วอชิงตันดีซี ติดอันดับหนึ่ง พื้นที่หลังคาสีเขียว
เมืองชั้นนำหลายเมืองมีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมโปรแกรมหลังคาสีเขียวเนื่องด้วยคุณประโยชน์นานาประการ เช่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร ลดการไหลทิ้งของน้ำฝน ปรับปรุงคุณภาพอากาศ ยืดเวลาของการบริการ ระบบทำความเย็นและระบบปรับอากาศ ลดความร้อน สามารถใช้เป็นพื้นที่สาธารณะ เป็นแหล่งผสมเกสรพืช และที่อยู่ อาศัยของนก เป็นต้น
กรุงวอชิงตันดีซีก็เป็นหนึ่งในบรรดาเมืองชั้นนำเหล่านั้น โดยได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 ติดต่อกันเป็นปีที่ 4 ในด้านการ ติดตั้งหลังคาสีเขียวมากที่สุดจากการสำรวจอุตสาหกรรมหลังคาสีเขียวประจำปี (the Annual Green Roof Industry Survey)
สำหรับเมืองชั้นนำอื่นๆ ที่สนับสนุนโปรแกรมหลังสีเขียว เช่น กรุงวอชิงตันดีซีได้เสนอคืนเงินค่าภาษี 7-15 เหรียญสหรัฐต่อตารางฟุตหลังคาสีเขียว ส่วนโตรอนโตมีกฎหมายปี 2552 (ค.ศ.2009) กำหนดให้อาคารก่อสร้างใหม่ต้องมีหลังคาสีเขียว ทำให้มีหลังคาสีเขียวมากกว่า 2 ล้านตารางฟุต เป็นต้น
บอสตันส์รูฟท็อปฟาร์ม (Boston’s Rooftop Farm) ตั้งอยู่บนหลังคาของศูนย์ออกแบบบอสตัน (The Boston Design Center) เป็นฟาร์มที่มีขนาด 55,000 ตารางฟุต นับว่าเป็นฟาร์มบนหลังคาที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของสหรัฐอเมริกา ฟาร์มนี้ทำให้มีผลผลิตของท้องถิ่นที่สดใหม่ ฟาร์มนี้ใช้หลังคาสีเขียว ทำให้สามารถเก็บความเย็นในฤดูร้อน ให้ความอบอุ่นในฤดูหนาว และสามารถลดมลพิษทางอากาศ
ฟาร์มนี้เป็นผลมาจากการออกกฎหมายฟาร์มในเมืองชั้นนำซึ่งยอมให้มีการทำฟาร์มได้ในเมืองภายใต้ข้อจำกัดของเมือง เช่น ที่จอดรถที่ว่างหรือพื้นที่ของอาคารโดยเฉพาะบนหลังคา เป็นต้น และเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นมานั้นค่อนข้างเป็นประโยชน์ต่อองค์กรที่ทำประโชน์ให้ชุมชนและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร
เกษตรกรรมในเมืองนับเป็นวิถีแห่งนวัตกรรมที่จะช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนในเมืองได้ เมืองบอสตันได้เห็นโอกาสดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการจัดโซนเกษตรกรรมของเมืองขึ้นมาใหม่ โดยได้สนับสนุนงบประมาณเกือบ 10 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสนับสนุนสวนของชุมชนซึ่งทำให้กลายเป็นเมืองที่มีสวนสาธารณะมากที่สุดต่อหัวประชากร ก่อนหน้านั้น การทำฟาร์มเพื่อการค้าในเมืองถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายในบอสตัน แต่เมื่อมีโครงการจัดโซนเกษตรกรรมของเมืองขึ้นมาใหม่ ก็สามารถทำได้ ฟาร์มในเมือง 5 ฟาร์มแรกที่เกิดขึ้นนั้นได้ทำการเพาะปลูกแล้วเมื่อช่วงฤดูใบไม้ผลิเมื่อปีที่แล้วและส่วนใหญ่อยู่ในย่านของผู้มีรายได้น้อย เจ้าหน้าที่จึงอยากให้ฟาร์มส่วนใหญ่ทำบนหลังคาและใช้วิธีไฮโดรโปนิกส์ในเรือนกระจกซึ่งสามารถควบคุมสภาพอากาศได้ เนื่องจากเมืองบอสตันมีภูมิอากาศที่แปรเปลี่ยนตลอดปีและขาดพื้นที่สำหรับเพาะปลูก
ในบ้านของเราเอง หากยังไม่พร้อมที่จะทำเป็นฟาร์มบนหลังคา อาจลองเริ่มจากทำสวนเล็กๆ ริมระเบียงก่อนจะดีไหมคะ
ที่มา: