พื้นที่เป้าหมาย 15 จังหวัด 18 พื้นที่
จังหวัดชลบุรี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดนครปฐม จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปทุมธานี ตำบลบางกะดี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดระยอง เขตควบคุมมลพิษ เขตประกอบการไออาร์พีซี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสงขลา ตำบลฉลุง อำเภอสะเดา จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสระบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานีเนื่องจากจังหวัดฉะเชิงเทราตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม กล่าวคือ อยู่ในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการลงทุนทางด้านโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดใหญ่มาช้านาน อีกทั้งรัฐบาลมีโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก (Eastern Sea Board) ซึ่งมีการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อขนส่งออกและนำเข้า นอกจากนี้ ยังมีทางหลวงสายกรุงเทพฯ-ชลบุรีสายใหม่ (มอเตอร์เวย์) ทำให้การเดินทางและการขนส่งไปยังจังหวัดฉะเชิงเทรารวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง ทำเลของจังหวัดฉะเชิงเทรายังอยู่ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งจะเป็นสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์อีกด้วย
จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศ ประมาณเส้นรุ้งที่ ๑๓ องศาเหนือ และเส้นแวงที่ ๑๐๐ องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ ๕,๓๕๑ ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ ๓,๓๔๔,๓๗๕ ไร่ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ทางทิศตะวันออกประมาณ ๗๕ กิโลเมตรตามทางหลวงรถยนต์หมายเลข ๓๐๔ และประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๓ หรือประมาณ ๙๐ กิโลเมตร ตามทางหลวงรถยนต์หมายเลข ๓๔ แยกเข้าหมายเลข ๓๑๔ และประมาณ ๖๑ กิโลเมตร ตามทางรถไฟสายตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดนครนายก และจังหวัดปราจีนบุรี
- ทิศใต้ ติดกับจังหวัดชลบุรี อ่าวไทย และจังหวัดจันทบุรี
- ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว
- ทิศตะวันตก ติดกับสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี และกรุงเทพฯ
ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นที่ราบชายฝั่งทะเล ทางด้านตะวันตก เฉียงใต้สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ ๒ เมตร และมีที่ดินบางส่วนโดยเฉพาะในเขตอำเภอสนามชัยเขตและอำเภอท่าตะเกียบ มีลักษณะเป็นที่ดิน ซึ่งบริเวณที่อยู่ถัดเข้าไปในพื้นที่แผ่นดินด้านตะวันออกเฉียงเหนือ มีสภาพพื้นที่ราบ เกิดจากการทับถมของตะกอนลำน้ำ พื้นที่จะค่อย ๆ ลาดสูงขึ้นไปทางทิศตะวันออกและทิศเหนือ โดยที่ประมาณครึ่งหนึ่งของจังหวัดจะมีสภาพเป็นลูกคลื่นและสูงชัน เป็นพื้นที่ภูเขา ซึ่งอยู่ในพื้นที่อำเภอพนมสารคามและอำเภอสนามชัยเขตมีความสูงจากระดับน้ำทะเล ๓๐-๘๐ เมตร จังหวัดฉะเชิงเทรามีแม่น้ำบางปะกงไหลผ่านพื้นที่อำเภอต่างๆ คือ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางคล้า อำเภอเมือง อำเภอ บ้านโพธิ์ และออกสู่อ่าวไทยที่อำเภอบางปะกง รวมความยาวชายฝั่งทะเลประมาณ ๑๒ กิโลเมตร
ลักษณะภูมิอากาศ
จังหวัดฉะเชิงเทรามีลักษณะอากาศร้อนชื้นเขตศูนย์สูตร โดยมีลมมรสุมพัดปกคลุมเกือบตลอดปี แบ่งออกตามฤดูกาลได้ ๓ ฤดู ดังนี้
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม โดยมีลมตะวันออกและลมใต้ พัดปกคลุม ทำให้มีอากาศร้อนอบอ้าวและอากาศร้อนจัดเป็นบางวัน บางครั้งอาจมีพายุฤดูร้อน ลักษณะเป็นฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยสูงสุด ๓๕-๓๘ องศาเซลเซียส ปริมาณฝนรวมเฉลี่ย ๒๐๐-๓๐๐ มิลลิเมตร เป็นช่วงที่เหมาะแก่การปลูกพืชไร่ อายุการเก็บเกี่ยวสั้น เช่น ข้าวโพดและถั่วต่าง ๆ
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม โดยมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม ประกอบกับมีร่องความกดอากาศต่ำ พาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออกทำให้มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปและตกหนักบางพื้นที่ อาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง โดยมีปริมาณฝนเฉลี่ย ๑,๐๐๐-๑,๒๐๐ มิลลิเมตร
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดปกคลุม ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงพัดผ่านทำให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิอากาศต่ำสุดเฉลี่ย ๑๘-๒๑ องศาเซลเซียส ปริมาณฝนรวมเฉลี่ย ๕๐-๑๐๐ มิลลิเมตร เป็นช่วงที่เหมาะแก่การปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ดอกและไม้ประดับ
เขตการปกครองและประชากร
การปกครอง
จังหวัดฉะเชิงเทราแบ่งเขตการปกครองแบ่งออกเป็น ๑๑ อำเภอ ๙๑ ตำบล และตำบลในเขตเทศบาล ๒ ตำบล ๘๙๒ หมู่บ้าน ๓๒ เทศบาล (๑ เทศบาลเมือง ๓๑ เทศบาลตำบล) ๑ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ๗๖ องค์การบริหารส่วนตำบล
ประชากร
จำนวนประชากร ณ เดือนธันวาคม ๒๕๕๖ มีจำนวนทั้งสิ้น ๖๙๐,๒๒๖ คน แยกเป็นชาย ๓๓๘,๑๒๕ คน เป็นหญิง ๓๕๒,๑๐๑ คน
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดฉะเชิงเทราในปี 2559 ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 423,965 บาท โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวม ณ ราคาประจำปี 323,528 ล้านบาท ซึ่งสาขาที่มีมูลค่าการผลิตสูงสุด คือ สาขาอุตสาหกรรม 221,040 ล้านบาท
ตารางผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดฉะเชิงเทรา ณ ราคาประจำปี | |||||
หน่วย : ล้านบาท | |||||
รายการ | 2553 | 2554 | 2555 | 2556 | 2557 |
ภาคเกษตร | 16,415 | 20,334 | 20,957 | 21,578 | 20,347 |
สาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ | 14,553 | 18,209 | 18,872 | 20,107 | 18,547 |
สาขาประมง | 231,271 | 237,532 | 319,295 | 298,202 | 303,182 |
ภาคนอกเกษตร | |||||
สาขาเหมืองแร่และเหมืองหิน | 195 | 201 | 219 | 294 | 348 |
สาขาอุตสาหกรรม | 166,244 | 169,447 | 237,479 | 216,627 | 221,040 |
สาขาไฟฟ้า ประปา และโรงแยกก๊าซ | 6,719 | 7,013 | 7,830 | 8,327 | 8,656 |
สาขาก่อสร้าง | 5,345 | 6,178 | 7,650 | 7,902 | 5805 |
สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน | 23,962 | 24,733 | 32,485 | 31,337 | 33,120 |
สาขาโรงแรมและภัตตาคาร | 375 | 526 | 303 | 352 | 352 |
สาขาการขนส่ง สถานที่เก็บสินค้าและการคมนาคม | 11,187 | 10,829 | 11,415 | 9,780 | 10,650 |
สาขาตัวกลางทางการเงิน | 3,031 | 3,273 | 3,759 | 4,323 | 4,823 |
สาขาบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและบริการทางธุรกิจ | 4,310 | 4,287 | 5,166 | 6,275 | 5,065 |
สาขาการบริหารราชการและการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกัน สังคมภาคบังคับ | 3,480 | 3,611 | 4,104 | 3,768 | 3,386 |
สาขาการศึกษา | 3,945 | 4,942 | 6,042 | 6,297 | 6,896 |
สาขาการบริการด้านสุขภาพและสังคม | 1,439 | 1,505 | 1,655 | 1,712 | 1,793 |
สาขาการให้บริการด้านชุมชน สังคมและบริการส่วนบุคคลอื่นๆ | 843 | 901 | 1,080 | 1,099 | 1,134 |
สาขาลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล | 196 | 86 | 105 | 109 | 116 |
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product) | 247,686 | 257,866 | 340,252 | 319,780 | 323,528 |
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว (บาท) | 346,413 | 354,600 | 460,296 | 425,635 | 423,965 |
จำนวนประชากร (1,000 คน) | 715 | 727 | 739 | 751 | 763 |
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ http://www.nesdb.go.th (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2559) |
ทรัพยากรป่าไม้
จังหวัดฉะเชิงเทรามีพื้นที่ทั้งสิ้น 5,351 ตารางกิโลเมตร หรือ 3.34 ล้านไร่ ปี พ.ศ. 2557 เป็นอาณาเขตป่าทั้งสิ้น 536,181.97 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 16.61 ของพื้นที่จังหวัด ซึ่งจำแนกเป็นพื้นที่ป่าบก528,160.10 ไร่คิดเป็นร้อยละ 16.36 ป่าชายเลน 8,021 ไร่คิดเป็นร้อยละ 0.25 อำเภอที่มีพื้นที่ป่ามากที่สุดได้แก่ อำเภอท่าตะเกียบ จำนวน 409,507.40 ไร่รองลงมาได้แก่อำเภอสนามชัยเขต จำนวน 108,580.57 ไร่สำหรับพื้นที่ป่าชายเลนจะมีอยู่ในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางปะกง อำเภอบ้านโพธิ์และอำเภอเมือง
พื้นที่ป่าไม้สำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและป่ารอยต่อ 5 จังหวัดมีป่าสงวนแห่งชาติ 1 แห่ง คือ ป่าแควระบม - สียัด ประกาศ เมื่อ ปี พ.ศ. 2512 มีพื้นที่ 1.75 พันไร่ ต่อมามีการนำพื้นที่ไปปฏิรูปที่ดินเป็น สปก. และบางส่วนนำไปประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ปัจจุบันเหลือพื้นที่ซึ่งระบุว่าเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติตามกฎหมาย จำนวน 854,612.90 ไร่
ทรัพยากรน้ำ
จังหวัดฉะเชิงเทรา มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ คือ แม่น้ำบางปะกง มีความยาวทั้งสิ้น 122กิโลเมตร (นับจากจุดบรรจบของต้นน้ำถึงบริเวณปากอ่าว) และตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำบางปะกงสายหลักฝั่งซ้ายฝั่งขวา และลุ่มน้ำคลองท่าลาด รวมพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาทั้ง 3 ลุ่มน้ำ เท่ากับ 4,052.56 ตารางกิโลเมตร โดยมีปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยของลุ่มน้ำคลองท่าลาดมากที่สุด คือ 744.81 ล้านลูกบาศก์เมตร รองลงมา คือ ลุ่มแม่น้ำบางปะกงสายหลักฝั่งซ้ายมีปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ย 167.33 ล้านลูกบาศก์เมตร และลุ่มน้ำฝั่งขวามีปริมาณน้ำท่ารายปี 131.61 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งผลให้มีปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อประชาชนสูงกว่าเกณฑ์กำหนด แต่อย่างไรก็ตามบางพื้นที่อาจมีสภาพขาดแคลนน้ำได้เนื่องจากอยู่ห่างไกลแหล่งน้ำหรือมีคุณภาพน้ำไม่เหมาะสม เช่น น้ำเสียหรือน้ำเค็ม โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้งที่มีการรุกล้ำของน้ำเค็มสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
ทรัพยากรน้ำบาดาล
จังหวัดฉะเชิงเทราพบว่ามีแหล่งน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลอยู่ทั่วไปภายในจังหวัด โดยพื้นที่มีปริมาณน้ำใต้ดินมากจะอยู่ทางด้านตะวันตกของจังหวัดในเขตลุ่มน้ำบางปะกง ส่วนทางด้านตะวันออกมีปริมาณน้ำใต้ดินน้อย น้ำใต้ดินส่วนใหญ่มีคุณภาพไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการอุปโภค บริโภคหรือเกษตรกรรม เนื่องจากน้ำมีความเค็มหรือเป็นน้ำกร่อย พื้นที่ที่สามารถนำน้ำใต้ดินมาใช้ประโยชน์ได้คือ บางส่วนของอำเภอบางคล้า อำเภอสนามชัยเขต อำเภอพนมสารคาม อำเภอท่าตะเกียบ แต่มีปริมาณน้อย
จำนวนบ่อบาดาลทั้งหมด 175 บ่อ ซึ่งบ่อบาดาลที่ใช้ในการอุปโภคและบริโภคจำนวน 57 บ่อ บ่อธุรกิจ 83 บ่อ บ่อเกษตรกรรม 35 โดยบ่อบาดาลดังกล่าวอยู่ในท้องที่อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา 16 บ่อ อำเภอบ้านโพธิ์ 14 บ่อ อำเภอบางคล้า 10 บ่อ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว 15 บ่อ อำเภอบางปะกง 22 บ่อ อำเภอแปลงยาว 58 บ่อ อำเภอท่าตะเกียบ 5 บ่อ อำเภอสนามชัยเขต 7 บ่อ อำเภอพนมสารคาม 27 บ่อ อำเภอคลองเขื่อน 1 บ่อ
การสาธารณสุข
จังหวัดฉะเชิงเทรา มีสถานพยาบาล ประกอบด้วย โรงพยาบาล ศูนย์การแพทย์ และโรงพยาบาลประจำตำบล รวม 135 แห่ง มีบุคลากรด้านสาธารณสุข ประกอบด้วย แพทย์ 201 คน ทันตแพทย์ 56 คน เภสัชกร 79 คน พยาบาล 1,223 คน อัตราส่วนแพทย์ต่อจำนวนประชากรจังหวัดฉะเชิงเทรา เท่ากับ 1: 3,412 คน
การศึกษา
จังหวัดฉะเชิงเทรา แบ่งระดับการศึกษาเป็น 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา โดยการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย สถานศึกษาตั้งแต่ระดับเด็กเล็ก อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย มีโรงเรียนทั้งสิ้น 371 แห่ง จำแนกเป็นสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานและอื่นๆ รวม 344 แห่ง และสำนักงานบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 27 แห่ง จำนวนห้องเรียน 4,593 ห้องเรียน ครู 5,728 คนนักเรียนจำนวน 112,862 คน
ประชากร แรงงานและการจ้างงาน และแรงงานต่างด้าว
จังหวัดฉะเชิงเทรา มีประชากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ทั้งสิ้น 698,197 คน จำแนกเป็นชาย 342,382 คน หญิง 355,815 คน
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ดำเนินการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรในจังหวัดฉะเชิงเทราปี พ.ศ.2558 พบว่า ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวน 638,401 คน จำแนกเป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 434,875 คน และผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 203,526 คน จากจำนวนผู้อยู่ในกำลังแรงงาน พบว่ามีผู้ว่างงาน จำนวน 1,091 คน และมีแรงงานต่างด้าวจำนวนทั้งสิ้น 15,808 คน
จังหวัดฉะเชิงเทรา มีวิสัยทัศน์การพัฒนา 4 ปี พ.ศ. 2561-2564 คือ ศูนย์กลางแห่งบูรพาวิถีสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ฐานอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมโดดเด่น เป็นเลิศสินค้าเกษตรปลอดภัยท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และวัฒนธรรมได้มาตรฐาน สังคมเป็นสุข ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดทำผังเมืองที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การยกระดับการจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในพื้นที่
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างความเชื่อมโยงเศรษฐกิจชุมชนและอุตสาหกรรมในพื้นที่
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิต
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์ความรู้และบุคลากร
คณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดฉะเชิงเทราได้มีการคัดเลือกพื้นที่ 1 พื้นที่ เพื่อเป็นเป้าหมายพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ พื้นที่กลุ่มโรงงานนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ อำเภอแปลงยาว ครอบคลุมพื้นที่เขตปกครอง 2 ตำบลใน 1 อำเภอ ได้แก่ ตำบลหัวสำโรง ตำบลแปลงยาว อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา อาณาเขตครอบคลุมนิคมอุตสาหกรรม 1 นิคม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ มีโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เป้าหมายรวม 172 โรงงาน โดยมีโรงงานที่ได้รับการรับการรับรองระบบ
การวางผังที่ตั้งและการจัดพื้นที่
พื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ในพื้นที่ 2 ตำบล ใน 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแปลงยาว ตำบลหัวสำโรง และตำบลแปลงยาว มีอาณาเขตครอบคลุมนิคมอุตสาหกรรม 1 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ ประกอบด้วย
ระบบถนน มีผิวจราจรเป็นชนิดแอสฟัสติคคอนกรีต แบ่งเป็น 3 ขนาด คือ
-
- ถนนสายประธาน 6 ช่องจราจร มีความกว้างเขตทาง 50 เมตร
- ถนนสายรอง 4 ช่องจราจร มีความกว้างเขตทาง 40 เมตร
- ถนนซอย 2 ช่องจราจร มีความกว้างเขตทาง 33 เมตร
- ระบบน้ำประปา
-
- แหล่งน้ำดิบ : อ่างเก็บน้ำ 2 อ่าง ขนาดความจุรวมกันประมาณ 7.5 ล้านลูกบาศก์เมตร
- ผลิตน้ำประปาได้ 23,350 ลูกบาศก์เมตร/วัน
-
- ระบบไฟฟ้า
- สถานีไฟฟ้าย่อยขนาด 150 เมกกะวัตต์
- แรงดันไฟฟ้า 22 กิโลโวลต์
- ระบบโทรศัพท์
- บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) - สายตรง 1,024 คู่สาย (สามารถขยายได้ถึง 6,000 เลขหมายในอนาคต)
- บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด มีการสร้าง สถานีดาวเทียม อยู่ในนิคมเพื่อให้บริการสื่อสารความเร็วสูง Intelsat Business Service
- ระบบบำบัดน้ำเสีย
- ระบบตะกอนเร่ง
- เนื้อที่ 40 ไร่
- สามารถกำจัดน้ำเสียได้ 17,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน
- ระบบกำจัดขยะ
- โรงกำจัดขยะ 2 โรง จำนวน 5 เตา
- เตาเผาขยะ สามารถเผาขยะได้ 40 ตัน/วัน
- บ่อฝังกลบขยะเนื้อที่ 54 ไร่ สามารถฝังกลบได้ 444,000 กิโลกรัม
จากข้อมูลรายงานการตรวจประเมินการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในระดับ Eco-Champion พบว่านิคมฯ เกตเวย์ซิตี้ได้มีการนำแนวคิดการออกแบบเชิงนิเวศตามข้อบังคับคณะกรรมการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยมาตรฐานระบบสาธารณูปโภคสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสำหรับนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พ.ศ. 2557 มาใช้กับระบบสาธารณูปโภค 10 หมวด
ข้อมูลพื้นที่สีเขียว
จากรายงานการตรวจประเมินการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในระดับ Eco-Champion นิคมอุตสาหกรรมแกตเวย์ ซิตี้ จัดให้มีพื้นที่สีเขียว ประกอบด้วยสวนสาธารณะ พื้นที่แนวกันชน (Buffer Zone)พื้นที่สีเขียวบริเวณทางเท้า รวมทั้งสิ้น 2.68 % จากพื้นที่ทั้งหมด 5,183 ไร่ โดยพื้นที่สีเขียวภายในนิคมฯ แสดงดังรูป ทั้งนี้ไม่มีหน่วยงานที่เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นที่สีเขียวในโรงงานอุตสาหกรรม
จำนวนเงินลงทุนของผู้ประกอบการในเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ มีการจัดทำสถิติข้อมูลจำนวนเงินลงทุนของผู้ประกอบการในระหว่างปี พ.ศ.2556-2560 (ข้อมูลเมื่อวันที่ ณ พฤษภาคม 2560)
ข้อมูลจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่าโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจดทะเบียนในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดฉะเชิงเทรามีจำนวนเงินลงทุนของผู้ประกอบการ (กรกฎาคม 2559) รวมทั้งสิ้น 32,102.978 ล้านบาท (เฉพาะโรงงานจำพวก 2 และ 3)
จำนวนโรงงานที่มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการจากชุมชน หรือส่งเสริมกิจกรรมหรือกลุ่มอาชีพให้กับชุมชน หรือสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนทางด้านการตลาด หรือพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมอาชีพ หรือทักษะแรงงาน
นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ มีการจัดกิจกรรมหรือร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในการส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในท้องถิ่น รวมทั้งหมด 6 ชุมชน เช่น
-
- วันที่ 4 เมษายน 2560 ลงพื้นที่เพื่อฝึกอบรมการสร้างอาชีพตามโครงการฟื้นผืนดิน ให้กับชุมชนบริเวณบ้านคลอง หมู่ 2 ต.แปลงยาว และ ต.บ้านคลอง ชุมชนหมู่ที่ 3 ต.แปลงยาว
- วันที่ 13 กรกฎาคม 2560 ลงพื้นที่เพื่อฝึกอบรมการสร้างอาชีพตามโครงการ ฟื้นผืนดินให้กับชุมชน บริเวณบ้านผู้ใหญ่บ้าน ต.วังเย็น หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 10
นอกจากนี้นิคมฯ เกตเวย์ซิตี้ ได้มีกิจกรรมส่งเสริมการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกร หมู่ 9 ต.แปลงยาว ผลิตภัณฑ์จากปุ๋ยบำรุงดิน ปลูกผัก ทั้งนี้อยู่ระหว่างขอการรับรองการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน
สำหรับโรงงานนอกนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ การส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของวิสาหกิจชุมชนโดยผู้ประกอบการ ยังไม่มีหน่วยงานใดในท้องถิ่นหรือจังหวัดรวบรวมข้อมูล ทั้งนี้ในระดับจังหวัดมีการจัดตั้งบริษัทประชารัฐรักสามัคคีจังหวัดฉะเชิงเทรา (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน ประชาชนมีสุข โดยการทำงานในรูปแบบของการสานพลังประชารัฐ จุดมุ่งหมายในการดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ คือ การเสริมสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน และชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีความสุข ลดความเหลื่อมล้ำ เน้นในการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนโดยยึดความต้องการของชุมชนเป็นตัวตั้งพัฒนา คุณภาพคน เน้นสร้างองค์ความรู้ในระดับชุมชน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เงิน สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน และมีช่องทาง สำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชนต่อไป และจากข้อมูล CSR ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมมีโรงงานที่ดำเนินการตามมาตรฐาน CSR-DIW ซึ่งตามข้อกำหนดให้มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมให้มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการจากชุมชน หรือ ส่งเสริมกิจกรรมหรือกลุ่มอาชีพให้กับชุมชน รวมจำนวน 2 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 1.16 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมาย และจากแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดฉะเชิงเทรา ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ปี พ.ศ.2559 จังหวัดฉะเชิงเทรามีโครงการเพิ่มขีดความสามารถสินค้าอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนให้แข่งขันได้และมีโครงการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานในเขตพื้นที่เมืองอุตสาหกรรม
จำนวนโรงงานผลิตสินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ มีการรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม Eco Efficiency พบว่ามีการตอบข้อมูลกลับมาจำนวนทั้งสิ้น 21 โรงงาน และมีข้อมูลรายละเอียดแสดงประสิทธิผลจากการดำเนินการในด้าน Eco-Process Eco-product/Eco-Service และ Green Purchasing ของบริษัท ยีเอส ยัวซ่า สยาม อินดัสตรีส์ จำกัด และบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ในพื้นที่เป้าหมาย ยังไม่มีโรงงานที่ได้รับฉลากลดคาร์บอน ทั้งนี้จากแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดฉะเชิงเทราของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ปี พ.ศ. 2559 จังหวัดฉะเชิงเทรามีโครงการยกระดับการผลิตและบริโภคสีเขียว สนับสนุนให้โรงงานมีการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การขนส่งและโลจิสติกส์
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ ในระดับจังหวัดมีโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค(OPOAI) ) ซึ่งเป็นโครงการที่คัดเลือกผู้ประกอบการจากทั้งจังหวัดเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสถานประกอบการ ทั้งด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ซึ่งมีแผนงานเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่งโลจิสติกส์ขององค์กร
ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงาน
กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีฐานข้อมูลคุณภาพน้ำทิ้ง BOD Load และ COD Load ของน้ำทิ้งโรงงานที่เข้าข่ายตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจาก โรงงาน พ.ศ.2550
นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ มีผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ และเมื่อพิจารณาค่า BOD และ COD พบว่าค่าที่ตรวจวิเคราะห์ได้มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
การลดปริมาณน้ำใช้ต่อผลิตภัณฑ์
ข้อมูลการลดปริมาณน้ำใช้ต่อผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลปริมาณน้ำที่ใช้ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลดลง โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมมีการจัดทำฐานข้อมูลการใช้น้ำในโรงงาน ในการยื่นขอจดประกอบกิจการ และยื่นต่อทะเบียนโรงงาน แต่ไม่มีข้อมูลการลดการใช้น้ำของโรงงาน และจากรายงานสรุปผลการให้บริการและบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ มีฐานข้อมูลการใช้น้ำในแต่ละสถานประกอบการ ซึ่งมีการส่งเสริมให้ลดการใช้น้ำตามแนวทางของนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับ Eco Champion อีกทั้งข้อมูลปริมาณน้ำทิ้งต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลดลง กรมโรงงานอุตสาหกรรม มีการจัดทำฐานข้อมูลคุณภาพน้ำทิ้ง BOD Load และ COD Load ของน้ำทิ้งโรงงานที่เข้าข่ายตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจาก โรงงาน พ.ศ.2550 ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้รับไม่มีการแจกแจงระดับพื้นที่
คุณภาพแหล่งน้ำสาธารณะของพื้นที่เป้าหมาย
แม่น้ำบางปะกง เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่สุดของจังหวัดฉะเชิงเทรา มีความยาวทั้งสิ้น 122 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 8,641 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 96.68 ของพื้นที่จังหวัด กำหนดเป็นแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 3 จังหวัดฉะเชิงเทรามีจุดตรวจวัดคุณภาพน้ำ 22 จุด ไม่มีจุดตรวจวัดที่อยู่ในพื้นที่เป้าหมาย ส่วนพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอำเภอแปลงยาว มีลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำบางประกงที่ไหลผ่านคือ ที่ราบแม่น้ำบางปะกง คลองท่าลาด และคลองหลวง มีจุดตรวจวัดคุณภาพน้ำของสำนักงานสิ่งแวดภาคที่ 13 อยู่ที่คลองท่าลาด 2 จุด ความถี่ในการตรวจวัดคุณภาพน้ำ 4 ครั้งต่อปี ซึ่งคุณภาพน้ำโดยรวมตลอดปีอยู่ในเกณฑ์พอใช้ คุณภาพน้ำที่เป็นปัญหาสำคัญได้แก่ ปริมาณออกซิเจนละลาย (DO) ความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (BOD) การปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (TCB) การปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (FCB) และปริมาณแอมโมเนีย (NH3)
สำหรับนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ มีโครงการเฝ้าระวัง และฟื้นฟูแหล่งน้ำที่ดำเนินการแล้ว เช่น โครงการนักสืบสายน้ำ และน้ำใสใจรักษ์ โครงการสร้างความตระหนักและอนุรักษ์คลองวังด้วน ให้กับกลุ่มนักเรียนโรงเรียนวัดไผ่แก้ววิทยา และโรงเรียนแปลงยาว
การควบคุมมลภาวะทางอากาศ
ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดฉะเชิงเทรา ไม่มีจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศอยู่ในพื้นที่
ทั้งนี้จากผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศจังหวัดฉะเชิงเทราปี พ.ศ.2559-2560 ของสำนักคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ ณ สถานีตรวจวัดพื้นที่ ต.วังเย็น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา พบว่าคุณภาพอากาศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และจากข้อมูลผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศ ได้แก่ SO2 NO2 และฝุ่นละอองในบรรยากาศบริเวณนิคมฯ มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ มีการทำฐานข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในนิคมอุตสาหกรรม และชุมชนตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมในรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) กำหนด และสัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมการลดการปล่อยมลพิษทางอากาศที่มีนัยสำคัญได้มากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน พบว่าปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลรายโรงงานโดยใช้แบบสอบถามเพื่อรวบรวมข้อมูล กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีฐานข้อมูลการปล่อยมลพิษในโรงงาน ในการยื่นขอจดประกอบกิจการ และยื่นต่อทะเบียนโรงงาน มีการจัดทำฐานข้อมูลมลพิษทางอากาศของโรงงานที่เข้าข่ายตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ.2550 และจากแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดฉะเชิงเทรา ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ปี พ.ศ. 2559 มีโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการมลพิษอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุนเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
อัตราการนำกากของเสียอุตสาหกรรมกลับมาใช้ใหม่
นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ มีการติดตามการนำกากของเสียของโรงงานในนิคมฯ ไปกำจัด และได้มีการรายงานสถานภาพขออนุญาตนำส่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงานนิคมฯ เกตเวย์ซิตี้ เป็นประจำทุกเดือน และมีมาตรการในการกำกับดูแลเคลื่อนย้ายกากอุตสาหกรรมอันตราย โดยมีการติดตามให้โรงงานในโครงการฯ ปฏิบัติตามแนวทางในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ.2548 ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดในจังหวัดหรือในท้องถิ่นเก็บรวบรวมข้อมูลอัตราการนำกากของเสียอุตสาหกรรมกลับมาใช้ใหม่
จากศูนย์สารสนเทศโรงงานอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้มีการรวบรวมข้อมูลปริมาณกากของเสียอุตสาหกรรม ตามรายงานการขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน ในพื้นที่อำเภอแปลงยาว โดยในปี พ.ศ.2559 อำเภอแปลงยาวมีกากของเสียรวม 276,494.68 ตัน จำแนกเป็นกากของเสียไม่อันตรายร้อยละ 79.68 และกากของเสียอันตรายร้อยละ 20.32 ทั้งนี้จากแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดฉะเชิงเทรา มีโครงการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้เพื่อการอุตสาหกรรม ส่งเสริมให้สถานประกอบการนำของเสียมาใช้ประโยชน์และการพัฒนาธุรกิจรีไซเคิล/อัพไซเคิลเพื่อเพิ่มมูลค่าและใช้ประโยชน์กากอุตสาหกรรม การศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการผลิตไฟฟ้าความร้อนจากขยะชุมชนและกากอุตสาหกรรม
อัตราการกำจัดขยะชุมชน
พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดฉะเชิงเทราอยู่ในเขตปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งสิ้น 6 อปท. โดยจากรายงานการบริหารจัดการขยะเทศบาลตำบลหัวสำโรง (รายงานประจำเดือนกันยายน ปี 2559) พบว่า มีปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนในเขตพื้นที่ 300 ตัน/เดือน วิธีการกำจัดขยะมูลฝอยทำโดยการเทกอง ทั้งนี้กรมควบคุมมลพิษได้จัดทำรายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ.2559 โดยมีข้อมูลอัตราการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนเป็นรายพื้นที่ อีกทั้งในแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดฉะเชิงเทรา มีโครงการยกระดับและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยโดยมีเป้าหมายการจัดการสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
การจัดการพลังงาน
นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ มีนโยบายในการเลือกใช้พลังงานทดแทนในกิจกรรมส่วนกลาง กิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้ว เช่น โครงการเปลี่ยนโคมไฟกระพริบ จากใช้พลังงานไฟฟ้ามาเป็นพลังงานแสงอาทิตย์
นอกจากนี้มีข้อมูลสถานการณ์การใช้พลังงานระดับจังหวัด แต่ไม่มีข้อมูลในระดับพื้นที่ ซึ่งปริมาณการใช้พลังงานรวมจังหวัดฉะเชิงเทรา เท่ากับ 197.48 ktoe และจากแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดฉะเชิงเทรา ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ปี พ.ศ. 2559 มีโครงการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการผลิตไฟฟ้าความร้อนจากขยะชุมชนและกากอุตสาหกรรมในพื้นที่อำเภอแปลงยาว อีกทั้งมีข้อมูลโรงงานที่เข้าข่ายโครงการอนุรักษ์พลังงานอาคารควบคุมพลังงาน จำนวน 6 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 3.49 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
การจัดการเหตุเดือดร้อนรำคาญ
นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ มีกระบวนการตอบสนองข้อร้องเรียน โดยพบว่าช่วงที่ผ่านมามีข้อร้องเรียนเรื่อง กลิ่นของโรงงาน เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2560 ซึ่งนิคมฯ ได้เข้าไปดำเนินการตรวจสอบและสอบสวนหาสาเหตุพร้อมได้วิเคราะห์หาแนวทางการแก้ไขร่วมกับผู้ประกอบการ จนได้ดำเนินการแล้วเสร็จ มีผลเป็นที่พอใจ ซึ่งระบุในรายงานผลการจัดการข้อร้องเรียน ที่สน.กว.0151/2560 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2560
สำหรับในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดฉะเชิงเทรา ในปี พ.ศ.2560 พบข้อร้องเรียนด้านเหตุเดือดร้อนรำคาญ 3 เรื่อง ได้แก่ การร้องเรียนด้านเครื่องจักรส่งเสียงดังและฝุ่นละอองฟุ้งกระจายจากโรงสีข้าว ผลกระทบจากกลิ่นเผาไหม้ยางรถยนต์ จากโรงงานอุตสาหกรรมรีไซเคิลยางรถยนต์เก่า ในพื้นที่ตำบลหัวสำโรง และผลกระทบจากการประกอบกิจการของโรงงานอุตสาหกรรมคอนกรีตในพื้นที่ โดยมีการวิเคราะห์ข้อร้องเรียนและมีการดำเนินการแก้ไขตามมาตรการ
กระบวนการผลิต
จากฐานข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดฉะเชิงเทรา และจากฐานข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม มีโรงงานได้รับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 3 ขึ้นไปจำนวน 22 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 8.36 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายในพื้นที่ยังไม่มีโรงงานที่ได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) และจากแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดฉะเชิงเทรา มีโครงการพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ/อุตสาหกรรมสีเขียว และสนับสนุนให้โรงงานมีการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งข้อมูลสัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้วัตถุดิบปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้จัดทำฐานข้อมูลการใช้วัตถุดิบของโรงงาน ในขั้นตอนการแจ้งจดทะเบียนประกอบกิจการและยื่นต่ออายุใบประกอบกิจการ ทั้งนี้โครงการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศพื้นที่ 8 จังหวัด มีการจัดทำฐานข้อมูลการใช้วัตถุดิบของโรงงาน และในระดับจังหวัดมีโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค (OPOAI) ของกระทรวงอุตสาหกรรม
ประสิทธิภาพเชิงนิเวศ
นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ รวบรวมข้อมูลประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจนิเวศ จากแบบสำรวจ Eco Efficiency ได้รับข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 21 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 34.43 จากโรงงานที่ประกอบกิจการในนิคม (61 โรงงาน)
จากฐานข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดฉะเชิงเทรายังไม่มีโรงงานที่ได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) และข้อมูลสัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกพบว่าปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมมีการจัดเตรียม ฐานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโรงงานอุตสาหกรรม ปัจจุบันอยู่ในช่วงการรวบรวบข้อมูลทั้งประเทศ จากฐานข้อมูลขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกพบว่าในพื้นที่ไม่โรงงานที่ได้รับฉลาดลดคาร์บอน และข้อมูลสัดส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการประเมินผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กรต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และจัดทำแผนป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อความหลากหลายทางชีวภาพ พบว่าปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยมีฐานข้อมูลของสำนักงานนโยบายแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของโรงงานที่จะต้องมีการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งต้องมีการประเมินความหลากหลายทางชีวภาพ และจัดทำแผนป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อความหลากหลายทางชีวภาพ โดยในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศมีโรงงานที่มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จำนวน 2 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 0.94 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่อำเภอแปลงยาว
อัตราการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงและอัตราการเจ็บป่วยที่รุนแรง
นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ ไม่มีอุบัติเหตุร้ายแรงและอัตราการเจ็บป่วยที่รุนแรงที่มีผลกระทบต่อชุมชนในรอบหนึ่งปีเป็นศูนย์
อีกทั้งจากฐานข้อมูลพบว่าพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศมีโรงงานประเภทอุตสาหกรรมที่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยงจำนวน 4 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 2.3 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมาย ทั้งนี้จากข้อมูลจากสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย ในปี พ.ศ.2559 พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดฉะเชิงเทรา ไม่มีรายงานการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม และจากข้อมูลรายงานจำนวนการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน (ระหว่าง 1 ม.ค.-31 ธ.ค 2559 ) สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่าในปี พ.ศ.2559 มีข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุจากวัตถุหรือสิ่งของระเบิดและการสัมผัสสิ่งมีพิษ สารเคมี รวมทั้งสิ้น 8 คน ทั้งนี้กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีกฎหมายที่ให้โรงงานอุตสาหกรรมจะต้องจัดบัญชีข้อมูลสารเคมีอันตราย วัตถุอันตราย และการรั่วไหลของสารเคมี และรายงานให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบ
การรั่วไหล และการเกิดอุบัติเหตุของสารเคมีและวัตถุอันตราย ที่ทำให้เกิดผล กระทบต่อพนักงาน ชุมชน หรือสิ่งแวดล้อมภายนอก
นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ มีการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลสารเคมีจากโรงงาน รวมจำนวนทั้งสิ้น 40 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 65.57 จากจำนวนโรงงานทั้งหมด (61 โรงงาน) ซึ่งนิคมฯ ได้จัดประชุมหารือกับหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อหาแนวทางการจัดทำและเชื่อมโยงข้อมูลสารเคมีที่ใช้ในนิคมฯ อีกทั้งได้
ดำเนินการรวบรวมข้อมูลสุขภาพชุมชน 21 โรค จากโรงพยาบาลแปลงยาวเรียบร้อยแล้ว
การเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม
นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ มีการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมและรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA monitoring และตามโครงการธงขาวดาวเขียว มีการจัดทำเป้าหมายยกระดับนิคมอุตสาหกรรม เข้าสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มีการประเมินผลเพื่อให้การรับรองการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในระดับ Eco Champion มีโครงการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วมได้แก่โครงการสร้างความตระหนัก และอนุรักษ์คลองวัดด้วง และโครงการนักสืบสายน้ำ และน้ำใสใจรักษ์ นอกจากนี้จากฐานข้อมูลของสำนักนโยบายแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดฉะเชิงเทรา มีโรงงานที่มีระบบการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วมตามโครงการ GI หรือระบบ EIA Monitoring จำนวน 2 โรงงาน ทั้งนี้ภายใต้โครงการยกระดับศูนย์ติดตามตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 8 จังหวัด ยังมีการจัดตั้งเครือข่ายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่มีบทบาทเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วมอีกด้วย
คุณภาพชีวิตและสังคมของพนักงาน
นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ มีกิจกรรมที่ส่งเสริมการเป็นที่ทำงานมีสุข ดังนี้
- Happy Body เช่น งานเกตเวย์ มินิมาราธอน
- Happy Heart เช่น บริจาคโลหิต
- Happy Relax เช่น กิจกรรมงานท่องเที่ยวของพนักงาน
- Happy Brain เช่น อบรมระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
- Happy Soul เช่น การนั่งสมาธิในวันพระ
สำหรับโรงงานนอกนิคมอุตสาหกรรม ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลสัดส่วนผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมที่มีดำเนินงานตามแนวทางการเป็นที่ทำงานมีสุข (Happy Workplace)
การสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนตามบริบทของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ มีการลงพื้นที่ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจกับชุมชน ตามแผนปฏิบัติการ CSR ประจำปี 2560 มากกว่า 6 ครั้งต่อปี เช่น
- นิคมฯ ร่วมกิจกรรมสืบสานประเพณี ขึ้นเขาเผาข้าวหลาม ครั้งที่ 16 ประจำปี 2560 ณ โรงเรียนวัดหัวสำโรง อ.แปลงยาว วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560
- นิคมฯ กิจกรรม พิธีบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ณ วัดเนินไร่ อ.แปลงยาว วันที่ 1 เมษายน 2560
- นิคมฯ ลงพื้นที่สำรวจความพึงพอใจ นิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ณ หมู่ 8 บ้านเนินไร่ ต.วังเย็น วันที่ 1 กรกฎาคม 2560
- นิคมฯ ร่วมกิจกรรมสืบสานประเพณีสงกรานต์ละรดน้ำขอพรผู้ว่า และรองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา วันที่ 11 เมษายน 2560 ณ บ้านพักผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา
นอกจากนี้นิคมฯ มีแผนงาน และผลการดำเนินงานในการพัฒนาชุมชนตามกรอบแผนแม่บท CSR ครบ 100 % ณ วัน Audit นอกจากนี้แล้ว ยังมีการต่อยอดโครงการ Symbiosis ของโครงการนักสืบสายน้ำและน้ำใสใจรักษ์ และคณะกรรมการ การตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมในนิคมฯ เกตเวย์ซิตี้
ทั้งนี้จากฐานข้อมูลกรมโรงงานอุตสาหกรรม มีจำนวนโรงงานที่ดำเนินการตามมาตรฐาน CSR-DIW จำนวน 2 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 1.16 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมาย
ความพึงพอใจของชุมชนโดยรอบที่มีต่อการดําเนินงานด้าน CSR
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดในท้องถิ่นหรือจังหวัดเก็บรวบรวมข้อมูลความพึงพอใจของชุมโดยรอบที่มีต่อการดำเนินงานด้าน CSR จากข้อมูลของนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ ผลการสำรวจความพึงพอใจของชุมชนโดยรอบนิคมฯ ปี 2560 นิคมฯได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.88
อัตราการลดลงของการเกิดคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญต่อประชากรรวม
ไม่มีการเกิดคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2559 (ข้อมูล ณ เดือนมิ.ย. 2560)
ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินจากภัยพิบัติ
จากข้อมูลสรุปการประกาศเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ปีงบประมาณ ๒๕๕๘ และปีงบประมาณ ๒๕๖o ของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่ามีประชากรที่ประสบสาธารณภัยในปี พ.ศ. 2559 จำนวน 1,500 คน
แผนและผลการดำเนินงานของคณะทำงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และ/หรือ เครือข่ายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ มีการจัดทำแผนการดำเนินงานของ Eco Team และ Eco
Committee ประจำปี พ.ศ.2560 แล้ว โดยได้จัดให้มีการประชุม Eco Team เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2560 สำหรับ Eco Committee จัดประชุมเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2560 พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานแล้ว
พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดฉะเชิงเทราได้มีการทำแผนการดำเนินงานและแต่งตั้งคณะทำงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ขึ้นในปี พ.ศ.2559 และในปี พ.ศ.2560 ได้มีประสานจัดตั้งคณะทำงานเครือข่ายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Network) โดยนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ มีการจัดตั้งคณะทำงาน Eco (Eco Team) และคณะทำงานเครือข่าย Eco (Eco Committee) ครบถ้วนสมบูรณ์
การสื่อสารและการเปิดเผยข้อมูลของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในรูปแบบ ช่องทาง และความถี่ในการสื่อสารในลักษณะต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิผล
นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ มีแผนและผลในการสื่อสาร และการเปิดเผยข้อมูลของนิคมฯ ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ เสียงตามสาย หอกระจายข่าว วิทยุชุมชน Line และบอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น และมีการรายงานผลการดำเนินงานตามระบบรายงาน และประเมินผล ของ กนอ. เรียบร้อยแล้วทั้งนี้ พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดฉะเชิงเทรา มีการจัดตั้งศูนย์ติดตามตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับจังหวัดหรือเรียกว่า ศูนย์พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยตั้งอยู่ที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสาร ให้คำปรึกษาแนะนำและเปิดเผยข้อมูลของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมทั้งยังมีการจัดทำเว็บไซต์ http://ecocenter.diw.go.th/ เพื่อใช้ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์อีกหนึ่งช่องทาง ซึ่งมีข้อแนะนำเรื่องการจัดการความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และสารเคมีของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล การจัดการด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และ สารเคมีของโรงงานต่อสาธารณะ
นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ ได้มีการเผยแพร่ขอข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจด้านความปลอดภัยของโรงงาน ที่ตั้งอยู่ภายในนิคมฯ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีข้อมูลชนิด และปริมาณสารเคมีในแต่ละโรงงานในนิคมฯ ให้กับหน่วยงานด้านความปลอดภัยและสุขภาพ เช่น อบต.หัวสำโรง โรงพยาบาลแปลงยาว
คณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ดาวน์โหลดเอกสารคณะทำงานเครือข่ายฯ (Eco Network) จ.ฉะเชิงเทรา
ดาวน์โหลดเอกสารคณะขับเคลื่อนเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ดาวน์โหลดเอกสาร