ต้นแบบพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

โดยคำนึงถึงการดำรงอยู่ของวิถีสังคม และวัฒนธรรมให้อยู่อย่างปกติสุข และยั่งยืน ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้พัฒนาหลักเกณฑ์โรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) และระบบการรับรองขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมนำไปเป็นกรอบการพัฒนาและยกระดับโรงงานแต่ละโรง เพื่อให้การพัฒนาขยายจากโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) ออกไปสู่ระดับนิคมอุตสาหกรรม (Eco Industrial Estate) และระดับเมือง (Eco Industrial Town) ในที่สุด

ทั้งนี้ บริษัท ระยอง โอเลฟินส์ จำกัด และบริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จำกัด ใน เอสซีจีเคมิคอลส์ ได้นำเกณฑ์ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้และยกระดับระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมจนสามารถผ่านเกณฑ์การตรวจประเมินโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ถือเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสองแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นเจตนารมย์ในการดำเนินธุรกิจเคียงคู่การดูแลสิ่งแวดล้อมและชุมชนอย่างจริงจังตลอดมาของเอสซีจี เคมิคอลส์

คุณสมชาย หวังวัฒนาพาณิช ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ – ปฏิบัติการ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด กล่าวว่า "เอสซีจี เคมิคอลส์ ให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกับชุมชนและบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในทุกมิติของการดำเนินธุรกิจ โดยนำนวัตกรรมสิ่งแวดล้อมที่

ยั่งยืน (Eco Innovation) และมาตรการต่างๆ มาปรับใช้ในกระบวนการจัดการ

โรงงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างความเชื่อมั่นให้กับชุมชน และการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนระหว่างอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม และสังคม ซึ่งการนำเกณฑ์โรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศมาปรับใช้กับภาคอุตสาหกรรมจะทำให้ทุกโรงงานมีการดูแลชุมชนและมีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมไปในทิศทางเดียวกัน"

"ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทั้งสองบริษัทในกลุ่มเอสซีจี เคมิคอลส์ ผ่านการประเมินคือ เราถือว่าการดูแลชุมชนอย่างต่อเนื่องเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นนโยบายหลัก จนชุมชนมีความพึงพอใจ พนักงานทุกคนมีความมุ่งมั่น มีเป้าหมาย ร่วมกันที่จะดูแลชุมชนและสิ่งแวดล้อมเราสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง และมีนวัตกรรมที่หลากหลาย อาทิ นวัตกรรมเพื่อชุมชนและสังคม นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย"

ในอนาคต เอสซีจี เคมิคอลส์ ยังเตรียมพัฒนาโรงงานอีก 11 แห่ง ในพื้นที่มาบตาพุดจังหวัดระยอง ให้ได้รับการรับรองเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศครบทุกโรงงานภายในปี พ.ศ.2558