิ่งแวดล้อม | |
ด้านที่ | 12. | กระบวนการผลิต |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 12.2 | การใช้วัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ |
ตัวชี้วัด | 12.2.1 | สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบ |
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม
มิติ | สิ่งแวดล้อม | |
ด้านที่ | 13. | ประสิทธิภาพเชิงนิเวศ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 13.1 | ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเพื่อการจัดการทรัพยากร |
ตัวชี้วัด | 13.1.1 | สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพเชิงนิเวศ (Eco Efficiency) ใน 4 ด้าน ดังนี้
|
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม
ทั้งนี้ข้อมูลจากนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ พบว่านิคมอุตสาหกรรมภาคใต้รวบรวมข้อมูลประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจนิเวศ (Eco Efficiency) จากแบบสำรวจ Eco Efficiency และได้รับข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 12 โรง คิดเป็นร้อยละ 41.38 จากโรงงานที่ประกอบกิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง
มิติ | สิ่งแวดล้อม | |
ด้านที่ | 13. | ประสิทธิภาพเชิงนิเวศ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 13.2 | ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
ตัวชี้วัด | 13.2.1 | สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม
มิติ | สิ่งแวดล้อม | |
ด้านที่ | 13. | ประสิทธิภาพเชิงนิเวศ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 13.3 | ลดการคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ |
ตัวชี้วัด | 13.3.1 | สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการประเมินผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กรต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และจัดทำแผนป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อความหลากหลายทางชีวภาพ |
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม
มิติ | สิ่งแวดล้อม | |
ด้านที่ | 14. | การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 14.1 | การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ |
ตัวชี้วัด | 14.1.1 | อัตราการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงและอัตราการเจ็บป่วยที่รุนแรง |
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม
ทั้งนี้ข้อมูลจากนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ มีแผนภาวะตอบโต้ฉุกเฉิน และมีการทบทวนแผนทุกปี และมีการฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2560 นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ได้ซ้อมแผนป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย กรณีอัคคีภัย ระดับ 1 อำเภอ ที่บริษัท ชลัมเบอร์เจ อินดัสทรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด
มิติ | สิ่งแวดล้อม | |
ด้านที่ | 14. | การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 14.1 | การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ |
ตัวชี้วัด | 14.1.2 | การรั่วไหล และการเกิดอุบัติเหตุของสารเคมีและวัตถุอันตราย ที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อพนักงาน ชุมชน หรือสิ่งแวดล้อมภายนอก |
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม
ทั้งนี้ข้อมูลจากนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ได้จัดทำเอกสารเพื่อขอข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจด้านความปลอดภัยของโรงงาน เพื่อการจัดทำเป็นฐานข้อมูลสารเคมีโรงงานที่เชื่อมโยงกับความปลอดภัยและสุขภาพ และแจกจ่ายให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เทศบาลเมืองควนลัง เทศบาลตำบลท่าช้าง และได้ดำเนินการประชุมหารือผ่านคณะกรรมการ Eco Committee ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2560 และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2560
มิติ | สิ่งแวดล้อม | |
ด้านที่ | 15. | การเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 15.1 | การเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม |
ตัวชี้วัด | 15.1.1 | ระบบการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม หรือ EIA Monitoring หรือโครงการอื่นที่เทียบเท่า |
ฐานข้อมูลจากนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ พบว่านิคมอุตสาหกรรมภาคใต้มีระบบเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม ตามโครงการธงขาวดาวเขียว และ EIA Monitoring นอกจากนี้แล้ว นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ยังมีโครงการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม ได้แก่ โครงการอาสาสมัครสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพ และปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยนอบนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้
มิติ | สังคม | |
ด้านที่ | 16. | คุณภาพชีวิตและสังคมของพนักงาน |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 16.1 | ที่ทำงานมีสุข (Happy Workplace) |
ตัวชี้วัด | 16.1.1 | สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีดำเนินงานตามแนวทางการเป็นที่ทำงานมีสุข (Happy Workplace) |
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม
ทั้งนี้ข้อมูลจากนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้พบว่า มีการดำเนินงานตามแนวทางการเป็นที่ทำงานเป็นสุข (Happy Workplace) โดยมีการการทำแบบ Happy Body, Happy Heart, Happy Soul, Happy Family และ Happy Society
มิติ | สังคม | |
ด้านที่ | 17. | คุณภาพชีวิตและสังคมของคนในท้องถิ่นโดยรอบ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 17.1 | ชุมชนอยู่ดีมีสุข (Happy Community or Well-being Community) |
ตัวชี้วัด | 17.1.1 | การสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนตามบริบทของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ |
ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลฉลุงไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับรางวัล CSR-DIW ทั้งนี้นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้มีการลงพื้นที่ในการสร้างเสริมความสัมพันธ์และความเข้าใจกับชุมชน ตามแผนปฏิบัติการ CSR ประจำปี 2560 มากกว่า 6 ครั้งต่อปี เช่น
- งานบุญสารทเดือนสิบกับชุมชนโดยรอบบิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ ณ วัดเจริญราษร์ บ้านไร่อ้อย เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2559
- งานบุญทอดกฐิน ณ วัดเจริญราษร์ บ้านไร่อ้อย เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2559
- ลงพื้นที่กิจกรรม CSR เคลื่อนที่/สื่อสารสัมพันธ์สู่ชุมชน ณ หมู่ 3 บ้านหลุมหัวล้าน-ทำแร่ และหมู่ 6 บ้านสวนพลู เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2559
- ลงพื้นที่กิจกรรม CSR เคลื่อนที่/สื่อสารสัมพันธ์สู่ชุมชน ณ หมู่ 4 บ้านหัวจักร-ทุ่งรื่น และหมู่ 5 บ้านไร่อ้อย เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2559
- ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลฉลุง ตรวจและคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น และเยี่ยมเยือนชุมชน หมู่ 3 บ้านหลุมหัวล้าน-ท่าแร่ภายใต้โครงการ Mobile Healthy และ CSR เคลื่อนที่ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560
- ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำ ต.ฉลุง ตรวจและคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น และเยี่ยมเยือนชุมชน หมู่ 4 บ้านหลุมหัวจักร-ทุ่งรื่น ภายใต้โครงการ Mobile Healthy และ CSR เคลื่อนที่ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
- ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำ ต.ฉลุง ตรวจ และคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น และเยี่ยมเยือนชุมชน หมู่ 5 บ้านไร่อ้อย ภายใต้ โครงการ Mobile Healthy และ CSR เคลื่อนที่ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560
- ร่วมแสดงความยินดีพิธีเปิดป้ายที่ทำการกำนัน ต.ฉลุง เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2560
- ร่วมรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ และมอบของที่ระลึกให้กับผู้สูงอายุ ในกิจกรรมประเพณีวันสงกรานต์ ณ หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2560
มิติ | สังคม | |
ด้านที่ | 17. | คุณภาพชีวิตและสังคมของคนในท้องถิ่นโดยรอบ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 17.1 | ชุมชนอยู่ดีมีสุข (Happy Community or Well-being Community) |
ตัวชี้วัด | 17.1.2 | ความพึงพอใจของชุมชน |
ปัจจุบันยังไม่มีการสำรวจความพึงพอใจของชุมชนต่อการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่ ทั้งที่จากฐานข้อมูลนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้พบว่ามีการสำรวจความพึงพอใจระหว่างนิคมอุตสาหกรรมกับชุมชน ปี พ.ศ. 2558 มีค่าเท่ากับ 4.43 ปี พ.ศ. 2559 มีค่าเท่ากับ 4.79 และ ปี พ.ศ. 2560 มีค่าเท่ากับ 4.81
มิติ | สังคม | |
ด้านที่ | 17. | คุณภาพชีวิตและสังคมของคนในท้องถิ่นโดยรอบ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 17.1 | ชุมชนอยู่ดีมีสุข (Happy Community or Well-being Community) |
ตัวชี้วัด | 17.1.3 | อัตราการเจ็บป่วยจากโรคจากการประกอบอาชีพ |
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอนาคต คือ การสำรวจข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แบบสอบถาม
มิติ | สังคม | |
ด้านที่ | 17. | คุณภาพชีวิตและสังคมของคนในท้องถิ่นโดยรอบ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 17.1 | ชุมชนอยู่ดีมีสุข (Happy Community or Well-being Community) |
ตัวชี้วัด | 17.1.4 | อัตราการลดลงของการเกิดคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญต่อประชากรรวม |
ข้อมูลจากสถานีตำรวจภูธรทุ่งลุง ปี 2560 ไม่มีข้อมูลการเกิดคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ ในพื้นที่ตำบลฉลุง
มิติ | สังคม | |
ด้านที่ | 17. | คุณภาพชีวิตและสังคมของคนในท้องถิ่นโดยรอบ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 17.1 | ชุมชนอยู่ดีมีสุข (Happy Community or Well-being Community) |
ตัวชี้วัด | 17.1.5 | ระดับความสำเร็จการดำเนินการตามแผนพัฒนาทักษะการประกอบวิชาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต |
ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลา ได้รวบรวมข้อมูลสถิตระดับการศึกษาของประชากรในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง ในปี พ.ศ.2558 - 2560 พบว่าประชากรในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลฉลุงมีระดับการศึกษา
ระดับการศึกษาของประชากรในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง ในปี พ.ศ.2558 - 2560 | |||
ระดับการศึกษา | จำนวนประชากร (คน) | ||
ปี พ.ศ.2558 | ปี พ.ศ.2559 | ปี พ.ศ.2560 | |
ต่ำกว่าประถมศึกษา | 53 | 28 | 171 |
ประถมศึกษา | 2116 | 2078 | 1564 |
มัธยมศึกษาตอนต้น | 1103 | 1189 | 969 |
มัธยมศึกษาตอนปลาย | 277 | 1489 | 638 |
อาชีวศึกษา | 326 | 547 | 124 |
ปริญญาตรี | 620 | 884 | 358 |
สูงกว่าปริญญาตรี | 17 | 8 | 7 |
มิติ | สังคม | |
ด้านที่ | 17. | คุณภาพชีวิตและสังคมของชุมชนโดยรอบ |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 17.1 | ชุมชนอยู่ดีมีสุข (Happy Community or Well-being Community) |
ตัวชี้วัด | 17.1.6 | ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินจากภัยพิบัติ |
ข้อมูลจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา มีการจัดเก็บข้อมูลมูลค่าความเสียหายในทรัพย์สินที่เกิดจากภัยพิบัติในปี พ.ศ.2558- 2560 ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง
มูลค่าความเสียหายในทรัพย์สินที่เกิดจากภัยพิบัติในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง ปี พ.ศ.2558-2560 | ||||
ตำบล | ประเภท ภัยพิบัติ |
จำนวนครั้ง ที่เกิดภัย |
เสียชีวิต | มูลค่าความ เสียหาย(บาท) |
ฉลุง | อัคคีภัย | - | - | - |
วาตภัย | 1 | - | - | |
อุทกภัย | 1 | - | - | |
ก่อการร้าย | - | - | - |
มิติ | การบริหารจัดการ | |
ด้านที่ | 18. | การบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 18.1 | การดำเนินการของคณะทำงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างมีส่วนร่วม |
ตัวชี้วัด | 18.1.1 | แผนและผลการดำเนินงานของคณะทำงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และ/หรือเครือข่ายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ |
พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสงขลาได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและจัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ขึ้นในปี พ.ศ.2559 โดยคณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสงขลา มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศพื้นที่ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา คำสั่งที่ 2146/2559 ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2559
มีคณะทำงานรวมทั้งสิ้น 26 คน และมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเครือข่ายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Network)พื้นที่ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาคำสั่งที่ 2804/2560 ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560 มีคณะทำงานรวม 33 คน เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับจังหวัดสงขลา
เมื่อวันที่ 19 - 20 กุมภาพันธ์ 2561 ได้มีการสัมมนาผู้แทนเครือข่าย Eco Network ครั้งที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 และร่วมกันจัดทำแผนการดำเนินงานของเครือข่าย Eco Network โดยได้นำเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในช่วงเดือนกรกฎาคม 2561
มิติ | การบริหารจัดการ | |
ด้านที่ | 19. | การพัฒนาและรักษาระบบบริหารระดับสากล |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 19.1 | การดำเนินการของคณะทำงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างมีส่วนร่วม |
ตัวชี้วัด | 19.1.1 | สัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry : GI)ตั้งแต่ระดับที่ 2 ขึ้นไป หรือ CSR Beginner หรือระบบการจัดการอื่นที่เทียบเท่า |
จากฐานข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลฉลุงมีโรงงานอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 29 แห่ง มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry : GI) ตั้งแต่ระดับที่ 2 ขึ้นไป หรือ CSR Beginner หรือระบบการจัดการอื่นที่เทียบเท่า จำนวน 7 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 24.13 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่
โรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน | |||||||
ลำดับ | เลขทะเบียนโรงงาน | ชื่อโรงงาน | GI2 | GI3 | GI4 | GI5 | ISO14001 |
1 | น.34(2)-1/2554-นนต. | บริษัท หาดใหญ่ทิมเบอร์ จำกัด | / | ||||
2 | 3-52(3)-2/45สข | บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) | / | ||||
3 | น.64(1)-2/2545-ญนต. | บริษัท เซ้าท์เกท อุตสาหกรรม จำกัด | / | ||||
4 | น.52(4)-1/2541-ญนต. | บริษัท ไทย ลีคเลส คอร์ปอเรชั่น จำกัด | / | ||||
5 | น.52(4)-3/2546-นนต. | บริษัท อินโนลาเท็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด | / | ||||
6 | น.68-2/2556-นนต. | บริษัท ชลัมเบอร์เจร์ อินดัสทรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด | / | ||||
7 | น.58(1)-3/2540-ญนต. | บริษัท สยามอุตสาหกรรมยิปซัม (สงขลา) จำกัด | / |
มิติ | การบริหารจัดการ | |
ด้านที่ | 20. | ข้อมูลข่าวสารและการรายงาน |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 20.1 | การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและการจัดทำรายงาน (Information & Reporting) |
ตัวชี้วัด | 20.1.1 | การสื่อสารและการเปิดเผยข้อมูลของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในรูปแบบช่องทาง และความถี่ในการสื่อสารในลักษณะต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิผล |
เมื่อวันที่ 19 - 20 กุมภาพันธ์ 2561 ได้มีการสัมมนาผู?แทนเครือข?าย Eco Network ครั้งที่ 1 ป?งบประมาณ พ.ศ. 2561 และร่วมกันจัดทำแผนการดำเนินงานของเครือข่าย Eco Networkซึ่งมีการจัดทำแผนการสื่อสารประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และมีการสื่อสารผ่าน line group : อีโค่@สงขลา เพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์การดำเนินงานการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดสงขลา และการสื่อสารการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา นอกจากนี้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลามีการใช้แบบสอบถามผลการสำรวจการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ เฉพาะตำบลฉลุง จังหวัดสงขลา พบว่า ร้อยละ 83 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีการทราบถึงหลักการ/ความหมาย/แนวทางพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ร้อยละ 92 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีการทราบว่าพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของจังหวัดสงขลา อยู่ในพื้นที่ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ และร้อยละ 64 ของผู้ตอบแบบสอบถามได้รับทราบข้อมูลและผลการดำเนินงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจากสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์/โปสเตอร์/แผ่นพับมากที่สุด
มิติ | การบริหารจัดการ | |
ด้านที่ | 20. | ข้อมูลข่าวสารและการรายงาน |
เกณฑ์ตัวชี้วัด | 20.1 | มีธรรมาภิบาล โปร่งใส เปิดเผยข้อมูล และรับผิดชอบต่อชุมชนโดยรอบ |
ตัวชี้วัด | 20.2.1 | การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล การจัดการด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และสารเคมี ของโรงงานต่อสาธารณะ |
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลามีการใช้แบบสอบถามผลการสำรวจการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ เฉพาะตำบลฉลุง จังหวัดสงขลา พบว่า ร้อยละ 65 ของผู้ตอบแบบสอบถามได้รับทราบข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและสารเคมีของโรงงานผ่านช่องทางการสื่อสารจากสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์/โปสเตอร์/แผ่นพับมากที่สุด รองลงมามีการรับทราบข้อมูลจาก การประชุม อินเตอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ เสียงตามสาย และหนังสือเวียนจากทางราชการ ตามลำดับ ร้อยละ 65 ของผู้ตอบแบบสอบถามทราบว่าโรงงานในพื้นที่การจัดการด้านความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อม และสารเคมี ก่อนปล่อยสู่สาธารณะ ร้อยละ 41 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจมากต่อต่อโรงงานในพื้นที่มีการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล การจัดการด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และสารเคมีของโรงงานต่อสาธารณะ ร้อยละ 53 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจมากต่อการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและสารเคมีของโรงงานในพื้นที่มากน้อย ทั้งนี้นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ได้มีการเผยแพร่ของข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจด้านความปลอดภัยของโรงงานที่ตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีข้อมูลชนิด และปริมาณสารเคมีในแต่ละโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ ให้กับหน่วยงานด้านความปลอดภัยและสุขภาพ เช่น เทศบาลเมืองควนลัง ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 12 สงขลาและนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้มีแผนและผลในการสื่อสารและการเปิดเผยข้อมูลของนิดมอุตสาหกรรมภาคใต้ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ วารสารนิคมอุตสาหกรรมเพื่อชุมชน วิทยุชุมชน Website Line Call Center You-Tube Facebook และบอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น นอกจากนี้พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสงขลา ยังมีการจัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสงขลา ซึ่งมีข้อแนะนำเรื่องการจัดการความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และสารเคมีของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยมีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ http://ecocenter.diw.go.th/ อีกทั้งยังมีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเพื่อสื่อสารเผยแพร่ข้อมูลอีกด้วย
คณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ดาวน์โหลดเอกสารคณะทำงานเครือข่ายฯ (Eco Network)
ดาวน์โหลดเอกสารคณะขับเคลื่อนเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ดาวน์โหลดเอกสาร