5 มิติ 20 ด้าน สร้างอย่างไร?

มีข้อกำหนดคุณลักษณะ 3 ข้อ ดังนี้

1. มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกประการโดยเฉพาะทางด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และอาชีวอนามัย

2. มีระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัย พลังงาน และ มาตรฐานแรงงานตามมาตรฐานสากล และ/หรือ ประยุกต์ใช้เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ ตัวอย่างเช่น ISO 14001 ISO 18000 Clean Technology Responsibility Care ฯลฯ

3. มีการพัฒนาสู่ความยั่งยืนในมิติหลักของการพัฒนา 5 มิติ 20ด้าน ที่มีความสอดคล้อง สมดุล และเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน โดยแต่ละมิติจะมีการพัฒนา กิจกรรมความร่วมมือ /กิจกรรมเพิ่ม ประสิทธิภาพ และยกระดับการดำเนินงานในด้านต่างๆที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกิจกรรมได้ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาในมิติหลัก 5 มิติดังนี้
1) มิติทางกายภาพ
2) มิติทางเศรษฐกิจ
3) มิติทางสังคม
4) มิติทางสิ่งแวดล้อม
5) มิติทางการบริหารจัดการ

1 มิติด้านกายภาพ มีการวางแผนเชิงพื้นที่และระบบโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ให้มีความพร้อมรอบด้านและเอื้ออำนวยต่อการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ อาทิ ระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน โครงข่ายการคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยงทั้งภายในและภายนอกเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ ที่มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดต้นทุนการผลิต ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย รวมทั้งมีความปลอดภัยในการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น

  •  การวางผังที่ตั้งและการจัดการพื้นที่
  •  การออกแบบอาคารและบริเวณโดยรอบ

2.มิติด้านเศรษฐกิจ มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตและมั่นคง โดยส่งเสริมการลงทุนในสาขาอุตสาหกรรมและบริการ ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งในระบบเศรษฐกิจชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีงานทำหลากหลายประเภทตามศักยภาพและฐานทรัพยากรที่มีอยู่

  • เศรษฐกิจของภาคอุตสาหกรรม
  • เศรษฐกิจของท้องถิ่น
  • เศรษฐกิจของชุมชน
  • การตลาด
  • การขนส่ง

3. มิติด้านสิ่งแวดล้อม มีการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถจัดการปัญหามลภาวะด้านต่าง ๆ ของพื้นที่ได้เหมาะสม สภาพแวดล้อมภายในเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์มีความร่มรื่นน่าอยู่ สะอาด สะดวก สบายและปลอดภัย

  •  การจัดการคุณภาพน้ำ
  •  การจัดการคุณภาพอากาศ
  •  การจัดการกากของเสียและวัสดุเหลือใช้
  •  การจัดการพลังงาน
  •  การจัดการเสียง
  •  กระบวนการผลิต
  •  ประสิทธิภาพเชิงนิเวศ(Eco Efficiency)
  •  การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ
  •  การเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม

4.มิติทางด้านสังคม เสริมสร้างคนและชุมชน เพื่อให้ชุมชนโดยรอบมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างเกื้อกูลและมีความสุข

  •  คุณภาพชีวิตและสังคมของพนักงาน
  •  คุณภาพชีวิตและสังคมของชุมชนโดยรอบ

5.มิติด้านการบริหารจัดการ การเสริมสร้างระบบบริหารจัดการที่ดี มีคุณภาพ โปร่งใส เป็นธรรมและสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (Stakeholders) ร่วมเป็นพันธมิตรเครือข่ายในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ โดยประสานความร่วมมือกับทั้งภาคเอกชน ผู้ประกอบการ ผู้พัฒนานิคมฯ และส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น

  •  การบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม
  •  การพัฒนาและรักษาระบบบริหารระดับสากล
  •  การพัฒนาบุคลากร
  •  ข้อมูลข่าวสาร/การรายงาน