พื้นที่เป้าหมาย 15 จังหวัด 18 พื้นที่
จังหวัดชลบุรี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดนครปฐม จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปทุมธานี ตำบลบางกะดี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดระยอง เขตควบคุมมลพิษ เขตประกอบการไออาร์พีซี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสงขลา ตำบลฉลุง อำเภอสะเดา จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสระบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือบนที่ราบสูงโคราช มีพื้นที่ประมาณ 20,493.96 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12,808,728 ไร่ ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) เป็นระยะทาง 255 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดขอนแก่น
- ทิศใต้ ติดกับจังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครนายก และจังหวัดสระแก้ว
- ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดขอนแก่น
- ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดชัยภูมิ จังหวัดสระบุรี และจังหวัดลพบุรี
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดนครราชสีมาในปี 2556 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2555 ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 96,690 บาท โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวม ณ ราคาประจำปี 242,476 ล้านบาท ซึ่งสาขาที่มีมูลค่าการผลิตสูงสุด คือ สาขาอุตสาหกรรม 65,673 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 59.94 ของสาขาการผลิตทั้งหมด
ตารางผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดนครราชสีมา ณ ราคาประจำปี
หน่วย : ล้านบาท
สาขา | 2552 | 2553 | 2554 | 2555 | 2556 |
ภาคเกษตร | 27,749 | 31,955 | 40,090 | 46,328 | 50,206 |
เกษตรกรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้ | 27,418 | 31,604 | 39,740 | 45,959 | 49,762 |
การประมง | 331 | 351 | 350 | 370 | 444 |
ภาคนอกเกษตร | 142,217 | 158,465 | 169,975 | 185,152 | 192,271 |
การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน | 1,798 | 1,782 | 1,944 | 2,018 | 1,944 |
อุตสาหกรรม | 47,550 | 56,104 | 58,694 | 63,410 | 65,673 |
การไฟฟ้า แก๊ส และการประปา | 4,437 | 4,758 | 4,978 | 5,746 | 6,432 |
การก่อสร้าง | 8,905 | 10,279 | 13,706 | 14,391 | 13,931 |
การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซม ยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน | 23,074 | 23,956 | 24,155 | 26,354 | 28,616 |
โรงแรมและภัตตาคาร | 3,240 | 3,371 | 3,844 | 3,221 | 3,491 |
การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้าและการคมนาคม | 6,672 | 6,714 | 7,015 | 7,928 | 7,831 |
ตัวกลางทางการเงิน | 7,900 | 8,114 | 8,738 | 10,010 | 12,112 |
บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและบริการทางธุรกิจ | 8,171 | 7,893 | 8,200 | 9,613 | 7,917 |
การบริหารราชการและการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกัน สังคมภาคบังคับ | 10,378 | 14,109 | 14,930 | 15,554 | 15,677 |
การศึกษา | 13,388 | 14,419 | 16,098 | 18,331 | 20,133 |
การบริการด้านสุขภาพและสังคม | 3,985 | 4,423 | 4,755 | 5,228 | 5,414 |
การให้บริการด้านชุมชน สังคมและบริการส่วนบุคคลอื่นๆ | 2,071 | 1,981 | 2,233 | 2,482 | 2,635 |
ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล | 648 | 563 | 684 | 867 | 465 |
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด(GPP) | 169,965 | 190,420 | 210,065 | 231,480 | 242,476 |
ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว (บาท) | 66,962 | 75,424 | 83,420 | 92,122 | 96,690 |
ประชากร (1,000) | 2,538 | 2,525 | 2,518 | 2,513 | 2,508 |
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ http://www.nesdb.go.th (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2558)
ทรัพยากรป่าไม้
จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมด 2,297,735 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 17.94 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด ปัจจุบันมีสภาพป่าดิบสมบูรณ์เนื้อที่ประมาณ 1,243,743ไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.71 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด มีพรรณไม้สำคัญที่ขึ้นอยู่ ได้แก่ ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้มะค่าโมง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ยาง ไม้เหียง ไม้พลวง เป็นต้น รองลงมาเป็นป่าผลัดใบสมบูรณ์ร้อยละ 3.54 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด และพื้นที่ป่าผลัดใบรอสภาพฟื้นฟูร้อยละ 2.48 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด
ทรัพยากรน้ำ
จังหวัดนครราชสีมา มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ 9 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำมูลตอนบน, ลุ่มน้ำลำพระเพลิง, ลุ่มน้ำลำมูลตอนล่าง, ลุ่มน้ำลำปลายมาศ, ลุ่มน้ำลำตะคอง,ลุ่มน้ำลำเชียงไกร,ลุ่มน้ำลำสะแทด ลุ่มน้ำลำชี และลุ่มน้ำลำจักราช รวมพื้นที่ลุ่มน้ำ 20,905 ตร.กม. ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,078.6 มม./ปี ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ย 3,512 ล้าน ลบ.ม. / ปี มีพื้นที่ชลประทาน 702,458 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.57 ของพื้นที่จังหวัดทั้งหมด
ทรัพยากรสัตว์ป่า
จังหวัดนครราชสีมา มีทรัพยากรสัตว์ป่าที่สำคัญหลายชนิด เช่น ช้าง เก้ง กวาง ลิง และนกชนิดต่างๆ ส่วนสัตว์ป่าชนิดหายากหรือใกล้จะสูญพันธุ์ ได้แก่ กระทิง แมวหลายหินอ่อน เลียงผา และนกเงือก สัตว์ป่าใหญ่พบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติทับลาน และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
การสาธารณสุข
จังหวัดนครราชสีมา มีสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย โรงพยาบาลเอกชน 8 แห่ง คลินิกแพทย์และคลินิกทันตกรรม จำนวน 236 แห่ง มีศูนย์บริการสาธารณสุขในเขตอำเภอเมือง จำนวน 4 แห่ง เป็นโรงพยาบาลภาครัฐสังกัดสาธารณสุข 31 แห่ง แบ่งเป็นระดับโรงพยาบาลศูนย์ขนาด 1,019 เตียง 1 แห่ง โรงพยาบาลจิตเวช 1 แห่ง โรงพยาบาลแม่และเด็ก 1 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 28 แห่ง โรงพยาบาลภาครัฐสังกัดกระทรวงกลาโหม 2 แห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 349 แห่ง มีบุคลากรด้านสาธารณสุข ประกอบด้วย แพทย์ 628 คน ทันตแพทย์ 131 คน เภสัชกร 186 คน อัตราส่วนแพทย์ต่อจำนวนประชากรจังหวัดขอนแก่น เท่ากับ 1:176,414 คน
การศึกษา
จังหวัดนครราชสีมา มีสถานศึกษาแยกตามสังกัด จำนวน 1,534 โรง ส่วนใหญ่เป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีจำนวนครู คณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา จาก 6 สังกัด มีจำนวน 23,624 คน และ นักเรียนจำนวน 533,263 คน
ประชากร
จังหวัดนครราชสีมา มีประชากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ทั้งสิ้น 2,620,517 คน จำแนกเป็นชาย 1,294,987 คน หญิง 1,325,530 คน
จังหวัดนครราชสีมา มีวิสัยทัศน์การพัฒนา 4 ปี พ.ศ. 2557-2560 (ฉบับทบทวน) พบว่าทางจังหวัดมีแผนที่จะพัฒนาส่งเสริมให้ครอบคลุมในหลายมิติ โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ (196 โครงการ งบประมาณทั้งสิ้น 11,558.70 ล้านบาท)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาเกษตรกรอุตสาหกรรมครบวงจรเพื่อเป็นครัวของโลก (Food Valley)
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาโคราชเมืองน่าอยู่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารราชการแบบบูรณาการตามหลักธรรมาภิบาล
คณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดนครราชสีมาได้คัดเลือกพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดนครราชสีมา โดยพื้นที่เป้าหมายครอบคลุมพื้นที่ 5 ตำบล ในอำเภอสีคิ้ว ได้แก่ ตำบลกุดน้อย ตำบลสีคิ้ว ตำบลมิตรภาพ ตำบลลาดบัวขาว และตำบลหนองหญ้าขาว มีโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เป้าหมายรวมทั้งสิ้น 199 โรงงาน โดยมีโรงงานที่ได้รับการรับการรับรองระบบบริหารงานระดับสากลและระดับประเทศดังตาราง
การวางผังที่ตั้งและการจัดพื้นที่
พื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดนครราชสีมา อยู่ในพื้นที่ 5 ตำบล ในอำเภอสีคิ้ว ได้แก่ ตำบลกุดน้อย ตำบลสีคิ้ว ตำบลมิตรภาพ ตำบลลาดบัวขาว และตำบลหนองหญ้าขาว โดยข้อมูลโดยพื้นที่เป้าหมาย อยู่ในเขตการปกครอง 7 องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
-
- องค์การบริหารส่วนตำบลสีคิ้ว
- องค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้อย
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหญ้าขาว
- องค์การบริหารส่วนตำบลลาดบัวขาว
- องค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้อย
- เทศบาลเมืองสีคิ้ว
- เทศบาลตำบลลาดบัวขาว
ในด้านการวางผังที่ตั้งและการจัดพื้นที่ในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ นั้น พบว่าในแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดนครราชสีมากำหนดในเรื่องการออกแบบสาธารณูปโภคให้มีการนำแนวคิดเชิงนิเวศมาใช้ในพื้นที่ เช่น 1) โครงการจัดทำแก้มลิงในพื้นที่สีคิ้ว เพื่อพัฒนา/ปรับปรุงแหล่งน้ำและระบบการส่งน้ำเดิมให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น 2) โครงการก่อสร้างถนน คสล. จำนวน 4 เส้น เพื่อจัดระบบการจราจร แก้ไขปัญหาการจราจรในชั่วโมงเร่งด่วน และควบคุมดูแลให้รถบรรทุกบรรทุกน้ำหนักแล่นตามช่องจราจรที่กฎหมายกำหนด
ข้อมูลพื้นที่สีเขียว
จากการรวบรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่มีหน่วยงานในพื้นที่และจังหวัดที่สำรวจและจัดทำข้อมูลพื้นที่สีเขียวเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
การออกแบบอาคารและบริเวณโดยรอบ
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดในระดับท้องถิ่นและจังหวัดเก็บรวบรวมข้อมูลออกแบบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในด้านการออกแบบอาคารและ/หรือระบบภายในอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ/หรือประหยัดพลังงาน
เศรษฐกิจของภาคอุตสาหกรรม
ข้อมูลจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา พบว่าในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดนครราชสีมามีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจดทะเบียนในพื้นที่เป้าหมาย ในปี พ.ศ.2557-2560 มีจำนวนเงินลงทุน 150,290,000 บาท, 231,853,704 บาท, 28,680,000 และ 55,000,000 บาท ตามลำดับ
แรงงานในพื้นที่เป้าหมาย
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดในท้องถิ่นและจังหวัดเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนแรงงานท้องถิ่น/แรงงานทั้งหมด แต่มีการรวบรวมจำนวนแรงงานทั้งหมดในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลแรงงานในสถานประกอบการทั้งหมด (โรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้า)
จำนวนโรงงานที่มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการจากชุมชน หรือส่งเสริมกิจกรรมหรือกลุ่มอาชีพให้กับชุมชน หรือสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนทางด้านการตลาด หรือพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมอาชีพ หรือทักษะแรงงาน
ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดนครราชสีมา มีโรงงานที่ดำเนินการตามมาตรฐาน CSR-DIW ซึ่งมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมให้มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการจากชุมชน หรือ ส่งเสริมกิจกรรมหรือกลุ่มอาชีพให้กับชุมชน รวมจำนวน 1 โรงงาน โดยไม่มีหน่วยงานในพื้นที่ที่รวบรวมข้อมูลการดำเนินงานกิจกรรม CSR ที่ไม่ได้เข้าร่วมผ่านกรมโรงงานอุตสาหกรรม
อัตราการว่างงาน
จากข้อมูลรายงานสถานการณ์แรงงานและดัชนีชี้วัดภาวะแรงงานจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานแรงงานจังหวัดนครราชสีมา พบว่าประชากรในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาในไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ.2559 มีอัตราการว่างงานร้อยละ 2.45 ทั้งนี้อัตราการว่างงานในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศยังไม่มีการรายงานเผยแพร่
จำนวนโรงงานผลิตสินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดในท้องถิ่นหรือจังหวัดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ แต่ทั้งนี้มีการรวบรวมในข้อมูลระดับประเทศโดยมีข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากลดคาร์บอนจากองค์การบริหารจัดการเรือนกระจก ซึ่งในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดนครราชสีมายังไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับฉลากลดคาร์บอน
กิจกรรมหรือมาตรการที่ปลอดภัย ลดต้นทุน หรือเพิ่มประสิทธิภาพ ระบบขนส่งและโลจิสติกส์
ในปัจจุบันจังหวัดนครราชสีมามีโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค (OPOAI) ซึ่งเป็นโครงการที่คัดเลือกผู้ประกอบการจากทั้งจังหวัดเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสถานประกอบการ ทั้งด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน ลดต้นทุนพลังงาน การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์/ระบบมาตรฐานสากล กลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด การบริหารจัดการด้านการเงิน การจัดการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงาน
กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีฐานข้อมูลการระบายน้ำของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ ที่โรงงานที่เข้าข่ายจะต้องมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน (ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม) ซึ่งไม่เปิดเผยข้อมูลคุณภาพน้ำทิ้งต่อสาธารณะ
คุณภาพแหล่งน้ำสาธารณะของพื้นที่เป้าหมาย
พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดนครราชสีมามีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่านเขตพื้นที่ 1 สาย คือแม่น้ำลำตะคลอง โดยในพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศมีสถานีตรวจวัดของสำนักงานสิ่งแวดภาคที่ 11 จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 2 สถานีอยู่ในเขตอำเภอสีคิ้ว มีความถี่ในการตรวจวัดคุณภาพน้ำ 4 ครั้งต่อปี ซึ่งคุณภาพน้ำจัดอยู่ในแหล่งน้ำประเภทที่ 2 เป็นแหล่งน้ำที่มีคุณภาพดีร้อยละ 10 โดยมีดัชนีวัดที่สำคัญ คือ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำค่าความสกปรกในรูปแบบสารอินทรีย์หรือบีโอดี และการปนเปื้อนแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด
คุณภาพอากาศของพื้นที่เป้าหมาย
ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดนครราชสีมาไม่มีจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศอยู่ในพื้นที่ แต่จากผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศจังหวัดนครราชสีมาปี พ.ศ.2558-2560 ของสำนักคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ ณ สถานีตรวจวัดพื้นที่ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา พบว่าคุณภาพอากาศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้แผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดนครราชสีมามีโครงการติดตามตรวจสอบเฝ้าระวังมลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพชุมชน
กิจกรรมลดการปล่อยมลพิษทางอากาศของพื้นที่เป้าหมาย
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ โดยกรมโรงงานได้มีการจัดทำฐานข้อมูลโรงงานที่เข้าข่ายต้องมีผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ ซึ่งต้องมีการรายงานการปล่อยมลพิษทางอากาศ แต่ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลรายโรงงาน ทั้งนี้แผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดนครราชสีมามีโครงการจัดทำข้อมูลมลพิษจากกิจกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ อ.สีคิ้ว นอกจากนี้โครงการยกระดับเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่ 7 จังหวัด มีการจัดทำฐานข้อมูลการปล่อยมลพิษอากาศของโรงงานในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดนครราชสีมา
ข้อมูลชนิดและปริมาณกากของเสียของพื้นที่เป้าหมาย
จากศูนย์สารสนเทศโรงงานอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้มีการรวบรวมข้อมูลปริมาณกากของเสียอุตสาหกรรม ตามรายงานการขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน ในพื้นที่อำเภอสีคิ้ว โดยในปี พ.ศ.2559 อำเภอสีคิ้วมีกากของเสียรวม 507,537.88 ตัน จำแนกเป็นกากของเสียไม่อันตรายร้อยละ 99.22 และกากของเสียอันตรายร้อยละ 0.78 ทั้งนี้จากแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดนครราชสีมามีโครงการส่งเสริมให้สถานประกอบการนำของเสียมาใช้ประโยชน์และการพัฒนาธุรกิจรีไซเคิล/อัพไซเคิลเพื่อเพิ่มมูลค่าและใช้ประโยชน์กากอุตสาหกรรม
ข้อมูลชนิดและปริมาณขยะชุมชุนของพื้นที่เป้าหมาย
พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดนครราชสีมาอยู่ในเขตปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งสิ้น 7 อปท. โดยพบว่า 2 อปท. ไม่มีการจัดเก็บขยะชุมชนโดยให้ประชาชนดำเนินการเอง และอีก 5 อปท. มีการจัดเก็บขยะและกำจัดขยะชุมชน ทั้งนี้กรมควบคุมมลพิษได้จัดทำรายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ.2559 โดยมีข้อมูลอัตราการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนเป็นรายพื้นที่ อีกทั้งในแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดนครราชสีมามีโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเมืองโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน โครงการก่อสร้างระบบบำบัดขยะด้วยวิธี MBT และโครงการคัดแยกขยะกำจัดขยะ
การใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม
ฐานข้อมูลการใช้พลังงานในระดับจังหวัด ซึ่งรวบรวมโดยสำนักงานพลังงานจังหวัด โดยในปี 2558 จังหวัดนครราชสีมามีการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรมรวม 636.11 ktoe ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดนครราชสีมา มีโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน 1 แห่ง คือ โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเขื่อนลำตะคลอง กำลังการผลิตติดตั้ง 500,000 เมกะวัตต์
การจัดการเหตุเดือดร้อนรำคาญ
ในรอบปีงบประมาณ พ.ศ.2559 พบข้อร้องเรียนด้านเหตุเดือดร้อนรำคาญในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดนครราชสีมา 1 เรื่อง เป็นการร้องเรียนด้านน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ ต.มิตรภาพ โดยมีการวิเคราะห์ข้อร้องเรียนและมีการดำเนินการแก้ไขตามมาตรการอย่างเป็นรูปธรรม
โรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
จากฐานข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันยังไม่มีโรงงานที่ได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) และจากฐานข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม มีโรงงานได้รับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 7 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 3.5
การดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบ
กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้มีมาตรการเพื่อส่งแสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้วัตถุดิบของโรงงานอุตสาหกรรม โดยได้จัดทำฐานข้อมูลการใช้วัตถุดิบของโรงงาน ในขั้นตอนการแจ้งจดทะเทียนประกอบกิจการและยื่นต่ออายุใบประกอบกิจการ นอกจากนั้น โครงการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศพื้นที่ 7 จังหวัด มีการจัดทำฐานข้อมูลการใช้วัตถุดิบของโรงงาน และในระดับจังหวัดมีโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค (OPOAI)
การดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบ
ปัจจุบันยังไม่มีโรงงานที่ได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) ในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดนครราชสีมา อย่างไรก็ตามได้มีแผนในการส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบ โดยในแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดได้มีโครงการส่งเสริมโรงงานเชิงนิเวศ (Eco Factory) อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry)
การดำเนินกิจกรรมหรือมาตรการเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก
ปัจจุบันกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้มีมาตรการเพื่อส่งแสริมการลดก๊าซเรือนกระจก โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมมีการจัดเตรียมฐานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งอยู่ในช่วงการรวบรวมข้อมูลทั้งประเทศ และจากฐานข้อมูลขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก พบว่าในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดนครราชสีมาไม่มีโรงงานที่ได้รับฉลากลดโลกร้อน
การประเมินผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กรต่อความหลากหลายทางชีวภาพและจัดทำแผนป้องกันผลกระทบ
จากฐานข้อมูลของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของโรงงานที่จะต้องมีการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งต้องมีการประเมินความหลากหลายทางชีวภาพ และจัดทำแผนป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อความหลากหลายทางชีวภาพ พบว่าในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศมีโรงงานที่ต้องมีการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมจำนวน 1 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 0.5 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่
การจัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยง
จากฐานข้อมูลพบว่าในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศมีโรงงานที่ต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ความเสี่ยง จำนวน 3 โรงงาน ทั้งนี้จากข้อมูลของสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม พบว่าในปี พ.ศ.2559 ในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดนครราชสีมามีการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 1 ครั้ง โดยเป็นการเกิดอัคคีภัยในพื้นที่ตำบลกุดน้อย
การรั่วไหล และการเกิดอุบัติเหตุของสารเคมีและวัตถุอันตราย ที่ทำให้เกิดผล กระทบต่อพนักงาน ชุมชน หรือสิ่งแวดล้อมภายนอก
กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีการจัดทำข้อมูลบัญชีสารเคมีอันตรายในโรงงานที่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ความเสี่ยงและโรงงานที่ต้องขอจัดเก็บสารเคมีอันตราย ทั้งนี้ข้อมูลจากสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ.2559 ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดนครราชสีมา ไม่มีการรั่วไหล และการเกิดอุบัติเหตุของสารเคมีและวัตถุอันตราย ที่ทำให้เกิดผล กระทบต่อพนักงาน ชุมชน หรือสิ่งแวดล้อมภายนอกก
การเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม
จากฐานข้อมูลของสำนักนโยบายแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โรงงานในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดนคราชสีมา มีโรงงานที่มีระบบการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม EIA Monitoring จำนวน 1 โรงงาน ทั้งนี้ภายใต้โครงการยกระดับศูนย์ติดตามตรวจสอบและประเมินผลเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 7 จังหวัด ยังมีการจัดตั้งเครือข่ายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่มีบทบาทเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วมอีกด้วย
คุณภาพชีวิตและสังคมของพนักงาน
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมที่มีดำเนินงานตามแนวทางการเป็นที่ทำงานมีสุข (Happy Workplace)
การสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนตามบริบทของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
จากฐานข้อมูลกรมโรงงานอุตสาหกรรมพบว่า มีโรงงานที่ดำเนินการตามมาตรฐาน CSR-DIW ซึ่งตามข้อกำหนดให้มีการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนตามบริบทของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จำนวน 1โรงงาน คือบริษัท คอร์น โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด คิดเป็นร้อยละ 0.5 ของโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศแสดงใน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหน่วยงานในพื้นที่ที่รวบรวมข้อมูลการดำเนินกิจกรรม CSR ที่ไม่ได้เข้าร่วมผ่านกรมโรงงานอุตสาหกรรม
คดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญในพื้นที่เป้าหมาย
จำนวนคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญต่อประชากรรวมในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดนครราชสีมา ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2559 มีคดีเกิดขึ้นทั้งหมด 3 คดี และมีการจับกุมได้ทั้ง 3 คดี ในพื้นที่ตำบลสีคิ้ว มิตรภาพและกุดน้อย
จำนวนผู้เสียชีวิต และมูลค่าความเสียหายในทรัพย์สินจากภัยพิบัติ
จากข้อมูลสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดนครราชสีมา พบว่าในปี พ.ศ.2559 ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาได้รวบรวมสถิติประชากรที่ประสบภัยธรรมชาติ รายละเอียดแสดงดังตาราง
คณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ดาวน์โหลดเอกสารคณะขับเคลื่อนเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติมองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะทำงานขับเคลื่อนฯ จ.นครราชสีมา
ดาวน์โหลดเอกสาร